« เมื่อ: เมษายน 01, 2014, 07:52:06 AM »
โรค ฮีตสโตรค หรือลมแดด โรคเกี่ยวกับการเป็นลม การเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน
เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อน มากเกินไป (เกินกว่า 41 องศาเซลเซียส) จน
ไม่สามารถควบคุมระดับความร้อนในร่างกายได้
โดยปกติแล้วจะระบายออกได้หลายทาง ทั้งทาง เหงื่อ ทางลมหายใจ เป็นต้น
เมื่อร่างกายร้อนขึ้นแล้ว ก็จะทำให้เกิดภาวะการสูญเสียน้ำ อันเกิดจากสมองส่วนไฮ
โปธาลามัสได้สั่งการให้เกิดความรู้สึกหิวกระหายน้ำ เพื่อเป็นกลไกในการปรับตัวสู้
กับความร้อนของร่างกายที่สูงขึ้น
แต่สำหรับผู้ที่มีอาการโรคฮีตสโตรค ขณะที่ร่างกายขับเหงื่อออกมา สมองจะไม่
มีทางรู้เลยว่าร่างกายขาดน้ำเพราะความเข้มข้นของเลือดยังไม่เปลี่ยนแปลงและหาก
ร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไป ต่อมเหงื่อจะหยุดทำงานทันที ทำให้ความร้อนในร่าง
กายไม่ได้ระบายออก อุณหภูมิในร่างกายจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดอาการได้
ตั้งแต่อาการเล็กน้อยเป็นแล้วหายได้เอง เช่น เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหารไปจน
ถึงอาการรุนแรง เป็นสาเหตุให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น หัวใจ สมอง ตับ ล้ม
เหลว จนกระทั่งเสียชีวิตได้
อุบัติการณ์ของโรคลมแดด ในไทย อาจไม่มีการรายงานที่
ชัดเจน แต่ก็มีให้ตกใจเป็นครั้งคราวตามหน้าหนังสือพิมพ์
เช่น พบการเสียชีวิตของเด็กที่ถูกทิ้งไว้ในรถ หลายคนมัก
เข้าใจผิดว่า เด็กมักเสียชีวิตจากขาดอากาศหายใจ แท้จริง
แล้วเด็กอาจเสียชีวิตจากอุณหภูมิ ความร้อนสูงเกินไป ดังนั้น
พ่อแม่ ที่ปล่อยลูกไว้ในรถ อาจเปิดเครื่อง ยนต์เปิดแอร์ไว้ แต่
เครื่องเกิดดับขึ้นมาชั่วเวลาเพียง ไม่นาน อุณหภูมิภายในรถ
จะสูงขึ้น หากอุณหภูมิภายนอกสูงเช่นในเวลากลางวัน ความ
ร้อน จะยิ่งทวีคูณอย่างรวดเร็ว หนทางที่ดีที่สุดคือ พาลูกออก
ไปด้วย ไม่ปล่อยทิ้งไว้ในรถ
หากวินิจฉัยช้าและให้การรักษาไม่รวดเร็วพอ จะทำให้มีโอกาส
เสียชีวิตได้มากถึงร้อยละ 80 และสามารถลดลงได้ถึงร้อยละ
10 จากการช่วยเหลือที่รวดเร็วและทันท่วงที ในเรื่องปัจจัยอื่น
เช่น เชื้อชาติ เพศ ไม่ค่อยพบว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้พบอุบัติ
การณ์มากนัก แต่มักมีผลทางอ้อมมาจากกิจกรรม สังคม สิ่ง
แวดล้อม และเศรษฐกิจ มากกว่า
กลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลมแดดหรือฮีตสโตรค
1. กลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ ที่มีระบบการระบายความร้อนในร่างกาย ต่างจากคนวัย
อื่น ๆ
2. กลุ่มผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูงที่ต้องรับประทานยา
ขับปัสสาวะ ซึ่งมีผลขับโซเดียมออกจากร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติกับระดับ
เกลือแร่ได้ง่าย
3. กลุ่มนักกีฬา ที่ออกกำลังกายหักโหม
4. กลุ่มทหารเกณฑ์ฝึกใหม่ ที่ต้องฝึกหนักกลางแดด และการถ่ายเทของอากาศ
ที่ไม่สะดวก
5. กลุ่มคนทำงานออฟฟิศ ที่นั่งทำงานอยู่ในห้องแอร์เป็นเวลานานร่างกายไม่ฟิต
พร้อม และต้องออกมาปะทะอากาศร้อนกะทันหัน ทำให้ร่างกายปรับตัวกับความร้อน
ได้ไม่ทัน
คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น เพื่อป้องกันการเกิดโรคลมแดด
- ควรเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมก่อนออกกำลังกายกลางแจ้ง โดยแนะนำว่า
ควรออกกำลังกายกลางแจ้งอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 ครั้งครั้งละ 30 นาที เพื่อให้
ร่างกายปรับความเคยชินกับอากาศร้อน ที่สำคัญ
ควรออกกำลังกายในที่ที่มีอากาศถ่ายเท
- ในสภาวะอากาศที่ร้อนมาก ควรดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณ 2 ลิตรต่อวันหรือราว 6-8
แก้ว ให้หลีกเลี่ยงอากาศร้อนชื้นสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก พยายามจัดให้ที่อยู่
หรือสภาพแวดล้อมระบายอากาศได้ดี และควรดื่มน้ำ 1-2 แก้ว หรือประมาณ 300 มิลลิ
ลิตร ก่อนออกจากบ้านในวันที่มีอากาศร้อนจัด และหากต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศ
ร้อนหรืออยู่ในระหว่างการออกกำลังกาย ควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละประมาณ 1 ลิตรหรือ
ราว 4-6 แก้วต่อชั่วโมง ถึงแม้ไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม
- สวมใส่เสื้อสีอ่อน ไม่หนา เนื้อผ้าบางเบา ระบายความร้อนได้ดี
- ควรดูแลเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นพิเศษ โดยจัดให้อยู่ในห้อง
ที่มีอากาศถ่ายเทและไม่ปล่อยให้อยู่ในรถที่ปิดตามลำพัง
- ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อาบน้ำ ทาแป้ง เปิดแอร์ เปิดพัดลม งด
อาหารประเภทที่มีแอลกอฮอล์ หรือยาบางชนิดที่มีผลต่อการเพิ่มความร้อนในร่างกาย
เช่น ยาแอมเฟตามีน ยารักษาโรคบางชนิด ที่ทานเป็นประจำแต่มีผลรบกวนต่อ การระ
บายความร้อน หลีกเลี่ยงการทานยากลุ่มยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก โดยเฉพาะก่อนการออกกำ
ลังกาย หรือต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อน หรืออยู่กลางแดดเป็นเวลานาน ๆ
การดูแลเบื้องต้นผู้เป็นโรค ฮีตสโตรค
เมื่อพบเห็นผู้ที่กำลังจะเป็นลม ให้นำตัวผู้ป่วยเข้าที่ร่ม นอนราบ ยกเท้าสูง ถอดเสื้อ
ผ้าออก เพื่อให้สามารถหายใจได้สะดวกขึ้น ในกรณีที่ผู้ป่วยยังพอรู้สึกตัวและสามารถ
หายใจได้เอง อาจจัดให้นอนในท่าตะแคง เพื่อให้หายใจได้สะดวกได้เช่นเดียวกัน
หลังจากนั้น หาผ้าชุบน้ำเย็น เช็ดตามซอกตัว คอ รักแร้ เชิง กราน และศีรษะ เพื่อ
ระบายความร้อนออกจากร่างกาย พร้อมกับเปิดพัดลมระบายความร้อนถ้ามี พยายามเช็ด
ตัวผู้ป่วยบ่อยๆ เปลี่ยนน้ำที่ใช้เช็ดตัวบ่อยครั้ง เพื่อให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง หลังจาก
นั้น ให้รีบส่งตัวไปโรงพยาบาล
ข้อห้ามสำหรับการปฐมพยาบาลคือ ไม่แนะนำให้ใช้น้ำเย็นราดตัวผู้ป่วย เพราจะทำให้
เกิดการสั่นเทาของกล้ามเนื้อ ทำให้ความร้อนในร่างกายไม่ลดลง
ขอบคุณข้อมูลจาก นพ.ศักดา อาจองค์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
_______________________________________________________________________________________