กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: ''บิง ครอสบี้เมืองไทย'' ผู้จากไป  (อ่าน 7660 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
''บิง ครอสบี้เมืองไทย'' ผู้จากไป
« เมื่อ: ตุลาคม 15, 2013, 12:31:38 AM »

        สวัสดีครับ  เพื่อน ๆ สมาชิก พบกันอีกครั้งในเดือนตุลาคม  เนื่องจากเดือนนี้มีนักร้องลูกทุ่งเสียชีวิตหลายคน  ตามที่เคยบอกไว้เมื่อครั้งก่อน   สำหรับวันนี้ ขอนำประวัติความเป็นมาของ “สมยศ  ท้ศนพันธ์”  มาให้อ่านกัน เนื่องจาก ท่านเสียชีวิตเมื่อวันที่  13  ตุลาคม  พ.ศ.2529
      สมยศ  ทัศนพันธุ์    เป็นชื่อและนามสกุลจริง   เกิดเมื่อวันพุธที่  14  มีนาคม  พ.ศ.2458  (ปีเถาะ)  เป็นชาวบ้านหม้อ  บ้านเกิดอยู่แถวโรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง กรุงเทพฯ   คุณพ่อชื่อ เรือโท เจริญ  คุณแม่ชื่อเหรียญ  ทัศนพันธุ์  มีพี่สาวร่วมมารดาเดียวกัน 1 คน  คือนางสมจิตต์  ปุงคานนท์  ต่อมาคุณพ่อแต่งงานใหม่  มีน้องต่างมารดาอีก  2  คน  คือ นางทิพสุขุม  ศรเกตุ  และนายจรูญทัศน์  ทัศนพันธุ์     
   การศึกษา  จบชั้นมัธยมจากโรงเรียนวัดราชบพิธ  ไปเรียนต่อที่โรงเรียนเพาะช่าง  แต่เรียนได้แค่ 2 ปี ก็ต้องลาออก  เหตุเพราะว่าสมยศชอบการร้องเพลง แต่คุณพ่อและมารดาเลี้ยงไม่ชอบ อยากให้เรียนหนังสืออย่างเดียว  เลยต้องตัดสินใจหนีออกจากบ้าน  ไปใช้ชีวิตอยู่กับเพื่อน ๆ ยึดอาชีพรับจ้างเขียนภาพโพสเตอร์บ้าง วาดรูปบ้าง และร้องเพลงประกวดตามงานวัดต่าง ๆ ตามที่ตัวเองชื่นชอบและฝังใจส่วนมากชนะเลิศในการประกวดแทบทุกครั้ง  การประกวดร้องเพลงทำให้มีโอกาสรู้จักกับครูเพลงดัง ๆ หลายท่าน  แต่ที่ใกล้ชิดที่สุดเห็นจะเป็น“จำรัส  สุวคนธ์” ครูจำรัสคอยให้ความช่วยเหลือและแนะนำวิธีการร้องเพลงจนเชียวชาญ
การเข้าสู่วงการเพลง   เมื่อปี พ.ศ. 2485  ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 27 ปี   แสงนภา  บุญญราศี ผู้ที่เป็นเพื่อนรัก ซึ่งรับราชการอยู่ที่กองดริยางค์กองทัพบก  เห็นว่าสมยศเริ่มมีชื่อเสียงในการร้องเพลง จึงอยากจะให้เพื่อนรักได้มีโอกาสเข้าเป็นนักร้องในวงดุริยโยธินด้วยแต่ตอนนั้นนักร้องเต็ม จึงแนะนำให้ไปสมัครที่กองดุริยางค์ทหารเรือ ซึ่งขณะนั้นกำลังรับสมัครนักร้อง-นักแต่งเพลง อยู่พอดี  สมยศไม่ปล่อยโอกาสให้หลุดลอย  รีบไปสมัครตามคำแนะนำ ของเพื่อน  มีผู้สมัครเกือบร้อย  เขาใช้เพลง “บางปู” ของครู “ล้วน  ควันธรรม”เข้าทดสอบ และก็ไม่ผิดหวัง ท่านได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับราชการในกองดุริยางค์ทหารเรือ  ตำแหน่งนักร้อง-นักแต่งเพลง  สมความตั้งใจ
<a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/C7dEf5QxfuY?hl=th_TH&amp;amp;version=3&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/C7dEf5QxfuY?hl=th_TH&amp;amp;version=3&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name</a>
สมยศ ตั้งใจทำงานรับใช้กองดุริยางค์ทหารเรือมาจนถึงปี พ.ศ.2488 จึงมีโอกาสได้ร้องเพลงบันทึกแผ่นเสียงครั้งแรก ในเพลง “รักครั้งแรก”  แต่งเองร้องเอง ดนตรีโดยวง “เนียน  วิชิตนันทน์” โดยบันทึกบนเส้นลวด  ทำให้เพลงนี้ไม่ได้รับการเผลแพร่  แต่ภายหลังได้ถูกนำมาบันทึกลงแผ่นเสียงอีกครั้งหนึ่ง  หลังจากบันทึกเสียงเพลงแรกแล้ว  อิทธิพลของสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2482 -  พ.ศ.2488  ได้ลุกลามเข้ามาถึงประเทศไทย  ทำให้วงการเพลง
ห้างแผ่นเสียงต้องหยุดชะงัก  หลังจากสงครามโลกสงบ จึงเริ่มฟื้นตัวและกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง 
<a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/U1pmmMCvf0k?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=&quot;" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/U1pmmMCvf0k?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=&quot;</a>
จนถึงปี พ.ศ.2490 สมยศจึงได้มีโอกาสแต่งและร้องเพลงแรกให้กับ “กองดุริยางค์ทหารเรือ”   คือเพลง  “ลมทะเล”  โดยแต่งร่วมกับ “สกนธ์  มิตรานนท์” ร้องคู่กับ “เอมอร  วิเศษสุต”  เพลงที่ 2 คือเพลง “วอลท์นาวี”  แต่งร่วมกับครูสกนธ์เช่นเดียวกัน  “บุญส่ง  สุนทรโรหิต” และ “อุไรวรรณ  คล้ายบรรเลง” ผู้ขับร้อง
<a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/OuMnSQNjans?hl=th_TH&amp;amp;version=3&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/OuMnSQNjans?hl=th_TH&amp;amp;version=3&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=</a>
เพลง “หน้าที่ทหารเรือ” ท่านแต่งเนื้อร้อง-ทำนอง และร้องนำหมู่เอง   หลังจากนั้นก็ได้บันทึกแผ่นเสียงออกมาเรื่อย ๆ เช่นเพลง “เสียงขลุ่ยนางไพร”  “ผู้ครองใจ”  ส่วนมากจะเป็นแผ่นเสียง hit master voice ตราสุนัขสลากเขียว ของบริษัทนำชัย
<a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/1gES4TcQg5I?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/1gES4TcQg5I?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name</a>
มาถึงปี พ.ศ.2492 เพลง  “มนต์เมืองเหนือ” ที่ท่านขับร้อง  ซึ่งแต่งโดยครู “ไพลูลย์  บุตรขัน” โด่งดังสุดๆ ทำให้ทั้งคนร้องและคนแต่งกลายเป็นดาวจรัสฟ้าประดับวงการเพลง  และนับจากปี พ.ศ.2492 – พ.ศ..2499 ผลงานเพลง
ของท่านได้รับความนิยมมากมาย  เช่น “เรือนหอรอรัก” “แม่นางนกขมิ้น” “วิวาห์น้ำตา” ซึ่งเพลงวิวาห์น้ำตา ท่าน แต่งให้ “เฉลิม  แก้วสมัย”  ขับร้อง เมื่อปี พ.ศ.2496 และนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ.2497 และท่านร้องบันทึกเสียงเองอีกครั้งในปีเดียวกัน  นอกจากนี้ยังมีเพลง”  “รอยแผลเก่า”   “กระท่อมไพรวัลย”  “เซียมซีเสี่ยงรัก”  “ช่อทิพย์รวงทอง”  “มิตรแห่งความดี”

<a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/-vJkM0ZDdlQ?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/-vJkM0ZDdlQ?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=</a><a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/XWsgk19Xu3c?hl=th_TH&amp;amp;version=3&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/XWsgk19Xu3c?hl=th_TH&amp;amp;version=3&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name</a><a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/CtJllltwqJA?hl=th_TH&amp;amp;version=3&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/CtJllltwqJA?hl=th_TH&amp;amp;version=3&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=</a>
               สมยศรับราชการในกองทัพเรือมาจนถึงปี พ.ศ.2499  ก็ลาออก  เพราะเห็นว่าชีวิตการเป็นนักร้องกับการรับราชการ จะเจริญก้าวหน้าไปพร้อม ๆ กันไม่ได้  ต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ปี พ.ศ.2502  ตั้งวงดนตรีเป็นของตัวเอง  และออกเดินสายรับใช้แฟนเพลงทั่วประเทศ  ซึ่งนับว่าวงดนตรี วงแรกที่ออกเดินสายต่างจังหวัด
                ปี พ.ศ.2508 ท่านประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิตการเป็นนักร้องอีกครั้งหนึ่ง  โดยได้รับแผ่นเสียงทองคำพระราชทานในฐานะนักร้องชายยอดเยี่ยม ประเภทลูกทุ่ง ในเพลง “ช่อทิพย์รวงทอง” ผลงานของ “พยงค์  มุกดา” ในงานประกวดแผ่นเสียงทองคำพระราชทานครั้งที่ 2 ประจำปี 2508   ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์  2509   โดย ป. วรานนท์     นับเป็นนักร้องลูกทุ่งคนแรกที่ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน
<a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/HC7A2dAw4Dw?hl=th_TH&amp;amp;version=3&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/HC7A2dAw4Dw?hl=th_TH&amp;amp;version=3&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name</a>
        วงดนตรี สมยศ  ทัศนพันธ์  อยู่รับใช้แฟนเพลงมาจนถึงปี พ.ศ.2515 ก็เลิกวง เนื่องจากอายุมากขึ้น (57 ปี)  และหันมาร้องเพลงประจำตามห้องอาหาร,ไนท์คลับ  จนถึงปี พ.ศ.2520 จึงเลิกร้อง เนื่องจากเริ่มป่วยเป็นโรคหัวใจ  แต่ยังรับเชิญไปร้องอยู่บ้างเฉพาะที่เป็นงานสำคัญ 
                 นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 – 2529  โรคภัยไข้เจ็บได้รุมเร้าแทรกซ้อนเข้ามาหลายโรค  เช่น นิ่วในไต  ปอดอักเสบ จนเข้าออกโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้ง  ไม่ว่าจะเป็น  รพ.วชิระ,  รพ.พระมงกุฎเกล้า, และรพ.จุฬาลงกรณ์   
 ครั้งสุดท้ายได้เข้า  รพ.จุฬาลงกรณ์  เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม  พ.ศ.2529 และเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2529  เวลา  04.39 น.  รวมอายุได้  71 ปี
      ท่านได้รับรางวัล  “ส่งเสริมเยาวชนดีเด่น”   จากสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ.2528 ในเพลง "มิตรแห่งความดี”  ขับร้องโดยบุตรสาวคนที่  4  “กรองทอง  ทัศนพันธุ์”  นับเป็นรางวัลเกียรติยศครั้งที่ 2  ที่ได้รับ
                สมยศ  ทัศนพันธ์  สมรสครั้งแรกกับคุณบัญญัติ  (ปิ่นคล้าย)  ทัศนพันธุ์  มีบุตรด้วยกัน  8  คน  ชาย 2  หญิง 6 ดังนี้
                    1. กรองแก้ว  ทัศนพันธุ์ 
                    2. พรชัย  ทัศนพันธุ์     
                    3. พันธ์ชาติ  ทัศนพันธุ์     
                    4. กรองทอง  ทัศนพันธุ์     
                    5. กรองทิพย์  ทัศนพันธุ์ 
                    6. กรองเพชร  ทัศนพันธุ์ 
                    7. กรองทับทิม  ทัศนพันธุ์   
                    8. มาริสา  ทัศนพันธุ์
                สมรสครั้งที่  2 เมื่อปี พ.ศ.2518  กับนางนงเยาว์  (ต่ายเนาว์คง)  ทัศน์พันธุ์    ไม่มีบุตรด้วยกัน


ขอขอบคุณข้อมูล จาก วิกิพีเดีย บ้านใบไม้ เจนภพ จบกระบวนวรรณ
ขอบคุณภาพ จาก อินเตอร์เน็ต หลายๆ เวปไซด์
ขอบคุณเพลง จาก youtube
ขอบคุณ ครูลือ ผู้ฝึกสอนการวางภาพและเพลง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 15, 2013, 07:50:26 AM โดย ลุงชัยนรา »
บันทึกการเข้า

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **