ใครที่ชอบรับประทาน “ถั่วงอกดิบ” กับ ขนมจีนน้ำยา หรือ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย คงจะตกใจ หากได้รับอีเมลที่มีข้อความว่า
“ ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุเหล่านั้นเข้าร่างกาย จะเป็นโรคขาดแร่ธาตุ สารพิษเหล่านี้สามารถทำลายได้โดยการต้ม
จึงควรรับประทานถั่วงอกสุก ดีกว่าถั่วงอกดิบ”
เพื่อให้ผู้อ่านหายข้องใจ “X-RAY สุขภาพ” จึงมาพูดคุยกับ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ
นพ.กฤษดา กล่าวว่า ข้อความดังกล่าวเป็นเรื่องจริง โดย ไฟเตต จะพบมากในพืชตระกูล ถั่ว ไม่ว่าจะเป็นถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว
หรืองา ดังนั้นในถั่วงอกดิบจึงมีไฟ เตตสูง แต่ถ้าปรุงให้สุกไฟเตตจะสลายไป หรือมีปริมาณน้อยลง โอกาสที่ไฟเตตจะไปดูดซับแร่ธาตุต่าง ๆ
จึงน้อยกว่าการรับประทานดิบ ๆ
ไฟเตตจะมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ มัน จะไปจับ หรือดูดซับธาตุแคลเซียม เหล็ก สังกะสี และฟอสฟอรัส หากรับประทานเข้าไปมาก ๆ
ร่างกายจะไม่ สามารถดูดซึมแร่ธาตุเหล่า นี้ได้ ถ้าเรารับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุเหล่านี้เข้าไป พร้อมกับถั่วงอกดิบ ไฟเตต ก็จะดูดซึม
แร่ธาตุเหล่านี้ ตัว อย่างเช่น เรารับประทานปลาเล็กปลาน้อย เพื่อหวังจะได้รับแคลเซียม ขณะเดียวกันก็รับประทานถั่วงอกดิบเข้าไป
ก็จะทำให้ร่างกายดูดซึม ธาตุแคลเซียมได้น้อย แต่จะถูกขับออกมาทาง อุจจาระหรือปัสสาวะมากกว่า
การรับประทานถั่วงอกดิบต่อมื้อหรือ ต่อวัน ในปริมาณมาก ๆ เป็นกิโลกรัม ถือว่าเป็นอันตราย แต่ในชีวิตประจำวันของคนเราไม่ได้
รับประทานถั่วงอกมากมายขนาดนั้น จึงไม่ต้องกลัว ถ้ากลัว ก่อนที่จะรับประทานก็ควรปรุงให้สุกก่อน เพราะการปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ
ไฟเตตจะไม่สลายไปหมด ไฟเตตก็ยังคงมีอยู่ ประชาชนมักจะไม่ค่อยรู้เรื่องนี้ และไม่รู้ว่าอาหารชนิดใดมีไฟเตตอยู่บ้าง ส่วนใหญ่
มักจะคิดว่า การรับประทานอาหารทุกอย่างสด ๆ จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ แต่ไม่ใช่ทุกอย่างเสมอไป คนที่ชอบรับประทานขนมจีนน้ำยา
หรือ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทยกับถั่วงอกดิบ หากเกรงว่าถั่วงอกดิบจะไปดูดซับแคลเซียมหรือแร่ธาตุตัวอื่น ก็อาจจะกินกุ้งแห้งมากหน่อย
เช่น ผัดไทยก็ใส่กุ้งแห้งเพิ่ม เพราะผัดไทยนอกจากจะมีถั่วงอกแล้ว ยังมีถั่วลิสงโรยด้วย
ส่วนถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว ก่อนที่จะนำไปปรุงให้สุก ควรนำไปแช่น้ำก่อนสัก 3 ชั่วโมง จะทำให้ไฟเตตและแป้งในถั่วคลายตัวลง
พอนำไปปรุงจะทำให้สุกเร็วขึ้น ไม่ไปหมักต่อในท้อง จนทำให้ท้องอืด นอกจากถั่วงอกและพืชตระกูลถั่วที่มีไฟเตตแล้ว นพ.กฤษดา
บอกว่า ยังพบไฟเตตในผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า ขี้เหล็ก ผักโขม กลิ่นเหม็นเขียวที่เราพบในผักนั่นแหละ คือ กลิ่นของไฟเตต
นอกจากนี้ยังพบในผลไม้ เช่น สับปะรด ลำไย มะม่วง ทุเรียน แก้วมังกร รวมไปถึงเต้าหู้ ผลิตภัณฑ์ที่มาจากถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต
ขนมปังโฮลวีต แต่ปริมาณ ที่พบน้อยกว่าพืชตระกูลถั่วมาก อย่างสับปะรดเป็นผลไม้ที่มีไฟเตตมากที่สุดก็มีเพียง 0.09% เท่านั้น
ที่น่าสนใจคือมีงานวิจัยของต่างประเทศ ระบุว่า ไฟเตตมีส่วนทำให้เซลล์ที่ลำไส้ใหญ่ตายเร็ว และยังทำให้เซลล์เปลี่ยนหน้าตาเร็ว
แต่ก็ยังไม่มีผลการวิจัยยืนยันว่า ไฟเตตมีผลต่อการเกิดมะเร็งลำไส้หรือไม่
ายนี้หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ไม่ได้ต้องการให้เกิดความตื่นตระหนก แต่อยากให้เดินทางสายกลาง คือ จะรับประทาน
อะไร ไม่ซ้ำซากหรือมากจนเกินไป หากท่านไม่รับประทานพืช ผัก ทีเป็นกิโล ๆ การรับประทาน ดิบ ๆ ก็คงไม่มีปัญหา ส่วนผลไม้ก็ไม่น่ากลัว
เพราะมีปริมาณไฟเตตน้อยมาก ๆ.