กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: รู้ไว้ใช่ว่า "ดินสอดำ"  (อ่าน 8302 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ภิรมย์

  • รักเมืองไทย
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2321
  • กระทู้: 480
  • Thank You
  • -Given: 2121
  • -Receive: 2321
  • คุณลูกกับคุณแม่
รู้ไว้ใช่ว่า "ดินสอดำ"
« เมื่อ: มีนาคม 24, 2013, 10:08:44 PM »
   ดินสอดำที่เรารู้จักและใช้กันอยู่ ฝรั่งเรียกว่า ดินสอตะกั่ว เพราะเคยคิดว่าไส้ดินสอนั้นทำ
มาจากตะกั่ว แต่จริงๆ มันคือแร่แกรไฟต์(กราไฟต์) ซึ้งเป็นแร่สารประกอบคาร์บอนชนิดหนึ่ง
และการเรารู้จักประโยชน์ของเจ้าแร่ชนิดนี้ ก็เป็นเรื่องบังเอิญจริงๆ
   ครั้งแรกที่พบเจ้าแร่ชนิดนี้ ราวปี ค.ศ. ๑๕๖๔ ที่คัมเบอร์แลนด์ ประเทศอังกฤษ โดยที่
คนเลี้ยงแกะที่นั้น ได้ไปพบหินสีดำกองหนึ่งโดยบังเอิญ ทีแรกเข้าใจมันคือถ่านหิน จึงนำกลับ
ไปบ้าน โดยกะว่าจะเอาไปทำเชื้อเพลิง แต่หินสีดำเหล่านี้ไม่ติดไฟ ทำเชื้อเพลิงไม่ได้ ได้แต่
เปื้อนมือ เลยดัดแปลงใช้ป้ายตามขนแกะทำสัญญลักษณ์ต่างๆว่าเป็นแกะของใครๆ
   จากนั้นก็มีการนำผ้านำเชือก มาพันรอบๆ ตรงที่เราไว้จับเขียน เพื่อไม่ให้เปื้อนมือเวลาที่
เขียน คนอื่นๆ ที่รู้ประโยชน์ของหินดำนี้ก็เลยเอาอย่างบ้าง อีกทั้งหินนี้ยังทนทาน ลบง่าย ใช้
สะดวก ไปขุดเอามาล้างน้ำเอาดินออกก็ใช้ได้เลย
   เมื่อผู้คนในยุโรปนิยมใช้แกรไฟต์เขียนกันมากขึ้น แพร่หลายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่
คนที่มีการศึกษาสูงๆ ทำให้เกิดการพัฒนาต่อไป ทั้งรูปแบบ วัสดุที่ใช้กันเปื้อนมือ จนได้เป็นดิน
สออย่างที่เราใช้อยูในปัจจุบัน
   ในช่วงหนึ่งของการพัฒนา มีปัญหาเรื่องวัตถุดิบ"แกรไฟต์"ที่ใช้ทำไส้ดินสอ อันเนื่องมา
จากสงคราม จึงมีการคิดค้นวัตถุดิบที่นำมาทำไส้ดินสอ โดยที่..
   ปี ค.ศ. ๑๖๖๒ บริษัท สเตดเลอร์ ในเยอรมัน ใช้ฝุ่นแกรไฟต์ผสมกำมะถันหรือยางไม้บาง
อย่างทำเป็นไส้ดินสอ แต่ก็ยังไม่ดีนัก
   ปี ค.ศ. ๑๗๙๕ ในฝรั่งเศส ใช้ผงแกรไฟต์ผสมดินเหนียว เผาด้วยความร้อน ได้ไส้ดินสอ
ที่คุณภาพดีขึ้น
   ณ เวลาที่ไล่เลี่ยกันนั้น ที่กรุงเวียนนา โจเซฟ ฮารต์มุต ได้พบว่าการผสมดินเหนียวมากน้อย
ต่างกัน จะทำให้ไส้ดินสอที่ได้มีความแข็งอ่อนต่างกัน ซึ่งนำมาถึงดินสอเบอร์ต่างๆ ตั้งแต่ ๑๐ H
ที่แข็งสุดจนถึง ๘ B ที่อ่อนสุด (ในยุคนั้น)
   ปัจจุบัน ไส้ดินสอที่ใช้กันอยู่ ใช้ผงแกรไฟต์ผสมน้ำ ดินเหนียว จากนั้นอัดไปในรูของแม่พิมพ์
เมื่อได้แล้วก็นำไปผึ่งให้แห้ง แล้วเอาไปเผาต่อที่อุณภูมิ ๑๐๓๗ องศาเซลเชียล เมื่อได้แล้วก็นำไป
กลบรูพรุนในไส้ดินสอด้วยขี้ผึ้งให้เนียนเรียบ ก่อนนำไปใส่แท่ง แล้วออกจำหน่ายต่อไป


บันทึกการเข้า
 :42ดนตรีคือ สื่อภาษาสากล :42

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **