กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: ๔๑..ปี..คีตกวีลูกทุ่ง...ผู้จากไป  (อ่าน 7511 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
๔๑..ปี..คีตกวีลูกทุ่ง...ผู้จากไป
« เมื่อ: สิงหาคม 22, 2013, 01:58:50 AM »
......เมื่อ วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2515... 41 ปีล่วงมาแล้ว วงการเพลงบ้านเรา ได้สูญเสีย บุคลากร บรมครู ผู้สร้างสรรค์งานเพลง และสร้างนักร้อง ให้เกิดขึ้น ในวงการมากมายหลายคน ครูได้สร้างอาชีพ สร้างฐานะ ให้กับหลายชีวิต หลายครอบครัว มีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น..ทั้งๆที่ตัวครูเอง ต้องทุกข์ทรมาน กับความเจ็บปวด ด้วยโรคร้ายที่รุมเร้า และต้องจากโลกนี้ไป ทิ้งผลงานทรงคุณค่าไว้มากมายในวงการทั้งเพลงลูกทุ่งและเพลงลูกกรุง  ซึ่งในบรรดาเพลงที่ครูแต่งและเป็นอมตะมาจนถึงทุกวันนี้ หากครูยังมีชีวิตอยู่ท่านคงได้รับผลตอบแทนมากมายจากการทำงานคุณภาพ ที่อาจทำให้ครูมีความเป็นอยู่ในระดับเศรษฐีคนหนึ่งทีเดียว..ใช่ครับ เรากำลังจะเอ่ยถึง ครู ไพบูลย์ บุตรขัน


ประวัติส่วนตัว
           ครูไพบูลย์ บุตรขัน เกิด 4 กันยายน พ.ศ. 2461  นักแต่งเพลง และนักเขียนบทละคร ที่มีผลงานที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก จนได้รับการขนานนามให้เป็น "อัจฉริยะนักแต่งเพลงอันดับหนึ่งของไทย"
            ครูไพบูลย์ บุตรขัน เดิมชื่อ ไพบูลย์ ประณีต เกิดที่บ้านท้องคุ้ง ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เป็นบุตรของนายบุตร และนางพร้อมประณีต ครอบครัวมีอาชีพทำนา มีฐานะยากจน มีพี่น้อง 3 คน เมื่ออายุได้ 6 ปี บิดาเสียชีวิต จึงได้รับการเลี้ยงดูโดยนายเจน บุตรขัน ผู้เป็นอา นำไปอยู่ที่อำเภอปทุมวัน กรุงเทพ และได้เปลี่ยนนามสกุลจากประณีต มาเป็นบุตรขัน
ประวัติการศึกษา
         ครูไพบูลย์ บุตรขัน เริ่มศึกษาชั้นประถมต้นที่จังหวัดปทุมธานี ประถมปลายที่โรงเรียนสตรีปทุมวัน และศึกษาจนจบมัธยม 8 ที่โรงเรียนสวัสดิ์อำนวยเวทย์ กรุงเทพ และศึกษาดนตรีเพิ่มเติมจากครูพิณ โปร่งแก้วงาม ราวปี พ.ศ. 2476-2478 และเรียนวิชาดนตรีและโน้ตเพลงสากลเพิ่มเติมที่สมาคมวายเอ็มซีเอ แถบถนนวรจักร และได้ใช้โน้ตดนตรีประกอบการแต่งเพลงทุกครั้งตั้งแต่นั้นมา
ประวัติการทำงาน
          หลังจากเรียนจบ ครู ได้ทำงานเป็นครูสอนภาษาไทยที่โรงเรียนกว๋องสิว แล้วลาออกไปทำงานเป็นช่างไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าสามเสน แล้วลาออกไปทำงานกับคณะละคร คณะแม่แก้ว และคณะจันทโรภาส ของพรานบูรพ์ ทำหน้าที่เขียนบทละครวิทยุ และแต่งเพลง
งานเพลงอมตะที่ครูแต่งไว้ (บางส่วน)
         งานเพลงของครูไพบูลย์ บุตรขัน เริ่มบันทึกแผ่นเสียงเมื่อประมาณ พ.ศ. 2490 จากการชักนำของ สวัสดิภาพ บุนนาค ซึ่งเป็นเพื่อนและน้องเขย เพลงในยุคแรกได้แก่เพลง "มนต์เมืองเหนือ"
<a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/1gES4TcQg5I?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=&quot;" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/1gES4TcQg5I?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=&quot;</a> <a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/hxKAbxZSNVQ?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=&quot;" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/hxKAbxZSNVQ?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=&quot;</a>
       เพลง มนต์เมืองเหนือ นี้ เป็นเพลงแรกที่ครูไพบูลย์แต่งและบันทึกเสียง ครั้งแรก “สมยศ ทัศนพันธ์” เป็นผู้ขับร้อง ภายหลัง “ทูล ทองใจ” นำมาขับร้องใหม่ โดยเปลี่ยนเนื้อเล็กน้อยจากเดิมที่ว่า “แอ่วเว้าเจ้าวอน” มาเป็น “แอ่วสาวเจ้าวอน ครูแต่งโดยไม่เคยไปภาคเหนือ(หมายถึงเชียงใหม่)เลย
และเพลง"คนจนคนจร" "ดอกไม้หน้าพระ" "ดอกไม้หน้าฝน" และ "ค่าน้ำนม" และได้รับการยกย่องว่าเป็นงานที่มีคุณค่า และได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน เช่น "โลกนี้คือละคร" (ขับร้องโดย ปรีชา บุณยะเกียรติ)

<a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/2uUy9NOwyMU?hl=th_TH&amp;amp;version=3&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=&quot;" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/2uUy9NOwyMU?hl=th_TH&amp;amp;version=3&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=&quot;</a> <a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/_H8V6UrDCco?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/_H8V6UrDCco?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=</a>

 "เบ้าหลอมดวงใจ" และ "มนต์รักลูกทุ่ง" (ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร) "ฝนเดือนหก" (ขับร้องโดย รุ่งเพชร แหลมสิงห์) "ยมบาลเจ้าขา" (ขับร้องโดย บุปผา สายชล)

<a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/v6naAaSH5WU?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/v6naAaSH5WU?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=</a> <a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/O3idj6IS6wA?hl=th_TH&amp;amp;version=3&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/O3idj6IS6wA?hl=th_TH&amp;amp;version=3&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=</a> <a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/tZmpLol969c?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/tZmpLol969c?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=</a><a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/Zv6iUS3tGeU?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/Zv6iUS3tGeU?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=</a> <a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/_mDgnC_9SPc?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/_mDgnC_9SPc?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=</a>
"กลิ่นโคลนสาปควาย" (แต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2496 ขับร้องโดยชาญ เย็นแข) เป็นอีกผลงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งของของ ครูไพบูลย์ บุตรขัน ที่ทางราชการไทยเคยประกาศห้ามเปิดในช่วงการปราบปรามคอมมิวนิสต์ แม้จะมีการห้ามจากทางการแต่ยิ่งห้ามก็มีผู้ฟังซื้อแผ่นเสียงไปฟังเป็นจำนวน มาก เพลงนี้ยังได้รับยกย่องให้เป็นรากฐานของเพลงลูกทุ่งอีกด้วยเพราะในอดีตก่อน พ.ศ. 2500 นั้นเพลงในประเทศไทยยังมิได้แบ่งแยก ยุคสมัยที่ยังไม่ได้มีการแบ่งแยกเพลงลูกกรุงและเพลงลูกทุ่งออกจากกันอย่าง ชัดเจน เพลงนี้ เดิมทีครูไพบูลย์แต่งเพื่อให้ บุญช่วย กมลวาทิน เป็นคนร้อง แต่ในวันอัดเสียงที่ห้องบันทึกเสียง ดี คูสเปอร์ จอห์นสตัน บุญช่วยเกิดไม่มา ชาญ เย็นแข ซึ่งตามไปดูการบันทึกเสียงจึงได้ร้องแทน และเพลงนี้มียอดจำหน่ายสูงสุดถึง 5,000 แผ่น ซึ่งสูงมากในสมัยนั้น
เพลง น้ำค้างเดือนหก ขับร้องโดย สุรพล สมบัติเจริญ

<a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/gMK86tDH4Gc?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=&quot;" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/gMK86tDH4Gc?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=&quot;</a>
         เพลงนี้ครูไพบูลย์แต่ง แต่ใช้นามปากกาว่า “สาโรช ศรีสำแล” เนื่องจากในช่วงนั้นดวงตกเขียนเพลงไหนก็ไม่ดัง และเพื่อรักษาเครดิตของชื่อ “ไพบูลย์ บุตรขัน” เอาไว้ จึงเปลี่ยนนามปากกาเขียนเพลงนี้ให้ สุรพล สมบัติเจริญ ซึ่งเป็นนักร้องที่ดังมากเป็นผู้ขับร้อง
 ....วันที่ 20 พฤศจิกายน 2514 ครูไพบูลย์ บุตรขัน ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำครั้งแรก และครั้งเดียวในชีวิต พร้อมกันถึง 6 รางวัลคือ
1. เนื้อร้องชนะเลิศ เพลงไทยสากลประเภท ข. ในเพลง โลกนี้คือละคร
2. เนื้อร้องชนะเลิศเพลงลูกทุ่งประเภท ก. ในเพลง เบ้าหลอมดวงใจ
3. ทำนองชนะเลิศ ในเพลง ฝนเดือนหก
4. เนื้อร้องชนะเลิศ ในเพลง มนต์รักลูกทุ่ง
5. ทำนองชนะเลิศ ในเพลง มนต์รักลูกทุ่ง
6. ทำนองชนะเลิศ ในเพลง ยมบาลเจ้าขา

เพลงที่แต่งจากชีวิตจริงของครูไพบูลย์

<a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/t5X-aBtKX3g?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/t5X-aBtKX3g?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=</a>
เพลง ขี้เหร่ก็รัก ขับร้องโดย ศรคีรี ศรีประจวบ  ครูไพบูลย์แต่งเพลงนี้แทนตัวเอง ด้วยอารมณ์ของหนุ่มใหญ่วัยห้าสิบที่ตอนนั้นครู ูมีโรคร้ายเรื้อรัง แต่การที่ชีวิตมีผู้หญิงมองข้ามข้อนี้ และยินดีเป็นคู่ชีวิต ทำให้ครู ูเขียนเพลงนี้ขึ้นมา ซึ่งเป็นความอบอุ่นในช่วงเวลาสั้นๆสามปีสุดท้ายของชีวิต

ชีวิตบั้นปลายของครู
           ตั้งแต่วัยหนุ่ม ครูไพบูลย์ บุตรขัน ป่วยเป็นโรคเรื้อนและไม่มีเงินรักษาอย่างจริงจัง ครูไพบูลย์เก็บตัวเงียบไม่ออกสังคม โดยได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากนางพร้อม ประณีต ผู้เป็นมารดาจนนางพร้อมเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2508 แต่ได้ความช่วยเหลือจากเพื่อนฝูง พาไปรักษาจนหายดี แต่ก็ยังมีร่างกายพิการ ต่อมาได้กลัยมาเป็นโรคร้ายอีกครั้ง และใช้ยาเสพติดเพื่อบรรเทาอาการ และเข้าบำบัดที่สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอกจนหายขาดในปี พ.ศ. 2502  ครูไพบูลย์ บุตรขัน สมรสกับ ดวงเดือน บุตรขัน นักแต่งเพลงลูกศิษย์ครูไสล ไกรเลิศ ที่เป็นเพื่อนกัน ทั้งคู่ร่วมงานกันและแต่งงานกันในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2511 แต่ครูไพบูลย์ได้ล้มป่วยด้วยโรคลำไส้ อาเจียนเป็นเลือด หลังจากนั้นไม่นาน จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2515 อายุ 54 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2516
....นี่คือเรื่องราว ของครูเพลง ที่ผมได้ คัด ตัดตอนมาจาก หนัง"คีตกวีลูกทุ่ง ไพบูลย์ บุตรขัน" โดย วัฒน์ วรรลยางกูร และบางข้อความ จาก วิกิพีเดีย หวังว่าคงสร้าง สาระ ความบันเทิง ให้กับทุกท่านที่เข้ามาอ่าน ไม่มากก็น้อย...ขออุทิศ ความดีทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากบทความนี้..ให้กับดวงวิญญาณ ของครู จงสู่สุขคติ.....
หมายเหตุ นามปากกาในการประพันธ์บทละครและบทภาพยนตร์ ตรีบูรพ์ อมราวรรณ

ขอขอบคุณเพลงจากหลายๆท่าน ใน youtube
ขอขอบคุณ อ. ลือ ผู้ฝึกสอนการวางภาพและเพลง



ดาวเรือง

  • กรรมการบ้านเพลงไทย
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 1934
  • กระทู้: 454
  • Thank You
  • -Given: 3088
  • -Receive: 1934
  • เพลงคือชีวิต
Re: ๔๑..ปี..คีตกวีลูกทุ่ง...ผู้จากไป
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2013, 02:20:14 AM »
สุดยอดนักแต่งเพลงระดับครูเพลงอีกท่านหนึ่ง
ที่ผมเคารพนับถือในฝีมือ


บันทึกการเข้า

อาคม ดอนเมือง

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2051
  • กระทู้: 398
  • Thank You
  • -Given: 3296
  • -Receive: 2051
Re: ๔๑..ปี..คีตกวีลูกทุ่ง...ผู้จากไป
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2013, 08:51:15 AM »

 ขอบคุณคุณลุงชัยนรา มากนะครับที่กรุณานำประวัติและผลงานอันยิ่งใหญ่ (บางส่วน)
ของบรมครู ไพบูย์ บุตรขัน มาเผยแพร่ สำหรับผมแล้วท่านคือนักประพันธ์อันดับหนึ่งใน
ดวงใจเสมอ ผลงานของท่านจะเรียบง่ายแต่ลึกซึ้งและกินใจมีหลายเพลงที่บรรยายถึงชีวิต
และความเป็นอยู่ของผู้คนในยุคกระโน้นได้เป็นอย่างดี (แบบมองเห็นภาพเลยอ่ะ) เช่นเพลง
 ค่าน้ำนม โลกนี้คือละคร น้องนางบ้านนา เป็นต้น เคยมีคนบอกว่าถ้ามีเพลงไหนที่นึกชื่อคน
แต่งไม่ออกเค้าให้เดาเลยว่าเป็น ครูไพบูลย์ บุตรขัน ชัวร์ ซึงเรื่องนี้คงจะไม่ไกลเกินจริงนะครับ
เพราะว่าผลงานของท่านมีมากมายเหลือเกินไม่ว่าจะเป็นแนวลูกทุ่งหรือลูกกรุงแม้แต่เพลงประ
กอบภาพยนตร์ก็ยังสร้างความประทับใจให้ผู้คนมาจนถึงบัดนี้ ขอบคุณคุณลุงชัยนรา อีกครั้ง
นะครับสำหรับเรื่องราวของอัจฉริยะทางดนตรีแห่งวงการเพลงบ้านเราที่มีนามว่า ไพบูลย์ บุตรขัน

                                 :72


บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: ๔๑..ปี..คีตกวีลูกทุ่ง...ผู้จากไป
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2013, 11:19:32 AM »
1.ขอบคุณมากครับพี่ชัย
2.ส่วนใหญ่ เพลงที่เราชื่นชอบ คือผลงานเพลงที่ครูไพบูลย์ บุตรขันท่านแต่งไว้ แทบทั้งนั้น
      น่าจะเป็นครูเพลงท่านแรก ที่ผมรู้จักมาแต่เด็ก...
          และจำชื่อนี้มาตลอดครับ

                        :61 :61 :61


บันทึกการเข้า