.
..ในวันที่ 30 กันยายน ที่จะถึงนี้ เป็นวันครบรอบ 44 ปีที่นักร้องเพลงเพื่อชีวิตที่ชื่อ คำรณ สัมบุญณานนท์ ลาจากโลกนี้ ไปเหลือทิ้งไว้เพียงบทเพลงสะท้อนเรื่องราวของสังคมไทย บทเพลงของเขายังคงเป็นอมตะ และถือเป็นต้นแบบให้นักร้องแนวเพื่อชีวิตและเพลงลูกทุ่ง รุ่นหลังได้ยึดถือมาจนถึงทุกวันนี้ ....ผมขอนำชีวประวัติ เศษเสี้ยวบางตอน มาฝากเพื่อนร่วมบ้านเพลงไทย ที่รักทุกท่าน ได้อ่านกัน เมื่อระลึกถึงท่าน ผู้กล่อมโลก ให้สังคม ยุคนั้นได้มีชีวิต ชีวาขึ้น...ข้อมูลเหล่านี้มาจากการรวบรวม จากหนังสือหลายๆเล่ม หนังสือพิมพ์ เก่าๆ หลายฉบับ และในอินเตอร์เน็ต หลายๆ เวปไซด์..ขอขอบคุณแหล่ง ข้อมูลที่มาของเรื่องราว หลากหลายแห่งที่อ้างถึง......
คำรณ สัมบุญณานนท์ เป็นชื่อจริงนามสกุลจริง(บ้างก็ว่า เดิมชื่อทองคำ) เขาเป็นชาวกรุงเทพฯโดยกำเนิด เกิดเมื่อ 7 มกราคม2463 ที่บ้านหลังวัดเกาะสัมพันธวงศ์ ถนนทรงวาด ( ทรงสวัสดิ์ ) แต่บางคนบอกว่าเขาน่าจะเป็นชาวสุพรรณบุรี โดยวิเคราะห์เอาจากสำเนียงที่ร้องออกมา เขาจบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย(บางตำราก็ว่าเรียนไม่จบ เพราะจิตใจฝักใฝ่ในเรื่องบันเทิงมากเกินไป ) และคำรณ ก็มุ่งหน้าเข้าสู่วงการเพลงแนวนี้โดยได้รับอิทธิพลมาจากครูแสงนภา บุญราศรี นักร้องดังในเพลงแนวนี้ โดยเส้นทางการเป็นนักร้องของคำรณอาศัยไต่เต้ามาจากเวทีการประกวดตามที่ต่างๆ โดยใช้ชื่อว่า ท.ธำมรงค์ ซึ่งก็ชนะบ้างแพ้บ้างตามเรื่องตามราว (ตระเวนประกวดรุ่นเดียวกันกับเบญจมินทร์ ชาญ เย็นแข เลิศ ประสมทรัพย์ นริศ อารีย์)
แต่หลังจากที่เขาหันมาร้องเพลงโห่ ( แบบตะวันตก ไม่ใช่โห่...ฮิ้ว แบบตามงานบวช ) ที่มีท่วงทำนองสนุกสนาน การประกวดของเขาก็พบกับชัยชนะทุกครั้ง ต่อมาคำรณก็พลิกลูกกระเดือก หันมาร้องเพลงชีวิต เนื้อหาเครียดๆแบบแสงนภา บุญราศรี อย่าง ชายสามโบสถ์,กรรมกรรถราง ฯลฯ และก็ได้รับความนิยมอีกเช่นเคย
ในยุคที่หนังคาวบอยกำลัง เฟื่องฟู คำรณก็มักจะแต่งชุดชาวนา เป็นคาวบอยเมืองไทย เที่ยวร้องเพลงสลับฉากตามโรงละคร บางวันก็ประกาศตัวว่าเขาคือ แฮงค์ วิลเลี่ยม เมืองไทยและต่อมานักร้องหลายคน ก็หันมาร้องเพลงโห่ตามเขาหลายคน
ในยุคนั้นวงการเพลง เมืองไทยยังไม่มีการแบ่งออกเป็นลูกทุ่งลูกกรุงชัดเจนอย่างเช่นปัจจุบัน ที่พัฒนามาจากเพลงลูกกรุงเป็นลำดับแรก ก็คือเพลงชีวิต หรือที่เรียกกันว่า เพลงตลาด ซึ่งไม่ได้มีความหมายว่าเพลงต่ำๆ แต่หมายถึงเพลงลูกกรุงที่ชาวบ้านร้านตลาดนิยมฟังกัน เพราะมีเนื้อหา พูดถึงชีวิตจริงของคนธรรมดาสามัญ ที่ถูกใจคนยากจน คนระดับล่างของสังคมมากกว่าเพลงลูกกรุงธรรมดา แต่ท่วงทำนองและลีลาของดนตรียังเป็นแบบลูกกรุงอยู่
ในปี พ.ศ. 2481 คำรณได้เล่นละครวิทยุเรื่อง "เจ้าสาวชาวไร่" ของครูเหม เวชกร และได้ร้องเพลงนำของละคร เพลงเพลงนี้ได้รับยกย่องให้เป็น
เพลงลูกทุ่งเพลงแรกของไทย และถือกันว่า คำรณเป็น
"บิดาของวงการลูกทุ่งไทย" การที่ผู้ร้ายออกมาร้องเพลงด้วย ก็เลยทำให้เขาดูไม่ร้ายเท่าไหร่ เป็นนักร้องลูกทุ่งสมัยต้นๆ ของวงการ รุ่นเดียวกับ ชาญ เย็นแข ปรีชา บุญยเกียรติ ก่อนรุ่นนักร้องลูกทุ่งดังอย่าง สุรพล สมบัติเจริญ ชัยชนะ บุญนะโชติ ก้าน แก้วสุพรรณ กุศล กมลสิงห์ ฯลฯ
คำรณบันทึกเสียงแผ่นเสียงเพลงแรกในแนวเพลงโห่ จากผลงานเพลงของครูไพบูลย์ บุตรขัน ชื่อเพลง "ชมหมู่ไม้" เพลงนี้ทำให้เขามีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ
ลูกคอแบบชนบทของคำรณคือเสน่ห์อย่างหนึ่ง ที่ทำให้ประชาชนนิยมชมชอบเขามากและ อีกประการหนึ่ง ก็คือความถึงลูกถึงคนเมื่อมีเหตุการณ์อะไรเข้ามากระทบเขามักจะร่าย ออกมาเป็นเพลงในทันทีทันใด นอกจากร้องเพลงดี ร้องเพลงแปลกแล้ว คำรณยังมีลีลาการแสดงหน้าเวทีที่แปลกและสมจริงสมจังมาก ประกอบกับการมีหน้าตาคมคาย เขาจึงโด่งดังอย่างมาก และเคยถูกนำตัวไปแสดงเป็นพระเอกภาพยนตร์หลายเรื่องเช่น
รอยไถ ,เลือดทรยศ , หญิงสามผัว ชายสามโบสถ์ , ขุนโจรใจเพชร , เกวียนหัก ตั้งแต่ปี 2495 สมยศ ทัศนพันธ์ ขุนพลเพลงลูกทุ่งผู้ล่วงลับไปแล้วได้กล่าวถึงความโดดเด่นของคำรณไว้ทำนองว่า เขาเป็นคนมีความเป็นศิลปินสูงจึงอยู่ในวงดนตรีดุริยางค์ทหารเรือร่วมกับตน ได้ไม่นาน และในยุคที่กำลังโด่งดังสุดฤทธิ์ เขาเคยโดนทำร้ายโดยถูกสาดน้ำกรดมาแล้ว บางคนก็ว่าเป็นเพราะความเจ้าชู้ของเขา หรือไม่ก็เพราะคนดูคล้อยตามไปกับบทบาทการแสดงของเขามากเกินไป หรืออาจจะเป็นเพราะว่าทางการรู้สึกไม่พอใจเขาจากการร้องเพลงเสียดสีการเมือง ของเขา....เพลงดังตามมาอีกมากมายนับไม่ถ้วนทั้งชายสามโบสถ์ , น้ำตาเสือตก , ตาสีกำสรวล , หนุ่มสุพรรณฝันเพ้อ , บ้านนาป่าร้าง ,หวยใต้ดิน , มนต์การเมือง , ชายใจพระ
แต่ข้อมูลจากนิตยสารผดุงศิลป์ ปี 2491 บอกว่าเขาเริ่มโด่งดังจากการร้องเพลง หาเช้ากินค่ำ ผลงานของไพบูลย์ บุตรขัน ซึ่งเป็นเพลงสลับฉากละคร
ในเรื่องของเพลงนั้น ปรากฏว่าคำรณได้รับการกล่าวขวัญอย่างมากในเรื่องเพลงเสียดสีการเมือง ซึ่งสร้างความไม่ค่อยพอใจให้กับฝ่ายปกครองในขณะนั้นไม่น้อย และเป็นเหตุให้เขาต้องเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในคุกเป็นบางครั้งจากเรื่องนี้ ครูไพบูลย์ บุตรขันธ์ เป็นคนหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในงานเพลงการเมืองของคำรณ โดยเป็นกำลังสำคัญในการถ่ายทอดเรื่องราวทางการเมืองของคำรณ อีกคนที่แต่งเพลงป้อนให้กับคำรณคนสำคัญก็คือ เสน่ห์ โกมารชุน ที่ยังเป็นคนให้ความคิดทางการเมือง และเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ของคำรณด้วยในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมี ป.ชื่นประโยชน์ และสุรพล พรภักดี เป็นต้น แต่คำรณมามีชื่อในเรื่อง เพลงการเมืองอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อมาจับคู่กันกับ เสน่ห์ โกมารชุน ขุนพลเพลงผู้ยิ่งใหญ่อีกคนในเวลานั้น โดยในช่วงก่อนปี
2500 ทั้งสองเคยร่วมกันทำเพลง สามล้อแค้น จนกระทั่งดังไปถึงโรงพัก เสน่ห์ โกมารชุนนั้นเป็นคนพูดจาจริงจังโผงผาง ส่วนคำรณ เป็นคนที่กล้าร้องเพลงที่บอกถึงเรื่องราวการเมืองและเสียดสีอำนาจรัฐในยุค นั้น เพราะถือว่าชีวิตนี้ เขาไม่มีอะไรสูญเสียต่อไป เพราะคุกก็เข้ามาแล้ว ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏก็เคยมาแล้ว นี่เองที่ทุกคนกล่าวขวัญถึงเขาว่าเป็นนักร้องอันตราย เพลงการเมืองดังๆของเขาก็อย่างเช่น มนต์การเมือง , สามล้อแค้น และอสูรกินเมือง
ที่กล่าวถึงการ สังหารโหดทางการเมือง ที่มีเอ่ยชื่อของนักการเมืองคนหนึ่งอย่างชัดเจนว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง หรืออย่างเพลง
ใครค้านท่านฆ่าที่คำรณร่วมแต่งกับพี่ชายที่ชื่อ อรุณ และ มิใช่จะมีแต่เพียงเพลงสะท้อนภาพทางการเมืองเท่านั้น คำรณยังมีเพลงสะท้อนภาพชนชั้นล่างในสังคมทั่วไปอย่างเพลง ชีวิตครู , คนขายยา , คนเพนจร , พ่อค้าหาบเร่ , ชีวิตคนเครื่องไฟ ฯลฯ และแน่นอน ในจำนวนนั้นเพลงที่กล่าวถึงชาวนา ชนชั้นล่างของประเทศ ก็มาเป็นอันดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเพลง ตาสีกำสรวล , หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน , ชาวนากำสรวล , ยอมดับคาดิน เป็นต้น
http://www.youtube-nocookie.com/v/xVtqE4tYhkY?version=3&hl=th_TH"></param><param name=http://www.youtube-nocookie.com/v/MP__nPSrqhU?version=3&hl=th_TH"></param><param name=http://www.youtube-nocookie.com/v/TVfRwgYJDBs?version=3&hl=th_TH"></param><param name=http://www.youtube-nocookie.com/v/EkzLJcf5ld0?version=3&hl=th_TH"></param><param name ในบรรดาเพลงที่มีมากมายของคำรณ ส่วนใหญ่รุ่นหลังๆจะนึกถึงและจำเขาได้จากเพลงคนบ้ากัญชา เพลงนี้แต่งโดยดอกดิน กัญญามาลย์ นักสร้างและผู้กำกับภาพยนต์ไทย เจ้าของวลี.............ล้านแล้วจ้าๆๆๆๆๆ...นั่นเอง...
คำรณเสียชีวิตที่โรงพยาบาลทรวงอกด้วยโรคปอด เพราะเขาเสพย์ทั้งกัญชา ยาฝิ่น และบุหรี่ใบจาก เมื่อ 30 กันยายน 2512