กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: ลายพระหัตถ์ ในรัชกาลที่ ๔  (อ่าน 9883 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ภิรมย์

  • รักเมืองไทย
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2321
  • กระทู้: 480
  • Thank You
  • -Given: 2121
  • -Receive: 2321
  • คุณลูกกับคุณแม่
ลายพระหัตถ์ ในรัชกาลที่ ๔
« เมื่อ: เมษายน 05, 2013, 12:51:44 PM »
   ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
มีการสนับสนุนให้คนไทย ศึกษาในด้านภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะ
บรรดา โอรส ธิดา ในรั้วในวัง มีการจ้างครูแหม่มสาวจากอังกฤษ
ให้มาสอนถึงในวังเลยทีเดียว
   นี่คือจดหมายที่ พระเจ้าอยู่รัชกาลที่ ๔ ทรงมีถึงแหม่มแอนนา
เลียวโนวนส์ หลังจากทรงทราบว่า เธอจะมาเป็นครูสอนภาษาอัง
กฤษให้กับพระโอรสและพระธิดาในวัง
   เนื่องจากพระองค์ทรงศึกษาภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เองไม่
มีครูสอนให้ หลักไวยากรณ์ในภาษาอาจคลาดเคลื่อนไปบ้าง
   เนื้อความในจดหมายนี้ เป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของไทย
เรา  จึงนำมาให้ชม และถ้าไม่รบกวนมากไป ขอการอนุเคราะห์
จากอดีตครู เอกภาษาอังกฤษ หนึ่งเดียวของเรา รบกวนช่วยแปล
ไม่ต้องทุกคำก็ได้ครับ เอาแค่ใจความสำคัญก็พอ
        ขอบคุณมาล่วงหน้าครับ

                                English Era 1862
                                26 February
                                Grand Royal Palace
                                Bangkok
To Mrs. A.H. Leonowens,
Madam,
      We are in good pleasure and satisfaction in
heart  that you are in willingness  to undertake
the education of our beloved royal children.
And we hope that in doing  your  education on
us  and  on  our  children  (whom  English  call
inhabitants  of  beninghted  land),  you  will  do
your   best  endeavour   for  knowledge   of
language,  science and  literature  and  not  for
conversion  to Christianity ; as the  followers of
Buddha  are  mostly  aware  of the
powerfulness  of  truth and virtue as well as the
followers  of  christ  and  are  desirous  to  have
facility of English language and literature more
than new religions. We beg to invite you to our
royal palace  to do your best endeavourment
upon  us and  our children. We shall  expect  to
see you here on return of  Siamese  steamboat
Chow  Phya . We  have  written  to Mr. William
Adamson  and  to our Consul at  Singapore  to
Authorize to do best arrangement for you and
Ourselves.
                            Believe  me,
                            Your  faithfully,
                            S.S.P.P.  MAHA  MONGKUT     
  จากหนังสือ ชีวิตในอดีต..ฝรั่งในกรุงสยาม โดยนายแพทย์วิบูล วิจิตรวาทการ



บันทึกการเข้า
 :42ดนตรีคือ สื่อภาษาสากล :42

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **

ดาวเรือง

  • กรรมการบ้านเพลงไทย
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 1934
  • กระทู้: 454
  • Thank You
  • -Given: 3088
  • -Receive: 1934
  • เพลงคือชีวิต
Re: ลายพระหัตถ์ ในรัชกาลที่ ๔
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 05, 2013, 01:35:09 PM »
เล่นใช้โปรแกรมแปลภาษาอังกฤษ โดยไม่ขัดเกลา จึงอ่านบ่ฮู้เฮื่องเด้อ


บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: ลายพระหัตถ์ ในรัชกาลที่ ๔
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 05, 2013, 02:36:24 PM »
                ถ้าตามที่คุณภิรมย์ขอมา ผมคงถอดความได้ประมาณนี้ครับ

                                                             ปีฝรั่ง(ค.ศ.)1862 (=พ.ศ. 2405 ห่างกัน 543 ปี)
                                                              26 กุมภาพันธ์
                                                              พระบรมมหาราชวัง
                                                              กรุงเทพฯ
           ถึงนาง เอ.เอช. ลีโอ(เลียว)โนเวนส์,
           คุณผู้หญิง,
                     
                        เราดีใจ และยินดียิ่ง ที่ท่านตั้งใจจะมาให้การศึกษาแก่ราชบุตร ธิดาผู้เป็นที่รักยิ่งของเรา.
          เราหวังว่า การมาสอนให้เด็กๆของเรา ผู้ซึ่งไม่ได้มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาถิ่นที่อยู่ของตัวเอง, ท่านคงจะทุ่มเท
          จนสุดความสามารถ ในการให้ความรู้ด้าน วิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และวรรณคดี และก็คงไม่ใช่
          ภาษาอังกฤษเพื่อการให้เป็นคริสเตียน เพราะผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาย่อมตระหนักรู้ ถึงข้อความจริง
          และความดีงามของศาสนาตน เฉกเช่นเดียวกับผู้ที่เลื่อมใสในศาสนาคริสต์ ที่ก็ย่อมทราบ และตระหนักดีเช่นกัน.
          และก็ปรารถนา ให้ได้เป็นความรู้ เนื้อแท้ ของภาษาอังกฤษ และวรรณคดีจริงๆ ไม่ใช่เป็นการปลูกฝังศาสนาใหม่ๆให้.
          เราขอเชิญท่านมาที่พระบรมมหาราชวัง เพื่อสอน ให้ความรู้แก่เรา และเหล่าราชบุตร ธิดา.หวังว่า คงได้เห็นท่าน
          มาถึงที่นี่โดยเรือกลไฟสยามเจ้าพระยา. เราได้เขียนถึงนายวิลเลี่ยม อดัมสัน และกงศุลแห่งสยามที่ประจำที่สิงคโปร์
          แล้ว ให้ร่างข้อตกลงที่เอื้อประโยชน์สูงสุดแก่ท่าน และเรา.
                                                                                         
                                                                                      โปรดวางใจ
                                                                                       นับถือ
                                                                                       เอส เอส พี พี มหา มงกุฎ
     


                ประมาณนี้ละกันครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 05, 2013, 02:40:12 PM โดย ลือ »
บันทึกการเข้า

เผ่าพงษ์ ปัตตานี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2009
  • กระทู้: 507
  • Thank You
  • -Given: 3223
  • -Receive: 2009
Re: ลายพระหัตถ์ ในรัชกาลที่ ๔
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 05, 2013, 02:41:17 PM »
555 เยี่ยมมากคุณซัน คงต้องวานครูลิลลี่ ช่วยเรียบเรียงเป็นสำนวนไทยอีกทีครับ


บันทึกการเข้า

ภิรมย์

  • รักเมืองไทย
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2321
  • กระทู้: 480
  • Thank You
  • -Given: 2121
  • -Receive: 2321
  • คุณลูกกับคุณแม่
Re: ลายพระหัตถ์ ในรัชกาลที่ ๔
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 05, 2013, 03:40:37 PM »
   ขอบคุณครูลือมากครับ ค่อยเข้าใจหน่อย อย่างของคุณซัน
ต้องแปลไทยเป็นไทยอีกถึงจะพอเข้าใจ
   ที่จริง อัตชีวประวัติของแหม่มสาวผู้นี้มีอะไรๆ น่าสนใจมาก
รอนแรมจากบ้านเกิดมาไกลมาก สู่ดินแดนที่ตัวเองไม่รู้จักสัก
นิด ต้องยกย่องในส่วนนี้ครับ
   แต่ส่วนอื่นๆ ถ้าได้รับรู้ เราท่านที่เป็นคนไทย คงต้องเคือง
ขัดเป็นอย่างยิ่งทีเดียว


บันทึกการเข้า
 :42ดนตรีคือ สื่อภาษาสากล :42

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: ลายพระหัตถ์ ในรัชกาลที่ ๔
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: เมษายน 05, 2013, 07:03:36 PM »
     1.   จะว่าไป น้องซันก็ยังดีกว่าผม ที่น้องซันยังรู้วิธีใช้การแปลเป็น
  ผมทำไม่เป็น...และอยากรู้วิธีครับ
     อาศัยติดคำไหน ก็เอาคำนั้น เข้ากูเกิ้ล+พิมพ์ภาษาไทยตามอีกคำว่า คือ "แปลว่า"
       เช่น" goods แปลว่า "

         เวลาโปรแกรมแปล แปลประโยคให้เรา....จะแปล ถอดความหมายให้แบบคำต่อคำ 
     ซึ่งต้องเอามาเรียบเรียงกันใหม่
  เพราะโครงสร้างประโยคของแต่ละภาษา เรียงลำดับคำไม่เหมือนกัน

        สมมุติ โปรแกรม อาจกำหนดว่า "you" แปลว่า "ท่าน"
     จึงบางที "thank you" ...คอม อาจแปลว่า "ขอบท่าน"มาให้เรา

    ซึ่งแท้จริงแล้ว  thank คำเดียว แปลว่า "ขอบคุณ"....(=ความรู้สึกซาบซึ้งต่อผู้นั้น)
       I  thank you  very much. = ผมขอขอบคุณท่านอย่างมาก
       She thanks him very much.=  หล่อนขอบคุณเขาอย่างมาก
       Captain Cook thanked the natives for their hospitality.=กัปตันคุกขอบคุณชนพื้นเมืองสำหรับการต้อนรับ ดูแลอย่างอบอุ่น
                ประมาณนั้นครับ .... :54 :54 :54 :54


บันทึกการเข้า

เผ่าพงษ์ ปัตตานี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2009
  • กระทู้: 507
  • Thank You
  • -Given: 3223
  • -Receive: 2009
Re: ลายพระหัตถ์ ในรัชกาลที่ ๔
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: เมษายน 06, 2013, 09:29:51 AM »
        เพิ่งรู้ว่า "น้องซัน" ยังเป็นหนุ่มน้อยเด็กมากๆ ยอดเยี่มจริงๆ เลยครับ ที่รู้จักศึกษาเรียนรู้อะไรต่างๆได้หลากหลาย  อีกทั้งรู้เรื่องเพลงเก่ามากมายเหมือนกับคนรุ่นเก่าๆ อย่างพวกคุณลุงคุณป้าในบ้านเพลงไทยหลังนี้  ขออวยพรให้ประสบความสำเร็จในการเรียนและในชีวิตเบื้องหน้านะครับคนเก่ง


บันทึกการเข้า

ชญาดา

  • กรรมการบ้านเพลงไทย
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3031
  • กระทู้: 959
  • Thank You
  • -Given: 2112
  • -Receive: 3031
Re: ลายพระหัตถ์ ในรัชกาลที่ ๔
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: เมษายน 06, 2013, 04:40:47 PM »
ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเขามักสงสัยกันว่า คนไทยเรียนภาษาอัังกฤษมาตั้งแต่ อนุบาล จนจบปริญญา แต่ก็ยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ใช้เวลาเรียนหลายปี เพราะบ้านเรา ครูมักสอนไวยากรณ์ มากเกินไปหรือไม่ จึงพูดไม่ได้ อีกทั้งเมืองไทย ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ไม่ได้เป็นเมืองขึ้นใครเขา จึงพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้กัน
          พี่ลือแปล อ่านแล้วทำให้เข้าใจยิ่งขึ้นค่ะ  คุณซันก็อุตส่าห์แปลมาให้อีก  ต้องขอบคุณทุกท่านค่ะ ก็พอแปลได้บ้างจ้า


บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: ลายพระหัตถ์ ในรัชกาลที่ ๔
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: เมษายน 06, 2013, 06:11:45 PM »
1.ภาษาอังกฤษในประเทศไทย เรียนเพื่อรู้ และสอบ
       ไม่มีภาคสนามมารองรับให้ได้ใช้จริง อย่างประเทศอื่น...
      เปลี่ยนชั่วโมง สมองก็ปิดรับ...หันไปเปิดกลไกด้านภาษาไทยต่อ...
          พูดไปเหมือนเก็บดาบเล่มที่ชื่อว่า Englishเข้าฝักตลอดเวลา ...ชักออกมาจะใช้  สนิมก็จับเขรอะเสียแล้ว

2.ไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ครูจะต้องสอน และนักเรียนจะต้องรู้ และจำ

        สมัยก่อน...
           - เ้ด็กกลัวสอบตกซ้ำชั้น จึงขยันเรียนรู้ ขยันฝึกทำการบ้าน ครูสั่งที 80 ข้อก็มี ก็ทำจนเสร็จ
              และขยันท่องจำคำศัพท์ และกฎเกณฑ์...
         สมัยนี้...
           - เด็กรู้แกว ไม่ท่องสักอย่าง... ให้การบ้าน 20 ข้อ -ร้องโวยวาย และรู้ว่าถ้าตก ก็ซ่อม และผ่านอยู่แล้ว

    ที่ว่า  ไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษ ต้องสอน และเด็กต้องท่องจำด้วย ถึงจะนำไปใช้ได้ถูกต้องนั้น
               เพราะคำในภาษาไทย  จะพูดตอนไหน ลักษณะอย่างไร  คำก็ไม่เปลี่ยนแปลงรูป...
        แต่คำในภาษาอังกฤษ จะเปลี่ยนรูป ตามกาลเวลา(หรือ Tense)
           และหรือตามลักษณะการพูด(วาจก หรือ Voice) ว่าประธานกระทำเอง หรือประธานถูกผู้อื่นกระทำ


                 เด็กไทยจึงต้องท่อง กริยา 3 ช่องได้ให้มากที่สุด...เพื่อรองรับการเปลี่ยนกริยาตาม Tense
            และต้องจำโครงสร้างของ active voice กับ Passive Voice เป็นสำคัญครับ...


                 แต่เด็กไทยทั่วไป ติดการคลิกเม้าส์....
                       การท่องจำ นี่....ไม่เอา ไม่ยอมกระทำ ไงครูก็ลงโทษตีไม่ได้ เขาสั่งห้าม
              ขืนมาบ่นมาก...หมดเวลาสอนไปสิ เป็นเช่นนี้
                 พอจะนำไปใช้จริง สมองวิ่งมาหาข้อมูลศัพท์ที่ร่องลึก...ปรากฎว่า  Blank คือ ว่างเปล่า
          ไม่มีร่องรอยการสั่งสมความจำบันทึกไว้เลย....
 
           เชื่อไหมครับ เด็กไทยจำนวนมาก จะมักง่าย ดื้อใช้ภาษาอังกฤษแบบคาราโอเกะ กับศัพท์ที่ตนไม่รู้คำในภาษาอังกฤษ
       (คาราโอเกะ คือ มีแต่การเลียนเสียง แต่ไร้ความหมายใดๆ.. สื่อกันได้ ในเฉพาะหมู่เดียวกัน
              ...ไม่ครอบคลุมโลกสากล- global )
             เช่น ให้เขียนคำว่า  ข้าวผัด
        เด็กไทยส่วนใหญ่ใช้  kow pad/kaw phad/ kaw phud  ฯลฯ....

            คำนี้ ที่ถูกต้อง และเข้าใจในระดับสากล คือ  " fried rice"
                   แปลตามรูปศัพท์ คือ ข้าวที่ถูกผัด
              ( fry... fried.... fried  (กริยา 3 ช่องของ fry) แปลที่ละช่อง คือ ผัด..ผัดเรียบร้อยแล้ว...ได้ผัดแล้ว/ถูกผัด 
             ...เลือกเอาช่องที่3 ที่แปลว่า ถูกกระทำการผัด
                    มาขยายคำว่า rice.... โดยวางไว้ข้างหน้าคำที่จะขยาย   
                เด็กที่ เรียน -รู้ -จด และจำ .....ก็จะนำไวยากรณ์ที่จดจำ ออกจากสมองมาใช้สร้างคำนี้ได้ครับ)
                                    เป็นต้น....อิ อิ :52
   
     ก็คงเมื่อเราเข้าเป็นอาเซียน ....ที่คนในชาติอาเซียนด้วยกัน สามารถเข้ามาแย่งงานดีๆในประเทศต่างๆได้ตามมติ....
             ก็คงจะทราบชัดว่า มีงานดีๆ ตำแหน่งสูงๆ -เพราะสามารถสื่อสารกับต่างชาติได้อย่างมีมาตรฐาน
           เหลือให้คนไทยสักมากน้อยแค่ไหน....
                ที่อ่านพบมา เขาเล็งว่า เป็นงานลักษณะลูกจ้าง หรือ งานระดับล่าง...ยังไม่ปักใจเชื่อครับ
                             ก็คงต้องดูกันตอนนั้น...


บันทึกการเข้า

ภิรมย์

  • รักเมืองไทย
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2321
  • กระทู้: 480
  • Thank You
  • -Given: 2121
  • -Receive: 2321
  • คุณลูกกับคุณแม่
Re: ลายพระหัตถ์ ในรัชกาลที่ ๔
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: เมษายน 07, 2013, 07:30:45 AM »
   จริงๆ กระทู้นี้ ต้องการสื่อให้เห็นพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน
พระองค์ทรงศึกษาด้วยพระองค์เอง ไม่เพียงแค่นั้น ยังมีลายพระหัตถ์
ไปถึงคนต่างชาติเจ้าของภาษาด้วย
   แล้วมาลองคิดดู เด็กปัจจุบันขนาดมีครูคอยสั่งคอยสอน แล้วถ้าให้
เขียนจดหมายสักฉบับ ส่งถึงเจ้าของภาษาแบบนี้
   จะมีสักกี่คนที่กล้า


บันทึกการเข้า
 :42ดนตรีคือ สื่อภาษาสากล :42

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: ลายพระหัตถ์ ในรัชกาลที่ ๔
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: เมษายน 07, 2013, 09:18:55 AM »
 " พระองค์ทรงล้ำเลิศพระปรีชาชาญ...
              ขอน้อมฯ สดุดีพระวิริยะ และพระวิสัยทัศน์"


บันทึกการเข้า