พุทราขอ , เล็บเหยี่ยว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ziziphus oenoplia (L.) Mill. var. oenoplia
ชื่อวงศ์ RHAMNACEAE
ชื่อพื้นเมือง เล็บแมว, ยับเยี่ยว (นครราชสีมา); ตาฉู่แม, ไลชูมี (กะเหรี่ยง –เชียงใหม่); พุทราขอ, เล็ดเยี่ยว, เล็บเหยี่ยว (ภาคกลาง); มะตันขอ, หนามเล็บเหยี่ยว, หมากหนาม (ภาคเหนือ); ยับยิ่ว (ภาคใต้); สังขัน (สุราษฎร์ธานี, ระนอง); แสงขัน (นครศรีธรรมราช)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เล็บเหยี่ยวเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เถาและกิ่งมีหนามแหลมงอทั่วทั้งต้นเปลือกเถาสีดำเทา เปลือกในสีแดง
ใบ ใบเดี่ยว รูปทรงกลมรีเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ท้องใบมีขนนุ่มสั้นๆ หลังใบ สีเขียวเข้ม คล้ายใบพุทรา
ดอก ดอกออกเป็นช่อเล็กๆ เป็นกระจุกตามซอกใบ
ผล ผลเป็นผลกลม ผลดิบจะมีสีเขียวรสเปรี้ยว เมื่อสุกมีสีดำรสหวานอมเปรี้ยว มี 1เมล็ดส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ผลสุก รับประทานได้
รส หวานอมเปรี้ยว
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
แหล่งที่พบ ป่าเต็งรังและป่าคืนสภาพ
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ผล รสหวานอมเปรี้ยว ทานได้ ใบและยอด จิ้มน้ำพริกแก้โรคนิ่ว ราก ต้มกินขับ
ปัสสาวะแก้นิ่ว รากผสมสารส้มต้มกินแก้อวัยวะเพศแข็งตัวค้าง
....นี่คือผลไม้ชายทุ่งอีกชนิดหนึ่ง ที่เด็กบ้านนอกใช้บรรเทาความหิว ในยามเหนื่อยล้า...จากการวิ่งเล่น หรือเหน็ดเหนื่อยจากการต้อนวัว... ขอประสพการณ์จากเพื่อนๆ มาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ