กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: 5 ความเชื่อ..ผิดๆ..เกี่ยวกับโรค "เบาหวาน"  (อ่าน 3876 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ภิรมย์

  • รักเมืองไทย
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2320
  • กระทู้: 480
  • Thank You
  • -Given: 2121
  • -Receive: 2320
  • คุณลูกกับคุณแม่
     โรคเบาหวาน ยังคงเป็นโรคยอดฮิตของคนไทย  ความน่ากลัวของ  โรคเบาหวาน
อยู่ที่โรคนี้อาจนำไปสู่โรคร้ายแรงอื่นๆ ได้อีกหลายสิบโรค ในเรื่องความเชื่อและความ
จริงของโรคอยากชวนทุกท่าน ไปค้นหาคำตอบที่ถูกต้องด้วยกัน เพราะไม่แน่ว่าความ
(ผิด ๆ) ต่อไปนี้อาจเป็นสิ่งที่หลายคนอ่านแล้วต้องบอกว่า “ไม่น่าเชื่อ” ก็เป็นได้…

     -ความเชื่อลำดับที่ 1 : แป้งและน้ำตาลเท่านั้นที่ก่อเบาหวาน

       เนื่องจากโรคนี้มีชื่อว่า “เบาหวาน” ทำให้หลายคนเข้าใจว่า
      ปัจจัยก่อโรคเกิดจากการกินแป้งหรือน้ำตาลเป็นหลัก แต่นัก
      วิจัยจากโรงเรียนสาธารณสุขฮาร์วาร์ด (Harvard School of
      Public Health:HSPH)ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการศึกษา
      วิจัยพบว่า  เนื้อสัตว์ใหญ่จำพวกเนื้อแดง (Red Meat)  เช่น
      เนื้อวัว  เนื้อหมู  รวมทั้งเนื้อที่ผ่านการปรุงแต่งเช่น  ไส้กรอก
      เบคอน  แฮม และอื่นๆ  ก็เป็นตัวการก่อโรคเบาหวานเช่นกัน

      จากการศึกษาพบว่า นอกจากแป้งและน้ำตาลแล้ว ไขมันอิ่ม
      ตัวซึ่งมีมากในเนื้อสัตว์ใหญ่ กลับเป็นอีกตัวการหนึ่งที่ก่อโรค
      เบาหวาน
  เพราะไขมันอิ่มตัว จะไปยับยั้งให้อินซูลินออกฤทธิ์
      ได้น้อยลง  ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ช้า   และเมื่อ
      น้ำตาลไม่ลด ตับอ่อนจึงต้องผลิตอินซูลินออกมาเพิ่มเกินกว่า
      ปกติ เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
     -นี่จึงเป็นสาเหตุ   ที่ทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักเกินไปและ
      เสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ    จนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เหมือน
      ตอนที่ตับอ่อนยังทำงานเป็นปกติ   ซึ่งจะนำไปสู่โรคเบาหวาน
      ในที่สุด ความคิดที่ว่า หากเรากินเนื้อสัตว์ใหญ่เต็มที่ แต่ควบ
      คุมการกินแป้งและน้ำตาลให้อยู่ในปริมาณที่ไม่มาก ก็จะไม่มี
      โอกาสเป็นโรคเบาหวานนั้น  อาจจะเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง
      ร้อยเปอร์เซ็นต์
          ทำความเข้าใจกับความเชื่อนี้กันใหม่
      แม้เนื้อสัตว์ใหญ่จะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีแต่การกินอาหารประเภท
      โปรตีนและไขมันนั้น   ถือเป็นสิ่งที่ร่างกายเราขาดไม่ได้ดังนั้น
      เราจึงควรปรับเปลี่ยนจากเนื้อสัตว์เป็นอาหารประเภทอื่นแทน
      อย่างโปรตีนจากพืชและปลา
             วอลเตอร์ วิลเลตต์ (Walter Willett) นักโภชนาการชาว
      อเมริกัน หนึ่งในผู้ดูแลงานวิจัยข้างต้น แนะนำว่า คนที่เป็นเบา
      หวานควรหลีกเลี่ยง  การกินเนื้อแดงรวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูป
      จากเนื้อแดงแล้วหันมากินโปรตีนจากแหล่งอื่น
  เช่น   โปรตีน
      จากเมล็ดธัญพืชหรือโฮลเกรน  ถั่ว  เต้าหู้ รวมทั้งเนื้อปลาที่มี
      ไขมันต่ำเพื่อให้ร่างกายได้รับโปรตีนที่จำเป็น   โดยไม่ต้องรับ
      ไขมันปริมาณมากเข้าไปด้วย
       กินไขมันไม่อิ่มตัว ....ไขมันอิ่มตัวคือปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงเบา
      หวาน
   ทางเลี่ยงที่จะทำให้ร่างกายได้รับไขมันโดยไม่ทำร้าย
      สุขภาพจึงเป็นการเลือกกินไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมีคุณสมบัติช่วย
      ลดไขมันชนิดร้ายในร่างกายได้ เช่น ถั่วเปลือกแข็งต่างๆ เมล็ด
      ทานตะวัน น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก อะโวคาโด
      อย่างไรก็ตาม รองศาสตราจารย์ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ
      และผู้ก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล แนะนำว่า   ถึงเป็นไขมัน
      ชนิดดี แต่ก็ไม่ควรกินในปริมาณมากเกินไป
  เพราะจะเป็นโท
      ต่อระบบทางเดินอาหาร

     -ความเชื่อลำดับที่ 2 : ผู้ป่วยเบาหวานกินผักได้ไม่อั้น

       แน่นอนว่าการกินผักนั้นเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกาย แต่สำหรับใครที่
      ป่วยเป็นเบาหวานอยู่ แม้แต่การกินผักก็ถือเป็นเรื่องที่ต้องระมัด
      ระวังไม่ต่างจากการควบคุมอาหารอื่นเช่นกัน
        คำจำกัดความของคำว่า “ผัก” ที่กว้างเกินไป   อาจทำให้เรา
      เลือกกินผักอย่างผิดๆ ได้ เพราะในผักบางชนิด  โดยเฉพาะผัก
      ประเภทหัวหรือรากถือเป็นผักที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงหากกินมาก
      จึงอาจให้ผลไม่ต่างจากการกินแป้ง ซึ่งผักแต่ละประเภทมีความ
      แตกต่างกันคือ   ผักประเภท ก  เป็นผักที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ
      มากให้พลังงานน้อย
ซึ่งได้แก่ ผักใบเขียวต่างๆ อาทิ ผักบุ้ง ผัก
      กวางตุ้ง ผักปวยเล้ง ผักกาด กะหล่ำปลีใบโหระพา  ใบกะเพรา
      บวบ แตงกวา มะเขือเทศ แต่สำหรับผักประเภท ข เป็นผักที่ให้
      พลังงานมากกว่า
  และไม่ควรชะล่าใจในการกิน  โดยผักกลุ่มนี้
      อาทิ  ฟักทอง  แครอต  บรอกโคลี  มะละกอดิบ หน่อไม้ มะระ
      หอมหัวใหญ่ เห็ดฟาง ถั่วฝักยาว ถั่วงอก ดังนั้น ผักที่ผู้ป่วยเบา
      หวานสามารถกินได้ไม่จำกัดจึงเป็นผักประเภท ก
เท่านั้น
        ส่วนผักประเภท ข นั้นนับเป็นผักในกลุ่ม ที่ควรควบคุมปริมาณ
      เพราะหากกินมากไป อาจทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้
      ตัวก็ได้
          ทำความเข้าใจกับความเชื่อนี้กันใหม่
      การกินผักให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานทำได้ดังนี้
      ปรับลดปริมาณผักให้สมดุล ในการปรับปริมาณผักให้สมดุลนั้น
      อาจารย์รุ้งระวีบอกไว้ว่า หากผู้ป่วยเบาหวานบางคนต้องการกิน
      ผักประเภท ข ก็สามารถกินได้แต่ต้องลดการกินอาหารในหมวด
      อื่นๆ ทดแทน

        กินผักสดแทนผักทอด ศาสตราจารย์เกียรติคุณ... แพทย์หญิง
      วรรณี นิธิยานันท์ ที่ปรึกษาศูนย์เบาหวาน ให้คำแนะนำเพิ่มเติม
      หากหิวระหว่างวัน แนะนำให้กินผักแก้หิวได้   แต่ควรเป็นผักใบ
      จะนำไปต้มหรือกินสดๆ
ก็ได้ แต่ไม่ควรนำไปทอด  เพราะจะทำ
      ให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมาได้
      กล่าวคือ แม้ผู้ป่วยเบาหวานจะได้รับคำแนะนำให้กินผักเป็น
      อาหารยืนพื้น แต่ก็ต้องเลือกให้ถูกประเภทด้วย ไม่อย่างนั้น
      อาหารที่มีประโยชน์อาจกลายเป็นโทษได้

         ความเชื่อลำดับที่ 3 : น้ำตาลจากผลไม้คือน้ำตาลที่ปลอดภัย

       ผู้ป่วยเบาหวานหลายคนจำต้องตัดใจจากขนมหวานของโปรด
      เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ ผลไม้จึงกลาย
      เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ  เพราะใครๆ  ต่างก็คิดว่าผลไม้นั้นมีประ
      โยชน์ต่อร่างกาย แถมยังให้แคลอรีต่ำกว่าขนมหวานอีกด้วย แต่
      ในความเป็นจริง อาจารย์สุระภี เสริมพณิชกิจ  กรรมการสมาคม
      นักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษาด้านโภชนบำบัด
      ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลรามาธิบดี  กล่าวว่า พฤติกรรมการ
      กินผลไม้ ของผู้ป่วยเบาหวานกลับกลายเป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้
      น้ำตาลในเลือด พุ่งขึ้นสูงกว่าเดิมเนื่องจากในผลไม้มีน้ำตาลฟรัก
      โทส(Fructose)ซึ่งเมื่อกินเข้าไปจะแปรเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส
      และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้


            ทำความเข้าใจกับความเชื่อนี้กันใหม่
        อ่านข้อมูลด้านบนแล้วก็อย่าเพิ่งตกใจจนไม่กล้ากินผลไม้ค่ะ
      เพราะน้ำตาลในผลไม้ไม่ได้น่ากลัวแต่อย่างใด เพียงแค่เรา
      รู้จักปรับวิธีกินให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสมก็เป็นอันใช้ได้เริ่มจาก
      ปฏิบัติตามคำแนะนำของอาจารย์สุระภี ที่กล่าวถึงหลักการกิน
      ผลไม้ในหนึ่งมื้อสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน คือ…
        ผลไม้รสหวานจัด เช่น มะม่วงสุก กล้วยหอม กินได้ 6 คำ
        ผลไม้หวานปานกลางเช่น ลิ้นจี่ องุ่น สับปะรดกินได้ 8–10 คำ
        ผลไม้รสหวานน้อยเช่น ชมพู่ ฝรั่ง แก้วมังกรกินได้ 10–15 คำ

      สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าผู้
      ป่วยเบาหวานควรเลือกกินผลไม้เพียงมื้อละ 1 ชนิด วันละ 2
      – 3 ครั้งหลังอาหาร เพราะการกินผลไม้ครั้งละมาก ๆ แม้จะ
      เป็นผลไม้ที่ไม่หวาน   ก็อาจทำให้น้ำตาลในเลือดขึ้นสูงได้
      นอกจากนั้นควรเลี่ยงผลไม้ตากแห้ง ผลไม้กวน ผลไม้เชื่อม
      ผลไม้แช่อิ่มและผลไม้กระป๋อง
ควรกินผลไม้สดเพราะจะช่วย
      ควบคุมอาการเบาหวานได้ดี

            ความเชื่อลำดับที่ 4 : เบาหวาน เป็นโรคของคนอ้วน

        เมื่อพูดถึงโรคเบาหวาน คำจำกัดความของโรคนี้มักจะมา
      พร้อมกับภาพของคนอ้วน เนื่องจากคนเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะ
      อยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่ไปจนถึงวัยสูงอายุ และส่วนมากคนที่เป็น
      จะมีรูปร่างค่อนไปทางเจ้าเนื้อ  ประกอบกับโรคเบาหวานนั้น
      เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการกินเป็นหลักสำคัญ หลาย ๆ คนจึง
      อาจคิดว่า หากเราเป็นคนรูปร่างผอมคงไม่มีทางเป็นโรคนี้ได้
      แต่หากถามต่อว่า ผู้ใหญ่ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานมาตั้งแต่
      เด็กและไม่ได้อ้วนแต่อย่างใด จะมีโอกาสเป็นเบาหวานได้
      หรือไม่ คำตอบคือ “คนไม่อ้วนมีความเสี่ยงน้อยกว่า”
      อย่างไรก็ตาม สำหรับคนผอมเอง หากไม่ควบคุมอาหารหรือ
      เลือกกินแต่อาหารที่เป็นโทษต่อร่างกาย วันหนึ่งโรคเบาหวาน
      ก็อาจมาเยือนได้เหมือนกัน

         ทำความเข้าใจกับความเชื่อนี้กันใหม่
        ผู้ที่มีน้ำหนักมากถึงแม้นจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน
      สูง แต่ก็ใช่ว่าคนที่มีน้ำหนักน้อยหรือผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ปกติจะไม่
      มีโอกาสเป็น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างข้างต้น

           ความเชื่อลำดับที่ 5 : ด้านกรรมพันธ์ พ่อ แม่เป็น ลูกหลาน
                                     เป็นด้วย

 
       อย่างที่ทราบกันว่า ปัจจัยอย่างหนึ่งที่ก่อโรคเบาหวานคือ
      พันธุกรรมและด้วยตัวเลขสถิติผู้ป่วยเบาหวานทั้งใน
      ประเทศไทยและทั่วโลกที่ยังคงพุ่งขึ้นสูงนั่นจึงหมายความว่า
      บนโลกใบนี้มีบุคคลที่มียีนเบาหวานในร่างกายหลายร้อยล้าน
      คนเลยทีเดียว
      อาจารย์ศัลยา คงสมบูรณ์เวช นักกำหนดอาหารวิชาชีพ ผู้
      เขียนหนังสือเรื่อง กินอย่างไรไม่อ้วน ไม่มีโรค อธิบายว่า
      “ลักษณะพันธุกรรมของชาวเอเชียถือว่ามียีนประหยัด (Thrifty
      Gene) ซึ่งทำหน้าที่สะสมอาหารที่กินอย่างเหลือเฟือไว้ในรูป
      ของไขมันที่หน้าท้องเพื่อใช้ในยามที่ขาดแคลนอาหาร”

      ลักษณะแบบนี้จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนเอเชียอ้วนลงพุง
      ได้ง่าย ยิ่งคนที่กินอาหารมาก แต่ไม่ค่อยได้ใช้พลังงาน ก็จะ
      เกิดปัญหาการดื้ออินซูลินและเป็นเบาหวานตามมา
      อาจารย์วรรณี ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์เบาหวาน กล่าวว่า
      พันธุกรรมไม่ได้มีส่วนก่อโรคเบาหวานมากเท่าไร เพราะคน
      เป็นเบาหวานส่วนใหญ่มักเกิดจากปัจจัยอื่นๆ มากกว่า ฉะนั้น
      ความเชื่อที่ว่า หากคนในครอบครัวเป็นเบาหวานแล้ว เราจะ
      เป็นโรคนี้ด้วยจึงไม่จริงเสมอไป
โดยเฉพาะคนที่เพิ่งพบว่า
      ตนเองเป็นเบาหวานตอนอายุมากแล้วค่ะ
          ทำความเข้าใจกับความเชื่อนี้กันใหม่
        ในเมื่อเรื่องของพันธุกรรม คือเรื่องเกี่ยวกับการสืบทอดเชื้อ
      สายรวมทั้งยีนก่อโรคไปยังคนรุ่นหลังๆ จุดเริ่มต้นที่ดีจึง
      เป็นการป้องกันตัวเองจากโรคนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ ดังนี้
      ปลูกฝังให้ลูกกินอาหารสุขภาพ โดยเฉพาะคุณพ่อหรือคุณแม่
      ที่ป่วยเป็นเบาหวานอยู่แล้ว ควรปลูกฝังให้ลูกเริ่มต้นดูแล
      สุขภาพของตนตั้งแต่เด็ก เพื่อป้องกันปัญหาโรคเบาหวานที่
      อาจตามมา
        วิธีง่ายๆ คือ ปรับอาหารสำหรับคนในครอบครัวให้เป็นอาหาร
      เพื่อสุขภาพทุกๆ มื้อ โดยพยายามเน้นอาหารจากธรรมชาติที่
      ไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งใดๆ ไม่ปรุงรสให้หวานมัน เค็ม แต่
      อาจจะกินรสเผ็ดและเปรี้ยวได้บ้างเล็กน้อย นอกเหนือจากการ
      ปรับเปลี่ยนความเชื่อให้ถูกต้องแล้ว สิ่งที่จะช่วยให้เรารอดพ้น
      จากเบาหวานได้ คือการลงมือปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่วันนี้ก็ยังไม่สาย...

ขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสารชีวจิต
     


บันทึกการเข้า
 :42ดนตรีคือ สื่อภาษาสากล :42

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **