กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: รูปถ่ายถนนบำรุงเมืองมุ่งหน้่าไปเสาชิงช้าในอดีต  (อ่าน 7143 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

น้องนางบ้านนา

  • การศึกษาของไทยคือ-อะไรก็ได้ที่ง่ายๆ แล้วได้ปริญญา
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2617
  • กระทู้: 546
  • Thank You
  • -Given: 2027
  • -Receive: 2617
เครดิตคุณ   guitarquiz
แห่งเวป http://forum.thaidvd.net/


รูปที่ 1 เป็นรูปถ่ายถนนบำรุงเมืองมุ่งหน้่าไปเสาชิงช้า รูปนี้ถ่ายบนหอนาฬิกากระทรวงกลาโหม
ประมาณต้นรัชกาลที่ 5 สังเกตุดูที่ถนนยังไม่มีรางของรถรางครับ

รูปที่ 2 ถ่ายบนหน้าถนนบำรุงเมืองเลย มุ่งหน้าไปเสาชิงช้าเหมือนกัน ด้ายขวามือเป็นห้าง
ดังในสมัยนั้นชื่อห้าง แบทแมน แอนด์โก เป็นห้างสรรพสินค้าชื่อดังในสมัยนั้น ทั้ง 2 ภาพ
เ้ป็นแนวยาวเลยปัจจุบันเป็นรั้วกระัทรวงมหาดไทย ด้านขวาสังเกตุดูจะมีป้ายชื่อถนนอัษฎางค์
ถัดจากรูปนี้ไปไม่มากเป็นบ้านผมครับ ถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือปลายแล้ว

 เสาชิงช้า ในภาพแรกเป็นเสาชิงช้าอันเดิมที่ยังไม่ได้ซ่อมและย้ายที่ ส่วนภาพที่ 2 เป็นเสาชิงช้าอันใหม่ที่สูง
กว่าเดิมและย้ายที่มาอยู่กลางถนนเลย

ประวัติความเป็นมา

มีพราหมณ์ นาฬิวัน ชาวเมืองสุโขทัย มีนามว่า พระครูสิทธิชัย (กระต่าย) นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ว่าการประกอบพิธีตรียัมปวายอันเป็นประเพณีของพราหมณ์มีมาแต่โบราณจำเป็นต้อง มีการโล้ชิงช้า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสาชิงช้าขึ้นตรงหน้าเทวสถาน เมื่อวันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะโรงพุทธศักราช ๒๓๒๗ (ในปีมะโรงนี้ ไม่ปรากฏวันดังกล่าว โดยวันพุธตามที่ถูกต้องจะเป็น วันพุธ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๕; และจากตรวจสอบวันอื่นๆที่ถูกตามระบบนับวันและใกล้เคียงสุด น่าจะเป็น วันพุธ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๕ ) ต่อมาได้สร้างโรงก๊าด (โรงเก็บน้ำมันก๊าด) ขึ้น ณ เทวสถาน จึงย้ายเสาชิงช้ามา ณ ที่ตั้งปัจจุบัน การสร้างเสาชิงช้าขึ้นก็เพื่อจะรักษาธรรมเนียมการสร้างพระนครตามอย่างโบราณ ไว้ โดยถือคติว่าจะทำให้พระนครมีความมั่นคงแข็งแรง กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๖๖ ตอนที่ ๖๔ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๒ หน้า ๕๒๘๑ เป็น "โบราณวัตถุสถาน" สำคัญของชาติ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๒ การปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า ได้รับการปฏิสังขรณ์เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๓ มีคำจารึกติดไว้ที่เสาชิงช้า ดังนี้ "ไม้เสาชิงช้าคู่นี้ กับทั้งเสาตะเกียบและทับหลัง เมื่อถึงคราวเปลี่ยนเสาเก่า บริษัท หลุยตีลี โอโนเวนส์ จำกัด ซึ่งทำการค้าไม้ได้ให้ไม้สร้างขึ้นใหม่ เพื่อเป็นที่ระลึกแก่นายหลุยส์โทมัส เลียวโอเวนส์ ซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นผู้ที่เคยเข้ามาตั้งเคหะสถาน อยู่ในประเทศสยามกว่า ๕๐ ปี สาชิงช้านี้ได้สร้างเสร็จ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๓" พุทธศักราช ๒๔๙๐ เกิดไฟไหม้เสาชิงช้า เนื่องจากธูปกราบไหว้ไฟจากธูปตกลงไปในรอยแตก ทำให้คุไหม้เสาขึ้น รัฐบาลครั้งนั้นมีดำริจะรื้อ แต่เมื่อมีเสียงวิพากวิจารณ์มากขึ้นจึงระงับไว้มีคำสั่งให้เทศบาลนคร กรุงเทพฯ ซ่อมกระจังไว้ชั่วคราว พุทธศักราช ๒๕๐๒ กระจังที่เป็นลวดลายผุลง ได้เปลี่ยนใหม่และทาสี พุทธศักราช ๒๕๑๓ สภาพของเสาชิงช้าชำรุดทรุดโทรมมาก ต้องเปลี่ยนเสาใหม่ เพื่อให้มั่นคงแข็งแรงการ ปรับปรุงบูรณะ ได้พยายามรักษาลักษณะเดิมไว้ทุกประการ งานแล้วเสร็จ และได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๑๕


บทความจาก http://www.panyathai.or.th


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 14, 2013, 09:07:46 AM โดย สมภพ »
บันทึกการเข้า
โชคอยู่ที่การแสวงหา วาสนาอยู่ที่การกระทำ
จงโง่บางโอกาส จงฉลาดบางเวลา
-

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
เหมือนเคยอ่านเจอมาครับ ...
         ว่าใช้ไม้ทางเหนือ มาซ่อม แทนเสาชิงช้าอันเก่า

                         :82 :82


บันทึกการเข้า