กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงตาไสว แสงแห่งธรรมนำใจดวงน้อย...๖  (อ่าน 8452 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ภิรมย์

  • รักเมืองไทย
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2321
  • กระทู้: 480
  • Thank You
  • -Given: 2121
  • -Receive: 2321
  • คุณลูกกับคุณแม่
หลวงตาไสว แสงแห่งธรรมนำใจดวงน้อย...๖
« เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2013, 10:33:46 PM »
คนที่มาบางทีเขาก็พาเด็กมาด้วย
พอทำงานปั้นภาพเสร็จ เลยมานั่งคิดว่า
ต้องทำงาน "ปั้นคน" ต่อไปแล้ว
เริ่มจากเด็กๆ ใกล้วัดนี่แหละ

            ****************

             .....ชีวิตก่อนบวชหลวงตาไสว.....

      ชีวิตที่ผ่านอะไรมามากมายหลายอย่างของหลวงตาไสว  ก่อนมาบวช
นั้น  ก็เริ่มต้นขึ้นเช่นเดียวกับคนทำงานธรรมดาๆ  คนหนึ่ง ที่มุ่งทำงานเพื่อ
ให้ได้มาซึ่งข้าวของเงินทอง  และเพื่อสะสมวัตถุทั้งปวง
      นายไสว ศรีงาม เริ่มต้นชีวิตการทำงานที่โรงหนังพัฒนากร ในกรุงเทพ
นี่เอง มีหน้าที่ทำบัญชีเงินเดือนให้พนักงาน  ทำได้ไม่นานก็ต้องย้ายไปอยู่
ที่นครปฐม และลำปาง  โดยยังคงทำงานในโรงหนังอยู่เช่นเดิม   แต่ครั้งนี้
นายไสวยังได้ฝากฝีมือทางด้าน    “ศิลปะ”  โดยการเขียนแผ่นป้ายชักชวน
ให้คนมาดูหนังอีกด้วย   จากนั้นก็มีเพื่อนมาชักชวนให้ไปทำงานบริษัท ซิง
เกอร์  ที่จังหวัดตาก  ที่นี่เองที่นายไสวทำงานไต่เต้าจนได้เป็นถึง  ผู้จัดการ
ระดับภาค   และเรียนรู้ที่จะ  “ค้าขายกับผู้ไม่ซื้อ”  ซึ่งต่อมากลยุทธ์นี้ได้ถูก
นำมาประยุกต์ใช้กับ   “เขาไม่เลิก (เหล้า บุหรี่) ทำอย่างไรให้เขาเลิก”  นั่น
เอง แต่ใครจะเชื่อว่า ครั้งหนึ่ง “ธุรกิจส่วนตัว” อย่างขายฝิ่น ขายเหล้า การ
ค้าเงินรูปี ที่ถือว่าผิดกฎหมาย นายไสวก็ทำมาแล้ว

      “ตอนนั้นเพื่อนมาชวนอีก บอกว่าทำงานอยู่อย่างนี้ หาเงินได้น้อย  ไป
ต้มฝิ่นกันดีกว่า   ไปที่เชียงตุง   จะเข้าจะออกก็ต้องติดสินบนเขาไปทั่วเลย
นะ  ...แล้วหลังจากนั้น ก็มาต้มเหล้าขายอยู่อีก ๒ ปี  ช่วงนั้นชีวิตไม่ดีเลย
คิดจะเอาแต่เงินทอง”
      เงินทองส่วนหนึ่งที่หาได้ระหว่างนั้น    นายไสวได้นำมาซื้อที่ดินที่เชียง
ใหม่ และปลูกบ้านอยู่ที่นั่นกับภรรยา แต่ทั้งคู่ไม่มีลูกด้วยกัน  จึงไปขอเด็ก
มาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ๔ คน
      แม่ยายเขาไม่ชอบเด็กพวกนี้ วันหนึ่งเด็กตื่นขึ้นมาหุงข้าวไว้ให้แม่ยาย
ใส่บาตรตอนเช้า  พอเด็กยกหม้อข้าวลง  เตาก็ว่างยังไม่ทันได้ทำอะไร แม่
ยายมาเห็นพอดี  แกว่าเลย  ..มึงลูกเศรษฐีรึไง ถึงติดไฟเล่นน่ะ...  “
      แม่ยายเขาขี้บ่น  เผอิญข้างบ้านที่เชียงใหม่มีฝึกสมาธิกันอยู่ หลวงตา
เลยไปถามเขาว่า ...วิธีทำให้ไม่โกรธแม่ยายทำอย่างไร.. เขาบอกต้องมีขัน
ติ ต้องอดทน
แต่พอฟังแม่ยายบ่นบ่อยๆ ขันติเลยกลายเป็นขันแตกไป แต่
นี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สนใจเรื่องสมาธิ”
      เวลาผ่านไป นายไสว ศรีงาม  แกตัวลงทุกวัน  หากแต่ยังไม่ละทิ้งเรื่อง
การฝึกสมาธิ   และจิตใจที่หันมาฝักใฝ่ในทางธรรมยิ่งขึ้น   โดยมี แม่ชีบุญ
เรือน  โตงบุญเติม  แม่ชีนักปฎิบัติธรรม เป็นบุคคลสำคัญที่คอยชี้แนะ แต่
ในขณะเดียวกันโรคภัยต่างๆ ก็รุมเร้าเข้ามามิได้หยุดหย่อน ตามกาลเวลา
และสังขารที่ร่วงโรย
      “ตอนนั้นปวดหัวเป็นประจำ แล้วยังเป็นริดสีดวงทวาร โรคปอดทั้งสอง
ข้าง โรคต่อมลูกหมากโต นอนโรงพยาบาลเป็นเดือนๆ  ทั้งผ่าตัด เอกซเรย์
ฉีดยาเป็นร้อยเข็ม”
      แล้ววันหนึ่ง ทั้งโรคภัยที่รุมเร้าและความรู้สึกว่า “พอแล้ว” กับชีวิตทาง
โลก  การสะสมเงินทอง  การต่อสู้ในชีวิตการทำงาน  การผ่านเรื่องมาทั้งดี
ทั้งร้าย
  นายไสว ศรีงาม ก็ตัดสินใจ
      “  ..เอาธรรมะดีกว่า  เงินทองพอแล้ว.. แล้วตอนนั้นก็ไม่มีห่วงอะไรลูก
ที่ขอมาเลี้ยงก็เรียนจนจบทำงาน มีครอบครัวกันหมด  เมียก็ตายไปแล้ว”
      นายไสวถามแม่ชีบุญเรือนว่า มีพระรูปไหนบ้างที่ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ
      “อาจารย์มั่น  เจ้าคุณอุบาลี และท่านพุทธทาส” คือชื่อที่แม่ชีบอกนาย
ไสวในวันนั้น
      ปี พ.ศ.๒๕๐๐ นายไสว มีโอกาสพบตัวจริงท่านพุทธทาส  ที่เชียงใหม่
หลังจากนั้นสามปี (ปี ๒๕๐๓) นายไสว ศรีงาม ตัดสินใจเดินทางลงใต้   สู่
อำเภอไชยา  สุราษฎร์ธานี  เพื่อมาขอบวชกับท่านพุทธทาส แห่งสวนโมก
ขพลาราม จนถึงวันนี้(พ.ศ.๒๕๓๗) เป็นเวลา ๓๔ ปีแล้ว
      “เคยทำไม่ดีมา  ก็รู้สึกว่าต้องแก้ไขชีวิต  ขายฝิ่นเถื่อน   เหล้าเถื่อน ทำ
คนเสีย   มอมเมาคน   ไหวเหรอ  ชีวิตที่เหลือเลยต้องทำดีที่สุด  เงินทองที่
หาได้มาก็เสียสละให้เด็ก ๆ หมด ไม่เอาแล้ว  เห็นแก่ตัวให้มันน้อยลง

      ช่วงที่หลวงตามาบวชนั้น  เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ท่านพุทธทาสมีดำริ
ที่จะเริ่มงานโรงมหรสพทางวิญญาณ   และได้มีการก่อตั้ง  โรงปั้นภาพขึ้น
เพื่อปั้นภาพ “พุทธประวัติ” สอนธรรมะแก่คนทั่วไป  พระไสว สิวยาโณ จึง
เริ่มงานที่โรงปั้นร่วมกับพระรูปอื่นๆ ที่สวนโมกข์นั่นเอง
      “เมื่อก่อนหลวงตาไม่ค่อยพูด  แต่ช่วงที่ปั้นภาพมีคนมาถาม มาดูบ่อย
ว่าภาพอะไร  ก็ต้องเล่า  ต้องอธิบายให้เขาฟัง   คนที่มาบางทีเขาก็พาเด็ก
มาด้วย พอทำงานปั้นภาพเสร็จ   เลยมานั่งคิดว่าต้องทำงาน “ปั้นคน” ต่อ
ไป แล้ว ต้องเริ่มกับเด็กๆ ใกล้วัดนี่แหละ

      รูปปั้นตุ๊กตุ่นตุ๊กตา   สัตว์ต่าง ๆ  กระปุกออมสิน  เริ่มออกมาโลดแล่น
วาดลวดลายประกอบนิทานเรื่องเล่าจากหลวงตาไสว  และครองใจเด็ก ๆ
(รวมถึงผู้ใหญ่บางคน) ตั้งแต่นั้นมา....


      จบตอนที่  ๖

จาก นิตยสาร สารคดี
ฉบับที่ ๑๑๗  ปีที่ ๑๐
เดือน พฤศจิกายน  ๒๕๓๗


บันทึกการเข้า
 :42ดนตรีคือ สื่อภาษาสากล :42

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **