กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: มะโย่ง  (อ่าน 8046 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
มะโย่ง
« เมื่อ: เมษายน 18, 2013, 03:23:36 PM »
****  สวัสดีครับ วันนี้ขอนำเสนอ มหรสพการแสดงของ พี่น้องมุสลิม ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในอดีต...ซึ่งนับวันจะหาชมยากมากแล้ว สาเหตุเพราะ ความเจริญด้านมหรสพสมัยใหม่ ทั้งของไทยและต่างชาติเข้ามาบดบัง ความสวยงาม ความรุ่งเรืองของ การแสดงในอดีตจนหมดสิ้น......
 
                                                           

ภาพการแสดงมะโย่งของชาวอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

          มะโย่ง หรือ เมาะโย่ง (รูมี: Mak Yong, Mak Yung) เป็นการแสดงพื้นบ้านของชาวไทยเชื้อ
สายมลายูในแถบสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้แก่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และบางส่วนของจังหวัดสงขลานอกจากนี้ยังมีการแสดงมะโย่งใน รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐเกดะห์ และรัฐปะลิส ในประเทศมาเลเซีย และหมู่เกาะริเยา ในประเทศอินโดนีเซีย โดยการแสดงมะโย่ง เป็นศิลปะการร่ายรำที่ผสมผสานทางพิธีกรรม ความเชื่อ การละคร นาฎศิลป์ และดนตรีเข้าด้วยกัน ปัจจุบันการแสดงมะโย่งกำลังขาดผู้สืบทอด เนื่องจากบางส่วนเห็นว่าผิดหลักศาสนา และการเข้ามาของสื่อวิทยุโทรทัศน์ทำให้การแสดงมะโย่งหมดความสำคัญลงไป อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลาได้เล็งเห็นความสำคัญของการแสดงมะโย่ง ได้มีการฟื้นฟู และให้นักศึกษาได้ศึกษาและค้นหาความรู้และค้นหาความรู้ เพื่อนำมาปฏิบัติจริง โดย มะโย่ง หรือ เมาะโย่ง มีลีลาคล้ายคลึงกับมโนราห์มากแสดงเพื่อความบันเทิง และเพื่อใช้แก้บนหรือสะเดาะเคราะห์



                                                             ประวัติ
ความเป็นมาของมะโย่งนั้นคงได้รับการถ่ายทอดวิธีการเล่นจาก แหล่งเดียวกันกับละครรำของไทย ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวว่า “ละคร รำไทยมี 3 อย่าง ละครชาตรีหรือมโนรา 1 ละครใน 1 ละครนอก 1 ไทยได้รับมาจากอินเดียเช่นเดียวกับพม่า ละครพม่าที่เล่นกันในพื้นเมือง (ปี พ.ศ.2434) กระบวน การเล่นเป็นอย่างเดียวกับละคร (มโนราห์) ชาตรีของไทยเรา คือ ตัวละครมีแต่นายโรง 1 นางตัว 1 จำอวดตัว 1 ตัวละครขับร้องเอง มีลูกคู่และปี่พาทย์รับ” ที่รัฐเกรละทางตอนใต้ของประเทศอินเดียยังมีการแสดงละครเร่อยู่แบบหนึ่งมีชื่อเรียกว่า ยาตรี หรือ ชาตรี ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นต้นกำเนิดของโนราและมะโย่ง โดยสำหรับในประเทศไทย เรื่องราวเกี่ยวกับมะโย่ง โดยเชื่อว่าต้นกำเนิดของมะโย่งอยู่ที่ปัตตานี โดยมีข้อสันนิษฐานแตกต่างกันไป ดังนี้
•   มะโย่งเป็นการแสดงที่เกิดจากในวังของเมืองปัตตานี เป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ 400 ปี มาแล้ว จากนั้นแพร่หลายไปทางกลันตัน
•   พิจารณาจากรูปศัพท์ ซึ่งกล่าวว่า คำว่า มะโย่ง หรือ เมาะโย่ง มาจากคำว่า มัคฮียัง (MAKHIANG) แปลว่า พระแม่โพสพ เนื่องจากพิธิทำขวัญข้าวในนาของชาวมุสลิมในสมัยโบราณนั้น จะมีหมอผู้ทำพิธีทรงวิญญาณพระแม่โพสพเป็นการแสดงความกตัญญูที่พระแม่โพสพมี เมตตาประทานน้ำนมมาให้เป็นเมล็ดข้าว เพื่อเป็นโภชนาหารของมนุษย์ ตลอดทั้งเพื่อขอความสมบูรณ์พูนสุข ความสวัสดิมงคลให้บังเกิดแก่ชาวบ้านทั้งหลาย ในพิธีจะมีการร้องรำบวงสรวงด้วย ซึ่งในภายหลังได้วิฒนาการมาเป็นละครที่เรียกว่า มะโย่ง หรือ เมาะโย่ง มีการร้องรำและมีดนตรีประกอบ


                                                           
•   เมาะโย่งเป็นการแสดงที่ได้รับอิทธิพลมาจากชวาตั้งแต่ ครั้งโบราณแล้วเป็นที่นิยม จนแพร่หลายในหมู่ชาวไทยมุสลิมในบริเวณสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้อธิบายเพิ่มเติมโดยกล่าวถึงที่มาของคำว่ามะโย่ง คำว่า มะ หรือ เมาะ แปลว่า แม่ ส่วน โย่ง หรือโยง เป็นพระนามของเจ้าหญิงพระองค์หนึ่งแห่งชวา จึงชวนให้สันนิษฐานต่อไปได้ว่า เหตุที่เรียกละครประเภทนี้ว่า มะโย่ง อาจเป็นตัวพระ จึงเรียกกันโดยใช้คำว่า มะ หรือ เมาะนำหน้าเครื่องดนตรี นิยมใช้กันอยู่ 3 ชนิด คือ รือบับ จำนวน 1-2 คน กลองแขก 3 หน้า จำนวน 2 ใบ และฆ้องใหญ่เสียงทุ้มแหลมอย่างละใบ มะโย่งบางคณะยังมีเครื่องดนตรีอีก 2 ชิ้น คือ กอเลาะ (กรับ) จำนวน 1 คู่ และจือแระ จำนวน 3-4 อัน (จือแระ ทำด้วยไม้ไผ่ยาวประมาณ 16–18 นิ้วใช้ตี)
อย่างไรก็ตาม การแสดงมะโย่งได้ปรากฏเป็นหลักฐานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2155 ความว่า “เมื่อ ปี 2155 ชาวยุโรปคนหนึ่งชื่อ ปีเตอร์ ฟลอเรส ได้รับเชิญจากนางพญาตานี หรือเจ้าเมืองปัตตานีสมัยนั้นให้ไปร่วมเป็น เกียรติในงานเลี้ยงต้อนรับสุลต่านรัฐปาหัง งานดังกล่าวปีเตอร์เล่าว่า มีการละเล่นอย่างหนึ่ง ลักษณะการแสดงคล้ายนาฏศิลป์ชวา ผู้แสดงแต่งกายแปลกน่าดูมาก ศิลปะดังกล่าวคงหมายถึงมะโย่ง ซึ่งส่วนใหญ่จัดแสดงในงานเพื่อให้อาคันตุกะ ได้ชม
มะโย่งเข้าไปเล่นในกรุงเทพฯ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีอยู่โรงหนึ่งแสดงดีเป็นที่นิยมของผู้ดู เรียกกันว่า ละครตาเสือ ตัวตาเสือเป็นนายโรง เล่นตามแบบละครมายง แต่งตัวเป็นมลายู ร้องเป็นภาษามลายู แต่เจรจาเป็นภาษาไทย ชอบเล่นเรื่องอิเหนาใหญ่ ละครตาเสือเล่นมาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตัวละคร
     ผู้แสดงมะโย่งคณะหนึ่งมีประมาณ 20-30 คน เป็นลูกคู่เล่นดนตรี 5-7 คน นอกนั้นเป็นผู้แสดงและเป็นผู้ช่วยผู้แสดงบ้าง ผู้แสดงหรือตัวละครสำคัญมีอยู่ 4 ตัวคือ
1.   ปะโย่ง หรือ เปาะโย่ง แสดงเป็นพระเอกในฐานะเป็นกษัตริย์หรือเจ้าชาย ใช้ผู้หญิงรูปร่างนางแบบ หน้าตาสะสวย ขับกลอนเก่ง น้ำเสียงดีเป็นผู้แสดงแต่งกายด้วยกางเกงขายาว นุ่งโสร่งพับครึ่งท่อนความยาวเหนือเข่า สวมเสื้อคอกลมแขนสั้น สวมมงกุฏ (กอฏอ) กรองคอ (ลา) เหน็บกริช และถือมีดทวายหรือไม้เรียวอันหนึ่งเพื่อไว้ตีหัวเสนา
2.   มะโย่ง หรือ เมาะโย่ง แสดงเป็นนางเอกมีฐานะเป็นเจ้าหญิงหรือสาวชาวบ้าน การแต่งกายจะเปลี่ยนไปตามฐานะ ถ้าเป็นสาวชาวบ้านจะนุ่งผ้าโสร่งยาวกรอมเท้า สวมเสื้อเข้ารูป ถ้ามีฐานะเป็นเจ้าหญิงจะสวมมงกุฏ มีสร้อยข้อมือ กำไลเท้าและสวมแหวนหลายวง
3.   ปืนรันมูดอ แสดงเป็นตัวตลกตัวที่ 1 มีฐานะเป็นเสนาหนุ่มคนสนิทของเปาะโย่ง
4.   ปืนรันตูวอ แสดงเป็นตัวตลกตัวที่ 2 มีฐานะเป็นเสนาอาวุโส คนสนิทตัวรองของเปาะโย่ง สนิทสนมกับปือรันมูดอ และเป็นตัวคอยที่คอยสนับสนุนให้ปีรันมูดอสามารถตลกจี้เส้นได้มากขึ้น การแต่งกายของปือรันมูดอและปืนรันตูวอ คือนุ่งกางเกงขายาว สวมเสื้อแขนยาวคอตั้ง นุ่งผ้าทับแค่เข่าโพกศีรษะหรือสวมหมากซอเกาะ
เวลาที่ใช้แสดง
เมาะโย่งเป็นละครของชาวไทยมุสลิมภาคใต้นิยมกันมากในอดีตจัดแสดงเมื่อมีงานมงคลต่างๆ ของชาวพื้นเมืองเช่น งานมงคลสมรส (มาแกปูโละ) เข้าสุนัต (มะโซะยาวี) เมาลิด ฮารีรายอ การแก้บน (บายากาโอล) การสะเดาะเคราะห์ และพิธีกรรมบูชาขวัญข้าว (ปูยอมือแน) หรือบางครั้งแม้ไม่มีงานบุญก็อาจจะหามาเล่นเพื่อความบันเทิงในหมู่บ้านก็ได้ หรือตามที่เจ้างานรับไปแสดง ปกติแสดงในเวลากลางคืนโดยเริ่มแสดงราว 19 นาฬิกา เลิกเวลาประมาณ 1 นาฬิกา
                                                           
โรงแสดง
โรงหรือเวทีแสดง (ปาฆง) ปัจจุบันโรงมะโย่งปลูกยกพื้นเตี้ยๆเป็นเพิงหมาแหงน (บาไล) ยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร กว้าง 5-6 เมตร ยาว 8 -10 เมตร จากท้ายโรงประมาณ 1-2 เมตร จะกั้นฝา 3 ด้าน คือ ด้านท้ายกับด้านข้างทั้งสอง ด้านหน้าใช้ฉากปิดกั้นให้มีช่องออกหน้าโรงได้ เนื้อที่ด้านท้ายโรงใช้เป็นที่แต่งกายเก็บของและพักผ่อนนอนหลับ ด้านหน้าโรงเป็นโล่งทั้ง 3 ด้าน จากพื้นถึงหลังคาด้านหน้าสูงประมาณ 3.5 เมตร ชายหลังด้านหน้านี้จะมีระบายป้ายชื่อคณะอย่างโรงลิเกหรือโนรา ส่วนใต้ถุนโรงใช้เป็นที่พักหลับนอนไปด้วย
การแต่งกาย
ตัวพระนุ่งกางเกงคล้ายสนับเพลา แบบเดียวกับโนรา มีผ้าโสร่งนุ่งทับบน สูงเลยเข่าขึ้นมาเล็กน้อย ศีรษะโพกผ้าสาปูตางัน สวมเสื้อแขนสั้นรัดรูป นิยมใช้ผ้าแพรสีหรือผ้ากำมะหยี่เป็นพื้น เหน็บกริชไว้ข้างสะเอว มือถือมัดหวาย ส่วนตัวนางนุ่งผ้าปาเต๊ะ ลวดลายหลากสี สวมเสื้อกะบายอแขนยาว ใช้ผ้าสีดอกดวงเด่นๆ และมีผ้าสไบคล้องคอห้อยชายลงมาข้างแขน ผมเกล้ามวย มีดอกไม้ทัดหูและสอดแซมผม ส่วนตัวตลก หรือ พราน นุ่งโสร่งไม่สวมเสื้อ ใช้ผ้าขาวม้าคาดท้องและพาดบ่า มีมีด (ปีซาโกล้ด) เหน็บสะเอว สวมหน้ากากหรือตอแปง ส่วนตัวพี่เลี้ยง นางกำนัล นุ่งผ้าปาเต๊ะ สวมเสื้อกะบายอแขนยาวเป็นผ้าธรรมดา
เครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีของมะโย่งนั้นมีกลองแขกหรือกลองมลายู 2 ใบ ฆ้องใหญ่ (ตาเวาะ)เสียงทุ้มและแหลมอย่างละใบ ซองา (รือบะ) สำหรับสีคลอเสียงร้องของเมาะโย่ง 1 คัน ปี่ (ซูนู) 1 เลา บางคณะมีเครื่องคนตรีอีก 2 ชนิด คือ กรับ (กอเลาะ) และท่อนไม้ไผ่ยาวประมาณ 16-18 นิ้ว (จือเระ) ใช้ตี
ธรรมเนียมการแสดง
ก่อนเริ่มแสดงจะมีพิธีเบิกโรง เรียกว่า บูกอปาฆง มะโย่งแต่ละคณะจะมี บอมอ หรือ หมอ ประจำอย่างน้อยคณะละ 1 คน บอมอเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางไสยศาสตร์ไว้ป้องกันและแก้เวทมนตร์คาถาที่คู่ ต่อสู้ส่งมาทำลายเวลาเล่นประชันโรง และไว้ทำพิธีไหว้ครูบูชาเทพาอารักษ์
วันแรกของการแสดง ผู้จัดงานต้องจัดเครื่องบัตรพลี มีหมาก พลู บุหรี่ ด้ายดิบ ข้าวสาร กำยาน น้ำ เทียน และกล้วยตานี พร้อมด้วยเงินค่ากำนัลจำนวน 30 บาท มามอบให้นายโรงมะโย่งเพื่อทำพิธีเบิกโรง พิธีเริ่มด้วยผู้แสดงและคนเล่นดนตรีเข้ามานั่งล้อมกันเป็นวงกลม หมอผู้ทำพิธีนั่งกลางวงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หยิบผงกำยานพโรยลงในภาชนะที่บรรจุถ่านไฟซึ่งกำลังคุอยู่จนกลิ่นและควันกำยาน พุ่งขึ้น หมอยกภาชนะที่บรรจุเครื่องบัตรพลีเวียนไปรอบๆ เปลวควัน 3 รอบ แล้วกล่าวคาถาบวงสรวงพระภูมิเทวา จบแล้วจุดเทียนนำไปติดที่เสาโรงด้านทิศตะวันออกและเสากลางโรง ตลอดถึงเครื่องประโคมอื่นๆ เฉพาะซอและฆ้อง นอกจากติดเทียนบูชาแล้ว จะต้องนำกล้วยตานีไปเซ่นบวงสรวงด้วย มะโย่งถือว่าซอและฆ้องเป็นหลัก เป็นประธานของดนตรี จากนั้นก็บรรเลงเพลงโหมโรง
                                                             

เสร็จจากเบิกโรง คนซอจะออกมานั่งกลางเวที ตัวพระ ตัวนาง และพี่เลี้ยง นั่งเป็นแถวครึ่งวงกลมหันหน้าเข้าหาคนซอ และขับร้องคลอกับเสียงซอ แล้วลุกขึ้นเดินร่ายรำและร้องเพลงไปรอบๆ เวที ทำนองการรำเบิกโรง หลังจากนั้นตัวละครก็จะกลับไปนั่งรอคอยบทบาทที่ตนจะต้องแสดงอยู่ข้างขอบเวที คงเหลือแต่ตัวมะโย่งยืนขับร้องและเจรจาแนะนำตัวให้ผู้ชมทราบว่าเป็นผู้ใด อยู่ทีไหน กำลังจะทำอะไรในท้องเรื่อง จากนั้นตัวมะโย่งเรียกตัวตลกหรือเสนาให้ออกมา แล้วพูดจาเรื่อยเปื่อยไปด้วยถ้อยคำที่ขบขัน จากนั้นก็แสดงนิยายที่ได้เตรียมมา
   เพลงร้อง    เพลงมะโย่งมีลีลาทอดเสียงยาวคล้ายเพลงเปอร์เชียร์  ซึ่งมีอิทธิพลต่อปัตตานีนานแล้ว  ขอยกตัวอย่างชื่อทำนองเพลงดังนี้
                ๑.  ลาฆู  บารัต  อันโยร์  เพลงสำหรับประกาศข่าว
                ๒.  ลาฆู  มืองัมโบร์  เพลงโศก
                ๓.  ลาฆู  มืองูเล็ด  เพลงกล่อมเด็ก  บางครั้งใช้แสดงความรัก  ความฝัน
                ๔.  ลาฆู  ยูร์  เพลงแสดงความเหน็ดเหนื่อย  หรือเบื่อหน่าย
                ๕.  ลาฆู  กีซังอามัส  เพลงร้องหมู่ขณะทำงานร่วมกัน
                ๖.  ลาฆูตีมัง – ตีมังวือลู,  ลาฆูจาเฆาะมานัส,  ลาฆูปานังงาวี  ทั้ง  ๓  เพลงใช้สำหรับบทรักระหว่างหนุ่มสาวโดยเฉพาะ
                เพลงดังกล่าวนี้ผู้แสดงหญิงเป็นผู้ร้อง  และมีเพลงเพียง  ๒ – ๓  เพลงเท่านั้นร้องโดยตัวตลก  อนึ่งผู้ร้องต้องเปล่งเสียงออกมาอย่างเต็มที่  ดนตรีเพียงแต่คลอตามหลังจากร้องเพลงจบไปวรรคหนึ่งแล้ว  ผู้แสดงอื่น ๆ  จะรับพร้อมกัน
                เกี่ยวกับเพลงร้องของมะโย่งในสี่จังหวัดภาคใต้  ได้รับความรู้จากนายเจ๊ะมูดอเจ๊ะแว  กำนันตำบลสะเร็จ  อำเภอบันนังสตา  จังหวัดยะลา  อดีตมะโย่งมีชื่อ ท่านเล่าถึงเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง  เช่น  เพลงกะลาแต  เพลงบารัค  เพลงกือเดาะ  เพลงร็องเง็ง  เพลงลากูซาแซ  เพลงลากูโย่ง  และเพลงลากูอาเนาะขอยกตัวอย่างเนื้อเพลงมะโย่ง  ทำนองเพลงกล่อมเด็กหรือลากูอาเนาะ
                                                “  ปีแกดาแลอาตี
                                                กาเมาะดาแลดาตอ
                                                ซูเกาะดาแลฮีตี
                                                แฮมะยาลา  เนาะจารี
                                                อาแวมีโนง  ปือฮาโซ๊ะ
                                                ราเฮะกีมานอ
                                                ตาเดอะ  ซามออามอ
                                                “  เนาะปา  ซะกาลีลาลู ”
ถอดเป็นกลอนได้ความว่า
                                                รำพึงฝันใฝ่ในจิต
                                                ครวญคิดในอกวิตกเอ๋ย
                                                คงปลื้มชื่นใจ  กระไรเลย
                                                ลูกเอ๋ยแม่เจ้าจะมา
                                                นิจจาเงียบหายไปไหน
                                                ทรามวัยไม่อยู่กับข้า
                                                ร้องเรียกนงลักษณ์  สักครา
                                                กลับมาลูกน้อยคอยเอย.
เรื่องที่ทำการแสดง
เรื่องที่มะโย่งนิยมแสดง มักเป็นนิยายเก่าแก่ เกี่ยวกับความรักของชายหนุ่ม-หญิงสาว เช่น รายอมูดอ ลือแมะ, รอยอ ซันแซนา, รายอดอละเวง, รายอมูดอ ปีแน, มาโวะ แดวอ ปีเจ, รายอ กอแน, แดแว มูดอ, อาเนาะรายอ กันตัง, บงซู สตี, กาเด็ง บูเวาะ ตีฆัง, ปุตรีตีมุง เป็นต้น

ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก  psu.ac.th/datawebclib/exhonline/..
ขอขอบคุณผู้ฝึกสอนการวางภาพ อ.ชาติ....


ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: มะโย่ง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 18, 2013, 08:22:05 PM »
    ผมได้ทันดูมะโย่งแสดง ที่แถวบ้าน หนึ่งครั้ง....40 ปีมาละมังครับ
            ซึ่ง วงมะโย่ง เขาก็ต้องปรับตัวเองให้เข้ากับยุคสมัยช่วงนั้น
         คือมีการแสดงดนตรี และหางเครื่องเต้นมันส์ๆ...ก่อนที่จะทำการแสดงมะโย่งจริง
              เสียดาย ....ที่ผมลืมภาษายาวีจนเกือบหมด เลยไม่เข้าใจอะไร...ดูไม่จบ
   
                จนมีโอกาสไปเที่ยวบาหลี ปี44.... ของทัวร์เอื้องหลวง
   ไกด์พาไปดูการแสดงบารอง (ละครร่ายรำของบาหลี เกี่ยวกับความดีความชั่ว)
        ที่เธียเตอร์(โรงละคร)แห่งหนึ่ง
               ...ตัวพระเอกถูกตัวร้ายจับมัด และแทงด้วยมีด
      ส่งเสียงร้อง คล้ายมะโย่งบ้านเรา คือร้องว่า " อาโดลา..แมะ เว "
           แปลว่า "โอ๊ยยย....แม่จ๋า ช่วยด้วย" -น่าจะประมาณนี้ครับ

          คือที่ทราบ คนบาหลี 90กว่า % นับถือฮินดู ....
              แต่เห็นพูด คล้ายภาษามลายู
      (ผสมๆ กับภาษาตากาล็อก ของฟิลิปปินส์...เช่น ควาย เขาก็เรียก "คาราบาว" ไม่ใช่ "กูบา" ...
              และพูดภาษาอังกฤษ สำเนียงคล้ายออสเตรเลีย เพราะอยู่ไม่ไกลกัน...
                          เช่น กู๊ด ไนท์  พูดเป็น กู๊ด น๋อยท์...)

                         :61 :61 :61 :61 :61

           
     
     


บันทึกการเข้า