..สวัสดีครับ เพื่อนร่วมบ้าน เพลงไทย ที่รักทุกท่าน..วันนี้ก็ขออนุญาต ใช้พื้นที่ตรงนี้ นำเรื่องของเพื่อนๆ ที่นานๆ มาเยือนที แต่การมาเยือนของเพื่อน ก็ทำให้รู้ว่า สถานที่แห่งนี้ เป็นที่น่าไว้วางใจ และเชื่อในความปลอดภัย เพื่อน จึงมาเยือน.บ่อยๆ นั่นคือ..นกพื้นถิ่น ที่มีอยู่ทั่วไป...แต่นับวันจะร่อยหรอลงไปทุกวัน..สาเหตุ เพราะพื้นที่ป่า หดหายไป คนเยอะขึ้น .....
เพื่อนตัวแรกนกกระปูดใหญ่(ภาษาใต้เรียก
นกคูด)
ชื่อท้องถิ่น: นกกระปูดใหญ่
ชื่อสามัญ: Greater Coucal
ชื่อวิทยาศาสตร์: Centropus sinenisis
ลักษณะสัตว์: เป็นนกขนาดกลาง ตาสีแดง หัวและคอสีดำเหลือบน้ำเงิน หลักและปีกสีน้ำตาลแดง ลำต้วด้านล่างและหางสีดำเหลือบน้ำเงิน
ปริมาณที่พบ: ปานกลาง
การใช้ประโยชน์: ขยายพันธุ์ไม้ กำจัดแมลง
แหล่งที่พบ: นกประจำถิ่นทั่วทุกภาคของประเทศไทย
เพื่อนถัดไป นกกระปูดเล็ก
ชื่อสามัญ Lesser Coucal
ชื่อวิทยาศาสตร์ Centropus touloue
นกกระปูดเล็ก มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เบงกอล อัสสัม พม่า ไทย เทือกเขาตะนาวศรี อินโดจีน ในประเทศไทยมีเกือบทั่วไปทุกภาค ชอบอยู่ตามป่าหญ้าสูง ๆ มากกว่าตามพุ่มไม้รก ๆ อยู่ได้ทั้งที่ราบต่ำและภูเขาสูง ๆ ชอบหากินตามป่าหญ้า และชอบอยู่ตัวเดียว แต่ในฤดูผสมพันธุ์จะอยู่เป็นคู่ ซึ่งจะผสมพันธุ์ประมาณเดือนพฤษภาคม – กันยายน ทำรังอยู่ตามโคนกอหญ้าคากออ้อหรือโคนพุ่มไม้ วางไข่ครั้งละประมาณ 3-5 ฟอง อาหารได้แก่แมลงต่าง ๆ และสัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ
นกกวัก Amaurornis phoenicurus ( White-breasted Waterhen)
ภาษาใต้เรียก
นกหวักเป็นนกที่มีลักษณะเด่นเฉพาะ เมื่อได้พบเพียงครั้งเดียวก็จำได้ และไม่มีทางสับสนกับนกชนิดอื่น นกชนิดนี้มีบริเวณตั้งแต่หลังหน้าผาก ไล่ไปจนถึงหลัง ปีก และหางเป็นสีดำออกเทา อมแดงนิดๆ หน้าผาก หน้า คอ อก ท้อง เป็นสีขาวสะอาด ขนคลุมโคนหางเป็นสีน้ำตาลแกมแดง ตาสีแดง โคนปากมีสีแดงสด ปากตรงสีเหลืองอมเขียว ขาและเท้าสีเหลืองอมเขียว นิ้วยาวมาก มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 28.5-36 เซนติเมตร ทั้ง 2 เพศคล้ายคลึงกัน
พื้นที่ที่สามารถพบนกกวักได้คือตามบริเวณท้องนา หนองบึง ทุ่งหญ้า กกธูปฤษีข้างทางที่มีน้ำขัง แม่น้ำลำคลองที่มีกอหญ้า หรือที่ให้หลบซ่อนตัวได้ คนที่ขับรถไปตามเส้นทางที่มีลักษณะที่ว่าก็สามารถจะพบนกกวักเดินขึ้นมาจาก ข้างทางเพื่อข้ามถนนบ้าง เดินหากินบ้าง ซึ่งนกก็จะวิ่งหลบไปทันที นกชนิดนี้บินไม่ค่อยเก่ง จึงมักใช้วิธีวิ่งหนีไปซ่อนตัวในดงพืชรกๆ
อาหารของนกชนิดนี้คือลูกกุ้ง ลูกปลา ลูกกบ เขียด หนอน แมลง ตัวอ่อนของแมลง ไส้เดือน และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยตามพื้นที่ชื้นแฉะ นกจะเดินหากินไป กระดกหางไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นลักษณะที่เหมือนนกอัญชันอื่นๆที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน หากไม่ตื่นกลัว นกจะเดินหากินไปเรื่อยๆ
ช่วงฤดูฝน แหล่งน้ำที่นกอาศัยมีน้ำท่าอาหารอุดมสมบูรณ์ นกก็จะจับคู่เพื่อทำรังวางไข่ ซึ่งนกชนิดนี้สามารถทำรังวางไข่ได้มากกว่าปีละ 1 ครั้ง หากว่ามีภาวะที่เหมาะสม นั่นคือแหล่งที่อาศัยมีความอุดมสมบูรณ์สูงนั่นเอง ในการจับคู่ ตัวผู้จะส่งเสียง กวัก กวัก กวัก กวักเรียกตัวเมียเข้ามาหา เมื่อจับคู่ผสมพันธุ์แล้วนกก็จะทำรังโดยการคาบเอากิ่งไม้ ใบพืช ใบหญ้ามาขัดสานลวกๆตามกอพืช กอผักตบชวา บนแหล่งน้ำ หรือทำรังบนพุ่มไม้ริมฝั่งน้ำ เช่นรังนกกวักรังนี้ที่อยู่บนพุ่มไม้เตี้ยๆราว 1 เมตรเท่านั้น แต่ก็มีการดึงกิ่งไม้มาปกปิดรังเอาไว้อย่างมิดชิด นกจะวางไข่ราวรังละ 3-5 ฟอง
นกชนิดนี้เป็นนกประจำถิ่นของประเทศไทยซึ่งหาพบได้มาก และมีกระจายอยู่ทุกภาคตามแหล่งน้ำดังที่กล่าวไว้ จากที่ราบถึงที่ความสูงระดับ 1500 เมตรจากระดับน้ำทะเล และเป็นนกประจำถิ่นของอนุทวีปอินเดีย นกบางส่วนที่พบตามคาบสมุทรมลายูเป็นนกที่อพยพลงมาจากจีนในช่วงฤดูหนาว
นกชนิดนี้มีรสชาติอร่อยคนทั่วไปจึงค่ิอนข้างนิยมจับนกกวักมาทำเป็นอาหารหรือดักจับมาขายหาเลี้ยงชีพ สำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยหรือไม่มีพื้นที่ทำกิน วิธีการดักจับก็ทำได้หลายแบบ อาทิเช่น ดักจับตอนกลางวันจะใช้เบ็ดเกี่ยวตัวกุ้งฝอย ตัวปลา(เน้นสีขาว) แล้วเสียบคันเบ็ดหรือมัดเบ็ดเอาไว้กับต้นไม้ที่แข็งแรง ให้ตัวกุ้งฝอย ตัวปลา(เน้นสีขาว)หรือที่เรียกว่าเหยื่อจมน้ำลงไปประมาณ 3 – 4 ข้อมือ แต่วิธีการนี้จะมีข้อด้อยตรงที่ว่า เราต้องรู้ว่าแหล่งนั้นมีนกมาหาอาหารอยู่เป็นประจำ และที่สำคัญ หากนกกินเหยื่อแล้ว ตัวเบ็ดจะเกี่ยวลึกเข้าไปถึงลำคอนกต้องใช้มีดผ่าเอาเบ็ดออก ทำให้นกเสียชีวิต ซึ่งดูโหดร้ายเกินไป การดักจับด้วยตาข่าย(ได้ผลดีตอนกลางคืน) คนดักจะใช้ตาข่ายขนาด 8 เซ็นติเมตร ใช้เสาที่เป็นไม้ไผ่ยาวประมาณ 4.5 เมตร โดยเน้นไม้ไผ่ลำเล็ก ๆ เป็นสำคัญ ปลายสุดของเสาให้เท่ากับขนาดนิ้วชี้จะพอดี การดักก็กางตาข่ายต่อกันยาวตามแนวทุ่งนาหรือที่ลุ่มที่เคยเห็นนกบินหรือมีรอยเท้านกอยู่บริเวณนั้น ให้ส่วนล่างของตาข่ายสูงเท่ากับปลายต้นข้าวพอดี จากนั้นนำกล่องเสียงหรือเทปที่มีเสียงนกกวักไปมัดเข้ากับตรงกลางเสาให้อยู่ระหว่างตรงกลางของความยาวทั้งด้านบนด้านล่างและตรงกลางของความยาวตาข่าย แล้วหากระดิ่งหรือะไรก็ได้ที่นกบินชนตาข่ายแล้วจะทำให้เราได้ยินเสียงมาติดใส่ตาข่ายไว้ทุกตาข่าย แล้วตรวจเช็คตาข่ายอย่าให้ตึงจนเกินไป เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนเตรียมการ หลังจากพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าให้เปิดเสียงนกจนถึงเวลาประมาณ 20-21 นาฬิกาก็ปิดเทป ช่วงเวลานั้นหากมีนกบินมาชนตาข่ายให้รีบปลดนกออกจากตาข่ายทันที(ที่สำคัญห้ามเปิดไฟ) หลังจากนั้นก็นอนเอาแรง ประมาณตี 3 ตั้งนาฬิกาปลุกเอาไว้แล้วลุกขึ้นมาเปิดเสียงนกอีกครั้งไปจนถึง ตี 5 หรือสว่าง ช่วงเวลาที่เปิดเสียงนกก็เฝ้าระวัง ทำเหมือนเดิม หากมีนกบินมาชนตาข่ายให้รีบปลดออกจากตาข่ายทันทีที่สำคัญห้ามเปิดไฟโดยเด็ดขาด ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเช้าแล้วจึงเก็บอุปกรณ์กลับบ้าน ข้อดีของวิธีนี้เราจะสามารถจับนกได้แบบเป็น ๆ และจะได้มากกว่าวิธีข้างต้นแต่ก็มีข้อเสีย ตรงที่ว่ามีการลงทุนซื้ออุปกรณ์และต้องออกดักจับในตอนกลางคืน
........แถวใกล้สวนลุงชัย จะคนมาต่อนกวักกันบ่อยๆ กลัวว่าจะสูญพันธ์ไม่รู้จะมีวิธีไหนที่จะไม่ให้นก หายไปจากพื้นที่ ก็เลยนึกวิธีขึ้นได้ เขาอัดเสียงนกวัก มาต่อนกได้ เราก็เอาเสียง ร็อดไวเลอร์ อัดแล้วเปิดกับเครื่องเสียง ใหญ่ เวลาเขามาต่อ เราก็เปิด ตั้งแต่นั้นมา ไม่มีใครกล้าเข้ามาใกล้สวนอีกเลย เพราะคนที่มาต่อนก จะเป็นอิสลามเสียส่วนใหญ่ สรุปว่า เสียงหมาช่วยนก..ตั้งแต่นั้นมาก็จะเห็นครอบครัว นกกวักมาหากินในท้องร่อง สวนลุงชัย อยู่บ่อยๆ เช่นภาพนี้
ครอบครัวนกกวัก กำลังสำราญ
นกอัญชันคิ้วขาว (อังกฤษ: White-browed Crake)
ภาษาใต้เรียก นกชันชื่อวิทยาศาสตร์: Porzana cinerea) จัดอยู่ในวงศ์นกอัญชัน(Rallidae) เป็นนกอัญชันขนาดเล็ก นกชนิดนี้หากินตาม ทะเลสาบ บึง หนอง พรุ นากุ้ง นาข้าว ห้วย คลอง หรือ พื้นที่ที่ชุ่มน้ำต่างๆที่มีพืชลอยน้ำปกคลุมหนาแน่นในพื้นที่ราบ อาหารของนกชนิดนี้ได้แก่เมล็ดของพืชน้ำ แมลง ไข่แมลง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเล็ก ๆ ที่หาพบได้ตามกอพืชรก ๆ หรือบริเวณชายน้ำในแหล่งน้ำที่อาศัย โดยนกจะเดินจิกกินไปเรื่อย ๆ พร้อมกับกระดกหางขึ้น ๆ ลง ๆ
มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 19-21.5 เซนติเมตร มีตาสีแดง มีแถบสีดำลากผ่านคิ้วสีขาว ได้ตามีแถบสีขาวปากสีเหลืองอมเขียว โคนปากมีแต้มสีแดง หัวและอกสีเทา ท้องสีขาว ลำตัวต้านบนสีน้ำตาล มีจุดเด่นอยู่ที่แถบสีขาวคล้ายคิ้วและแถบสีขาวที่มุมปากถึงข้างแก้มตัดกับหน้าสีเทาและแถบตาสีดำ คอและท้องสีเทาปนขาว ท้องด้านล่างไปจนถึงก้นสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเหลือง มีลายเกล็ดสีน้ำตาลดำขาและเท้าเหลืองแกมเขียว และโคนหางสีน้ำตาลแดงขาสีเขียวนกทั้งสองเพศคล้ายคลึงกัน มักพบเดินหาอาหารกินอยู่บนพืชน้ำหรือบริเวณชายน้ำ จะชอบเดินและวิ่งหาอาหารกินสลับกับหยุดเป็นระยะระยะ และชอบกระดกหางขึ้นลงตลอดเวลา นอกจากนี้ยังสามารถว่ายน้ำหากินได้ด้วย จะส่งเสียงร้อง จิ๊ก-จิ๊ก-จิ๊ก เสียงขึ้นจมูก ประมาณซ้ำ 10 - 12 ครั้ง
นกอัญชัน ขณะกำลังหากิน
พื้นที่อาศัย ทะเลสาบ บึง หนอง พรุ นากุ้ง นาข้าว ห้วย คลอง บริเวณชายน้ำ หรือพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ
แหล่งกระจายพันธุ์ ในประเทศ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ปาปัวนิวกินี บรูไน มาเลเซีย ไทย เวียดนาม ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว เขมร และประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิค อื่น ๆ เช่น ฟิจิ หมู่เกาะโซโลมอน เป็นต้น สำหรับประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่นพบได้ทุกภาค โดยเฉพาะภาคกลางและภาคใต้ แต่อาจจะพบได้บ่อยเพราะเป็นนกประจำถิ่น
...รบกวนเวลา เพื่อนๆ และเนื้อที่ ของบ้านเพลงไทยมาพอสมควร ขอ สมมุติ ยุติลง...คง..ไว้แต่..เพียงนี้...เอวัง ก็มีด้วย ประการะฉะ..นี้....
ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย
ขอขอบคุณภาพจากอินเตอรืเน็ด หลายๆเวป
ขอขอบคุณ
อ.ลือ ผู้ฝึกสอนการวางภาพ