ต้นทางข้อมูล
http://www.greenerald.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81/มะระขี้นก
มะระ จัดเป็นไม้เลื้อยเขตร้อน นิยมปลูกเพื่อน้ำผลและยอดมารับประทานเป็นอาหาร และเป็นอาหารที่มีรสขม ซึ่งสายพันธุ์ที่เรารู้จักกันก็จะมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์หลักๆ ซึ่งก็ได้แก่ มะระจีน และมะระขี้นก ซึ่งทั้งสองสายพันธุ์นี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่เหมือนกันคือ Momordica charantia ส่วนมะระภาษาอังกฤษก็จะมีอยู่ด้วยหลายชื่อ Bitter melon (มะระจีน) , Bitter gourd (มะระขี้นก) และยังมีคำอื่นๆที่เรียกรวมกันนั้นก็คือ Balsam apple, Balsam pear, Bitter cucumber เป็นต้น
มะระขี้นก จะมีรูปร่างคล้ายกระสวย ผิวของเปลือกจะขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา โดยผลอ่อนจะมีสีเขียว แต่ถ้าเป็นผลแก่จะออกสีเหลืองอมแดง ปลายของผลจะแตกเป็น 3 แฉก ถามว่าทำไมถึงเรียกว่ามะระขี้นก? คำตอบก็คือว่านกมันชอบมาจิกกินทั้งผลและเมล็ด แล้วก็ถ่ายเมล็ดไว้ตามที่ต่างๆ จึงเป็นที่มาของชื่อนี้
มะระขี้นก จะมีรสขมมากกว่ามะระจีน จึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้สูงอายุ ด้วยการนำผลอ่อนไปต้มหรือเผากินทั้งลูก แต่ถ้าเป็นผลแก่ก็ต้องนำมาคว้านเมล็ดออกเสียก่อน สำหรับวิธีลดความขมของมะระขี้นกทำได้ด้วยการต้มน้ำให้เดือดจัด ใส่เกลือประมาณหยิบมือ แล้วลวกมะระในน้ำเดือดสักครู่ ก็จะทำให้รสความชมของมะระลงไปได้และยังคงมีผลสีเขียวสดอีกด้วย
มะระที่สุกแล้วจะมีสารซาโปนิน (Saponin) ในปริมาณมาก การรับประทานอาจทำให้มีอาการอาเจียน ท้องร่วงได้ และอาจทำให้ถึงขึ้นเสียชีวิต เพราะฉะนั้นห้ามรับประทานแบบสุกๆ
ผู้ที่ห้ามรับประทานมะระขี้นก ได้แก่ผู้ที่ม้ามเย็นพร่อง กระเพาะเย็นพร่อง หากรรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้มีอาการอาเจียน ถ่ายท้อง ปวดท้องได้ และควรรับประทานในปริมาณที่พอดี อย่าทำอะไรเกินเลย เช่นการดื่มน้ำมะระขี้นกก็อย่าขมจัด เพราะจะทำให้ตับทำงานหนัก และสำหรับหญิงตั้งครรภ์อาจจะทำให้ตกเลือดหรือแท้งได้หากรับประทานเกินขนาดหรือกินมะระขี้นกที่เริ่มสุกแล้ว
คุณค่าทางโภชนาการของผลมะระขี้นกต่อ 100 กรัม
มะระขี้นกพลังงาน 19 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 4.32 กรัม
น้ำตาล 1.95 กรัม
เส้นใย 2 กรัม
ไขมัน 0.18 กรัม
โปรตีน 0.84 กรัม
น้ำ 93.95 กรัม
วิตามินเอ 6 ไมโครกรัม 1%
แบต้าแคโรทีน 68 ไมโครกรัม 1%
ลูทีน และ ซีแซนทีน 1,323 ไมโครกรัม
วิตามินบี1 0.051 มิลลิกรัม 4%
วิตามินบี2 0.053 มิลลิกรัม 4%
วิตามินบี3 0.28 มิลลิกรัม 2%
วิตามินบี5 0.193 มิลลิกรัม 4%
วิตามินบี6 0.041 มิลลิกรัม 3%
วิตามินบี9 51 ไมโครกรัม 13%สรรพคุณมะระขี้นก
วิตามินซี 33 มิลลิกรัม 40%
วิตามินอี 0.14 มิลลิกรัม 1%
วิตามินเค 4.8 ไมโครกรัม 5%
ธาตุแคลเซียม 9 มิลลิกรัม 1%
ธาตุเหล็ก 0.38 มิลลิกรัม 3%
ธาตุแมกนีเซียม 16 มิลลิกรัม 5%
ธาตุแมงกานีส 0.086 มิลลิกรัม 4%
ธาตุฟอสฟอรัส 36 มิลลิกรัม 5%
ธาตุโพแทสเซียม 319 มิลลิกรัม 7%
ธาตุโซเดียม 6 มิลลิกรัม 0%
ธาตุสังกะสี 0.77 มิลลิกรัม 8%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
สรรพคุณมะระขี้นก
ประโยชน์ของมะระช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงมีส่วนช่วยในชะลอความแก่ชราได้
ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย (ผล)
ช่วยต่อต้านและป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ผล)
ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในตับอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีส่วนช่วยในการลดความอ้วน
ช่วยป้องกันการตับและหนาตัวของผนังหลอดเลือดแดง
ช่วยยับยั้งเชื้อเอดส์ หรือ HIV (ผล)
ช่วยรักษาโรคหอบหืด
ช่วยบำบัดและรักษาโรคเบาหวาน สามารถลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้เป็นอย่างดี โดยจะออกฤทธิ์ทันทีหลังรับประทานประมาณ 60 นาที (ผล)
ประโยชน์ของมะระ ช่วยลดความดันโลหิต (ผล)
ช่วยให้เจริญอาหาร เพราะมีสารที่มีรสขมช่วยกระตุ้นน้ำย่อยออกมามากยิ่งขึ้น ทำให้รับประทานอาหารได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น (ผล,ราก,ใบ)
ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ เพิ่มพูนลมปราณ ด้วยการใช้เมล็ดแห้งของมะระขี้นกประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่ม (ผล,เมล็ด,ใบ)
แก้ธาตุไม่ปกติ (ผล,ใบ)
ใช้เป็นยาช่วยในการฟอกเลือด (ใบ)
ช่วยในการนอนหลับ (ใบ)
ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ช่วยในการถนอมสายตา ช่วยทำให้ดวงตาสว่างสดใสขึ้น แก้ตามบวมแดง (ผล)
ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ (ใบ)
ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย (ผล,ใบ)
สรรพคุณมะระขี้นก ช่วยแก้ไข้ที่เกิดจากการถูกความร้อน ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นก คว้านไส้ออก ใส่ใบชาแล้วประกบกันน้ำแล้วนำไปตากในที่ร่มให้แห้ง รับประทานครั้งละ 6-10 กรัม โดยจะต้มน้ำดื่มหรือชงดื่มเป็นชาก็ได้ (ผล,ราก,ใบ)
ช่วยแก้อาการไอเรื้อรัง (ใบ)
ช่วยลดเสมหะ (ราก)
แก้อาการปากเปื่อยลอกเป็นขุย (ผล,ใบ)
ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (ราก,เถา)
ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นกต้มรับประทาน หรือจะใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (ผล,ราก,ใบ,เถา)
ช่วยในการย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี
ช่วยรักษาโรคกระเพาะ ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัมต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้ใบแห้งบดเป็นผงรับประทานก็ได้ (ใบ)
ช่วยรักษาอาการบิด ถ้าถ่ายเป็นเลือดให้ใช้รากสดประมาณ 120 กรัมต้มกับน้ำดื่ม ถ้าถ่ายเป็นเมือกๆ ให้ใช้รากสดประมาณ 60 กรัม น้ำตาลกรวด 60 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล,ใบ,ดอก,เถา)
มะระขี้นก สรรพคุณช่วยรักษาอาการบิดถ่ายเป็นเลือดหรือมูกเลือด ด้วยการใช้เถาสดประมาณ 1 กำมือนำมาใช้แก้อาการบิดเลือดด้วยการต้มน้ำดื่ม หรือใช้แก้บิดมูกให้ใส่เหล่าต้มดื่ม (ราก,เถา)
แก้อาการจุดเสียด แน่นท้อง (ผล,ใบ)
มะระขี้นก สรรพคุณทางยา ช่วยขับพยาธิ ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกประมาณ 120 กรัมนำมาตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือจะใช้เมล็ประมาณ 3 เมล็ดรับประทานเพื่อขับ
พยาธิตัวกลมก็ได้ (ผล,ใบ,ราก,เมล็ด)
ช่วยขับระดู (ใบ)
ช่วยบำรุงระดู (ผล)
ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (ราก)
สรรพคุณของมะระขี้นก มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ (ผล,ราก,ใบ)
ช่วยขับลม (ผล,ใบ)
แก้โรคม้าม รักษาโรคตับ (ผล,ราก,ใบ)
ช่วยบำรุงน้ำดี (ผล,ราก,ใบ)
แก้พิษน้ำดีพิการ (ราก)
ใช้แก้พิษ ด้วยการใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (ผล,ราก,ใบ,เถา)
ช่วยรักษาแผลฝีบวมอักเสบ ด้วยการใช้ใบแห้งของมะระขี้นกมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับเหล้าดื่ม หรือจะใช้ใบสดนำมาตำให้แหลกคั้นเอาน้ำมาทาบบริเวณที่เป็นผี หรือจะใช้รากแห้งบดเป็นผงแล้วผสมน้ำพอกบริเวณฝี (ผล,ใบ,ราก,เถา)
ช่วยรักษาแผลบวมเป็นหนอง ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นกผิงไฟให้แห้งบดเป็นผงแล้วนำน้ำมาทาหรือพอก หรือใช้ผลสดตำแล้วนำมาพอกก็ได้ (ผล)
ใช้เป็นยาฝาดสมาน (ผล,ราก,ใบ)
ใช้รักษาแผลจากสุนัขกัด ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกมาตำให้แหลก แล้วนำมาพอกบริเวณบาดแผล (ใบ)
ประโยชน์ของมะระขี้นก ช่วยรักษาโรคหิด ด้วยการใช้ผลแห้งของมะระขี้นกนำมาบดให้เป็นผง แล้วนำมาโรยบริเวณที่เป็นหิด (ผลแห้ง)
แก้อาการคันหรือโรคผิวหนังต่างๆ ด้วยการใช้ผลแห้งของมะระขี้นกนำมาบดให้เป็นผง แล้วนำมาโรยบริเวณที่คันหรือทำเป็นขี้ผึ้งใช้ทาแก้โรคผิวหนังต่างๆ (ผลแห้ง)
ช่วยดับดิบพิษฝีร้อน (ใบ)
ช่วยรักษาโรคลมเข้าข้อ อาการเท้าบวม (ผล,ราก)
ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยจากลมคั่งในข้อ (ใบ)
ช่วยแก้อาการปวดตามข้อนิ้วมือนิ้วเท้า (ผล,ราก)
แก้อาการฟกช้ำบวม (ผล,ใบ)
ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ โปรโตซัว เชื้อมาลาเรีย (ผล)
ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ด้วยการใช้เมล็ดแห้งของมะระขี้นกประมาณ 3 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม(เมล็ด)
มะระขี้นก สามารถนำมาใช้ทำแกงจืดมะระยัดไส้หมูสับได้เช่นเดียวกับมะระจีน แต่ต้องต้มนานหน่อยเพิ่มลดความขม หรือจะนำมาทำเป็นอาหารเผ็ดก็ได้ เช่น แกงเผ็ด พะแนงมะระขี้นกยัดไส้ หรือจะนำไปผัดกับไข่ก็ได้เช่นกัน
ใบมะระขี้นกนิยมนำมารับประทานอาหาร (แต่ไม่นิยมกินสดๆ เพราะมีรสขม)
ประโยชน์มะระขี้นกา แถวอีสานนิยมนำใบมะระขี้นกใส่ลงไปในแกงเห็ดเพื่อทำให้แกงมีรสขมนิดๆ และช่วยเพิ่มความกลมกล่อมมากขึ้น และนำยอดมะระมาลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือปลาป่นก็ได้เช่นกัน
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, เว็บไซต์
www.rspg.or.th สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ, เว็บไซต์ gotoknow.org, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
อัพเดทล่าสุดเมื่อ 13 ต.ค. 2013 เวลา 20:48 น.