ภาษาถิ่นใต้ เป็นเหตุอีกเคส ย้อนอดีตไป นานครับ...
ที่อำเภอหนึ่ง ของภาคใต้....
คุณยายที่อ่านไม่ออก เขียนไม่เป็น มาแจ้งเกิดให้หลานชายที่เพิ่งคลอด
แทนแม่ที่กำลังอยู่ไฟ ยังไม่เสร็จ....
เจ้าหน้าที่สาววัยรุ่น ซักถามไป เขียนไป...
(สมัยนั้น สูติบัตร ทะเบียนบ้านยังกรอกข้อมูลด้วยลายมือเขียนครับ)
เจ้าหน้าที่ : แล้วตั้งชื่อหลานหรือยัง ล่ะยาย
คุณยาย : อ๋อ ... พ่อดี๋ ใฮผ่อถ่าน ถ่านฉ่วยแล่ ฉ่วยตัง....
(อ๋อ.... พอดี ให้เจ้าอาวาส ท่านช่วยดู ช่วยตั้ง)
เจ้าหน้าที่ : ดีแล้วค่า...ตกลงชื่ออะไรล่ะคะ
คุณยาย : เห๊นถ่านหว่า ใฮเฉ่อ ไก๋ส๊อน
(เห็นท่านว่า ให้ชื่อ ไกรสร) ..............
เจ้าหน้าที่ (ชงัก...งง นิดนึง ก่อนพูดว่า ) : ....ชื่อแปลกเนาะ
แล้วก็ก้มลงเขียนต่อ....
คุณยายโล่งใจ สบายใจ ที่การแจ้งเกิดให้หลานเรียบร้อยทุกประการ
เดินถือใบเกิดของ
"เด็กชายไก่สอน" และทะเบียนบ้านกลับไป...
.............
หมายเหตุ ภาษาใต้ จะออกเสียงคำว่า ไกรสร ... ว่า ไกร๋ส๊อน/ไก๋ส๊อน (มักไม่รัวลิ้น ออกแค่ ไก๋ส๊อน เสียมากกว่า)
และ จะออกเสียงคำว่า ไก่สอน ... ว่า ไก๋ส๊อน เช่นกันครับ...
(ฟังเขาเล่าต่อกันมา ....ว่า นี่เรื่องจริงนะครับ)