ในปัจจุบันนี้มีผู้ให้ความสนใจอย่างมากต่อปลาทะเล เพราะจากข้อมูล
ทางการศึกษาที่ค้นพบถึงประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย โดยเฉพาะเมื่อ
การศึกษาในปี 1970 ที่พบว่าชาวเอสกิโม ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของ
ประเทศแคนาดาและรัฐอลาสกาประเทศสหรัฐอเมริกา ชนพื้นเมืองนี้จะมี
การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงจาก ปลาทะเล และสัตว์ทะเลที่มีไขมันสูง
เช่น แมวน้ำ แต่กลับมีอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำมาก ใน
ทางตรงข้ามโรคดังกล่าวกลับมีสถิติสูงมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น
เช่น หลายรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศเยอรมนี
รวมทั้ง ประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยด้วย...จึงทำให้นักวิจัยเกิด
ความสนใจและค้นหาคำตอบกันอย่างมาก จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าปลา
ทะเล เป็นแหล่งอาหารที่ดีของ โปรตีน และมีคุณค่าทางโภชนาการ เนื่อง
จากมีกรดไขมันที่จำเป็นมีไขมันประเภทอิ่มตัวต่ำและมีสารอาหารอื่นๆ อีก
เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินดี วิตามินบี 12 วิตามินเอ เป็นต้น
สารอาหาร ที่มีอยู่ในปลาทะเล ที่ช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ และหลอด
เลือดคือกรดอีโคซาเปนทีโนอิก หรือ อี พี เอ(eicosapentaenoic acid,
EPA) และกรดโดโคซาเฮกซิโนอิกหรือดี เอช เอ (docosahexaenoic
acid, DHA) ซึ่งเป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน เมื่อร่างกายได้รับกรดไขมัน
ทั้งสองตัวนี้ จะช่วยลดการจับตัวของเกล็ดเลือด ที่ก่อให้เกิดภาวะหลอด
เลือดแข็งตัว ลดการอักเสบและสร้างสารที่มีส่วนช่วยให้หลอดเลือดขยาย
ตัวและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ร่วมกันกับการลดระดับของไขมันประเภท
ไตรกลีเซอไรด์ ที่เป็นตัวเร่งให้เกิดภาวะเลือดจับตัวกันเป็นลิ่มและอุดตัน
หลอดเลือด
จากการศึกษายังพบถึงประโยชน์อื่นๆ ของการรับประทานทะเล ได้แก่
ลดความดันโลหิตในคนที่ความดันโลหิตสูง โดยออกฤทธิให้หลอดเลือด
แดงคลายตัว ลดการอักเสบในผู้ที่มีปัญหาของโรคข้ออักเสบ หรือรูมา
ตอยด์ ลดการเกิดโรคซึมเศร้า ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้
และสารดีเอชเอเป็นสารที่จำเป็นต่อสมองช่วนให้การทำงานของสมองและ
ระบบประสาทมีประสิทธิภาพช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ และช่วย
ป้องกันโรคความจำเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์
ปลาทะเลที่เป็นแหล่งของสารอาหารและกรดไขมันที่ดี ได้แก่ ปลาทู
ปลาแซลมอน ปลาโอ ปลาเทร้า ปลาอินทรีย์ ปลาทูน่า ปลาฮาลิบัท ปลา
กะพง ปลาดุกทะเล ปลาคอด
สมาคมโรคหัวใจแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (AHA) แนะนำให้กินปลา
และอาหารทะเลอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ในปริมาณครั้งละ 3-4 ช้อน
กินข้าวและควรปรุงประกอบอาหารด้วยวิธีการย่างอบหรือต้ม เน้นการเลือก
ประเภทยของปลาให้มีความหลากหลายและมาจากหลายแหล่งที่มา
แม้ว่าปลาทะเลจะมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่างแต่พบว่าปลาทะเล
ไม่ใช่จะมีแต่ข้อดีเท่านั้น เนื่องมาจากสิ่งแวดล้อมที่ปลาอาศัยอยู่จะมีผลต่อ
คุณภาพของเนื้อปลาเช่นกัน ดังนั้นจึงควรรู้ข้อควรระวัง ของการรับประทาน
ปลาทะเล ซึ่งได้แก่ การมีโลหะหนักปนเปื้อนอันเนื่องมาจากของเสียทั้ง
จาก โรงงานอุตสาหกรรม ครัวเรือน เรือเดินสมุทรที่มีการปล่อยของเสีย
เหล่านี้ลงสู่ทะเล
สารพิษหลักที่พบในปลาทะเลคือ เมทิวเมอร์คิวรี ซึ่งเป็นสารพิษกลุ่ม
ปรอท มีผลทำให้เกิดการ สะสมในร่างกายและลดหรือทำลายประสิทธิภาพ
การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ทำให้ไตเสื่อม ลดประสิทธิภาพของระบบ
ภูมิคุ้มกันร่างกาย สมองเสื่อม ความสามารถทางด้านสติปัญญาลดลง
ในต่างประเทศ โดยองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา
(FDA) และองค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม(Environmental Protection
Agency; EPA) ประกาศคำเตือนสำหรับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังจะ
ตั้งครรภ์ รวมถึงผู้หญิงที่ให้นมบุตร และเด็กเล็ก ให้หลีกเลี่ยงการกินปลา
ทะเล 4 ชนิด คือ ปลาฉลาม ปลากระโทงดาบหรือปลาฉนาก ปลาแมคเคอ
เรลหรือปลาอินทรีย์และปลาไทซึ่งเป็นกลุ่มปลาไหล เนื่องจากปลาดังกล่าว
มีวงจรชีวิตยาว ทำให้มีระดับสารปรอทสะสมอยู่มาก อีกข้อที่ควรระวังสำ
หรับการรับประทานปลาทะเลคือเชื้อปรสิตกลุ่มพยาธิ เช่นเชื้อพยาธิอะนิซา
คิส ที่ทำให้เกิดพิษฉับพลันและเรื้อรัง คือมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน
และระยะยาวอาจทำให้เกิดลำไส้อักเสบ ลำไส้อุดตันได้
จะเห็นได้ว่าปลาทะเลมีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพและก็มีข้อที่ควรระ
วัง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยเมื่อรับประทานเปลาทะเล ควรผ่านความร้อน
ด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 60 องศาเซลเซียสนาน 5 นาที หรือหากชอบรับประ
ทานปลาดิบควรรับประทานในปริมาณที่ไม่มากนัก ไม่รับประทานเป็นประจำ
และหลีกเลี่ยงปลาที่อาจมีสารปนเปื้อนสูง ควรเลือกรับประทานปลาทะเลให้
หลากหลายในปริมาณที่พอดีร่วมกันกับรับประทานอาหารกลุ่มผักและผลไม้
เป็นประจำรวมถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้สุขภาพร่างกาย
แข็งแรง
ขอบคุณข้อมูลจาก ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล
ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนคลินิก ภาควิชาโภชนวิทยา
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล