.....วันนี้ขออนุญาตใช้พื้นที่ตรงนี้นำภาพและข้อมูลของนกในสวน..ที่เห็นชินตาเพื่อเล่าสู่กันฟัง ทั้งภาพจาก อินเตอร์เน็ต และภาพที่ถ่ายมาเอง..วันนี้ขอนำนกในตระกูล(ปรอด) มาฝากครับ ซึ่งบางชนิดก็ไม่มีในสวนแต่เห็นว่าอยู่ในตระกูลเดียวกัน ก็นำมาร่วมด้วย...เชิญตามมา..เข้าสวนกันครับ..
ปรอดแรก
(http://image.ohozaa.com/i/e47/I885Eh.jpg)
นกปรอดหน้านวล
นกปรอดหน้านวล มีชื่อภาษาอังกฤ ษว่า Yellow-vented Bulbul ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Pycnonotus goiavier (แถวๆตากใบเรียก นกกรงหน้าหมา)
อยู่ในวงค์ Pycnonotidae วงค์นกปรอดล้วนๆ 36 ชนิด ที่พบในเมืองไทย
แม้นกปรอดหน้านวล จะไม่ได้พบอยู่ทั่วไป แต่ก็พบได้ในชุมชนเมืองอย่างกรุ งเทพฯ ไปจนจรดชายแดนใต้ โดยชอบอยู่ตามชายทะเลป่าโปร่ง พื้นที่การเกษตร และชุมชนแถวบ้าน ไปจนถึงระดับ 1800 เมตร มักจะพบปะปนอยู่ กับ ปรอดหัวโขน และปรอดสวน
ลักษณะทั่วไป รูปร่างมีขนาดเท่าๆ กับ นกปรอดหัวโขนและ ปรอดสวน ปีก-หลังมีสีน้ำตาล-น้ำตาลเข้ม ที่ปลายปีก ขอบปีก และหางด้านนอก ส่วนด้านในสีน้ำตาลอ่อน อก-ท้องมีสีน้ำตาล -ขาวนวล ก้นมีสีเหลือง เป็นที่มาของชื่อภาษาอังกฤษ แต่ใบหน้าที่ขาว /ขาวนวล ไปจนถึงคอ เป็นที่มาของชื่อไทย ที่ตามีสีดำรอบๆ และคาดตรงไปที่โ คนปาก/มุมปาก ทำให้ดูเหมือนสวมแว่นตาดำ กลางหัว มีแนว คล้ายหงอนสั้นๆ สีดำ จากหน้าผากไปหลั ง บางครั้งจะตั้งชันขึ้น ปากดำ ขาดำ/เท้าดำ
นกปรอดหน้านวล ชอบกินลูกไม้ ผลไม้ แต่บางครั้งก็ลองแมลงตัวเล็กๆ ด้วย โดยหากินกันเป็น คู่ หรือฝูงเล็กๆเสียงร้องของนกปรอดหน้านวล ก็มีความไพเราะ คล้ายๆ กับปรอดหัวโขน แต่ช่วงจังหวะแล ะโทนเสียงจะน้อย กว่า
บางครั้งจะร้อง ...ชวิด ... ชวิด ... ชวิด .....หรือ ชิก...ชิก...และ ...ทริ้ววว....ทริ้ววว....ทริ้ววว
ปรอด 2
(http://image.ohozaa.com/i/699/rzksPS.jpg)
นกปรอดสวน
นกปรอดสวน
ชื่อท้องถิ่น: นกปรอดสวน ภาคใต้บางแห่งเรียก นกกรงกร็อกแกร็ก
ชื่อสามัญ: (streak-eared bulbul)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pycnonotus blanfordi
ชื่อวงศ์: PYCNONOTIDAE
ลักษณะ นกปรอดสวน มีขนาดตัวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 20 ซม. มีสีขนเป็นสีออกน้ำตาลอมเขียวตุ่นๆ ตัวด้านบนสีเข้มกว่าด้านล่าง ขนใต้หางด้านล่างมีสีเหลืองเล็กน้อย มีขีดสีขาวเรียงถี่ๆบนขนคลุมหู ตัวผู้มีตาสีเทา ส่วนตัวเมียและวัยอ่อนมีสีน้ำตาลอมเทาทึมๆกว่า เสียงร้องของเค้าฟังไม่ค่อยไพเราะสักเท่าไร เวลาเดินเข้าสวนผลไม้ มักได้ยินเสียงของเค้าดังแทบตลอดเวลา
อาหารของนกปรอดสวนมีทั้งผลไม้สุก เช่น ไทร หว้า ตะขบบ้าน ตะขบป่า ชมพู่ มะละกอ มะม่วง น้อยหน่า ผลตำลึงสุก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังจิกกินแมลง ตัวหนอน ตามกิ่งก้านและยอดไม้ด้วย ส่วนแหล่งที่อยู่อาศัยนั้น เราสามารถพบเค้าได้ตามสวนผลไม้ในเมือง ป่าเบญจพรรณ ป่าชั้นรอง ป่าละเมาะ แหล่งเกษตรกรรม รวมถึงในหมู่บ้าน และ เมือง พบในระดับต่ำ จนถึงเชิงเขา ในระดับความสูงประมาณ 915 เมตร จากระดับน้ำทะเล
นกปรอดสวนเป็นแฟนพันธุ์แท้ของอ่างอาบน้ำ นับว่าเป็นนกที่รักสะอาด หรือไม่ก็เป็นนกที่ขี้ร้อนมากชนิดหนึ่ง บนพื้นดินที่มีน้ำขังเป็นแอ่งเล็กๆ มักจะได้พบนกปรอดสวนลงเล่นน้ำสะบัดหัวและตัวอย่างเมามันจนเปียกโชกไปหมด
ปรอดต่อไป
(http://image.ohozaa.com/i/gdf/z2faMd.jpg)
นกปรอดเล็กตาขาว
นกปรอดเล็กตาขาว มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Grey-eyed Bulbul ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Iole propinqua
อยู่ในวงค์นกปรอด Pycnonotidae
ลักษณะทั่วไป รูปร่างมีขนาดเล็กกว่านกปรอดสวนสักหน่อย จุดเด่นอยู่ที่ตาดำ ม่านตาขาว มีหัวฟูตั้ง สั้นๆ และคิ้วสีเทา ปากสีเทา ขนคลุมหลังและปีก สีเขียวไพลปนน้ำตาล อกและท้องปนสีเหลืองเทา โคนหางด้านล่างสีน้ำตาลอ่อน ขาสีน้ำตาลชมพู มีชนิดย่อย cinnamomeoventris พบทางภาคใต้ ลักษณะใกล้เคียงกันแต่ปากสั้นกว่า สีขนจางกว่าพบได้ทั่วไปภาคเหนือ ส่่วนภาคอื่นๆ พบบางพื้นที่ เว้นภาคกลาง เพราะชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เป็นป่าดงดิบ และป่าโปร่ง ไปจนถึงระดับ 1100 เมตร หากินแมลงและผลไม้
มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า นกปรอดเล็กตาขาวหมอบุญส่ง ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Hypsipetes Propinquus lekhakuni Mr. Deignan เป็นผู้ตั้งชื่อชนิดย่อยนี้ตามชื่อสกุลของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล
ปรอดต่อไป
(http://image.ohozaa.com/i/0a7/miUr0v.jpg)
นกปรอดเหลืองหัวจุก
ลักษณะทั่วไป เป็นนกที่มีขนาดเล็ก (19 เซนติเมตร) มีหงอนขนยาวสีดำบริเวณหัว หัวและคอสีดำ (บางชนิดย่อยเช่น johnsoni คอหอยเป็นสีแดง) ด้านบนลำตัวสีน้ำตาลแกมเขียว ด้านล่างลำตัวสีเหลือง ตาสีเหลืองอ่อน หรือสีครีม ตัวไม่เต็มวัยจะเป็นสีเทา
เป็นนกที่พบตามป่าต่างๆหลายสภาพเช่น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา และป่ารุ่น ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งยอดเขาสูงสุด หรือความสูง 2,590 เมตร จากระดับน้ำทะเล พบเป็นคู่ หรือฝูงเล็กๆ หากินตามพุ่มไม้ และยอดไม้ต่างๆ ทั้งในระดับสูง และระดับปานกลาง เป็นนกที่มักจะส่งเสียงร้องอยู่ตลอดเวลา โดยร้องเป็นเสียง "วิด-วีด-ติ-วีด" อาหารได้แก่ผลไม้ โดยเฉพาะ ไทร หว้า ตะขบ ตาเสือเล็ก อบเชย และไม้เถาบางชนิด นกจะใช้ปากเด็ดผลไม้ออกจากขั้วแล้วกลืนกินทั้งผล นอกจากนี้ก็ยังกินกลีบดอกไม้ น้ำหวานดอกไม้ โดยเฉพาะดอกทองหลางป่า และกินตัวหนอนและแมลงต่างๆอีกด้วย โดยการจิกกินตามกิ่งก้านและยอดไม้ บางครั้งก็โฉบจับแมลงกลางอากาศ แต่ในระยะที่ไม่ไกลจากที่เกาะมากนัก
การผสมพันธุ์ นกปรอดเหลืองหัวจุก ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน หรือระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม ทำรังเป็นรูปถ้วย ประกอบด้วยกิ่งไม้เล็กๆ ต้นหญ้า ใบไม้ และใบหญ้า ตรงกลางแอ่งมักรองด้วยใบไม้ และใบหญ้าอีกชั้นหนึ่งเพื่อรองรับไข่ วางรังตามง่ามของต้นไม้ ไม้พุ่ม ซึ่งสูงจากพื้นดินประมาณ 1-3 เมตร หรือมากกว่า ในแต่ละรังมีไข่ 2-4 ฟอง ไข่สีชมพู มีลายดอกดวงสีน้ำตาลแดงบริเวณไข่ด้านป้าน ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 15.7 x 20.9 มิลลิเมตร ทั้ง 2 เพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ซึ่งเมื่อออกจากไข่มาใหม่ๆ ยังไม่มีขนคลุมร่างกาย และยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้สถานภาพกฎหมายจัดนกปรอดเหลืองหัวจุกเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ที่มา หนังสือชุด นกในเมืองไทย เล่ม 5 โดย รศ.โอภาส ขอบเขตต์
ตระถูลนกปรอดนี้แถวปักษ์ใต้(บางแห่ง บางจังหวัด) เรียกว่า"นกกรง"
.......วันนี้ขอนำมาแค่ 3 ปรอด ก่อนนะครับ ส่วนปรอด ชนิดอื่นจะนำเสนอ ในตอนต่อไป..แต่ไม่รวมไปถึง.. ปลอด..พบ ปะ เจอะ เจอ(ประสพ) นะครับ 5 5 5
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก www.siamensis.org (http://www.siamensis.org) /www.oknation.net/
ขอบคุณ นายแบบ(นก)บางภาพจาก สวนลุงชัย
ขอขอบคุณ อ. ชาติ...ผู้ฝึกสอนการวางภาพ