ปลากือเลาะห์หรือปลาพลวงชมพู
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tor douronensis (Cuv & Val) (Smith.1945) อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Cyprinini มีรูปร่างคล้ายปลาเวียนซึ่ง เป็นปลาในวงศ์ย่อยเดียวกัน (Subfamily) แต่ลำตัวเพรียวและเป็นทรงกระบอกมากกว่า ส่วนหัวค่อนข้างมน ริมฝีปากหนา ปากกว้างเล็กน้อย ใต้คางมีติ่งเนื้อสั้น ๆ มีหนวด 2 คู่เห้นชัดเจน ตาอยุ่ค่อนไปทางด้านบนหัว เกล็ดมีขนาดใหญ่ ครีบหลังมีก้านแข็ง 1 อัน ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นสั้น ลำตัวด้านบนมีสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีเงินเหลือบชมพูหรือทอง ครีบสีคล้ำ ด้านท้องสีขาว มีขนาดความยาวประมาณ 25 ซ.ม. ใหญ่สุดที่พบ 35 ซ.ม.
ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่แม่น้ำตาปีไปจนถึงมาเลเซีย โดยอาศัยอยู่ในลำธารหรือแม่น้ำที่มีฝั่งเป็นป่าร่มครึ้มรวมถึงบริเวณน้ำตก เป็นปลาที่พบค่อนข้างบ่อย มีรสชาติดี เป็นที่ขึ้นชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน จังหวัดยะลา มีราคาสูง มีชื่อเรียกเป็นภาษายาวีว่า " กือเลาะห์ " หรือ " กือเลาะห์แมเลาะห์ " เป็นต้น เป็นปลาที่อยู่ ในตระกูลเดียวกับปลาเวียนและปลาพลวงหิน ในท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่างจะเรียกปลา ชนิดนี้ว่า อีแกกือเลาะห์ เนื้อมีรสชาติดี ในปลาขนาดใหญ่สามารถรับประทานได้ทั้งเกล็ด มีแหล่งอาศัยอยู่บริเวณแหล่งน้ำ ไหลต้นแม่น้ำ โดยเฉพาะบริเวณต้นน้ำอ่างเก็บ น้ำเขื่อนบางลาง จ.ยะลา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบปลาชนิดนี้อยู่มาก แต่การรวบ รวมยังไม่สามารถทำได้สะดวก เนื่องเพราะพื้นที่ดังกล่าวจำเป็นต้องเดินทางด้วยเท้าในป่า ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยจากการก่อการร้าย
ลักษณะทั่วไปของปลากือเลาะห์ มีลำตัวเรียวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจมูก(snout)เป็นโหนก ปากอยู่ด้านล่างรูปเกือกม้า ขากรรไกรบนแข็งแรงและยืดหดได้ ริมฝีปากหนาติดต่อกันทั้งบนและล่าง ที่ริมฝีปากล่างอาจเจริญขึ้นเป็นพูตรงกลาง(Medianlobe) มีหนวด 2 คู่ อยู่เหนือขากรรไกรบน 1 คู่ และที่ริมฝีปากบนก่อนถึงมุมปาก 1คู่ มีเกล็ดที่เส้นข้างลำตัว 21-28 เกล็ด ไม่มีร่องรับความรู้สึกที่หัว มีฟันที่หลอดคอ (Pharyngeal teeth) ฐานครีบหลังจะเริ่มตรงกับเกล็ดที่ 6-7 บนเส้นข้างลำตัว ก้านครีบหลังที่ 3 ในส่วนที่เป็นกระดูกค่อนข้างแข็ง ครีบก้นตัด(truncate) มีขนาดเล็กกว่าครีบหลัง ครีบหางเป็นง่าม เว้าลึกแหลม ที่รอบคอดหางมีเกล็ด 12 เกล็ด เกล็ดใหญ่สีเงิน ที่ฐานเกล็ดดำและที่ขอบเกล็ดค่อนข้างดำ เกล็ดบริเวณหลังสีเข้มกว่าบริเวณท้อง ที่ครีบจะมีสีแดงส้มปนดำเล็กน้อย
ปลากือเลาะห์เป็นปลาน้ำจืดที่ผู้คนแถว 3 จังหวัดภาคใต้ขนานนามว่าเป็น ราชาแห่งท้องน้ำสายบุรี นับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันก็ยังมิมีปลาชนิดใดมาลบล้างตำแหน่งนี้ไปได้ ปลากือเลาะห์หรือปลาพลวงชมพู(น่าจะเรียกว่าเวียนชมพูมากกว่าเพราะมันจัดอยู่ในกลุ่มปลาเวียน 55+) เป็นปลาที่มีความสง่าสวยงามแถมยังรสชาติถูกลิ้นอีก ปัจจุบัน(2551)ราคาตกที่ กก. 300-400 บาท ขึ้นมาจากปี 2549 ที่ กก. 200-300 บาท และคงจะแพงขึ้นเรื่อยๆเพราะปลาหายากขึ้นทุกที
ปลากือเลาะห์เป็นปลาดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายบุรี กระจายไปทั่วทั้ง3 จังหวัดที่แม่น้ำสายบุรีตัดผ่าน ตั้งแต่ อ.สุคิริน มายัง อ.จะแนะ และ อ.ศรีสาคร ไปจนถึงปากน้ำสายบุรี จ.ปัตตานี ซึ่งปลากือเลาะห์ที่พบแถบนี้มีอยู่ 2 ชนิดที่ชาวบ้านเรียกกัน
1.) ปลากือเลาะห์ดอกดาหลา
หรือที่ชาวบ้านเรียก อีแกกือเลาะห์บูงอฆาแต(พลวงชมพู) ลักษณะทั่วไปของชนิดนี้จะคล้ายกับปลาพลวงทั่วไป แต่มีทีเห็นความแตกต่างได้ชัดก็คือ ปากบนจะยื่นยาวออกเรียวๆ และปากด้านบนนี้จะยาวกว่าด้านล่าง โดยจะมีหนวดอยู่ 4 เส้น มุมปากด้านบนข้างละหนึ่งเส้น และมุมปากด้านล่างข้างละหนึ่งเส้น ปลากือเลาะห์เป็นปลาที่มีเกล็ดค่อนข้างใหญ่ สีของลำตัวและเกร็ดจะเป็นสีชมพูเหมือนดอกดาหลา ส่วนหางและครีบจะเป็นสีแดงอ่อน เวลาปลากือเลาะห์ชนิดนี้อยู่ในน้ำจะเห็นสีสรรค์ชัดเจน
2.) ปลากือเลาะทราย
หรือที่ชาวบ้านเรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า อีแกกือเลาะห์ปาเซ ลักษณะทั่วไปคล้ายปลากือเลาะห์ดอกดาหลาแต่ที่แตกต่างก็คือส่วนลำตัวและเกร็ดจะมีสีโทนขาว
ถิ่นอาศัยของปลากือเลาะห์
เป็นปลาที่พบมากในประเทศมาเลเ้ซียที่มีรอยเชื่อมต่อประเทศไทย พบอาศัยในแมน้ำสายบุรีและสายน้ำต่างๆที่เชื่อมต่อแม่น้ำสายบุรี ขนาดของปลากือเลาะห์สถิติเคยพบมีน้ำหนักประมาณ 15-20 ก.ก. แต่ปัจจุบันจะเฉลี่ยอยู่ที่ 2-10 ก.ก. อาหารของปลาชนิดนี้ก็จะเป็นพวก พืช แมลงและสัตว์เล็ก เช่น ลูกปลา ลูกไม้ต่าง และที่นักตกปลาใช้ก็คือ ไส้เดือน ตั๊กแตน ปลากือเลาะห์เป็นปลาที่มีรสชาติดี มีความหวาน นุ่ม ภายในเนื้อปลา สามารถทำกับข้าวหลายอย่าง แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมต้มตะไคร้ ส่วนน้อยมากที่จะทำอย่างอื่น เพราะการต้มตะไคร้จะทำให้รู้ถึงรสชาติของเนื้อปลาอย่างแท้จริง ปลากือเลาะห์เป็นปลาที่กินได้แม้กระทั่งเกร็ดเหมือนปลากระโห้ บางคนจะต้มเกล็ดพร้อมเนื้อปลา รสชาติของเกล็ดเวลาเคี้ยวจะกรุ้บๆเหมือนกระดูกอ่อนไ่ก่ หรือบางคนก็จะนำเกล็ดมาทอดทำเป็นข้าวเกรียบก็อร่อยอีกแบบครับ
ปัจจุบันปลากือเลาะห์ขนาดเล็กได้เข้าไปอยู่ในตลาดปลาตู้และมีราคาค่อนข้างสูง เพราะสีสันของมันมีความสวยงาม เวลากระทบแสงไฟก็จะมีประกายแวววาว ในช่วงเดือน พ.ย. ถึง ธ.ค. จะเป็นช่วงฤดูฝนระดับน้ำในแม่น้ำสายบุรีจะเอ่อสูงจนล้นตลิ่งน้ำก็จะเปลี่ยนเป็นสีแดงขุ่น เหล่าบรรดาปลากือเลาะห์จะรวมฝูงว่ายทวนน้ำเพื่อหาอาหาร โดยส่วนใหญ่จะมาหาอาหารในบริเวณรอยเชื่อมของน้ำ2สายที่มาบรรจบกันระหว่างคลองสายเล็กเชื่อมกับแม่น้ำสายบุรี ช่วงนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่นักตกปลากือเลาะห์เฝ้ารอ
(ขอขอบคุณ ภาพและข้อมูลจาก
http://jawnoyfishing.blogspot.com)
***ปัจจุบัน ปลาชนิดนี้ ตกประมาณราคา 500- 800 บาท ก็พอสูสี กับปลากุเลาเค็ม ที่ตากใบ น่าจะกินปลาหลังเขียวเค็ม ดีกว่าท่าจะดี****