กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: ป่าบาลา - ฮาลา  (อ่าน 3856 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
ป่าบาลา - ฮาลา
« เมื่อ: มีนาคม 27, 2013, 10:49:39 AM »
                                                         

                                                           
                                                          ป่าบาลา-ฮาลา

                                         
ลักษณะ
         
ป่าบาลา-ฮาลา เป็นป่าดงดิบชื้นผืนสุดท้ายที่เหลืออยู่ของประเทศไทย ที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก   ป่าบาลา-ฮาลาเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสุไหงโกลก   แม่น้ำสายบุรีและแม่น้ำปัตตานีอันเป็นเหมือนเส้นชีวิตของผู้คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ป่าบาลา-ฮาลา ประกอบด้วยป่าสองส่วนคือ
ป่าบาลา อยู่ในพื้นที่อำเภอแว้ง อำเภอสุคิริน อำเภอจะแนะ และ อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ป่าฮาลา อยู่ในอำเภอเบตง อำเภอธารโต และอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
         
ทั้งสองส่วนประกอบกันเป็นป่าบาลา-ฮาลา มีอาณาเขตโดยรวมคือ

ทิศเหนือจดนิคมกือลอง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา นิคมศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาสและอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลาง
ทิศใต้จดเขตประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันออกจดนิคมเบตงอำเภอเบตง จังหวัดยะลา
มีเนื้อที่ทั้งหมด ๘๓๖,๐๐๐ ไร่
                                               
ความสัมพันธ์กับชุมชน
         
ป่าบาลา-ฮาลาเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งที่ทำให้เกิดปัจจัย ๔ สำหรับการดำรงชีวิตของคนในบริเวณนี้และทำให้เกิดการก่อตั้งชุมชนอยู่ตามริมแม่น้ำต่างๆ   ตลอดสายของแม่น้ำทั้งสามสายคือ แม่น้ำสุไหงโกลก แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี กล่าวได้ว่าทุกชีวิต ทุกชุมชนบนบริเวณพื้นที่นี้ล้วนได้รับผลประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของป่าบาลา-ฮาลาทั้งสิ้น
         เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๓๓ สมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถทรงทอดพระเนตรเห็นความสมบูรณ์ของป่าและทรงเห็นถึงความสำคัญที่ป่านี้มีต่อพสกนิกรของพระองค์จึงทรงมี  พระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ป่าบาลา-ฮาลาไว้ให้ดีที่สุด กองทัพภาคที่ ๔  ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่จึงได้จัดตั้งและดำเนินการโครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า สวนป่าพระนามาภิไธยภาคใต้  ส่วนที่  ๒  (ป่าบาลา-ฮาลา) เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๓๔ ป่าบาลา-ฮาลา จึงได้รับการดูแลอย่างดีจนถึงปัจจุบัน
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
         ป่าบาลา-ฮาลา  อุดมด้วยทรัพยากรที่หลากหลายด้วยชีวภาพ มีพันธุ์พืช อันได้แก่ เฟิร์นต่าง ๆ ๒๐ ชนิด หวาย ๖ สกุล รวม ๔๕ ชนิด ไม้ดอกไม้ประดับ ๗๐ ชนิด ไม้ยืนต้น ๑๕๕ ชนิด สมุนไพรจำนวนมากมหาศาล พันธุ์ไม้ทางเศรษฐกิจและไม้ที่สำคัญต่าง ๆ เช่นไม้ตะเคียน ไม้หลุมพอ ไม้สยา ฯลฯ
         พันธุ์สัตว์   เท่าที่ได้มีการสำรวจพบสัตว์ป่าในป่าบาลา-ฮาลาพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม   ๓๒  ชนิด  นก ๑๕๔ ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ๒๐ ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน ๔๓ ชนิด ปลา ๑๘ ชนิด พื้นที่ป่าบาลา-ฮาลา คลุมพื้นที่เหมืองทองคำโต๊ะโมะ และเหมืองแร่ต่าง ๆ
         ป่าบาลา-ฮาลา เป็นต้นน้ำทำให้เกิดเขื่อนบางลางซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้าอันทำให้ประชาชนในพื้นที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และเป็นพลังงานเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมหาศาล
                                         
   การเดินทาง
การเดินทางจากหาดใหญ่มาตามทางหลวง หมายเลข ๔๓ ผ่านจังหวัดปัตตานี จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๔๒ ถึงอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาสใช้ทางหลวงหมายเลข ๔๐๕๕และ ๔๐๕๖ ผ่านอำเภอสุไหงปาดี ี จากนั้นแยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๔๐๕๗ ไปอำเภอแว้ง ถึงบ้านบูเก๊ะตา
ก่อนถึงเขตชายแดนจะเห็นป้ายบอกทางไป เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา และน้ำตกสิรินธร เลี้ยวขวาตามทางหลวง หมายเลข ๔๐๖๒ สามารถใช้บริการบ้านพักของเอกชนในตัวอำเภอสุไหงโก-ลก ได้โดยสะดวก หากต้องการค้างแรมในป่า และทำกิจกรรม ในพื้นที่ต้องทำหนังสือล่วงหน้าถึงที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบาลา-ฮาลา ตู้ ปณ.๓ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ๙๖๑๖๐
หมายเหตุ
ผู้คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเรียกขานป่าผืนนี้ด้วยการนำชื่อชุมชนของตนเองเป็นตัวตั้ง คือ หากเป็นผู้คนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จะเรียกป่าผืนนี้ว่า 'บาลา-ฮาลา' ส่วนคนในพื้นที่จังหวัดยะลา จะเรียกว่า 'ฮาลา-บาลา'

คำว่า บาลา-ฮาลา เป็นภาษามลายู ตามพจนานุกรมภาษารูมี 'บาลา' แปลว่า กลุ่มคน ทหาร หรือหน่วยอื่นๆ 'ฮาลา' แปลว่า ทิศทางมุ่งไปสู่ เช่น ทิศทางน้ำ ทิศทางดิน ทิศทางลม

เมื่อรวมคำทั้งสองเป็น 'บาลา-ฮาลา' หรือ 'ฮาลา-บาลา' จึงแปลว่า ทิศทางการอพยพของกลุ่มคน