กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: ปลาไหล  (อ่าน 9610 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
ปลาไหล
« เมื่อ: เมษายน 08, 2013, 02:55:14 PM »
         ปลาไหล เป็นปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า Anguilliformes มีรูปร่างโดยรวมยาวเหมือนงู พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม สามารถแบ่งออกได้เป็นอีกหลายอันดับย่อย ในหลายวงศ์ เช่น ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae), วงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae), วงศ์ปลาไหลทะเล (Ophichthidae), วงศ์ปลาไหลยอดจาก (Muraenesocidae), วงศ์ปลาไหลสวน (Congridae) เป็นต้น

เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ผิวหนังโดยมากเกล็ดจะมีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นและฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะลื่น ครีบทั้งหมดมีขนาดเล็กและสั้น มักจะซุกซ่อนตัวอยู่ในวัสดุใต้น้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ปะการัง, ก้อนหิน, โพรงไม้ หรือ ซากเรือจม

ปลาที่อยู่ในอันดับปลาไหลนี้ พบแล้วประมาณ 4 อันดับย่อย, 19 วงศ์, 110 สกุล และประมาณ 800 ชนิด

อนึ่ง ปลาบางประเภทที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล แต่มิได้จัดให้อยู่ในอันดับปลาไหลได้แก่ ปลาไหลนา (Monopterus albus) ที่จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes), ปลาปอด ถูกจัดอยู่ในอันดับ Lepidosireniformes และ Ceratodontiformes, ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) อยู่ในอันดับ Gymnotiformes, ปลาไหลผีอะบาอะบา (Gymnarchus niloticus) อยู่ในอันดับ Osteoglossiformes, ปลางู (Pangio spp.) อยู่ในอันดับ Cypriniformes หรือแม้กระทั่ง ปลาแลมป์เพรย์ และแฮคฟิช ถูกจัดอยู่ในชั้น Agnatha ซึ่งอยู่คนละชั้นเลยก็ตาม เป็นต้น
                               
 

                                           
ปลาไหลที่จับได้

ปลาไหลนา
        ปลาไหลนา หรือ ปลาไหลบึง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Monopterus albus อยู่ในวงศ์ปลาไหลนา (Synbranchidae) มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายงู ตามีขนาดเล็ก คอป่องออก มีอวัยวะช่วยหายใจอยู่ในคอหอยเป็นเส้นเลือดฝอย ซึ่งช่วยให้หายใจได้โดยไม่ต้องผ่านซี่กรองเหงือกเหมือนปลาทั่วไป และยังสามารถขุดรูในดินเพื่อจำศีลในช่วงฤดูร้อนได้ด้วย ไม่มีครีบใด ๆ ยกเว้นบริเวณปลายหางแบนยาวคล้ายใบพาย เมื่อยังเล็กมีครีบอก แต่โตขึ้นจะหายไป กระดูกเหงือกมีทั้งหมด 3 คู่

ลำตัวลื่นมาก สีลำตัวปกติเป็นสีเหลืองทอง ใต้ท้องสีขาว ในบางตัวอาจมีจุดกระสีน้ำตาล แต่ก็มีพบมากที่สีจะกลายไป เป็นสีเผือก สีทองทั้งตัว หรือสีด่าง มีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1.01 เมตร

ปลาไหลนา จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาไหลนาที่พบมากที่สุดในประเทศไทยและเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดด้วย โดยพบได้ทุกภาค ทุกแหล่งน้ำ พบชุกชุมทั่วไป สำหรับในต่างประเทศพบกว้างขวางมาก ตั้งแต่อเมริกากลาง, ทวีปอเมริกาใต้, ทวีปแอฟริกา, ประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย ไปจนถึงโอเชียเนีย เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร โดยกินได้แม้กระทั่งซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย มีพฤติกรรมชอบรวมตัวกันหาอาหาร

เมื่อยังเล็กจะเป็นตัวเมีย และจะกลายเป็นตัวผู้เมื่อโตขึ้น ผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน และมีความสมบูรณ์สูงสุดในการวางไข่ คือ เดือนสิงหาคม โดยไข่จะมีเพียง 1 ฝัก เป็นลักษณะไข่จมไม่สัมผัสกับวัสสุใด ๆ ใต้น้ำ เมื่อสัมผัส จะมีความยืดหยุ่นมาก มีลักษณะสีเหลืองสดใส ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.3 เซนติเมตร ไข่ที่ได้รับการผสมมีลักษณะกลม สีเหลืองทอง ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะมีสีขาวใส ไข่จะใช้เวลาในการฟักประมาณ 3 วัน ลูกปลาเมื่อฟักออกใหม่ ๆ มีความยาว 2.5 เซนติเมตร มีถุงไข่แดง 2 ใน 3 ส่วน และมีครีบอกเมื่ออายุได้ 5 - 6 วัน ถุงไข่แดงยุบพร้อมครีบอกหายไป และเริ่มกินอาหารได้

เป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะนิยมบริโภคกันมาแต่โบราณ อีกทั้งยังมีความเชื่ออีกว่า หากปล่อยปลาไหลนาแล้วจะช่วยให้ทุกข์โศกไหลไปตามชื่อ ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์ โดยนิยมเลี้ยงในบ่อปูน ในปลาที่มีสีกลายออกไป นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
                                             
 
                   
ลันสำหรับดักปลาไหล
แกงคั่วปลาไหลไส่กะทิ
อาหารแบบบ้านๆ

      วันนี้กินข้าวตอนเย็นอย่างเอร็ดอร่อยมากๆ เพราะกับข้าวทำเองทั้งหมด วันหนึ่ง กับข้าวมีสามอย่าง มีต้มหมูสามชั้นกับผักสมรม(ผักเหมียง,ผักหวาน,ผักตำลึง)ก็อร่อย อย่างทีสองนํ้าพริก(นํ้าชุบ)ผักต้มเปื่อย อร่อยด้วย  อย่างที่สามพิเศษคือ แกงคั่วปลาไหลไส่กะทิ ทำอร่อยด้วยและเป็นของโปรดด้วย ขอแนะนำสูตรฝีมือพ่อครัวบ้านๆ ให้บรรดามวลสมาชิกได้ลองแกงกินบ้าง

       ปลาไหลฝานแล้ว 1ถ้วยแกง     ใบยอเอาทีกำลังดีไม่อ่อนไม่แก่เรียกว่าใบเพหลาดฝานแล้ว 1ถ้วยแกง                   

        มะพร้าวขนาดกลาง 1ลูก(ที่บ้านนี่ขูดเองด้วยกระต่าย(เหล็กขูด) )

เครื่องแกง

       ตะไคร้ 2ต้นฝานบางๆ

       ข่าฝานบางๆสักหยิบมือ(พอประมาณ)

        พริกไทยดำ 15เม็ด

        พริกชี้ฟ้า    15เม็ด

        ดีปลีเชือก สุกแดง 3เม็ด

        ขมิ้นฝานบางๆพอประมาณ

       กระเทียมปอกเปลือก 7กลีบ

วิธีปรุง   เอาเครื่องแกงทั้งหมกลงครกตำให้ละเอียด(ลงเครื่องปั่นก็ได้)แล้วใส่กะปิพอประมาณ ตำคลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่นํ้าตาลแว่นสักแว่นหนึ่งหรือมากกว่า แล้วแต่ว่าแว่นเล็กใหญ่แค่ใหนประมาณเอา ตำให้เข้ากันอีกครั้ง  เอาหัวกะทิที่แยกไว้ใส่หม้อตั้งไฟพอเดือด  ใส่ปลาไหลลงไปพร้อมกับเครื่องแกง กวนให้เข้ากันสักครู่กะว่าเข้าเครื่องดีแล้ว  ใส่นํ้ากะทิลงไปทั้งหมด  ตามด้วยใบยอที่ฝานเตรียมไว้ กวนให้คลุกเคล้าเข้ากัน เร่งไฟและหมั่นกวนอย่าให้กะทิฟูขึ้นล้นปากหม้อ ชิมดูไปพลางเผื่อว่าจะเติมเครื่องปรุงอะไรบ้าง เมื่อได้ที่แล้วยกลงปิดไฟ หรืิอจะไส่กะเพราด้วยก่อนยกลงก็ดี

                                             

                       
หน้าตาก็คล้ายๆที่บ้านแกงแหละ
เอาอีกสูตรหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ต้องการ ของคอแอลกอฮอร์

                                               
ปลาไหลต้มเปรต

                                           
                                 
ปลาไหลผัดเผ็ด
สูตร

เครื่องปรุง

ปลาไหล 1 กิโล

ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริกแห้ง กระชาย มะขามเปียก พริกป่น ต้นหอม ผักชี ใบกระเพรา มะเขือเทศ (ใส่ตามใจชอบเลย)

วิธีทำ

1 เตรียมเครื่องปรุงกันก่อน มี ข่าอ่อนหั่นแว่น ตระไคร้หั่นเฉียง ใบมะกรูดฉีกใบ พริกแห้งตำละเอียด หัวกระชายตำละเอียด(ไม่เอาราก)
เกลือ น้ำปลา รสดี มะขามเปียก ชูรส น้ำตาล พริกป่น ผักชีซอย ต้นหอมซอย ผักชีผรั่งซอย ใบกระเพรา มะเขือเทศ

2 ต้มน้ำให้เดีอดประมาณ1ลิตร ต่อปลาไหล3ตัว ใส่เครื่องต้มลงไป พร้อมเกลือ
มะขามเปียก หรือจะใช้ ตะลิงปลิง มะม่วงเบา มะปริง มะปรางสดก็ได้  มะเขือเทศ(ไม่ต้องหั่นไส่ทั้งลูก)

3 นำปลาๆไหลมาแช่ในน้ำเกลือทิ้งไว้(ต้องเป็นปลาไหลที่สดหรือตัวเป็นๆถึงจะอร่อย)

4 พอน้ำต้มเดือดเป็นสีแดงอ่อนๆให้ใส่ปลาไหลลงไปทั้งตัวแล้วปิดฝาหม้อให้เร็วที่สุดพอปลาหยุดดิ้น ให้ใส่เครื่องปรุงที่เหลือลงไป

5 ชิมรสตามใจชอบ ใส่ผัก โรยด้วยพริกป่น และพริกทอด

 
ขอขอขอบคุณ ข้อมูล จาก วิกิพีเดีย
ภาพจากหลายเวป ในอินเตอร์เนต
ตำราเมนูอาหาร จาก ความเป็นจริง และความทรงจำ
ขอขอบคุณผู้ฝึกการโพสภาพ อ.ชาติ...


เผ่าพงษ์ ปัตตานี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2009
  • กระทู้: 507
  • Thank You
  • -Given: 3223
  • -Receive: 2009
Re: ปลาไหล
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 08, 2013, 03:26:26 PM »
     เป็นปลาอีกชนิดที่ผมไม่ชอบกินครับ แต่หาเป็นโดยใช้เบ็ดเกี่ยวเหยื่อ แล้วหย่อนสายเบ็ดลงรูปลาไหลให้ลึกๆ จนเกือบถึงก้นรู  โดยใช้ไม้ไผ่เหลาเล็กๆเท่าๆคันเบ็ดเป็นตัวนำสายเบ็ด ใช้สายเบ็ดพันนิ้วชี้ข้างที่ถนัดไว้กันลื่นหลุด   รอสักครู่ปลาไหลจะกินเบ็ดแล้วกลืน จังหวะนี้เราค่อยๆหย่อนสายเบ็ดตามไปก่อน พอได้ที่ก็กระตุกเบ็ด แล้วค่อยๆลากออกมาจากรูได้เลยครับ อันนี้ใช้กับปลาไหลนาครับที่สามารถมองเห็นรูได้ชัดเจน  สังเกตุว่ารูปลาไหลจะมีความลื่นตรงปากรูครับ
แต่ถ้าเป็นรูอื่นๆ เช่น รูงู รูปู พวกนี้จะไม่ลื่นครงปากรู เราไม่ควรหย่อนอะไรเข้าไป แต่ถ้าเป็นงูก็ไม่มีพิษครับ ส่วนใหญ่เป็นงูน้ำที่กินปลามากกว่า
     ส่วนวิธีจับปลาไหลก็ไม่ยากครับ กะช่วงลำตัวปลาไหลให้ค่อนไปทางหัวสักหน่อยตามความยาวของมัน  โดยให้ลำตัวปลาไหลสอดขัดอยู่กับสามนิ้วที่เราถนัด คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง โดยให้นิ้วกลางอยู่ด้านล่าง อีกสองนิ้วอยู่บน แล้วบีบนิ้วเข้าล๊อกให้แน่น เพียงแค่นี้อยู่เลยครับทุกตัว


บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: ปลาไหล
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 08, 2013, 06:36:12 PM »
             1.           ภาษาใต้แหลงง่าย เข้าใจก็ง่ายครับ

        สมมุติความ ตามท้องเรื่อง...
      หนุ่มใต้ ก. คนนี้ เกิดมาไม่เคยเห็นปลาไหลมาก่อน
   เจอพ่อค้าหนุ่มใต้ ข. เอาปลาไหลมาขาย ก็สงสัย
       ....เข้าไปถาม

ก.   ปลาไหล? (= นี่ ปลาอะไร?)
ข.   ปลาไหล   ( = ปลาไหล )
ก.   มาย....ปลาไหล?  (=ไม่ใช่...ถามว่าปลาอะไร?)
ข.   ปลาไหล   (= ปลาไหลไง)
ก.   ปลา...ไหล!!!??? (= ตะคอกเสียงถาม -ถามว่า ปลา อาไร!!!???)
ข.   กะ-ปลาไหล !!!( =ตะคอกเสียงกลับ - ก็ ปลา ไหลไง!!!)

       เผอิญ ค. ที่นั่งขายคง(ข้าวโพด)อยู่ข้างๆ เห็นท่าไม่ดี...
  ขืนให้พูดใต้กันต่อไป มีหวังต่อยกันแน่
      จึงรีบลุกขึ้นอธิบายเป็นภาษาบางกอก ด้วยความเป็นพลเมืองดี
ค.  ใจเย็นๆนะครับ คุณทั้งสอง...อย่าดับเรื่องกันนะ(อย่าก่อเรื่องกันนะ)
         ปลานี้น่ะ...ภาษากลางเขาเยียก(เรียก)ปลาไหล เพราะตัวมัน มลื่น(ลื่น)
     ไปไหน มันก็ถ็อดเอา(ถัดเอา)....ไหลตัวไปครับ (เสือกตัวไป)

ก.  อ๋อ... ปลาพันนี้ เขาเยียกปลาไหลเห่อ?
ข.  ฉ่าน...(= ใช่แล้ว)

     2.   ถ้าปลาไหลตัวไม่ใหญ่ ผมกินครับพี่ชัย...

               :61 :61 :61 :61


บันทึกการเข้า

เผ่าพงษ์ ปัตตานี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2009
  • กระทู้: 507
  • Thank You
  • -Given: 3223
  • -Receive: 2009
Re: ปลาไหล
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 09, 2013, 05:08:19 PM »
      ส่วนวิธีจับปลาไหลก็ไม่ยากครับ กะช่วงลำตัวปลาไหลให้ค่อนไปทางหัวสักหน่อยตามความยาวของมัน  โดยให้ลำตัวปลาไหลสอดขัดอยู่กับสามนิ้วที่เราถนัด คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง โดยให้นิ้วกลางอยู่ด้านล่าง อีกสองนิ้วอยู่บน แล้วบีบนิ้วเข้าล๊อกให้แน่น เพียงแค่นี้อยู่เลยครับทุกตัว

      "ผมต้องขออภัยอย่างแรงครับ...รีบพิมพ์ไปหน่อยไม่ได้ทวน เลยอธิบายผิดครับ....จริงๆแล้วต้องให้นิ้วกลางอยู่ข้างบนตัวปลา  โดยนิ้วชี้กับนิ้วนางอยู่ด้านล่างครับ....หลายท่านคงทำเป็นครับ....งงจริงๆ รีบไปหน่อยกลัวโดนสแปม...อิอิอิ"
     


บันทึกการเข้า

ยุทธชาติ เกรียงไกร

  • ประธาน
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 780
  • กระทู้: 84
  • Thank You
  • -Given: 216
  • -Receive: 780
Re: ปลาไหล
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 11, 2013, 02:32:15 PM »
แถมตัวหนึ่งครับ :52



บันทึกการเข้า
อตฺตา สุทนฺโต ปุริสสฺ โชติ
ตนที่ฝึกดีแล้ว ย่อมเป็นแสงสว่างของบุรุษ