กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวะหลั่งเหงื่อมาก (Hyperhidrosis)  (อ่าน 7076 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ชญาดา

  • กรรมการบ้านเพลงไทย
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3031
  • กระทู้: 959
  • Thank You
  • -Given: 2112
  • -Receive: 3031
ภาวะหลั่งเหงื่อมาก (Hyperhidrosis)
« เมื่อ: มิถุนายน 29, 2013, 10:49:32 AM »
หน้าที่ 1 - ภาวะหลั่งเหงื่อมาก (Hyperhidrosis)

          ด้วยอุณหูมิที่สูงมากขึ้นในช่วงเวลานี้  ทำให้ร่างกายมีการขับเหงื่ออกมาเป็นจำนวนมาก  "เหงื่อ"  เป็นของเสียที่ร่างกายขับออกมาในรูปของเหลว  ประกอบด้วย น้ำ 99% ส่วนอีก 1% ได้แก่   โซเดียมคลอไรด์ ยูเรีย น้ำตาล ไขมัน กรดอะมิโนบางชนิด โพแทสเซียม แมกนีเซียม เหล็ก 

 เหงื่อจะถูกขับออกมาทางผิวหนังหรือตามซอกต่าง ๆ ของร่างกาย   โดยปริมาณของเหงื่อของแต่ละคนนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งกระตุ้นสองอย่างได้แก่  ความร้อนและอารมณ์ นอกเหนือจากนั้นอาจขึ้นอยู่กับ โรคบางชนิดที่ทำให้ปริมาณของเหงื่อเปลี่ยนแปลงได้  เช่น  โรคเครียด  ต่อมไทรอยด์เป็นพิษหรือคอพอก วัณโรค เบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะใกล้หมดประจำเดือน สิ่งเหล่านี้ทำให้เหงื่อออกมาก ส่วนโรคผิวหนังไม่ว่าจะเป็นผด ผื่น สะเก็ดเงิน ผิวหนังแตกหยาบ ไมเกรนจะทำให้เหงื่อออกน้อย เป็นต้น

 ร่างกายของเรามีต่อมเหงื่อ (Sweat Glands) อยู่ 2 ชนิด ได้แก่  Eccrine Sweat Glands ต่อมเหงื่อชนิดนี้พบทั่วตามร่างกาย ได้แก่ ผิวหนัง ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ซึ่งจะผลิตเหงื่อที่มีลักษณะใสเหมือนน้ำ  ไม่มีกลิ่น เพราะร่างกายจะขับเหงื่อชนิดนี้ออกมาเมื่อทำกิจกรรมหนักๆ หรืออยู่ในสภาวะอากาศร้อน  ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ  Apocrine Sweat Glands  ต่อมเหงื่อชนิดนี้กระจายตัวอยู่บางแห่งของร่างกาย เช่น รักแร้ ขาหนีบ ทวารหนัก หัวหน่าว ก้น แผ่นหลัง เหงื่อที่ได้จะมีลักษณะเหนียวใสและมีส่วนผสมของไขมันอยู่มาก  จึงทำให้เหงื่อชนิดนี้มีกลิ่น ซึ่งกลิ่นเหล่านี้ทำหน้าที่ในการกระตุ้นอารมณ์เพศจึงเป็นคนละกลิ่นที่เกิดจากการหมักหมมของขี้ไคล


       โดยปกติแล้วร่างกายจะมีการขับเหงื่อออกมา  เพื่อระบายความร้อนที่เกิดขึ้นจากขบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกาย  ซึ่งอีกหนึ่งอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับต่อมเหงื่อคือ ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ หรือเรียกว่า “ภาวะหลั่งเหงื่อมาก หรือภาวะเหงื่อท่วม (Hyperhidrosis)” ได้แก่ ภาวะที่ต่อมเหงื่อชนิด Eccrine สร้างเหงื่อมากผิดปกติจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำประจำวัน   โดยมักจะเกิดมากบริเวณฝ่ามือ, เท้า, รักแร้หรือใบหน้า

    สาเหตุของภาวะการหลั่งเหงื่อมากอาจเกิดมาจาก  ภาวะความผิดปกติในร่างกาย  คือเหงื่อออกมากผิดปกติโดยที่เรารู้สาเหตุ (ภาวะหลั่งเหงื่อมากทุติยภูมิ ; secondary hyperhidrosis) เช่น  ผู้ป่วยที่มีโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ, สตรีในวัยใกล้หมดประจำเดือน  หรือไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่ชัดเจน (ภาวะหลั่งเหงื่อมากปฐมภูมิ ;primary hyperhidrosis) ซึ่งกลุ่มดังกล่าวผู้ป่วยมักมีอาการเหงื่อออกมากผิดปกติเฉพาะบางส่วนของร่างกาย  ที่พบบ่อยคือบริเวณมือ, รักแร้, หรือเท้า 

      ในภาวะปกติ สามารถพบช่วงมีเหงื่อออกมากกว่าปกติได้ เช่น ในการออกกำลังกาย อากาศร้อน อากาศอบอ้าว กินอาหารเผ็ดหรืออาหารร้อน ตื่นเต้น เครียด หรือมีไข้  ภาวะหลั่งเหงื่อมาก เป็นภาวะพบได้บ่อย   แต่มีผู้ป่วยเพียงบางส่วนเท่านั้นที่มาพบแพทย์ด้วยภาวะนี้  ประมาณว่า ในประชากรทั้งหมดสามารถพบภาวะนี้ได้ประมาณ 0.6-1% โดยพบภาวะนี้ได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ และพบในผู้หญิงได้บ่อยเท่ากับในผู้ชาย

     อาการของภาวะหลั่งเหงื่อมาก เมื่อเกิดเฉพาะที่โดยไม่รู้สาเหตุ มักมีเพียงอาการเดียว คือ มีเหงื่อออกมากผิดปกติ เฉพาะจุด ที่พบได้บ่อย คือ ที่รักแร้ รองลงมาตามลำดับ คือ ฝ่าเท้า และฝ่ามือ   แต่อาจพบที่ตำแหน่งอื่นได้ แต่น้อยมาก เช่น หลัง หู หรือ หนังศีรษะ ทั้งนี้อาการเกิดขึ้นโดยไม่มีตัวกระตุ้น จะเกิดเวลาใดก็ได้ แต่เกิดเฉพาะเวลากลางวัน ไม่เกิดช่วงกลางคืน ทั้งนี้จะวินิจฉัยว่าเป็นภาวะนี้ได้ ผู้นั้นต้องมีอาการเหงื่อออกมากผิดปกติโดยไม่มีอาการอื่นร่วมด้วยอย่างน้อยนาน 6 เดือน และต้องเกิดร่วมกับอีก 2 ใน 6 ลักษณะ ดังนี้

  ต้องมีเหงื่อออกผิดปกติเหมือนๆกันทั้งสองข้างของร่างกาย (คือทั้ง ซ้ายและขวา)
  เหงื่อออกมากจนมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
  เหงื่อออกมาก เกิดบ่อยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  อาการเกิดก่อนอายุ 25 ปี
  มีประวัติคนในครอบครัวเป็นภาวะนี้
  เหงื่อออกช่วงกลางคืนปกติ
 อาการภาวะหลั่งเหงื่อมากทั่วตัว จะเกิดเวลากลางวัน หรือกลางคืนก็ได้ หรือเกิดทั้งวัน หรือ เกิดเป็นเวลา ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ มักเกิดร่วมกับอาการอื่นๆเสมอ เช่น มีไข้ เบื่ออาหาร ผอมลงโดยไม่รู้สาเหตุ ไอเรื้อรัง หรือ ปัสสาวะมากและบ่อย เป็นต้น ทั้งนี้ อาการร่วมจะเป็นไปตามอาการของแต่ละสาเหตุ ดังนั้นจึงแตกต่างกันไปโดยไม่มีอาการเฉพาะจากภาวะนี้
 
ภาวะหลั่งเหงื่อมากที่เกิดเฉพาะจุดชนิดปฐมภูมิ คือไม่รู้สาเหตุการเกิดที่ชัดเจน มักเป็นภาวะไม่รุนแรง ไม่ทำให้เสียชีวิต แต่ส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง โดยเฉพาะในการเข้าสังคม จากการอับชื้น และมีกลิ่น เช่น กลิ่นตัวเมื่อเกิดในบริเวณรักแร้ และกลิ่นเท้าเมื่อเกิดที่ฝ่าเท้า เป็นต้น นอกจากนั้น ผิวหนังซึ่งเปียกชื้นเสมอ จะติดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย และเกิดอาการผื่นคันง่าย

      ส่วนความรุนแรงของภาวะนี้เมื่อเกิดทั่วตัวโดยรู้สาเหตุ (ชนิดทุติยภูมิ) ขึ้นกับสาเหตุที่แตกต่างกันในแต่ละโรค เช่น เมื่อเกิดจากโรคเบาหวาน ความรุนแรงอยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อเกิดจากโรคมะเร็ง ความรุนแรงโรคอยู่ในระดับสูง เป็นต้น ส่วนผลข้างเคียงจากอาการเหงื่อออกมาก เช่นเดียวกับในการมีเหงื่อออกเฉพาะที่ แต่เกิดขึ้นทั่วตัว เช่น ขึ้นผื่น การติดเชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรีย และการมีกลิ่นตัว
     ในการรักษาผู้ที่มีภาวะหลั่งเหงื่อมาก อาจทำได้โดยการผ่าตัด  หรือรับประทานยาที่ควบคุมระบบประสาทที่ควบคุมการหลั่งเหงื่อ  หรือฉีดโบท็อกซ์ ลดการกระตุ้นของระบบประสาทเฉพาะที่  ดังนั้นผู้ที่มีภาวะผิดปกติในการหลั่งเหงือนี้จึงควรเรียนรู้ที่จะดูแลตัวเองด้วยการสวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย  หมั่นทำความสะอาดร่างกาย  และไปพบแพทย์อยู่เสมอเพื่อการตรวจรักษาต่อไปค่ะ