ผู้อำนวยการฝ่ายช่องทางการจัดจำหน่าย แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า โดยทั่วไปแล้วการโจรกรรมข้อมูลในโลกไซเบอร์ จะมีลักษณะที่เกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงสังคม เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายจะถูกล่อลวงให้เปิดเว็บกับดัก หรือถูกหลอกให้เปิดไฟล์ที่แนบมาในอีเมล์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักที่จะแยกแยะว่าดีหรือร้าย จากผลการสำรวจโดยสถาบัน O+K Research เดือนพฤษภาคม 2555 พบว่าผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวน 50% ยอมรับว่าไม่สามารถจำแนกฟิชชิ่งอีเมล์หรือเว็บไซต์ปลอมแปลงได้
ส่วนมากแล้วข้อความฟิชชิ่งจะถูกส่งมาทางอีเมล์และเครือข่ายโซเชียลเน็ตเวิร์ก เนื่องจากเป็นวิธีการสื่อสารที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ยังพบว่า 86% ของผู้ใช้เครื่องพีซีเช็กอีเมล์เป็นประจำ และ 73% สื่อสารผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก 54% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนเพื่อแชตและคุยทางอินเตอร์เน็ตเป็นประจำ ดังนั้นจึงเป็นเป้าหมายที่น่าสนใจของอาชญากรไซเบอร์ที่ใช้ฟิชชิ่งเป็นช่องทางกระทำการมิชอบ ด้วยการขโมยชื่อผู้ใช้ พาสเวิร์ดที่ใช้เข้าโซเชียลเน็ตเวิร์ก บัญชีธนาคารออนไลน์ การชำระเงินออนไลน์ รวมทั้งช็อปปิ้งออนไลน์อีกด้วย ข้อมูลจากการสำรวจเมื่อเดือนมิถุนายนปีนี้พบว่า 68% ของข้อความฟิชชิ่งพุ่งเป้าหมายการโจรกรรมข้อมูลไปที่บริการออนไลน์
กว่าครึ่งของผู้ที่ร่วมตอบแบบสำรวจของสถาบัน O+K Research สังเกตว่าตนเองเคยได้รับข้อความน่าสงสัยทางโซเชียลเน็ตเวิร์กหรืออีเมล์มาบ้าง 47% ได้รับข้อความที่มีลิงก์หรือไฟล์แนบน่าสงสัย และ 29% ได้รับจดหมายที่อ้างว่าส่งมาจากธนาคาร (โซเชียลเน็ตเวิร์กหรือบริการออนไลน์อื่นๆ) เพื่อขอข้อมูลส่วนตัว เห็นได้ชัดว่าอาชญากรไซเบอร์สามารถบรรลุเป้าหมายได้ดีจากวิธีการส่งข้อความฟิชชิ่งหว่านออกไปหาผู้ใช้อินเตอร์เน็ต
นอกจากนี้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่า 26% ยอมรับว่าเครื่องของตนเคยติดไวรัสหลังจากที่เปิดไฟล์ที่แนบมากับจดหมาย และ 13% ของผู้ตอบแบบการสำรวจยังเคยส่งข้อมูลส่วนตัวด้านการเงินตามที่ขอมาอีกด้วย ดังนั้นเมื่อคุณไม่สามารถที่จำแนกจดหมาย ข้อความหรือเว็บไซต์ต่างๆ ว่า "จริงหรือปลอม" "ดีหรือร้าย" จึงควรใช้โซลูชั่นเฉพาะทางที่ช่วยคุณได้แทนการเสี่ยงต่อไปด้วยตนเอง เทคโนโลยี Safe Money ล่าสุดที่เป็นส่วนหนึ่งของ Kaspersky Internet Security 2013 ของแคสเปอร์สกี้ แลป ที่สามารถช่วยตรวจจับและบล็อกการโจรกรรมข้อมูลสำคัญของคุณผ่านฟิชชิ่งเว็บไซต์และมัลแวร์ที่โยงต่อไปยังบริการช็อปปิ้งออนไลน์หรือธนาคารออนไลน์ของคุณได้อีกด้วย
ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตส่วนมากมักตกเป็นเหยื่อของฟิชชิ่งผ่านทางอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สาย กล่าวคือ 24% ของผู้ใช้แท็บเล็ตและ 18% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนเคยได้รับข้อความที่มีลิงก์หรือไฟล์แนบแปลกๆ 14% และ 11% ตามลำดับเคยได้รับจดหมายที่อ้างว่ามาจากธนาคารหรือโซเชียลเน็ตเวิร์ก และในขณะที่อุปกรณ์ไร้สายต่างรองรับและได้รับความนิยมจากการสื่อสารออนไลน์มากยิ่งขึ้นทุกวันนั้น ปริมาณข้อความฟิชชิ่งสำหรับโมบายล์แพลตฟอร์มก็จะทวีจำนวนขึ้นด้วย
ดังนั้นก็น่าจะถึงเวลาแล้ว ที่เราต้องรู้จักหาตัวช่วยมาเพื่อป้องกันการถูกโจมตีเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยของคุณเอง