เป็นปูจริงๆ ของไทยเรานี่แหละ เป็นกลุ่มปูบนบกทีใหญ่ที่สุดในโลก ที่จริงไม่
บกซะทีเดียว ในช่วงตัวอ่อนอาศัยในทะเลระยะหนึ่งก่อนที่จะขึ้นย้ายถิ่นฐานมาอาศัย
บนบก ทำมาหากินหาคู่ผสมพันธุ์ พอตัวเมียตั้งท้องก็ไปไข่ในทะเล หมุนเวียนอยูเช่น
นี้ตลอดไป
ที่ว่าปูบก เพราะว่าจริงๆในทะเลยังมีปูที่ใหญ่กว่านี้อีกคือ "ปูคิงอลาสก้า" และก็"ปู
ยักษ์แทสมาเนีย" แต่นั้นเป็นปูที่อาศัยในทะเลเขตอบอุ่น บ้านเราไม่มีครับ
ปูมะพรัาว นอกจากใหญ่แล้วยัง"หายาก"อีกด้วย หลายสิบปีที่ผ่านมารายงานการ
พบปูชนิดนี้ในธรรมชาติเพียงแค่ ๓ ครั้งเท่านั้น (ก่อน พ.ศ.๒๕๔๒)
ครั้งแรก เป็นตัวปูส่งมาจากหมู่เกาะ สิมิลัน
ครั้งสอง เป็นตัวปูเช่นกันมาจากระนอง
ครั้งสาม เป็นภาพถ่ายที่ได้จากหมู่เกาะ สิมิลัน เช่นกัน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เคยตั้งทีมคณะสำรวจ ออกค้นหาเจ้าปูชนิดนี้ แต่ก็คว้าน้ำ
เหลว หาไม่พบเลย
จริงๆ แล้วเราไม่เคยมีการศึกษาเรื่องราวของเจ้าปูชนิดนี้เลย ที่เราทราบก็เพียง
เล็กน้อย เหมือนเป็นตำนานที่เล่าต่อๆกันมามากกว่า
ว่ามันเคยอาศัยในทะเลและชายฝั่งแถบอันดามัน และความที่ว่าเนื้อมันมีรสชาด
อร่อย เลยถูกมนุษย์เราเอาไปกินซะหมด จนเชื่อว่าอาจจะสูญพันธุ์ไปจากแผ่นดิน
ไทยเราแล้ว
ปูชนิดนี้กินอาหารได้หลากหลาย เศษผลไม้ ใบไม้ ซากเน่าเปื่อย หรือพวกเดียว
กันเองแต่ที่แปลกและสำคัญทีมันถูกเรียกว่า "ปูมะพร้าว" ก็เพราะว่ามันสามารถปีน
ขึ้นไปบนต้นมะพรัาวได้ มันจะใช้ก้ามที่ทรงพลังค่อยๆ ปลิดลูกมะพร้าวให้ตกลงมา
จากนั้นก็จะปีนลงมา ใช้ก้ามอีกนั่นแหละเจาะลูกมะพร้าวเอาเนื้อมันมากินได้ เลย
เป็นที่มาของชื่อ "ปูมะพร้าว"
มีรูปเจ้าปูชนิดนี้มาให้ดูครับ หลายรูปเลย อาจสงสัยว่า ใหนว่าหายากแต่ทำไม
รูปแยะจัง
อันนี้ต้องขอบคุณ คุณปองพล อดิเรกสารและคุณธำรงค์ ประกอบบุญ ครับ ทั้ง
สองท่านเป็นผู้ที่ตัดสินใจนำปูชนิดนี้จากประเทศเซเชลส์ จำนวน ๒๓ ตัวเป็นตัวผู้
๔ ตัวเมีย ๑๙ เลี้ยงไว้ที่สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล ที่ภูเก็ต
จุดประสงค์หลักก็เพื่อการขยายพันธุ์และปล่อยคือสู่ธรรมชาติ ให้ "ปูมะพร้าว"
ได้คืนสู่ความจริงหลังจากเป็นตำนานมานาน
(http://image.ohozaa.com/i/c14/j0EL7H.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wP9jHVGzrHmLykXs)
(http://image.ohozaa.com/i/a7a/O7GPPO.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wP9jYeHWuBFVadrq)
(http://image.ohozaa.com/i/5d7/JBCmp2.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wP9lc69TaILiJj2O)
(http://image.ohozaa.com/i/g0f/VjwqlM.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wP9kahZ88oak51g5)
(http://image.ohozaa.com/i/090/3Mx0PO.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wP9klhkgVogqju16)
(http://image.ohozaa.com/i/c82/ib5EHo.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wP9kASohoLkGyP3i)
(http://image.ohozaa.com/i/0ab/J8hPYk.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wP9kMVFt2AtonWy7)
(http://image.ohozaa.com/i/cad/GJVLnm.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wP9kYCXYoT2X3gsc)
(http://image.ohozaa.com/i/feb/Hpuvhe.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wP9lx0U7UcK9zDo1)
(http://image.ohozaa.com/i/008/Y0UB6O.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wP9lK87moDClUh16)
(http://image.ohozaa.com/i/97b/eivOKB.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wP9lm1yZ78ZYGQVP)
จะเห็นได้ว่าขนาดมันใหญ่โตมาก ดูรูปที่เทียบกับช่างภาพ
หรือรูปที่กำลังปีนต้นไม้ ก็พอจะทราบได้
ข้อมูลและภาพถ่าย ต้องขอบคุณ
Advanced Thailand Geographic ฉบับที่ ๓๗ ปีที่ ๔
เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒
ไปหารูป ปูคิงอลาสก้า กับ ปูแทสมาเนีย มาฝาก
เทียบกับ ปูมะพร้าว ของเราเล็กกว่า แต่สวยกว่ามาก
(http://image.ohozaa.com/i/8c1/WafWsD.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wPaVDs9LhRh8a7os)
(http://image.ohozaa.com/i/g88/2mFI6I.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wPaVQVlG3REvDHKZ)
คิงอลาสก้าดูแล้วไม่เท่าไหร่
แต่ไอ้ แทสมาเนีย นี่หนีบคอขาดได้เลย
ต้มตัวหนึ่ง กินทั้งหมู่บ้าน แต่จะเอาหม้ออะไรมาใส่ล่ะเนี่ย