กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: แมงดด...มดแดง  (อ่าน 5326 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
แมงดด...มดแดง
« เมื่อ: เมษายน 04, 2013, 01:09:27 PM »
                                                 


 ข้อความต่อไปนี้ เป็นเรื่องเล่า จากประสบการณ์จริง จากชีวิตประจำวัน... เดือนนี้เข้าสู่หน้าร้อน ก็จะมีอาหาร พื้นถิ่น เพิ่มเข้ามาในเมนูอาหาร นั่นคือ"แมงดด มดแดง" บางตอน ก้คัดลอกเขามา ส่วนภาพนั้น ก็ดูดมาจากอินเตอร์เน็ต โดยการแนะนำพร่ำสอนจากครูลือ   
   ที่บ้านเลี้ยงมดแดงไว้ ประมาณ 100 กว่ารัง ไว้ทำอาหาร และแจกพรรคพวก เพื่อนฝูงยามไปเยือน

วิถีชีวิตและวงจรชีวิตของมดแดง
มดแดงแดงเป็นสัตว์สังคม เนื่องจากมดแดงชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ช่วยกันสร้างรังออกไข่ เลี้ยงดูออกอ่อนให้เจริญเติบโตเป็นสมาชิกใหม่ ขยายประชากรมดแดงให้เพิ่มมากขึ้น ภายในรังของมดแดง จะมีสมาชิก ดังต่อไปนี้
1. แม่เป้งหรือนางพญา มีรูปร่างขนาดใหญ่กว่ามดแดงธรรมดา มีขนาดเท่ากับตัวแตนหรือตัวต่อบางชนิด ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีปีกสำหรับบิน มีหน้าที่ออกไข่คล้ายกับนางพญาผึ้ง เมื่อใดที่แม่เป้งเห็นว่าสภาพไม่เหมาะ ในการสร้างรังและวางไข่ แม่เป้งจะทิ้งรังเดิม แล้วบินไปหาแหล่งที่อยู่ใหม่ ที่มีน้ำ อาหารอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้ที่มีใบดก เขียวชอุ่ม หนาทึบ และไม่มีศัตรูรบกวน

2.มดดำหรือพ่อพญาหรือพ่อพันธุ์จะพบพ่อพญาในฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น คือประมาณเดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน หรือต้นฤดูฝน เนื่องจากพ่อพญาจะต้องผสมพันธุ์กับนางพญาหรือแม่เป้งเพื่อให้แม่เป้งบินไปสร้างรังแล้ววางไข่ คล้ายการผสมพันธุ์ของผึ้ง เมื่อมดดำผสมพันธุ์กับแม่เป้งแล้ว ไม่นานก็จะตายจนกว่าจะถึงฤดูกาล มดดำจะถูกฟักออกมาอีกครั้ง มดดำจะมีปีกสำหรับบินได้ ลักษณะพิเศษนี้คล้ายแมลงเม่าของปลวก

3. มดแดงหรือมดงานได้แก่ มดแดงที่พบเห็นกันโดยทั่วไป มีหน้าที่สร้างรัง หาอาหาร เลี้ยงดูตัวอ่อน ตลอดทั้งการป้องกันศัตรูผู้รุกราน มดแดงทุกตัวทำหน้าที่ทุกอย่างด้วยความขยันขันแข็งตลอดเวลา แม้ในเวลากลางคืน หากไม่มีอาหารที่สะสมไว้ในรัง มดแดงก็จะออกหาอาหาร โดยไม่หยุดพักผ่อนเลย

วงจรชีวิตของมดแดง
วงจรชีวิตของมดแดงจะเริ่มต้นที่แม่เป้งออกไข่ที่มันสร้างเพียงตัวเดียวก่อน โดยการพับใบไม้ใบเดียว หรือสร้างใยบริเวณ ซอกของก้านกล้วย ใบไม้ที่ชอบพับทำรังและวางไข่ของแม่เป้ง คือ ใบข่า ใบม้วนหมู ใบยางอินเดีย ใบยอ ใบมะพร้าว เป็นต้น ไข่มดแดงมีหลายลักษณะ ดังนี้
- ไข่มาก เป็นไข่ที่มีขนาดใหญ่กว่าไข่ธรรมดา สีขาว ใส สะอาด จะฟักออกมาเป็นแม่เป้ง หรือนางพญา สำหรับการออกไข่ขยายพันธุ์ จะมีมากในราวเดือนมกราคม ถึงเมษายน

-ไข่ฝาก เป็นไข่ที่มีขนาดเล็ก ไม่โต ไม่เต่ง เหมือนไข่มาก จะฟักออกมาเป็นตัวมดแดงธรรมดา กลายเป็นมดงานซึ่งถือเป็นประชากรที่สำคัญมากในสังคมมดแดง หากมีประชากรมดแดงมาก ย่อมหมายถึงการขยายประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมดแดงหรือมดงานนี้ เป็นกำลังในการสร้างรัง หาอาหาร น้ำ เลี้ยงดูไข่หรือตัวอ่อน เพื่อให้เจริญเติบโตภายในเวลาอันรวดเร็ว
                                                               
3. กระบวนการสร้างรังของมดแดง
มดแดงทุกตัวจะมีใยพิเศษ ที่สร้างมาจากกรดน้ำส้มหรือกรดมดจากส่วนท้อง ผสมกับเยื่อหรือยางของใบไม้ ถ้ากล่าวในเชิงวิทยาศาสตร์โครงสร้างของใบไม้จะมีแป้ง หรือคาร์โบไฮเดรตปนอยู่ มดแดงจะดึงใบไม้มายึดให้ติดกันโดยใช้ใยนี้ เมื่อแห้งจะมีสีขาวและเหนียว คล้ายสำลี ยึดติดให้ใบไม้เป็นรูปทรงกลม สามารถป้องกันน้ำฝนได้
มดแดงชอบทำรังอยู่ตามต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ริมลำห้วย ลำธาร หนองน้ำ จะพบมดแดงอาศัยทำรังอยู่อย่างหนาแน่น มากกว่าแหล่งที่ไม่มีน้ำ เนื่องจากมดแดงต้องการน้ำมาก เพื่อใช้ในการสร้างกรดน้ำส้ม บรรจุไว้ในส่วนท้อง แล้วนำไปใช้ในการดำรงชีวิตของมัน
ต้นไม้ที่มดแดงชอบทำรัง ได้แก่ ต้นไม้ที่มีใบอ่อน นุ่ม หนา ไม่ผลัดใบง่าย มีอัตราการคายน้ำ คายก๊าซออกซิเจนที่ดี เช่น ต้นหว้า ชมพู่ สะเม็ก มะม่วง ลำไย มะเฟือง มะไฟ ต้นจิก ต้นรัง ต้นพอก กะบก กะบาก เป็นต้น
ในฤดูฝน มดแดงจะสร้างรังอยู่ตามต้นไม้เล็กๆ ไม่สูงมากนักเนื่องจากการสร้างรังในที่สูง มดแดงจะประสบกับปัญหาจาก ลม ฝน พายุ ทำให้รังได้รับความเสียหาย จึงพากันสร้างรังขนาดเล็ก หลายๆ รัง ในที่ต่ำเกือบติดดิน เพื่อป้องกันความเสียหายดังกล่าว ดังนั้นหากมีใบของพืชประเภทไม้เลื้อย เช่น บวบ ม้วนหมู ตำลึง หรือไม้เถาพื้นบ้าน มดแดงจะสร้างรังอาศัยอยู่ทันที
                                             
4. อาหารของมดแดง
มดแดงชอบอาหารที่สะอาด ทั้งสดและแห้ง ที่สามารถจะกัด แทะได้ ซึ่งเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ที่ชอบมากเป็นพิเศษ คือ พวกแมลงต่างๆ โดยจะคาบไปเก็บสะสมเอาไว้ในรัง ถ้าเป็นอาหารชิ้นใหญ่ที่ไม่สามารถจะคาบหรือ ลากไปเก็บในรังได้ มดแดงจะช่วยกันกัด และเยี่ยวราดหรือปล่อยกรดมดใส่ไว้ เพื่อไม่ให้อาหารนั้นบูดเน่าเสียหาย เปรียบเสมือนเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง และรอให้อาหารนั้นแห้ง จึงค่อยกัดเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปเก็บไว้ในรัง เพื่อป้อนตัวอ่อนหรือกินเป็นอาหารพร้อมๆ กัน
ในการหาอาหาร มดแดงจะเดินทางไปรอบๆ ที่อยู่ของมัน ถ้าหากพบเหยื่อ หรืออาหาร
มดแดงจะส่งสัญญาณให้กันได้รับรู้และเดินทางมาทันที หากเหยื่อยังมีชีวิตอยู่ มันจะรุมกัด และเยี่ยวราด (ปล่อยกรดมดหรือกรดน้ำส้ม) เหยื่อจะตาย หรือได้รับบาดเจ็บ มดแดงจะช่วยกันลากไปเก็บไว้ในรัง สะสมไว้เป็นอาหารเลี้ยงดูลูกอ่อน ต่อไป

ข้อสังเกตประการหนึ่งพบว่า มดแดงจะนำอาหารไปเก็บสะสมไว้ในรังเสมอ เนื่องจาก
ภายในรังอาหารจะไม่ถูกน้ำค้าง น้ำฝน อาหารจะไม่บูดเน่า รวมทั้งเป็นที่รวมของสังคมมดแดง ซึ่งจะมีการประชุม วางแผนการทำงานและกินอาหารร่วมกัน อีกประการหนึ่งด้วย

5. ศัตรูของมดแดง
ศัตรูของมดแดง กล่าวได้ว่า มีค่อนข้างน้อย เพราะมดแดงมีเยี่ยวเป็นกรดน้ำส้ม หรือกรดมดที่บรรจุไว้ในส่วนท้องของมัน สามารถขับไล่ศัตรูผู้รุกรานที่อยู่อาศัย โดยมดแดงจะกัดและเยี่ยวราด ทำให้ปวดแสบ ปวดร้อน ประกอบกับมีกลิ่นที่ฉุน ทำให้ศัตรูพ่ายแพ้ หลบหนีหรือถูกทำลายไป แต่ก็ยังพบว่า มดแดงมีศัตรูอยู่บ้าง ได้แก่
- ปลวก มดแดงจะไม่ชอบปลวก แต่ปลวกก็ไม่ใช่ศัตรูโดยตรงของมดแดง เพราะปลวกไม่ได้ทำอันตรายมดแดงแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงว่า มดแดงไม่ชอบอยู่ในที่ที่มีปลวก คงเป็นเพราะปลวกมีกลิ่นที่มดแดงไม่ชอบก็อาจเป็นได้
- มดดำ มดดำทุกชนิดเป็นศัตรูโดยตรงของมดแดง หากมดฝ่ายใดพลัดหลงเข้าไปในกลุ่มของฝ่ายตรงข้าม ก็จะถูกรุมกัดจนตาย มดดำจะเก่งกล้ากว่ามดแดงมาก โดยเฉลี่ยแล้วมดดำ ตัวเดียว จะสามารถทำลายมดแดงได้ถึง 10 ตัว
- มดไฮ มดชนิดนี้บางท้องถิ่น เรียกว่า “มดเอือด”1 เป็นมดขนาดเล็ก ลำตัวยาวไม่เกิน 1 มิลลิเมตร เป็นศัตรูที่ร้ายแรงที่สุดของมดแดงอย่างยิ่ง เนื่องจากมดชนิดนี้มีเยี่ยวที่มีกลิ่นฉุนรุนแรงมาก หากมดแดงได้รับกลิ่น และถูกเยี่ยวของมันก็จะตายทันที คล้ายกับว่าได้รับแก็สพิษฉันนั้น มดไฮ 1 ตัว สามารถทำลายมดแดงได้ถึง 20 ตัวเลยทีเดียว

*  เอือด เป็นภาษาอีสาน หมายถึง ดินที่มีแร่เกลือสินเธาว์ผสมอยู่ เรียกว่าขี้ทา ขี้เอือด มดเอือด บางที เรียกว่า “มดไฮ”*

6. ประโยชน์ของมดแดง
ประโยชน์ของมดแดง มีมากมายหลายประการ พอสรุปได้เป็นหัวข้อ ดังนี้
- ใช้เป็นอาหาร ได้จากไข่ และตัวมดแดง มดแดงมีกรดน้ำส้ม ให้รสเปรี้ยว อร่อย
มีคุณสมบัติเป็นกรดใช้แทนมะนาว หรือน้ำส้มสายชู ให้รสชาติอร่อยกลมกล่อม รายการอาหารที่ได้จากมดแดงและไข่มดแดง ได้แก่ ยำไข่มดแดง ก้อยไข่มดแดง ห่อหมกไข่มดแดง ต้มยำปลาช่อนไข่มดแดง แกงขี้เหล็กไข่มดแดง ทอดไข่ยัดไส้ เป็นต้น
- ใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค ดังนี้
- ใช้สูดดม แก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย โดยใช้มดแดง นำมาขยำแล้ว สูดดม
- แก้ท้องร่วง ใช้เนื้อไก่พื้นบ้าน นำส่วนที่เป็นเนื้อแหย่เข้าไปในรังมดแดง เมื่อมดแดงกัดได้ปริมาณมากดึงออกมาแล้วใช้มือขยำนำไปย่างไฟให้สุกรับประทานขณะที่ยังร้อน อาการท้องร่วงจะบรรเทาและหายไป
- แก้ท้องผูก นำมดแดงมาต้มใส่น้ำสะอาด ประมาณ 1 – 2 ถ้วย พอเดือด ยกลงแต่งรสโดยใช้เกลือพอเหมาะ กรองด้วยผ้าขาวบาง ดื่มทันที อาการท้องผูกจะหาย
- ใช้ลบรอยไฝหรือขี้แมลงวัน โดยจับเอาตัวมดแดงกัดตรงเม็ดไฝ ให้มันเยี่ยวใส่ ถ้าไฝเม็ดโต ให้กัดหลายตัวพร้อมกัน ด้วยฤทธิ์ของน้ำกรด ไฝจะบวมและเปื่อยละลายเอาสีดำไหลออกมา เมื่อแผลหายจะไม่ปรากฏเม็ดไฝอีกต่อไป มีเพียงรอยแผลเป็นเล็กน้อยเท่านั้น
- ใช้แก้โรควูบ นำรังมดแดงร้างที่เกิดจากต้นคูณ มาใส่หม้อนึ่งต้มให้เดือดแล้วใช้ผ้าคลุมศีรษะอังกับไอน้ำเดือด สูดเอาไอร้อน ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ ผู้ที่เป็นโรควูบจะมีอาการดีขึ้นและหายไปในที่สุด
-ใช้กำจัดศัตรูพืช ต้นผลไม้ต่างๆ ตลอดทั้งพืชผัก เช่น บวบ ถั่วฝักยาว แตงร้าน หากมีมดแดงอาศัยอยู่ จะปราศจากหนอน แมลง เพลี้ย รบกวน เนื่องจากมดแดงจะจัดการนำไปเป็นอาหารจนหมดสิ้น ต้นมะม่วงที่มีปัญหาเพลี้ยจักจั่น เพลี้ยแป้งในต้นมะขาม หากนำมดแดงไปเลี้ยงเอาไว้ จะหมดปัญหาไป ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนการกำจัดศัตรูพืชและปลอดสารพิษด้วย
-ให้ความเพลิดเพลิน ผู้ที่เลี้ยงมดแดงทุกคน จะมีความเพลิดเพลิน ไม่เคร่งเครียด มดแดงจะช่วยผ่อนคลาย ทำให้เกิดคุณธรรมที่ได้จากการเฝ้าสังเกตพฤติกรรม การดำรงชีวิตของ มดแดงอยู่เสมอ มดแดงให้ข้อคิด คติและสัจธรรมแก่เรามากมายหลายประการ ซึ่งผู้ที่เลี้ยงมดแดงทุกคนจะสัมผัสได้

7. ข้อพึงระวังจากมดแดง
แม้ว่ามดแดง จะมีประโยชน์ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว มดแดงก็ยังมีสิ่งที่พึงระวังอยู่บ้าง
ดังรายละเอียด ต่อไปนี้
- กัดเจ็บ แต่ไม่เป็นอันตราย
-เยี่ยวของมดแดงซึ่งเป็นกรด หากเข้าตาจะปวดแสบ ปวดร้อนวิธีแก้ไข ใช้น้ำลายป้ายตาจะหายทันที
- เสื้อผ้าที่ถูกน้ำกรดจากมดแดง จะซีดด่าง ขาดความสวยงาม
- ก่อความรำคาญ ในกรณีที่มดแดงไต่เข้าไปหาอาหารในบ้านเรือน อาจเข้าใจผิดว่า มดแดงก่อความรำคาญ แท้จริงแล้วมดแดงไปหาอาหารเพื่อนำไปป้อนลูกอ่อนของมันนั่นเอง หากจัดที่ให้น้ำ ให้อาหารและนำอาหารวางไว้ที่ต้นไม้ที่มันสร้างรังอยู่ มดแดงจะไม่เข้ามารบกวนเราเลย ข้อสังเกต มดแดงจะสร้างรังที่ต้นไม้เท่านั้น ไม่ปรากฏว่ามีการสร้างรังในบ้านเรือนของคนเรา

                                          เมนูจากมดแดง

                                               


1.ก้อยไข่มดแดง

 ส่วนผสม

    ไข่มดแดง                      300 กรัม
    หัวหอมซอย                    7 - 8 หัว
    น้ำปลาร้า                       2 ช้อนโต๊ะ
    น้ำปลา                         1 ช้อนโต๊ะ
    น้ำมะนาว                      1 ช้อนชา
    พริกแห้งป่น                    1.5 ช้อนโต๊ะ
     ข้าวคั่วป่น                      2 ช้อนโต๊ะ
    ต้นหอมหั่นฝอย              3 ช้อนโต๊ะ
    ใบสะระแหน่                  5 - 6 ต้น (เด็ดเป็นใบ)


วิธีทำ

 นำไข่มดแดงล้างให้สะอาดใส่กระชอน พักให้สะเด็ดน้ำ ใส่อ่างผสม
 นำเครื่องปรุงทั้งหมดใส่คลุกเคล้าให้เข้ากัน
ใส่พริกแห้งป่น ข้าวคั่วป่น หัวหอมซอย ต้นหอมหั่นฝอยชิมรส ตักใส่จานโรยหน้าด้วย
ใบสะระแหน่และพริกชี้ฟ้าสด

ผักเครื่องเคียง
ผักที่นิยมรับประทานเป็นเครื่องเคียงได้แก่ ผักกะโดน เม็ก ติ้ว หนอก (บัวบก) มะเขือถั่วฝักยาว แตงกวา และอื่น ๆ
หมายเหตุ
ส่วนผสมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม หรือตามความชอบ และการกินของคนท้องถิ่นนั้นๆ
2.ไข่เจียวไข่มดแดง
 เครื่องปรุง

    ไข่ไก่   5    ฟอง (ไข่เป็ด ไข่ห่าน ได้หมด ยกเว้นไข่แลน)
    ไข่มดแดง   (ใส่เยอะๆ ครับ อิอิ เพื่อความหรอย)
    พริกไทยป่น 
    น้ำปลา
    ผงชูรสหรือน้ำตาล (ไม่ใส่ก็ได้ แต่ลุงชัย ไม่ชอบ)
    ซีอิ้วขาวนิดหนึ่ง น้ำมันพืช

วิธีทำ

    ตีไข่ให้ฟู และก็ผสมเครื่องปรุงลงไปตีให้เข้ากัน
    จากนั้นก็เอาไข่มดแดงไปตีให้เข้ากัน
    เอาน้ำมันใส่ในกะทะและตั้งให้ร้อน
    ทอดเหมือนไข่เจียวทั่วไป พอสุกก็พลิกไปพลิกมาให้สุกทั้งสองข้าง ให้ไข่สุกหอมและเหลืองก็ยกลงเสริฟได้เลยครับ

หมายเหตุ
       สำหรับชาวบ้านทางภาคเหนือสมัยก่อนไม่มีน้ำมัน เขาเอาไข่มดมาทำแบบนี้แหละ แต่เอาใส่กระทงใบตองแล้วย่างบนเตาถ่าน แล้วเรียกกรรมวิธีปรุงอาหารแบบนี้ว่า “ป่าม”
  เอาแบบใต้ ซัก 2 เมนู ที่ทำกินกันบ่อย
- ต้มไข่มดแดง
อาหารพื้นบ้าน คล้ายๆกัน หลายจังหวัด

 เครื่องปรุง / ส่วนผสม

    ไข่มดแดง
    กระเทียม บางคนใส่หอมแดงแทน แล้วแต่ สูตรใครสูตรหมัน
    เกลือ
    น้ำตาล

ขั้นตอน / วิธีทำ

    ล้างไข่มดแดงให้สะอาด ใส่กระชอนพักไว้
    ปอกกระเทียม ล้างให้สะอาด ทุบพอแตก
    ต้มน้ำ ใส่เกลือ ใส่กระเทียม(หอมแดง) พอน้ำเดือดใส่ไข่มดแดง เติมน้ำตาล ชิมรสตามชอบ

เทคนิคในการทำ (เคล็ดลับ)

 ใส่เกลือก่อนในน้ำต้ม

ฤดูที่นิยมกิน         ทุกฤดูกาล

รสชาติ                  รสเปรี้ยวนำ เค็มตาม

คุณค่าโภชนาการมีโปรตีน เกลือแร่และวิตามิน

- กระเทียม มีวิตามินเอ บี๑ บี๒ และซี  รับประทานประจำช่วยป้องกันโรคมะเร็ง บำรุงหัวใจ
-แก้ความดันโลหิตสูงและแก้โรคเบาหวาน
-หัวหอม ลดความดัน เบาหวาน แก้หวัดฯลฯ
เอาอีกซักสูตร
แม่ปีก(แม่เป้ง) คั่วเกลือ
- เลือกเอาแต่แม่ปีก ล้างให้สะอาด
-น้ำส้มโหนด
-เกลือ
-น้ำมันหมู น้ำมันพืช(ยกเว้นน้ำมันเครื่อง)นิดหน่อย
วิธีทำ
- ตั้งกระทะใสน้ำมัน ให้ร้อน เอากระเทียม ลงเจียวให้หอม เอาแม่มดแดงลงคั่ว เติม เกลือ น้ำส้มโหนด นิดหน่อย รสชาต ให้ออก เค็มนิด เปรี้ยวหน่อย หอมน้ำส้มโหนดเสร็จแล้วชิมแล้วโยน(เข้าปาก)
    นอกจากนี้ ยังเอาไข่ ที่มีแม่เยอะๆมาตำน้ำพริก หรือ ต้มหัว พุงปลา ช่อน โอ๊ย ย ย  เยอะแยะที่จะดัดแปลง มาทำกิน  ก่อนลาจากเอาเพลงมาฝากประกอบให้ด้วย เพื่อความสมบูรณ์

                      http://www.sendspace.com/file/5ttr8d
                    http://www.youtube.com/watch?feature=player_detailpage&v=fHpQRZmToOU#t=31s
ไหนๆเข้ามาตอบ ก็ขอแถมอีกเมนูครับ

แกงมดแดง ใ่สชะอม
                                         

                                             
 
ต้มปลาช่อนใส่มดแดง
ขอบคุณข้อมูล บางตอนจาก เวปมหา(สุนันท์) ดอทคอม
ภาพจาก อินเตอร์เน็ต
เพลง ไข่มดแดง จาก youtube


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 08, 2013, 01:13:40 AM โดย ลุงชัยนรา »
บันทึกการเข้า

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4066
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4066
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: แมงดด...มดแดง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 04, 2013, 01:48:07 PM »
1.ผมชอบสูตรสุดท้ายครับ...
    "มดแดงคั่วเกลือ"
    ..มีกระเทียม และน้ำมันนิดหน่อย
        (ทางเหนือ เรียกมดแดง ว่า "มดส้ม"ครับ )

2."...อยากจะเลี้ยงมดแดง เอาไว้กิน-เล่น
       ให้เจ้าเป็นบอดี้การ์ด... สวาท ลมๆ
          ให้เจ้าได้สม เพียงตามอง..."

       มาฟังเพลง "โถ มดแดง"-พิทยา บุญยรัตนพันธ์ กันครับ
  http://www.youtube.com/watch?feature=player_detailpage&v=3cJk5FbRpyc#t=10s
       (ขอบคุณ คุณคนธรรพ์ khontalp และ youtube)

            3. วันนี้...
                  คุณให้น้ำ และอาหารมดแดงหรือยังครับ?

             

                             :61 :61 :61 :61
 


บันทึกการเข้า

เผ่าพงษ์ ปัตตานี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2008
  • กระทู้: 507
  • Thank You
  • -Given: 3223
  • -Receive: 2008
Re: แมงดด...มดแดง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 05, 2013, 03:02:30 PM »
       เฮ้อ...นกถึงไข่มดแดงต้มเกลือน้ำใสธรรมดาๆนี่แหละ ทุบหอมแดงใส่หน่อย ให้มีผสมผสานกันระหว่างไข่มดแดง แม่ปีก และมดแดง ตามสัดส่วนที่เหมาะสม ชอบมากสูตรนี้ครับ
      อยากจะถามลุงชัยว่า ที่ทางใต้บ้านผมเขาเรียก "ไฮ" ล่ะมันมาจากอะไร น่าจะรู้จักแหละนะ โดยมากจะอยู่ตามต้นไม้ในป่า ในไร่ ตามป่าละเมาะสวนยางพารา คล้ายๆ ตัวจักจั่นเล็กๆ บางทีก็ดูคล้ายม้าน้ำ เอามาต้มเกลือหรือผัดน้ำมันธรรมดาๆ กินสดๆก็ได้ รสชาดมันมากๆ ไม่เคยเห็นมานานแล้วสงสัยสูญพันธุ์ไปแล้ว


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 05, 2013, 03:08:24 PM โดย เผ่าพงษ์ ปัตตานี »
บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4066
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4066
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: แมงดด...มดแดง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 05, 2013, 03:17:47 PM »
1. "ไฮ"...ผมไม่เคยได้ยินนะครับ แต่ลองออกเสียงตาม...
       เดาว่า  จะคือตัว"เรไร" ไหมครับ
             ผมพิมพ์ "ตัวเรไร" เข้ากูเกิ้ล หมวดค้นหารูป
          ได้รูปนี้มา เห็นคุณเผ่าพงษ์ว่า คล้ายม้าน้ำ

                 

  2. หรือจะลอง คลิกลิ้งค์ ดูภาพตัวเรไร ภาพอื่นๆ เพิ่มก็ได้ครับ....

      http://images.google.com/search?q=%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7+%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%A3&hl=en&gl=th&biw=1360&bih=575&sei=OIZeUb_SM8WIrAfBkoDgBQ&tbm=isch#imgrc=_
 
       และถ้าสนใจภาพไหนเป็นพิเศษ ก็คลิกซ้ายที่รูปนั้้น
    รูปจะขยายตัวเอง  และมีที่อยู่ของเว็บ ที่ด้านขวามือของรูป ให้เราคลิกอ่านเรื่องได้อีกครับ

            :61 :61 :61 :61       


บันทึกการเข้า

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
Re: แมงดด...มดแดง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 08, 2013, 01:03:43 AM »
ใช่ครับครู ท่านเผ่า "ไฮ" คือ "เรไร" ในภาษากลางครับแต่ไม่ใช่แม่เรไร ในขุนศึก  เอามาคั่วน้ำมันใส่กลือ นิดหน่อบ เอาสะเต็กมาแลกก็ไม่.....ย๊อม......(เำพราะไม่มีคนแลก)


บันทึกการเข้า

เผ่าพงษ์ ปัตตานี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2008
  • กระทู้: 507
  • Thank You
  • -Given: 3223
  • -Receive: 2008
Re: แมงดด...มดแดง
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: เมษายน 08, 2013, 11:14:25 AM »
       ผมเพิ่งสอบถามเพื่อน มันบอกว่าตัวไฮ,ไง (ภาษาใต้) ที่ว่านี่มันจะชอบอยู่กับเถาวัลย์ในป่าชนิดหนึ่งบ้านผมเขาเรียก "ย่านสาวเอ้" (คล้ายกับใบทังแต่ใบลื่นมันกว่า) เพื่อดูดกินน้ำหวานในเถาวัลย์นี้เป็นอาหาร  เมื่อโตขึ้นอีกระดับหนึ่งจะมีปีกบินได้ ก็คงคล้ายๆจั๊กจั่น เรไร ที่ ลุงชัย,อ.ลือ ว่ามาแหละครับ ลำตัวยาวประมาณ 2 นิ้วฟุตได้ หน้านี้แหละ มี.ค.,เม.ย.จะเป็นฤดูของมันเลยครับ  อยู่เป็นกลุ่มๆตามย่านสาวเอ้ที่ว่านั่นแหละ  บางกลุ่มจะมีประมาณเป็น 100 ตัว พอได้คั่วเกลือสักมื้อ  ก่อนนำมาปรุงควรล้างน้ำให้เมือกแป้งสีขาวที่เกาะตัวมันออกเสียก่อนสัก 2-3 น้ำ หรือใช้น้ำร้อนลวกเสียก่อนก็ได้ เพราะบางคนแพ้อาจเมาได้   แต่เพื่อนผมบอกว่าเวลาปรุงให้ใส่น้ำในกะทะนิดหน่อยแล้วคั่วจนน้ำแห้งเลย ใส่เกลือแต่ไม่ต้องใส่น้ำมัน เมื่อแห้งดีแล้วยกลงกินได้เลย 
      เป็นที่น่าสังเกตุว่า "ตัวไฮ" ดังกล่าวนี้มีเฉพาะในภาคใต้เท่านั้นที่อื่นไม่มี  โดยเฉพาะแถวเชียงรายก็มีย่านสาวเอ้เยอะเหมือนกัน แต่ไม่เคยเห็นเจ้าตัวนี้ เพื่อนผมมันไปทำสวนยางอยู่ที่นั่นยืนยันมาอย่างนี้ครับ (อ.ลือ อาจมีข้อมูลทางเชียงใหม่)  ยังไงลุงชัยลองเดินดูตามย่านสาวเอ้ในสวนยางดูน่าจะเจอบ้างนะหน้านี้  ถ้าได้ผลพลั่นพรื่อก้าเล่าให้ควังกันบ้างนะครับ


บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4066
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4066
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: แมงดด...มดแดง
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: เมษายน 08, 2013, 02:28:52 PM »
1. ผมค้นกูเกิ้ลด้วยคำว่า "แมลงจักจั่น" ในหมวดค้นรูป (image)....
       ได้รูปนี้มาอีก อธิบายว่า "ตัวอ่อนของจักจั่น" ซึ่งก็ซ้ำรูปกับตัวเรไรที่ว่ามาก่อนนี้ครับ
    ถ้าตามนี้ แสดงว่า เรียก "จักจั่นเรไร" รวมกัน...

 
         link : http://www.talkystory.com/?p=16903

     ตัว"จักจั่น"นี้ (ที่เรามักเรียก และเขียนผิดศัพท์บัญญัติ เป็น "จั๊กจั่น")...กว่าจะฟักตัวจากไข่ใต้ดิน ขึ้นมาเป็นตัวได้
          ใช้เวลาประมาณ  5-7 ปี ตามข้อมูลนี้ครับ...
                   ไข่ (4 เดือน) - วางไข่ใต้เปลือกไม้
                      ตัวอ่อน (4-6ปี) - ใช้ชีวิตอยู่ใต้ดิน ดูดกินน้ำเลี้ยงจากรากไม้เป็นอาหาร
                           ตัวเต็มวัย (1-2 เดือน) - อาศัยอยู่ตามต้นไม้ดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นไม้เป็นอาหาร
              ตัวผู้ทำเสียงได้ดังมาก ประมาณ 200 เดซิเบล     ตัวเมียไม่สามารถทำเสียงได้

         ( ตามลิ้งค์ข้างบน ทางเหนือ เช่น จ.ลำปาง เรียกตัวอ่อนจักจั่น ว่า "เงาะจักจั่น" ...แต่ผมไม่เคยเห็นของจริงนะครับ)
2. อีกข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจครับ เรื่องแป้งที่ตัวอ่อนจักจั่น

     
       
       
      "...จากกรณีที่ชาวบ้านหลายจังหวัด เข้าป่าเพื่อขุดหาว่านจักจั่น โดยเชื่อว่าเป็นเครื่องรางศักดิ์สิทธิ์
             จนเกิดการซื้อขายตั้งแต่ราคา 199-5,000 บาท นั้น
     ดร.สายัณห์ สมฤทธิ์ผล นักวิจัยห้องปฏิบัติการราวิทยา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) กล่าวว่า ว่านจักจั่น ที่ชาวบ้านกำลังนิยมนำมาบูชานั้น แท้จริงแล้วคือ จักจั่นที่ตายจากการติดเชื้อรา
       ไม่ใช่ว่านหรือพืชอย่างที่เข้าใจ โดยเป็นจักจั่นในระยะตัวอ่อนที่กำลังไต่ขึ้นมาเพื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยเหนือพื้นดิน ซึ่งในระยะนี้ร่างกายจักจั่นมีการเปลี่ยนแปลงทำให้อ่อนแอ
      ประกอบกับช่วงต้นฤดูฝนมีความชื้นสูง จึงมีโอกาสติดเชื้อราแมลงที่มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ก่อให้เกิดโรคและทำให้จักจั่นตายในที่สุด
       ซึ่งเมื่อจักจั่นตาย เชื้อราก็จะแทงเส้นใยเข้าไปเจริญในตัวจักจั่นเพื่อดูดน้ำเลี้ยงเป็นอาหารและเจริญเติบโตเป็นโครงสร้างสืบพันธุ์ที่มีลักษณะคล้ายเขาบริเวณหัว ทำหน้าที่สร้างสปอร์เพื่อแพร่พันธุ์เชื้อราต่อไป
          ลักษณะที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า ราแมลง ส่วนชนิดของราที่เกิดขึ้นบนตัวจักจั่นนั้น เบื้องต้นสันนิษฐานว่าเป็นราสายพันธุ์คอร์ไดเซพ โซโบลิเฟอรา (Cordyceps sobolifera) .."
 
  link : http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1121
        ตัวนี้ ชื่อ "จักจั่นขาวซ่อนฟ้า"

               

3. ยังไง..ผมก็ขอกินแต่"มดแดง"ครับ...

           
   
                  :61 :61 :61


บันทึกการเข้า