กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: ลับคมภาษา .....เบญจรงค์ห้าสี  (อ่าน 6956 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ภิรมย์

  • รักเมืองไทย
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2321
  • กระทู้: 480
  • Thank You
  • -Given: 2121
  • -Receive: 2321
  • คุณลูกกับคุณแม่
ลับคมภาษา .....เบญจรงค์ห้าสี
« เมื่อ: เมษายน 28, 2013, 04:28:40 PM »
     คำว่า "เบญจรงค์" เราจะคุ้นแล้วก็จะถึงไปถึงเครื่องถ้วยชามเบญจงค์ ที่ได้
ชื่อแบบนั้นก็คงมาจากคำว่า "เบญจรงค์"ซึ่งหมายถึงมีสี ๕ สีอันได้แก่ ดำ ขาว
แดง เหลืองและคราม
     ซึ่งในแต่ละสี  เรายังแตกย่อยออกไปได้อีกหลายสี  เราจะเรียกสีเหล่านี้ว่า
กลุ่มของสี
     ในภาษาไทย  การเรียกชื่อสีต่างๆน่าสนใจมาก  คนไทยเรามักจะใช้อุปมา
เปรียบเทียบกับสีของสิ่งที่ตาเห็นจริง ทั้งสิ่งที่ปรากฎเป็นเองตามธรรมชาติและ
สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  บางสีก็กำหนดชื่อตามสารที่ใช้ในการย้อยเช่น สีคราม สี
ย้อมฝาด สีแก่นขนุน สีลักษณะนี้ถ้าเป็นคนที่ไม่ได้ร่วมอยู่ในกระบวนการเหล่า
นี้ คงยากที่จะนึกออกว่าสีเหล่านี้มีลักษณะเป็นอย่างไร
     นอกจากนี้ในภาษาไทยยังมีอีกกลุ่มคำหนึ่งที่ใช้พรรรณาประกอบลักษณะ
ของสีสำหรับให้เห็นความแตกต่างระหว่างสีที่นำมาเทียบกัน  และมีสำนวนที่
นำสีสรรพ์มาเปรียบหรือประกอบกับลักษณะสภาพร่างกาย จิตใจ และอารมณ์
ของคนอยู่อีกไม่น้อย เรามาดูกันไปทีละกลุ่มสีก็ได้

          .....สีดำ.....
     ในกลุ่มสีดำ เรามี สีเขม่า(ไฟ) สีดินหม้อ สีขนกาน้ำ(นก) สีปีกแมลงภู่ สี
นิล สีแก่นมะเกลือ สีถ่าน สีหมึก ฯลฯ  ซึ่งนำไปเปรียบเทียบและประกอบกับ.
สิ่งต่างกันตามลักษณะของสี   สีนิลที่แววระยับก็เทียบกับนัยน์ตาและฟันของ
สาวงามสมัยกินหมาก สีขนกาน้ำและสีปีกแมลงภู่ที่ดำขลับก็เทียบกับเส้นผม.
สีถ่าน สีเขม่า สีดินหม้อนั้นดูดำด้าน หม่นมอ ก็ใช้เทียบกับความสกปรก เจต
นาที่ไม่สู้ดี ความทุกข์ใจ วิตกกังวล
     ถ้าเอ่ยถึงคนผิวดำ เรามี สีดำตับเป็ด คือดำออกเขียว ถ้าดำขรุขระรูปชั่ว.
ตัวดำหน้าเพรียงอย่างจรกา ก็จะเป็น ดำเป็นเหนียงหรือแรงกว่านั้นก็ ดำเป็น
ตอตะโก
     คนใจดำ  อันนี้คือคนที่ขาดเมตตากรุณา
     สีดำถ้าเจือสีขาวให้จางลงไป จะกลายเป็น สีขี้เถ้า   ลดลงอีกนิดก็เป็นสี
เทา  ถ้าเทาแก่แล้วมีเงาเงินมัวๆ คือสีเหล็ก   เทากลางๆเหลือบครามก็สีนก
พิราบ ถ้าหม่นครึ้มอมดำก็เป็น สีพยับหมอก ส่วนม้าสีหมอกของขุนแผนเป็น
สีเทาแกมเขียวหรือสีกะเลียว   ถ้าเทาแก่อ่อนเหลือบกันในตัวและแซมด้วย.
เหลืองแสดบางๆ ก็เป็นสีควันไฟ ถ้าเทาหม่นเหลือบเหลืองก็ สีลูกห่าน เทา
อ่อนเกือบขาวมีเงามันวาวระยับก็เป็น สีตะกั่วตัด แต่ถ้าเทาแล้วแซมขาวประ
ปรายก็เรียก สีดอกเลา ซึ่งใช้กับผมของคนชรา

          .....สีขาว.....
     ถ้าขาวสะอาด เอี่ยมอ่อง  ไม่มีสีอื่นเจือปนก็เปรียบกับสำลี   แต่ถ้า ขาว
เหมือนสำลีเม็ดใน เมื่อไหร่ นั่นประชด ความกลับเป็นตรงกันข้ามทีเดียว
     ขาวมัว ขาวหม่น คือสีขาวเจือเทาจางอย่างกลมกลืน  แต่ถ้า ขาวมอๆ..
ก็เริ่มสกปรกแล้ว  ขาวเจือเหลืองก็เป็นสีนวล ชวนชม..ทันที
     ถ้าขาวแล้วเอาแดงหรือเขียวมาเจือ(ผสม)ทีละน้อย   ให้ขาวเป็นสีชมพู
อ่อนหรือเขียวจางๆ เราก็เรียกว่าขาวเรื่อชมพูหรือเรื่อแดง และขาวเรื่อเขียว
     คำว่า"เรื่อ" ถ้าใช้โดยไม่กำกับว่าสีใด เราจะหมายถึง ขาวเรื่อชมพูโดย.
ปริยาย
     อย่างเช่นในเพลงที่ว่า "แม่สาวแก้มเรื่อ ทหารเรือมาแล้ว"
     แม่สาวนางนี้จะต้องผิวขาวอล่องฉ่อง นวลผ่องทีเดียว จึงจะเห็นแก้มที่.
เรื่อน่ารักได้ง่ายๆ แต่ถ้าเจ้าหล่อนเกิดตกใจหวาดกลัวจนหน้า ซีดขาวเผือด
ขาว ก็คงไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก
     แต่ถ้าเราใช้หน้าขาวๆ   กับผู้หญิง ก็จะมีความหมายว่า ผู้หญิงสาวสวย
เช่น "แหม เจอหน้าขาวๆ เข้าหน่อยทำเป็นใจอ่อนเลยนะ"
     ส่วนขาวถ้าไปใช้กับตา เป็น"ตาขาว" ก็หมายถึงคนขี้ขลาด แต่ในบางที่
เช่นอำเภดสวี ชุมพร ตาขาวในภาษาถิ่นหมายถึงโลภอยากได้จนแสดงออก
นอกหน้า

          .....แดง.....
     ในกลุ่มนี้ นอกจากแดงอย่างที่แดงจริงๆแล้ว
     ถ้าเราเจือขาวลงไปจนเป็นชมพู ก็จะมีชมพูตั้งแต่ สีกลีบบัวอมเทานิดก็
เป็นบัวโรย เข้มคล้ำขึ้นก็เป็นสีตะขบ สีตากุ้ง  สีกะปิตามลำดับ  ชมพูสดเจือ
ครามก็เป็น สีบานเย็น กับ สีเกสรชมพู่ ถ้าเจือเหลืองก็เป็น สีปูนแห้ง   สีอิฐ
     ถ้าสีแดงแก่ก่ำ คือสีเสน สัทับทิม  แดงสด ก็มี สีชบา สีชาด แดงเลือด
นก หงสบาท หงเสน  แดงเพลิง(มีเหลืองแกม) ส่วนแดงเลือดหมูนั้น แดง.
อมน้ำตาลแดงคล้ำ  ถ้าแดงแสดก็สีลิ้นจี่  สีระกำ  ส่วนแดงออกเหลืองมาก
ก็ สีหมากสุก
     สีแดงถ้าใช้กับริมฝีปากของสาวน้อยสมัยก่อน จะใช้เป็นสีตำลึงสุก หรือ
ลิ้นจี่จิ้ม ส่วนใบหน้าที่แดงเพราะความอายหรือเขินเราจะเปรียบลูกตำลึงสุก
ด้วยเช่นกัน
     ส่วนสาวผิวดำที่แต่งแดง จะถูกเปรียบประชดเป็น  (อี)กาคาบพริก อาจ
จะหน้าแดงด้วยความโกรธ หรือไม่ก็ตาแดงๆ ด้วยจะร้องไห้เพราะเสียใจ
     ถ้าใบแดงๆ นี่ดีหมายถึงธนบัตรใบละร้อย แต่เจอ "ใบแดง" นี่แย่หน่อย
ต้องถูกไล่ออกจากสนาม

          .....สีเหลือง.....
     มีตั้งแต่เหลืองนวลอย่างสีจันทร์ สดเข้มขึ้นก็สีดอกบวบ จ้าจรัสมากขึ้น
ก็สีทอง ถ้าเจือเขียวก็เหลืองมะนาว  เจือแดงก็เป็นสีส้ม ส้มสุก มะปราง สี
แสด สีจำปา
     ถ้าดำเจือลง ก็ไล่ตั้งแต่สีลาน สีไข่ไก่ สีโตนด สีทองแดง สีสนิม สีน้ำ
ตาล น้ำตาลไหม้ ไปจนถึงสำริด ซึ่งเกือบจะดำอยู่รอมร่อ
     จีวรพระ มีทั้งสีเหลืองแสด และสีย้อมฝาด ซึ่งอมเขียวแกมน้ำตาล จน
แทบจะกลบเหลืองเสียสิ้น
     แต่ถ้าตัวเหลือง หรือผิวเหลืองคงไม่ดีแน่อาจจะไม่สบายเป็นโรคอะไร
สักอย่าง
          .....สีคราม.....
     เป็นกลุ่มสุดท้ายใน "เบญจรงค์" สีกลุ่มนี้จำแนกออกไปได้หลากหลาย
ทีเดียว
     สีครามถ้าอ่อนๆ เค้าเรียกสีฟ้า แก่ๆ  เรียกสีน้ำเงิน  ถ้าครามสดนี่สีอัญ
ชัน  ถ้าอมดำก็ต้องกรมท่า
     สีครามเจือแดงกลายเป็นม่วง แต่ถ้าม่วงออกครามก็สีเม็ดมะปราง เจือ
ขาวอมแดงเป็นม่วงดอกรัก ถ้าอมแดงมากก็เป็นสีเปลือกมังคุด อมมากจน
คล้ำก็กลายเป็น สีลูกหว้า
     ครามเจือเหลืองจะเป็นเขียว ซึ่งเป็นสีที่แยกย่อยได้หลากหลายที่สุด
     เขียวอมครามสด  ได้แก่เขียวหัวเป็ด  เขียวน้ำทะเล  เจือดำนิดก็สีปีก
แมลงทับ  เขียวเจือน้ำตาลเป็นสีขี้ม้า
     เขียวแบบใบไม้ก็สามารถจำแนกแแยกไปได้อีกอย่างโดยใช้ทั้งกิ่ง ใบ
ก้าน ดอก  ผลของต้นไม้ต่างๆมาใช้  เช่นสีเขียวอ่อน ก็ สีก้านมะลิ สีตอง
อ่อน เขียวฝรั่ง สีโศก สีใบเตย สียอดหญ้า ฯลฯ แต่ถ้าเขียวสมอนี่เขียวแก่
     หนุ่มสาวสมัยก่อนเคยหยิบยกสีเขียวต่างๆ  มาใช้เปรียบเปรยยามเกี้ยว
พาราสีกันผ่านเพลงพื้นบ้านเช่น
     หนุ่มว่า   "เจ้าเขียวใบข้าว พี่รักเจ้าสาวจริงเอย"
     สาวตอบ "พ่อเขียวใบพลวง อย่ามาห่วงเลยเอย
     เขียวใบข้าวพอรู้ แต่เขียวใบพลวงนี่สิ มันเขียวแบบไหนกันแน่
     ยังมีสีกระดังงา ที่เทียบกับสีผลกล้วยห่าม  เช่นนี้เองกระมัง  จึงเรียก
หนุ่มๆ ที่ทะลึ่งๆ ห่ามๆว่าพวก "สีกระดังงา"  ยิ่งตอนที่พากันไปเที่ยวเทศ
กาลงานบุญด้วยแล้ว พอเห็นเขียวๆ แดงๆ(สาวๆที่แต่งตัวสวยงาม) ก็ชอบ
ทำอะไรห่ามๆ ต่อให้โดนทำตาเขียวใส่ ก็ไม่รู้สึกอะไร นอกจากสาวๆโกรธ
จนหน้าเขียว ก็อาจลดความห่ามลงได้บ้าง
     ช่วงหน้าฝนถ้าใครว่า เขียวอื๋อ มาแต่ไกลก็ให้ระวังนั่นหมายถึงเมฆฝน
ที่ใกล้จะตกเป็นฝนมาทุกทีๆ
     ถ้าออกหรือตกน้ำเขียว ให้รู้ว่าอยู่ห่างฝั่ง ทะเลลึกเรือเล็กต้องระวัง
     ถ้าสุดหล้าฟ้าเขียว หรือขอบฟ้าเขาเขียว แสดงว่าไกลมาก บางที  ปู่
เจ้าเขาเขียว อาจอยู่ที่นั่นก็ได้
     เค้าว่าปู่เจ้าเขาเขียว   มีลูกสาวคนเดียว เธอชื่อว่า "นางกวัก" ข่าวว่า
สวยงามมากใครเห็นเป็นต้องหลงเสน่ห์ โดยไม่ต้องทำเสน่ห์ แต่ถ้าใครที่
โดนเสน่ห์เขาว่า "สีหน้าดังทาคราม" คือหม่นหมองไร้ราศี
     นี้เป็นส่วนหนึ่ง ตัวอย่างของการใช้คำเปรียบเทียบกำกับในการบอกสี
ต่างๆของไทยเรา นอกจากนี้ยังมีคำอีกพวกหนึ่งที่ใช้เฉพาะกับสีหนึ่งเพื่อ
บอกลักษณะของสีนั้นในทางลึกยิ่งขึ้นเช่น
     "ก่ำ"    ใช้แต่กับสีแดง ชมพู แสด ส้ม
     "ขลับ"  ใช้ได้แต่กับสีดำ และเขียวแก่ที่ขึ้นมันในตัว
     "ขรึม"  ใช้กับสีเทา ดำ เขียว คราม
     "คร่ำ"   ใช้กับสีเครือแดง เหลือง เขียว
     "ครึ้ม"  ใช้กับสีเขียว คราม เทา ดำ
     "แจ๋"    ใช้กับสีแดง
     "แจ่ม"  ใช้กับสีเหลือง นวล ชมพู
     "แจ๋ว"  ใช้กับสีชมพูเป็นหลัก หมายถึงสดใสเป็นพิเศษ
     "แก่ เข้ม คล้ำ"  ปกติไม่ใช้กับสีขาว นอกจากจะประชด เฉพาะแก่ไม่
                         ใช้กับสีดำ
     "จ้า จรัส แจ๊ด"  ใช้กับแดง แสด ชมพู เหลือง
     "จี๋ อี๋ อื๋อ"        ใช้กับสีเขียว โดยจี๋สีอ่อนสุด อื๋อเข้มสุด
     "ปี๋ ปื๋อ"           ใช้กับสีดำ และเขียวแก่
     "ผ่อง ละออ"    ใช้กับสีขาว นวล เหลือง
     "สด สว่าง ใส"  ไม่ใช้กับสีดำ
     "โรจน์"           ใช้กับสีแดง เหลือง
     "อ่อน"            ไม่ใช้กับสีขาว (ถ้าขาวใช้จางๆ ได้)
     "อล่องฉ่อง"     ใช้กับสีขาว เมื่อพูดถึงผิวพรรณที่ผุดผ่องเต่งตึง
     และคำที่ใช้ได้กับทุกสี หม่น มัว(ๆ) มอ(ๆ) ซึ่งใช้กับใจได้ด้วย
             ก็  "ใจหม่นหมอง ขุ่นมัว" เพราะ "ขุ่นหมองข้องใจ" นั่นเอง

เรื่องโดย น.ท.หญิง สุมาลี  วีระวงศ์
นิตยสาร สารคดี
ฉบับที่ ๑๑๘ ปีที่ ๑๐   ธันวาคม ๒๕๓๗




     
                       


บันทึกการเข้า
 :42ดนตรีคือ สื่อภาษาสากล :42

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: ลับคมภาษา .....เบญจรงค์ห้าสี
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 28, 2013, 08:37:04 PM »
 :90......
                  :52.............


                 ขอบคุณมากๆครับ


บันทึกการเข้า

ดาวเรือง

  • กรรมการบ้านเพลงไทย
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 1934
  • กระทู้: 454
  • Thank You
  • -Given: 3088
  • -Receive: 1934
  • เพลงคือชีวิต
Re: ลับคมภาษา .....เบญจรงค์ห้าสี
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 30, 2013, 02:48:51 AM »
"อ๋อย"... เหลืองอ๋อย


บันทึกการเข้า

ภิรมย์

  • รักเมืองไทย
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2321
  • กระทู้: 480
  • Thank You
  • -Given: 2121
  • -Receive: 2321
  • คุณลูกกับคุณแม่
Re: ลับคมภาษา .....เบญจรงค์ห้าสี
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 30, 2013, 06:44:34 AM »
   ขอบคุณครูลือและคุณดาวเรืองครับ
   มันเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของภาษาไทย ที่ไม่มีในภาษาอื่น ต้อง
ขอบคุณ  "พ่อขุนรามคำแหง" ที่ประดิษฐ์อักษรไทย ทำให้ภาษา
ไทยเป็นภาษาที่สละสลวยที่สุดในโลก


บันทึกการเข้า
 :42ดนตรีคือ สื่อภาษาสากล :42

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: ลับคมภาษา .....เบญจรงค์ห้าสี
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 30, 2013, 07:19:21 AM »
  1.เลยพลอยทำให้ผมนึกถึง "สีดำ" ที่คลาสสิกมากๆ ของไทย
       คือ ดำศอพระศิวะ.....อันระบุว่า รักแท้ คือสีดำแบบนี้
    พระศิวะทรงรักมนุษยโลกมาก ทรงดื่มยาพิษแทนพวกเรา....
          จนพระศอ(ลำคอ)ของท่านโดนแรงยาพิษ มีสีดำไหม้

  2. ภาษาไทยมีคำเปรียบที่น่าทึ่งมาก  เช่น ดำตับเป็ด เขียวไข่กา....
    ทางภาษาอังกฤษก็ไม่น้อยหน้าครับ มีเหมือนกัน....เอาอย่างที่คุ้นๆหู เช่น
             snow white = ขาวราวหิมะ   (ไม่ใช่ white snow ที่แปลว่า หิมะสีขาว)
             rose red = แดงราวกุหลาบ  (ไม่ใช่ red rose ที่แปลว่า กุหลาบสีแดง )
       นอกนั้น ก็ เช่น...
             deep brown = สีน้ำตาลเข้ม  เช่น  She has got deep brown hair. ( หล่อนมีผมสีน้ำตาลเข้ม )
          แต่ผมว่า ภาษาไทยหลากหลาย และพรรณาเปรียบเทียบได้ดีกว่ามากครับ
       


บันทึกการเข้า