กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: คติ ๑๐ ประการของนักเลงพระ  (อ่าน 14499 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มดแดงซ่า

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 406
  • กระทู้: 211
  • Thank You
  • -Given: 1280
  • -Receive: 406
คติ ๑๐ ประการของนักเลงพระ
« เมื่อ: เมษายน 27, 2014, 11:35:14 AM »
คติ ๑๐ ประการของนักเลงพระ
      คติ ๑๐ ประการของ 'นักเลงพระ' นี้ถือได้ว่า "เป็นหลักของการก้าวสู่สนามพระ" และก็คติ ๑๐ ประการนี้แหละที่จะประหยัดการสูญเสียเงินทองลงมาได้มาก
      ถ้าหากว่า "ท่านจำและนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการแสวงหาพระเครื่องฯ แล้วก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากทีเดียว" คติ ๑๐ ประการนั้นมีข้อความดังต่อไปนี้คือ
๑.อย่าเป็นผู้มักได้
    คติข้อ ๑ นี้หมายความว่า "เมื่อท่านได้ไปเจอพระเครื่องฯ กรุไหนหรือวัดไหนก็ตาม" ก่อนอื่นอย่าพึงเป็นผู้มักได้ เพราะปัจจุบันนี้พระเครื่องฯ ไม่ใช่จะ 'นำ' มาให้เช่าได้เสมอไป ถ้าหากว่าไม่ใช่ของปลอมแล้ว ก็อย่าพึงหวังว่า 'เงิน' จะซื้อหรือจะเช่าได้เสมอไป
๒.ศึกษาเพื่อรู้
    คติข้อนี้เป็นข้อที่ดีและก็ไม่ต้อง 'ลงทุน' เพราะเท่ากับเป็นการเพิ่มความรู้ให้แก่เรามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้วก็ยังให้ความเจนจัดในการที่จะรู้ว่า 'อย่างไหนแท้ปลอม' ก็จะทราบได้ทันที
๓.จงมีสติ
    คติข้อนี้ถือเป็น 'หลัก' ที่สำคัญที่สุดในวงการพระ เพราะการมี 'สติ' นั้น เปอร์เซ็นต์ของการพลาดย่อมมีน้อยมาก
๔.เชื่อถือตัวเอง
    คติข้อนี้ก็คือ จงมีความเชื่อถือตัวเอง อย่ายินดีไปกับการ 'โฆษณา' จงพยายาม 'ศึกษา' ตามข้อ ๒  และนำมาไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนที่จะ 'ตัดสินใจ' ลงไป แล้วก็ต้องให้รู้จริงๆว่า 'คงไม่ถูกต้ม' และต้องเคารพเหตุผลของตัวเอง จงเชื่อถือตัวเองให้มากๆ
๕.อย่าดูพระในเวลาพลบค่ำ
    คติข้อนี้ขอให้ถือเป็น 'หลัก' เวลามีใครเอาพระมาให้เช่าในเวลาพลบค่ำ พึงอย่าได้ 'สนใจ' เพราะแสงไฟฟ้าอาจหลอกตาเราได้ ซึ่งผิดกับ 'แสงแดด' ในเวลากลางวัน ข้อนี้พึงจำใส่ใจไว้ทีเดียว
๖.จงอย่าเป็น 'ดาวไถ'
    คติข้อนี้ก็คือ จงอย่าทำตนเป็นดาวไถ กล่าวคือ เห็นพระอย่าพึงยินดีมักได้และอย่า 'ไถ' เพราะถ้า 'ไถ'  แล้วไม่ใช่ที่เราจะไถเขา เราอาจจะถูกเขา 'ไถ' เราก็ได้ เหตุนี้โบราณจึงกล่าวว่า "พึงหลีกเลี่ยงจากการเป็นดาวไถดีกว่าเราจะไถเขา แต่เขากลับไถเราเป็นได้"
๗.จงฟังหูไว้หู
    คติข้อนี้สอนให้รู้ว่า "ในเวลาเข้าสู่สนามพระแล้ว พึงฟังหูไว้หูเพราะการหมั่นสดับฟัง ย่อมให้เกิดความรู้แก่เรามากยิ่งขึ้น และนอกจากนี้แล้วยังเพิ่มความเจนจัดแก่เรามากขึ้น ว่าสิ่งไหนควรจะเชื่อได้หรือไม่"
๘.อย่าเล่นจนหลง
    คติข้อนี้สอนให้รู้ว่า "การเล่นพระนั้นหรือไม่ว่าจะเล่นอะไรก็ตามจงอย่าให้หลง" เพราะถ้า 'หลง' แล้วความละเอียดในการดู 'พระ' ก็ตกไป และอาจจะกลายเป็นเครื่องมือของพวกมือผีได้อย่างง่ายดายทีเดียว
๙.อย่าพะวงกับลาวตก
    คติข้อนี้สอนให้รู้ว่า "อย่าไปหลงพะวงกับลาวตก" เพราะพวกมือผีมักจะอ้างเหตุผลความจำเป็นต่างๆนาๆ ถึงการที่ต้องตัดใจขาย 'พระ' ถ้าเรามัวแต่พะวงกับลาวตกแล้ว ก็ย่อมอาจถูก 'ต้ม' ก็ได้
๑๐.จงเชื่อตาอย่าเชื่อหู
    คติข้อนี้เป็นข้อสุดท้ายที่เป็น "ปราการที่สำคัญที่สุดในชีวิตของผู้ที่มุ่งหวังที่จะได้พระเครื่องฯ มาบูชาแล้วพึงสังวรณ์ไว้ให้ดีและอย่าเชื่อ 'หู' เป็นอันขาดจงใช้ 'ตา' ให้เป็นประโยชน์เพราะ 'ตา' นั้นไม่เคยคดกับเราเลย"
    คติ ๑๐ ประการที่กล่าวมานี้ขอให้พึง 'สังวรณ์ไว้สอนใจเสมอ เพราะเปอร์เซ็นต์ของการพลาดย่อมอาจเกิดขึ้นได้น้อยมาก’ ถ้าหากว่าท่านขาดหลักคติ ๑๐ ประการเหล่านี้เสียแล้ว ผลที่เกิดก็คือ "ความย่อยยับจากการสูญเสียเงิน-ทอง ก็ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ"
                                                                                         ที่มา: หนังสือพระเครื่องประยุกต์ พ.ศ.๒๕๒๔


จุดประสงค์ :เพื่อต้องการเผยแผ่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแด่ผู้ที่สนใจ มิได้มีเจตนาอื่นใดครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 23, 2014, 08:20:42 PM โดย มดแดงซ่า »
บันทึกการเข้า

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **

ธนา

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 50
  • กระทู้: 36
  • Thank You
  • -Given: 117
  • -Receive: 50
Re: คติ ๑๐ ประการของนักเลงพระ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2015, 10:30:02 AM »
ขอบคุณครับที่หาบทความคติ ๑๐ ประการของนักเลงพระ
ผมก็ชอบสะสมพระเครื่องเหมือนกัน :90


บันทึกการเข้า