...สวัสดีครับเพื่อนร่วมบ้านเพลงไทยทุกท่าน...วันนี้ขอนำภาชนะที่ใช้ตักน้ำ ตักน้ำตาล วิดน้ำจากท้องเรือ ในอดีต เราเรียกสิ่งนี้ว่า"...ติหมา.... ตีหมา" เป็นภาชนะตักน้ำอย่างหนึ่งของชาวภาคใต้ทำด้วยกาบหรือใบของพืชตระกูลปาล์มที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น กาบหมาก กาบหลาวโอน ใบจาก การเรียกชื่อบางครั้งจึงมีชื่อของพืชที่นำมาเป็นวัสดุทำต่อท้ายด้วย เช่นถ้าทำจากใบจากก็เรียกว่า"หมาจาก" ถ้าทำจากต้อ(เตาะ)หมาก (กาบหมาก) ก็เรียกว่า "หมาต้อ"หรือ"หมาเตาะ"ถ้าทำจากกาบเหลาชะโอนก็เรียกว่า "หมาต้อหลาวโอน" (หรือ "หมาต้อ" เช่นเดียวกัน)แต่บางคนก็ใช้คำว่า "หมา" "ติหมา" หรือ "หมาตักน้ำ"รวม ๆ กันไปโดยไม่คำนึงถึงวัสดุที่ใช้ทำในท้องถิ่นบางแห่งจังหวัดนครศรีธรรมราชมีการใช้คำว่า "หมา" ในความหมายที่กว้างออกไปหมายถึงภาชนะตักน้ำปัจจุบันเรียกภาชนะตักน้ำที่ทำด้วยสังกะสี อะลูมิเนียมหรือเหล็กว่า "หมาถัง" หรือ "หมาถั้ง" ที่ทำด้วยพลาสติก แกลลอนน้ำมัน 5 ลิตร ก็เรียกว่า "หมาพลาสติก"อันเป็นการรักษาชื่อเต็มที่ขึ้นต้นด้วย "หมา" เอาไว้
....ศัพท์คำว่า "หมา" หรือ "ติหมา"นี้ บางท่านว่ามิใช่คำไทยแท้ แต่เป็นคำที่มาจากภาษามาลายูว่า"Timba" ซึ่งหมายถึง ภาชนะตักน้ำที่ทำด้วยกาบหมาก นั่นเอง.ส่วนภาษามะลายูท้องถิ่นเรียกว่า "ติมอ" หรือ"ตีมอ"
การทำตีหมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
....งานฝีมือเหล่านี้...มันกำลังสาบสูญหากเราไม่ช่วยกันสืบสาน หรืออนุรักษ์เอาไว้ หากคนรุ่นนี้ล้มหายตายจาก...แต่ขาดการสานต่อ...
รับรองว่า... คงจะเหลือแต่ “ตำนาน” แน่นอน!!!
ขอขอบคุณภาพจาก oknation.net/blog/chabatan
ขอบคุณข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตหลายๆเวป
ขอขอบคุณ
อ.ลือ ผู้ฝึกสอนการวางภพ