กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: เพื่อน..ข้างบ้าน  (อ่าน 12996 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
เพื่อน..ข้างบ้าน
« เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2013, 11:36:14 AM »
...สวัสดีครับ..วันนี้ขอนำเพื่อน ร่วมโลก ที่อยู่ข้างๆบ้าน..และพบเจอกันบ่อยมาฝากกันะครับ

พังพอน
        พังพอน (อังกฤษ: Small asian mongoose, Small indian mongoose; ชื่อวิทยาศาสตร์: Herpestes javanicus) เป็นสัตว์กินเนื้อชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Herpestidae มีขนาดเล็ก ขนบนหัวมีสีน้ำตาลแดงจนถึงน้ำตาลเข้ม ขามีสีเดียวกับลำตัวหรือเข้มกว่าเล็กน้อย หางยาวประมาณ 2 ใน 3 ของลำตัว เมื่อตกใจจะพองขนทำให้ดูตัวใหญ่กว่าปกติ เพศเมียจะมีเต้านมทั้งหมด 3 คู่
มีความยาวลำตัวและหัว 35-41 เซนติเมตร ความยาวหางประมาณ 25-29 เซนติเมตร  พังพอนมีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมากตั้งแต่อิหร่าน, ปากีสถาน, อินเดีย, พม่า, เนปาล, รัฐสิกขิม, บังกลาเทศ, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซียและเกาะชวา จึงทำให้มีชนิดย่อยมากถึง 12 ชนิด    มีพฤติกรรมชอบอาศัยตามป่าโปร่งหรือทุ่งหญ้ามากกว่าป่าดิบทึบ ดังนั้นจึงมักเห็นพังพอนอาศัยอยู่แม้แต่ในเขตเมือง มักอาศัยอยู่ตามลำพังในโพรงดินที่ขุดไว้ หรือโพรงไม้ ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนที่อาจอยู่เป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ อาหารได้แก่ สัตว์ทั่วไปขนาดเล็ก หรือบางครั้งอาจล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าลำตัว เช่น ไก่ป่ากินได้ ออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน พังพอนจัดเป็นสัตว์ที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก อีกทั้งมีนิสัยที่ไม่กลัวใคร จึงเป็นที่ทราบกันดีว่าชอบที่จะสู้กับงูพิษ โดยเฉพาะงูเห่าเมื่อเผลอจะโดดกัดคองูจนตาย มีฤดูผสมพันธุ์ที่ไม่แน่นอน มักจะผสมกันในโพงดิน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว ใช้เวลาตั้งท้องนาน 6 สัปดาห์ สมัยก่อนในบางบ้านจะเลี้ยงพังพอนไว้สำหรับจับหนูหรือสัตว์ที่ทำรังควานในบ้านชนิดอื่น ๆ แทนแมว ซึ่งได้ผลดีกว่าแมวเสียอีก พังพอนแม้เป็นสัตว์ดุ แต่หากเลี้ยงตั้งแต่เล็กก็จะเชื่องกับเจ้าของ ในสถานที้เลี้ยงพบว่ามีอายุยืนประมาณ 6 ปี
ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

ชะมดเช็ด(มูสัง)
มูสัง
ชื่อท้องถิ่น:   มูสัง
ชื่อสามัญ:   ชะมดเช็ด
ชื่อวิทยาศาสตร์:   Viverricula indica
ชื่อวงศ์:   Viverridae
ประเภทสัตว์:   สัตว์บก-สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ชะมดเช็ด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Viverricula indica จัดเป็นชะมดขนาดเล็ก ขาสั้น หูทั้งสองข้างอยู่ใกล้กัน เมื่อมองไกล ๆ อาจคล้ายแมว จนตามลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือง และมีจุดสีดำขนาดเล็กแทรกอยู่ทั่วไปตามลำตัว มีแถบสีดำและขาวบริเวณลำคอ หางมีวงสีดำ 6-9 ปล้องพาดขวางอยู่ ทำให้มีดูมีลักษณะเป็นปล้องสีดำ ปลายหางมีสีขาว ขาหลังมีต่อมกลิ่นที่ใช้สื่อสารระหว่างพวกเดียวกัน มีขนาดความยาวลำตัวและหัว 54-63 เซนติเมตร ความยาวหาง 30-43 เซนติเมตร น้ำหนัก 2-4 กิโลกรัม
        ชะมดเช็ดมักอาศัยในป่าที่ไม่รกชัฏ หากินบริเวณชายป่าที่ติดต่อกับพื้นที่ที่มนุษย์อยู่อาศัยและทำการเกษตรกรรม กินอาหารได้หลากหลาย ทั้งพืชและสัตว์ และอาจล่าสัตว์เลี้ยงจำพวก เป็ด, ไก่ กินเป็นอาหารได้ด้วย ออกมากินในเวลากลางคืน นอนหลับพักผ่อนในเวลากลางวัน โดยปกติแล้วจะอาศัยอยู่ตามลำพัง แต่ในฤดูผสมพันธุ์จะอาศัยอยู่เป็นคู่ แม่ชะมดเช็ดจะออกลูกครั้งละ 3-5 ตัว โดยจุดโพรงดินตื้น ๆ หรือหาโพรงตามโลดหินสำหรับเป็นที่ออกลูกและเลี้ยงดูลูกอ่อน เมื่อผ่านช่วงผสมพันธุ์ไปแล้ว แม่ชะมดเช็ดจะเลี้ยงลูกตามลำพังชะมดเช็ดในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกพื้นที่และทุกภาค มีอีกชื่อเรียกนึงว่า "ชะมดเชียง" ในจังหวัดเพชรบุรี มีการเลี้ยงชะมดเช็ดโดยเก็บเอาสารเคมีจากต่อมกลิ่นที่ขาหลังทำเป็นเครื่องหอม โดยเลี้ยงในกรงไม้กรงละตัว ให้อาหารสลับประเภทกันไป
อีเห็น
         อีเห็น หรือ กระเห็น[2](อังกฤษ: Palm civet) เป็นสกุลของสัตว์กินเนื้อสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Paradoxurus ในวงศ์ชะมดและอีเห็น (Viverridae)
อีเห็น มีความแตกต่างจากชะมด (Viverra spp.) ซึ่งเป็นสัตว์อีกสกุลในวงศ์นี้ คือ อุ้งตีนมีลักษณะเหมาะสมสำหรับการปีนป่าย โดยเฉพาะนิ้วที่ 3 และ 4 ของตีนหลังบางส่วนมีพังผืดเชื่อมติดกัน อุ้งตีนแยกออกเป็น 4 ส่วน อีเห็นจะมีนิ้วตีนทั้งหมดที่อุ้งตีนข้างละ 5 นิ้ว มีเล็บคมยาวไว้ปีนป่าย ขนาดอุ้งตีนของอีเห็นจะเล็กกว่าชะมด เพราะอีเห็นจะปีนป่ายต้นไม้หากินมากกว่าชะมด ที่หากินตามพื้นดิน แต่ทั้ง 2 สกุลนี้ เมื่อลงพื้นดิน โดยเฉพาะดินที่อ่้อนนุ่ม จะฝากรอยเท้าทิ้งเอาไว้ให้สังเกตเห็นได้ง่าย  อีกทั้ง อีเห็นจะเป็นสัตว์กินพืชและผลไม้มากกว่าชะมด ขณะที่ชะมดจะกินสัตว์ต่าง ๆ เช่น กบ หรือเขียด หรือปลา เป็นอาหารมากกว่าพืช
    อีเห็น เป็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ทั้งแต่เอเชียใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และหมู่เกาะต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วในบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย หรือ เวียดนาม มีการเลี้ยงอีเห็นในสกุลนี้ให้กินเมล็ดกาแฟ เมื่อถ่ายมูลออกมาแล้ว เมล็ดกาแฟจะไม่ถูกย่อยสลาย จะออกมาเป็นเมล็ดเหมือนเดิม จากนั้นจะนำไปล้างและคั่วเป็นกาแฟสำหรับจำหน่าย ซึ่งกาแฟลักษณะนี้เรียกว่า "กาแฟขี้ชะมด" เป็นกาแฟที่มีรสชาติกลมกล่อม หอมหวาน อร่อยกว่ากาแฟทั่วไป จึงมีราคาขายที่แพงกว่ากาแฟปกติทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากในระบบย่อยอาหารของอีเห็นมีเอนไซม์ที่ทำให้เมล็ดกาแฟมีรสชาติที่หอมหวาน****ทั้งสองชนิดนี้ ทางภาคใต้จะเรียกรวมกันว่า "มูสัง" ****
*****ชะมดและอีเห็นเป็นสัตว์ในวงศ์เดียวกัน นั่นคือวงศ์ Viveridae เป็นสัตว์กินเนื้อขนาดกลาง ลำตัวยาว ขาค่อนข้างสั้น มีขนาดความยาวหัว-หาง ต่างกันตั้งแต่ 30-100 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ไม่ถึงกิโลกรัมจนถึง 14 กิโลกรัม ส่วนใหญ่มีหัวเล็ก ปากแหลมสั้น ดวงตาขนาดปานกลาง ส่วนใหญ่มีลายแถบ หรือลายจุดตามลำตัว หางมักมีลายเป็นปล้อง หดเล็บได้ ส่วนใหญ่มีต่อมรอบก้นที่ผลิตสารกลิ่นฉุน บางชนิดแรงพอที่จะใช้เป็นอาวุธขับไล่ศัตรูได้ ส่วนประกอบของสารนี้ใช้ทำน้ำหอมหรือยาสมุนไพรได้ สัตว์ตัวผู้ในตระกูลนี้มีกระดูกลึงค์ด้วย สูตรฟันคือ 3/3, 1/1, 3-4/3-4, 1-2/1-2 = 32-40
สัตว์ในวงศ์นี้อาศัยอยู่ในทางใต้ของยุโรป แอฟริกา และเอเชีย รวมถึงอินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ มาดากัสการ์ มีทั้งสิ้น 20 สกุล 34 ชนิด
ชะมดและอีเห็นมีสายตาดี จมูกดี และหูดี ส่วนใหญ่หากินกลางคืน อาหารหลักคือ มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก แมลง รวมถึงสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นหนอน ปู กุ้ง บางชนิดกินเนื้อเพียงอย่างเดียว แต่บางชนิดก็กินผลไม้และรากไม้ด้วย สัตว์พวกนี้ไม่ค่อยสมาคมกันเป็นฝูงใหญ่ จึงมักพบเพียงตัวเดียวหรือเป็นคู่ มักปีนต้นไม้เก่ง มีเพียงไม่กี่ชนิดที่ชอบหากินบนพื้นดิน ชนิดหนึ่งที่พิเศษกว่าชนิดอื่นคือ หมีขอ เพราะมีหางยึดจับได้
ประเทศไทยมีชะมดและอีเห็น 11 ชนิด ได้แก่ ชะมดแผงหางปล้อง (Viverra zibetha), ชะมดมลายู (Viverra tangalunga), ชะมดแผงสันหางดำ (Viverra megaspila), ชะมดเช็ดหรือชะมดเชียง (Viverricula indica), อีเห็นลายเสือหรือชะมดแปลงลายจุด (Prionodon pardicolor), อีเห็นหน้าขาวหรืออีเห็นหูด่าง (Arctogalidia trivirgata), อีเห็นเครือ (Paguma larvata), อีเห็นข้างลาย (Paradoxurus hermaphroditus), อีเห็นน้ำหรือชะมดน้ำ (Cynogale bennettii), อีเห็นลายเสือโคร่งหรืออีเห็นลายพาด (Hemigalus derbyanus), หมีขอหรือบินตุรง (Arctictis binturong)*******
กระรอกสวน
         กระรอกแป็นสัตว์ที่ออกหากินในตอนกลางวัน (ยกเว้นตระกูลกระรอกบิน) แต่ส่วนใหญ่แล้ว จะออกหาอาหารในช่วงเช้ามืดหรือตอนเย็น เราสามารถพบกระรอกอยู่เป็นกลุ่มได้ในต้นไม้ที่ออกผลมาก มีความเชื่อกันว่ากระรอกตัวที่โตเต็มที่นั้นจะแบ่งเมล็ดพืชให้กับกระรอกที่ยังเล็กอยู่ เชื่อกันว่ากระรอกนั้นจะซ่อนอาหาร อย่างเช่นผลไม้สุก ไว้ในรอยแตก หรือรอยแยกของกิ่งไม้
อาณาเขตของที่อยู่อาศัยของกระรอกที่โตเต็มวัยนั้นอาจซ้อนเหลื่อมกัน
แต่บริเวณที่เกิดการซ้อนเหลื่อมนี้อาจขยายอาณาเขตมากขึ้นเมื่อตัวเมียมีน้อยลงและอาจทำให้กระรอกมาเผชิญหน้ากัน เมื่อเป็นเช่นนี้ กระรอกตัวที่เป็นเจ้าของอาณาเขตจะไล่กระรอกตัวอื่นไปจนกระทั่งกระรอกตัวนั้นออกจากอาณาเขตของตนไป หรือกระรอกตัวที่เป็นเจ้าของอาณาเขตอาจไม่แสดงอาการใดๆ เลยแล้วใช้ชีวิตตามปกติต่อไป กระรอกตัวที่ปกครองเป็นใหญ่ในบริเวณนั้นจะยังคงอยู่โดยเฉพาะบริเวณที่ใช้เป็นที่หาอาหารประจำและมีกระรอกอยู่ทั้ง 2 เพศ ซึ่งจะเป็นเช่นนี้ไปตลอดชีวิตของมัน 

..เขตที่พบกระรอก...
กระรอกเป็นสัตว์ที่พบว่ามีอาศัยอยู่ทั่วโลกยกเว้นในทวีปออสเตรเลีย, ตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้, และบริเวณทะเลทราย  กระรอกสามารถอาศัยอยู่ในถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีความแตกต่างกัน  ตั้งแต่ป่าฝนเขตร้อนไปจนถึงเขตอาร์คติกทุนดรา   และจากชั้นเรือนยอดของต้นไม้ไปจนถึงโพรงใต้ดิน
...ถิ่นที่อยู่อาศัย...
โดยส่วนใหญ่แล้วกระรอกจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.8 องศาเซลเซียส และมีปริมาณน้ำฝน 1455 มม. จะสามารถพบกระรอกได้มากในป่าเขตอบอุ่นโดยเฉพาะป่าที่มีไม้ผลมาก สำหรับในประเทศไทยนั้นสามารถพบเห็นกระรอกได้ทุกภูมิภาค แต่จะพบได้มากที่ภาคใต้และพบว่ามีจำนวนน้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระรอกบางพันธุ์นั้นจะสามารถพบได้เฉพาะในภาคใต้เท่านั้น เช่น พญากระรอกเหลือง กระรอกสามสี กระรอกหางม้าใหญ่ กระรอกหน้ากระแต ซึ่งกระรอกเหล่านี้ล้วนเป็นกระรอกพันธุ์หายาก และใกล้จะสูญพันธุ์
...อาหารของกระรอก...
กระรอกในประเทศไทยนั้นก็มีลักษณะการหาอาหารคล้ายกับกระรอกต้นไม้อื่นๆ คือ ดำรงชีวิตด้วยการกินใบไม้ ผลไม้ เมล็ดพืช แมลง ผลไม้เปลือกแข็ง และโคนต้นสน กระรอกเหล่านี้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่หากินบนต้นไม้ แต่บางเวลาหากินบนพื้นดิน และแน่นอนว่าอาหารส่วนใหญ่ของกระรอกล้วนเกี่ยวกับต้นไม้ ทำให้กระรอกมักจะเก็บสะสมอาหารอยู่บนกิ่งไม้ กระรอกมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและอาหารตามฤดู ในฤดูหนาว กระรอกจะกินดอกที่ยังอ่อนๆ ของต้นแต้ฮวย ซึ่งจะออกดอกตั้งแต่เดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนมิถุนายนในปีถัดไป จากนั้นกระรอกจะเปลี่ยนมากินใบไม้ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนพฤษภาคม และเมื่อถึงเดือนมิถุนายนกระรอกก็จะเริ่มกินผลไม้ เมื่อฤดูใบไม้ร่วงมาถึง กระรอกจะกินแมลงที่มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะมดที่กำลังกักตุนอาหารก่อนที่ฤดูหนาวจะมาเยือน
...พฤติกรรมการกินอาหารของกระรอก...
- อาหารหลัก : กระรอกเป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหารหลัก โดยมากจะกินผลไม้และธัญพืช
- อาหารที่เป็นสัตว์ : แมลง บางครั้งกระรอกจะกินแมลงเมื่อต้องการแร่ธาตุบางชนิด
- อาหารที่เป็นพืช : ได้แก่ ใบไม้ เมล็ดพืช ธัญพืช ผลไม้เปลือกแข็ง และผลไม้
- พฤติกรรมการหาอาหาร : มีการสะสมหรือซ่อนอาหารไว้กินในฤดูหนาว

...การสืบพันธุ์...
กระรอกมีการสืบพันธุ์แบบ promiscuous หรือ polygynandrous คือตัวผู้หรือตัวเมียหลายๆ ตัวผสมกับเพศตรงข้าม 1 ตัว ในวันที่ตัวผู้เป็นสัด ตัวผู้หลายตัวจะมารวมกันล้อมรอบตัวเมียและเริ่มส่งเสียงร้อง การส่งเสียงร้องนี้เป็นการเริ่มต้นแข่งขันกันในหมู่ตัวผู้ ซึ่งจะมีตัวผู้ตัวหนึ่งที่ชนะและได้ผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวนั้น ตัวผู้ตัวที่ชนะจะได้ครอบครองตัวเมียในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไข่ของตัวเมียนั้นได้รับการผสมจากตนเอง แต่ถ้าจำนวนตัวผู้ที่เข้าแย่งชิงนั้นมีจำนวนมาก ตัวผู้ตัวนั้นก็อาจไปจากตัวเมีย และตัวเมียก็อาจจะเริ่มผสมกับตัวผู้ตัวหนึ่งที่ชนะตัวผู้ตัวอื่นๆ ที่เข้ามาในขณะนั้น
หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ในตอนแรกตัวเมียจะออกสำรวจหาบริเวณและสร้างรังในบริเวณที่เหมาะสมและค่อนข้างปลอดภัย พฤติกรรมนี้จะพบมากที่สุดในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงที่ตรงกับฤดูผสมพันธุ์ของกระรอก ภายในรังของกระรอกนั้นพบว่า แม่กระรอกสามารถให้กำเนิดลูกได้ครั้งละหลายตัว
...อายุขัยของกระรอก...
ยังไม่เคยมีการรายงานเป็นตัวเลขที่แน่นอนแต่สำหรับกระรอกที่ถูกคนเลี้ยงดูนั้น โดยเฉลี่ยแล้วมีอายุประมาณ 17 ปี และบางพันธุ์อาจมีอายุยืนถึง 21 ปี (เลี้ยงขังในกรง) เช่น กระรอกสามสี
 ศัตรูตามธรรมชาติ
ในธรรมชาตินั้น กระรอกมีศัตรูคือสัตว์กินเนื้อขนาดเล็ก เช่น อีเห็น ชะมด พังพอน แมวป่า รวมทั้งเหยี่ยว นอกจากนี้ กระรอกอาจถูกคนจับมาขายหรือฆ่าทิ้งเนื่องจากทำลายผลผลิตของเกษตรกร โดยเฉพาะกระรอกที่ไปอาศัยในสวนปาล์ม
.....นี่คือเพื่อน ร่วมโลก ต่างสายพันธ์ ที่พบเห็นเป็นประจำ ในสวนลุงชัย เป็นเขตอภัยทาน ที่ห้ามทุกคนเข้ามาล่า หรือทำร้าย เราจะมีที่ใส่น้ำ ใส่อาหารเสริมให้ เลยทำให้คุ้นเคยกัน..ท่านใดมีเรื่องเล่ามาแจมกันก็เชิญนะครับ ...



ขอขอบคุณภาพและข้อมูล จากอินเตอร์เน็ต หลายเวป
ขอขอบคุณ อ. ลือ ผู้ฝึกสอนการวางภาพ


ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: เพื่อน..ข้างบ้าน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2013, 01:34:27 PM »
เอาเรื่องสัตว์ป่าใกล้บ้านมาล่ออย่างนี้....
           ผมก็เดินเข้าแร้วบ่วง ง่ายๆเลยครับ เพราะชอบมาก.....

    1.พังพอน ทางเหนือเรียก "จอนขุ่ย"ครับ (สะกดตามที่ได้ยินเขาเรียกกัน)
              สมัยอยู่ปัตตานี...  เคยปีนไปนอนเล่นเงียบๆ บนต้นไม้
     ที่โตติดกับจอมปลวกที่มีต้นข่อยขึ้นปกคลุม
      สักพัก มองลงมา.... เห็นฝูงพังพอนหลายตัว เดินพล่านไปมาอยู่ข้างล่างบนจอมปลวก
          แสดงว่า จอมปลวก ก็คือรังของพวกมันครับ...

    2. ชะมด กับ อีเห็น(มูสัง)...มีทั้งที่เคยตามเขาไปล่ายิง
               และที่ซื้อลูกมูสัง มาเลี้ยงจนโตครับ
           แต่ที่ประทับใจเรื่องมูสังอีกเรื่อง  คือ ตอนเรียน ว.ค. ยะลา ป.กศ.ต้น....
    ซึ่งผมได้พักอยู่หอภายใน ว.ค. (แคมปัส)
          ทุกเย็น เราจะอาบน้ำ แต่งตัว เดินกับเพื่อนๆไปกินข้าวที่โภชนาคาร(แคนทีนรวมของชาวหอ)
             รุ่นพี่คนนึง เรียน ป.กศ.สูง...
      เหมือนว่า น่าจะเป็นประธานหอ ที่อยู่ใกล้ๆกับผมนะ
     พี่เขาแต่งหล่อจะไปกินข้าวมาเลยครับ...คงกะอวดสาวๆชาวหอ เหมือนที่หลายคนทำกัน
       (ที่จริงมีคนแต่งตัวอวดสาวๆหลายคน หลายกลุ่มนะครับ
             ส่วนมากเป็นรุ่นพี่ บ้านมีฐานะ...ใช้เสื้อผ้าแบรนด์เนมของยุคนั้น เช่น ยีคิว ฮาร่า ลีวายส์)

            พี่คนนี้ วันนั้นใส่เสื้อปกปีกนก ตีเกร็ดที่ลำตัว รัดรูป...
         กางเกงทรงม้อด รัดต้นขา แล้วมาบานเป็นกระดิ่งใหญ่ที่หน้าแข้ง...คาดเข็มขัดเส้นใหญ่มาก อย่างฝากระดานบ้าน
     รองเท้าหัวกบ ส้นใหญ่สูง ครบเครื่อง....เรียกว่า ตามสมัยนิยมของปี 2516-17 ครับ
                 พี่เขาเป็นคนอัธยาศัยดีมากๆ ยิ้มแย้ม แต่หน้าตา ก็ว่าหล่อน้อยไปหน่อยนึง
      ผิวคล้ำแบบคนใต้เต็มตัว  ออกแนวบ้านๆ ....ดูไม่สำอาง
               แต่ที่พี่เขาดูสดุดตาที่สุด ในเย็นนั้น...เป็นเพราะ พี่เขาจูงสัตว์เลี้ยงมากินข้าวด้วยครับ

              สมัยนี้ อาจเป็นน้องหมาปอมฯ  ...ไม่ก็ ชิวาว่า
                   แต่พี่ เขาจูงมูสังมาครับ....
             ที่จริงพวกเราเดินนำมาก่อนแล้ว ไม่ไกลก็จะถึงแคนทีน...
      พอดีมีคนหันหลังไปมอง บอกว่า เฮ้ย พี่คนนั้นจูงอะไรมาอะ ...
            หยุดดู ก็เห็นมันถูกจูงโซ่เส้นเล็กๆ เดินวน ดมพื้นถนน ไปทางนั้นที กลับมาทางนี้ที...
       เข้าไปดูใกล้ๆ เป็นมูสัง ตัวใหญ่...น้องๆหมาตัวเล็กเลยครับ....
            สีไม่มีลวดลาย อย่างในรูปที่พี่ชัยยกมา-ซึ่งผมก็เคยเห็นบ่อย
          แต่ตัวนี้  มันจะสีน้ำตาลอ่อนๆ ผสมหม่นๆ เป็นบางที่....
               ถาม  พี่เขาก็บอกว่า "มูสังหน้านวล ครับน้อง"

        เออ...ผมเพิ่งได้เห็นมูสังหน้านวลตัวเป็นๆ ก็ตอนนั้นแหละครับ....
           นึกย้อนไป ก็ว่า พี่เขาเท่นะครับ....แต่งม้อดเต็มยศ
                     มาดมั่น เดินจูงมูสังหน้านวลแทนหมา  ....

    3. กระรอกสวน น่ารักมากๆ...เดี๋ยวนี้หายากนะครับ
             ยกเว้นที่ขายที่จตุจักร นั่นเขาเพาะเลี้ยงเป็นฟาร์ม
        เรื่องชอบเลี้ยงสัตว์เป็นนิสัย... ถึงขนาดเคยออกปากบอกลูกศิษย์ ตอนไปฝึกสอน รร.สมเด็จหลวงพ่อทวดฯ
     ว่าครูอยากได้ลูกกระรอกมาเลี้ยงจัง ถ้าใครเผอิญเจอ.....ย้ำ เผอิญเจอนะ
         อยู่ๆ วันนึง.... เช้ามา เด็กเอาลูกมะพร้าวแห้งมาวางทิ้งที่โต๊ะผม...
             มะพร้าวมีรู ข้างในมีลูกกระรอกบิน 2-3 ตัว...555

       สนุกครับพี่ชัย...ขอบคุณที่ขยันนำเรื่องดีๆ มาโพสต์ให้อ่านกัน
            ส่วนผม... อ่านแล้ว ก็จะพยายามนึกหาประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง ที่ตัวเองเคยเจอมา
                  ตอบกลับ เป็นความเห็นเสริมครับ
         
           

                      :49 :49 :49


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 10, 2013, 02:24:41 PM โดย ลือ »
บันทึกการเข้า

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
Re: เพื่อน..ข้างบ้าน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2013, 02:44:32 PM »
ขอบคุณครับครู..นี่แหละคือสิ่งที่ผมอยากได้..นำเรื่องราวหลากหลายมาเพื่อให้ทุกคนที่เคยพบเจอมาในอดีต..ได้ทบทวนความทรงจำ..และเล่าสู่กันฟังครับ....


บันทึกการเข้า

เผ่าพงษ์ ปัตตานี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2009
  • กระทู้: 507
  • Thank You
  • -Given: 3223
  • -Receive: 2009
Re: เพื่อน..ข้างบ้าน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2013, 05:15:28 PM »
แล้วที่ทางใต้เขาเรียก "มูสังแหย้ว" ล่ะลุงชัยมันคืิอตัวไหนล่ะ เพราะอยากรู้จริงๆ


บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: เพื่อน..ข้างบ้าน
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2013, 05:48:53 PM »


    1.  น่าจะตัวนี้ครับ คุณเผ่าพงษ์....
         ทำนองว่า โธ่เอ๊ย ก็นึกว่า มูสังจริงๆ
             ที่แท้ ก็มูสัง(ที่ร้อง)แหย้วๆ น่ะเอง...

        2. รอพี่ชัยมาเฉลยอีกทีครับ....


บันทึกการเข้า

เผ่าพงษ์ ปัตตานี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2009
  • กระทู้: 507
  • Thank You
  • -Given: 3223
  • -Receive: 2009
Re: เพื่อน..ข้างบ้าน
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2013, 08:28:04 PM »
 :09 ผมก็สงสัยว่าจะเป็นไอ้ตัวนี้เหมือนกันครับครู  ยังไงลุงชัยช่วยเฉลยหน่อยในฐานะที่เป็นกูรูด้านนี้โดยตรงครับ


บันทึกการเข้า

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
Re: เพื่อน..ข้างบ้าน
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2013, 11:52:55 PM »
ขอบคุณครับ ท่านเผ่าพงษ์ ผมมิใช่ กูรู หรอกครับ เป็นได้ก็แค่ ข้างๆคูๆ เท่านั้นแหละ เพียงแต่สนใจ ในตัวตน และความเป็นคนบ้านนอก ของตัวเอง ก็เลยนำเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับตัวเองในอดีต มาเล่าสู่กันฟัง ขอเชิญ ท่านท้วงติง หากมีสิ่งใดที่ไม่ถูกต้อง และเชิญ หาเรื่องมาเล่ามาแจม กันบ้างนะครับ
..มูสังแย้ว..ผมก็ได้ไปค้นคว้าหาเรื่อง มาจากในเวปต่างๆบ้าง จากผู้เฒ่าผู้แก่ ที่ผมนับถือบ้าง ก็สรุปตรงกันว่า
***มูสังแหย้ว,  สังแหย้ว  (น.)  คำเรียก สมมติตัวอะไรสักอย่างไว้หลอกเด็กเล็ก ว่า
        จะมาทำร้าย หรือจับตัวเอาไป ถ้าไม่หยุดร้อง
          " แน่งเสียต้ะ มูสังแหย้ว มาแล้วโด้ "  - นิ่งเสียนะจ้ะ มูสังแหย้ว มาแล้วโน่น** จาก http://plugmet.orgfree.com


บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: เพื่อน..ข้างบ้าน
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2013, 08:27:38 AM »
ฮิ ฮิ.....
    ผมก็เคยโดนแม่หลอกเหมือนกันครับ..


บันทึกการเข้า

ชบาบาน

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 382
  • กระทู้: 95
  • Thank You
  • -Given: 412
  • -Receive: 382
Re: เพื่อน..ข้างบ้าน
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2013, 08:57:41 PM »
สังแหย้ว กะ คางคูด โดนหลอกกันแทบทุกคนตอนเป็นเด็กๆ(ไม่ใช่เด็กในเมือง) นี่คงเป็นสัตว์ในจินตนาการเสียเป็นแน่แท้
ทีเดียวเชียว  แต่เพื่อนคนหนึ่งแถวๆทุ่งสงมันบอกว่า คางคูดแดงมีตัวตนจริงๆ พื้นบ้านเขาเรียกกันว่า"เสือไฟ" ตัวเล็กๆเท่า
สุนัข  ไม่ทราบว่าเป็นจริงหรืออย่างไร  ท่านลุงชัยเป็นนักค้นคว้ามือโปร  น่าจะรู้ดี ขอความรู้เป็นวิทยาทานด้วยขอรับ...


บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: เพื่อน..ข้างบ้าน
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2013, 11:43:49 PM »


                 เสือไฟ ที่เขาบูโดครับ....
                      (ขอบคุณเจ้าของภาพ)


บันทึกการเข้า

เผ่าพงษ์ ปัตตานี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2009
  • กระทู้: 507
  • Thank You
  • -Given: 3223
  • -Receive: 2009
Re: เพื่อน..ข้างบ้าน
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2013, 01:44:17 PM »
เสือไฟกับเสือปลา อันเดียวกันไหมครับ ตอนเด็กผมเคยเห็นเสือปลาเท่าแมวตัวใหญ่ได้มังครับ


บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: เพื่อน..ข้างบ้าน
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2013, 02:26:57 PM »
น่าจะไม่ใช่พันธุ์เดียวกันครับ...
    ผมเข้ากูเกิ้ล พิมพ์ เสือปลา ....
           คลิกค้นรูป ....เจอรูปเสือปลา ตัวมันมีลวดลาย
       ส่วนเสือไฟ ไม่มีลายที่ตัวครับ

               
                    เสือปลา โผล่ที่สามร้อยยอด...
                  (ขอบคุณเจ้าของภาพ)


บันทึกการเข้า

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
Re: เพื่อน..ข้างบ้าน
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2013, 12:23:02 PM »
ขอขอบคุณทั้ง 3 ท่านที่มาสานต่อกระทู้นี้ให้"ชับบึ๋ด" ขึ้น และครูลือก็หาภาพมาให้..ตอนเข้ามาอยู่ในสวนใหม่ๆ ก็เคยเจอเสือปลาและลูกน้อยๆ อีก 2 ตัว แต่ช่วงหลังนี่ไม่ค่อยเห็นแล้ว อาจจะมาจากสาเหตุ
1.เราเลี้ยงหมา ไว้หลายตัว
2.รอบๆที่เราอยู่พื้นที่เริ่มเตียนลง
3.หรือโดนล่าจนสูญพันธ์ไปแล้ว
ขอนำข้อมูลและภาพจากวิกิพีเดีย มาสานต่อครับ


เสือปลา หรือ เสือแผ้ว (หรือคางคูด ของท่านชบาน) และแมวคราว(ลุงชัยเคยโดนหลอกตอนเด็กๆ)
อังกฤษ: (Fishing cat) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือขนาดเล็ก
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prionailurus viverrinus
ในวงศ์ Felidae
    เป็นแมวป่าขนาดกลาง รูปร่างอ้วนป้อม ขนตามลำตัวค่อนข้างสั้นและหยาบมีสีเทา มีจุดสีน้ำตาลเข้มแกมดำเรียงเป็นแนวขยานไปกับความยาวลำตัว ดวงตามีสีเขียว หางสั้นมากยาวเพียงครึ่งหนึ่งของลำตัว มีพังผืดบาง ๆ ยึดระหว่างนิ้วเท้าหน้า ไม่สามารถเก็บเล็บได้เหมือนเสือชนิดอื่น ๆ มีความยาวลำตัวและหัว 70-78 เซนติเมตร ความยาวหาง 25-29 เซนติเมตร น้ำหนัก 7-11 กิโลกรัม ลูกเสือปลาขนาดเล็กมีลักษณะคล้ายแมวดาว (P. bengalensis) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันมาก

**มีการกระจายพันธุ์กว้างขวางพบได้ตั้งแต่ตะวันตกเฉียงใต้ และตะวันออกเฉียงเหรือของอินเดีย, เนปาล, บังกลาเทศ, พม่า, ไทย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, เกาะสุมาตราและเกาะชวา**

*****มักอาศัยหากินอยู่ตามป่าพรุหรือป่าละเมาะ (นี่คือสภาพรอบๆสวนลุงชัย)หรือป่าชายเลน เพราะอาหารหลัก คือ ปลา จึงเป็นทีมาของชื่อ สามารถจับปลาหรือสัตว์น้ำ สัตว์ขนาดเล็กกินได้เก่งมาก โดยจะตะครุบปลาในแหล่งน้ำตื้น สามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้อีกด้วย สามารถปีนต้นไม้ได้แต่จะไม่ค่อยอยู่บนต้นไม้เท่าไหร่นัก บางครั้งจะอาศัยอยู่ใกล้กับชุมนุมมนุษย์ เช่น ในเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร มีวัดแห่งหนึ่ง ชื่อ "วัดกระทุ่มเสือปลา" ก็แสดงหมายถึง ในอดีตเคยมีเสือปลาชุกชุม
         เสือปลาใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 63 วัน ออกลูกครั้งละ 1-4 ตัว เมื่ออายุได้ 10 เดือน ก็จะแยกจากแม่ไปหากินตามลำพัง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 15, 2013, 12:49:49 PM โดย ลุงชัยนรา »
บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: เพื่อน..ข้างบ้าน
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2013, 02:01:47 PM »
1.ถ่ายรูปสวน มาลงให้ดูกันบ้างครับพี่ชัย...
       ลงเยอะๆเลยครับ ...เน้นป่า หรือชายป่าก็ได้ครับ
        เจอรู เจอรังอะไร ฝากถ่ายมาด้วยครับ
     อิจฉาคนมีที่ทางกว้างๆ...ทำอะไรได้สนุกๆ
           อยากดูบ้านที่มีที่ดินเป็นหน่วยไร่
        เบื่อแบบหน่วย งาน/ตารางวา เต็มทีครับ

2.อยู่แม่ริม ....บางทีเพื่อนก็ชวนไปเที่ยวบ้านเพื่อนครู
         ที่เขาซื้อป่า-ไม่มีใบ  แล้วปลูกบ้านอยู่จริงๆเลยครับ
       แถวหนองปลามัน...บ้านอ้อย  เขต อ.แม่ริม
    ซึ่งเป็นทางผ่านไป ต.สะลวง ทะลุออกแม่มาลัย และไปสู่ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ได้ด้วย
           เห็นแล้ว ...รู้เลยว่าเขาเหนื่อยมากกับการบุกเบิกที่ทาง
     ต้องดึงไฟฟ้าเข้าบ้าน ต้องขุดสระเก็บน้ำเอง
         ท่อน้ำนี้ เห็นวางวิ่งทั่วสวน..

           3. มีเพื่อนครูรุ่นพี่คนนึง มีที่สัก 4 ไร่...เขาซื้อกระต่ายมาเลี้ยงแบบปล่อย
        มันก็สร้างรังรู ใต้กองไม้ที่สุมไว้กองใหญ่ ออกลูกออกหลานเต็มไปหมด...
           กลางคืน มันจะออกมาวิ่งเล่น ตะคุ่มๆ...
      ผมฟังพี่เขาเล่า ตอนไปคุมสอบด้วยกัน...ฟังเพลิน หูห้อยเลย
             แต่เราไม่มีที่กว้างอย่างเขาครับ..

                                    :69 :69 :69 :69


บันทึกการเข้า

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
Re: เพื่อน..ข้างบ้าน
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2013, 10:25:10 AM »
...ขอบคุณครับครู ที่แนะนำ ผมจะพยายามถ่ายภาพ ภูมิทัศน์ รอบๆ สวนผมมาฝากกัน ครับ แต่...มีปัญหาอยู่นิ๊ด ด ด ด ด เดียว คือตอนนี้ คงต้องใช้ กระดานชนวนฝรั่ง ถ่ายไปก่อน จะลองดูก่อนว่าออกมาดีมั๊ย เพราะมัน"ซูม" ไม่ได้ ส่วนกล้องที่มี "sony dsc - w100" นี่ก็กำลังซ่อมอยู่ เพราะเผลอทำตกน้ำไป ยังไง ก็จะพยายาม ครับครู


บันทึกการเข้า