บ้านเพลงไทย ความภูมิใจของคนไทยรักษ์เพลง

สโมสรบ้านเพลงไทย => เหะหะ-พาที => ข้อความที่เริ่มโดย: มหาสุ ที่ สิงหาคม 28, 2013, 05:49:53 AM

หัวข้อ: ศรศิลป์ไม่กินกัน
เริ่มหัวข้อโดย: มหาสุ ที่ สิงหาคม 28, 2013, 05:49:53 AM
     ศรศิลป์ไม่กินกัน   
               มาจากวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนที่พระรามและพระมงกุฎ และ พระลบ ต่อสู้กัน เพราะเข้าใจผิด ไม่ทราบว่าแต่ละคนเป็นพ่อเป็นลูกกัน พระรามแผลงศรไป เป็นอาหารคาวหวาน ส่วนศรของพระมงกุฎ และ พระลบ กลายเป็นข้าวตอกดอกไม้ ทำอันตรายกันไม่ได้ คำนี้จึงมีความหมายตามเนื้อเรื่องคือ ทำอันตรายกันไม่ได้ ต่อมาความหมายกลายไปจากเดิม ใช้ในความหมายใหม่ว่า ไม่ถูกกัน ไม่ลงรอยกันไม่ชอบหน้ากัน
หัวข้อ: Re: ศรศิลป์ไม่กินกัน
เริ่มหัวข้อโดย: อาคม ดอนเมือง ที่ สิงหาคม 28, 2013, 08:23:12 AM
 ถ้าในชีวิตจริงเป็นเหมือนวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนที่พระราม พระมงกุฎ และ
พระลบ ต่อสู้กันก็คงจะดีนะครับ ท่านมหาสุ จะได้แฮปปี้เอนดิ้งกันทั้งสองฝ่าย อิ อิ

                                 :72
หัวข้อ: Re: ศรศิลป์ไม่กินกัน
เริ่มหัวข้อโดย: พรหมนิมิต ที่ สิงหาคม 28, 2013, 06:38:32 PM
    พวกแปลงสาส์นนี่สำคัญ ทำความหมายของคำให้เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือได้ บางคำความหมายเขาดี เป็นคติสอนใจ ก็แปลงเป็นคำด่าทอกันก็มาก เช่นคำว่า "ดอกทอง" คนเฒ่าคนแก่สมัยแต่เก่าเขากล่าวสอนลูกหลานลูกหลานที่เป็นผู้หญิง ให้มีความสำนึกในความเป็นลูกผู้หญิงขยันการงาน งานบ้านงานเรือน อย่าดีแต่แต่งตัวสวยไปวันไม่มีสาระ ก็แปลงเป็นคำด่าว่าเป็นหญิงหลายผัว หลายชายไปโน่นเลย ความหมายก็คือ เขาเปรียบผู้หญิงที่เป็นเหมือน ดอกทองนี้คือ ดอกทองกวาวที่ยืนต้นอยู่ตามทุ่งนาบ้านนอก ดอกสวยงามตระการตา แต่ไม่มีกลิ่นหอม อย่างตำราที่ว่า สวยแต่รูป จูบไม่หอม คนแต่ก่อนเขาหมายความแบบนั้น คนสมัยนี้ก็แปลงสาส์นเสียความหมายของคำไป..เฮ้อออ