หอเกียรติยศ > ชาย เมืองสิงห์

เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์

<< < (6/34) > >>

สมภพ:

ฟังกันเต็มๆ กับมโหรีประกอบการแสดงที่มีชื่อว่า  ที่มาของชาย เมืองสิงห์
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/384d79adb368f117b43099064301ef38.swf

แก้ว สาริกา:
 :42 : ที่งานประเพณีชักพระ จ. สุราษฏร์ธานี ฝนตกเกือบจะทุกคืน พวกเราก็คิดว่าดนตรีแสดงไม่ได้แล้ว แต่อะไรได้ ผิดไปจากที่คาด นี่ถ้าเป็นแถวๆ ภาคกลาง เหนือ หรือ อีสาณ ไม่ต้องแสดงกัน แต่ที่นี่ คนแน่นทุกคืน มีคนที่รู้จักบอกว่าเป็นประเพณีเสียแล้วที่นี่ เพราะฝนจะตกอยู่ตลอด คนเที่ยวงานเขาก็ชินจะหาร่มมากาง แล้วก็นั่งดู แต่บางคน นั่งกันอย่างโหลงโจ่งยังงั้นแหละ เปียกก็เปียก ฉันจะดูใครจะทำไม เออ..เอากับเขาสิ / กลางวัน มีแห่เรือ และแข่งขันเรือยาว โอ้ ! สวยงามและก็สนุกมาก ๆ ๆ ...
       พอถึงคืนที่ วงสมัยศิลปินแสดง พวกเรา มีผม, ทศพร หิมพานต์, มรกต เมืองกาญจน์ และ อัมพร สนธยา, ไปนั่งชมอยู่ ก็ได้พบและนั่งฟัง โฆษกผู้ประกาศเพลงหน้าเวที เวลาแกพูดประกาศเพลง มีน้ำเสียงเสนาะ เสียงไพเราะนุ่มนวลชวนฟัง พูดมีจังหวะจะโคน นิ่ม ๆ ช้า ๆ ชวนให้น่าฟังไม่รู้เบื่อ แกจะมีวิธีการพูด ที่โน้มน้าวจิตตใจคนได้อย่างยอดเยี่ยม ยากที่จะหาที่ติ ...

"แม่น้ำ.. สายน้ำแห่งลุ่มน้ำตาปีแห่งนี้ ไม่มีวันที่จะแห้ง เหือดหายฉันใด ฉันใดก็ตาม สายน้ำใจของท่าน พ่อแม่ พี่น้อง และท่านผู้ชม ที่มานั่งชมอยู่ที่นี่ ก็คงจะยังไม่แห้งเหือดหายไปฉันนั้น" ( ความจริงพูดยาวมากกว่านี้ ผมจำได้แค่เนี้ยะ ก็ยังดีเน๊าะ ) พวกผมงี้ นั่งเงียบฟังแกพูด และการพูดของแก แต่ละประโยค เป็นขั้นเป็นตอนดีแท้ พวกเราต้องยอมรับ และอดที่จะชื่นชมเสียมิได้ ผมและพวก ก็ปรึกษากัน และได้เข้าพบครูฉลอง เล่าเรื่องนี้ให้ครูฉลองฟัง ครูฉลอง บอกว่า   "ฉันก็นั่งดูและฟังอยู่"     
               พอเสร็จสิ้นงานการแสดงในงาน ชักพระ จ. สุราษฎร์ธานี  เดินทางกลับสู่กรุงเทพฯ  ...
  วันต่อๆมา วงดนตรี จุฬาทิพย์ มีงาน พวกเรา นักดนตรี-นักร้อง ก็ไปรวมกันที่ สำนักงานวงดนตรี  ซึ่งอยู่ในซอยตรอกวัดเซิงหวาย บางซ่อน ก็ไปพบท่านที่เป็นโฆษก วงสมัยศิลปิน มานั่งรออยู่ก่อนแล้ว เข้าไปสวัสดี และทักทายพูดและคุยกัน ตามประสาคนที่เราชื่นชมและชื่นชอบ ก็ได้ความว่า ครูฉลอง แนะนำมาให้พบ ชาย เมืองสิงห์ ผมก็นึกอยู่ในใจว่า อ้าว... นี่ครูฉลอง ตีท้ายครัว
สมัย อ่อนวงษ์ เข้าแล้ว ท่านผู้นั้นก็เลยได้มาเป็นโฆษกผู้ประกาศเพลง แทน ครูฉลอง วุฒิวัย บนเวทีของ จุฬาทิพย์ และเป็น นักจัดรายการวิทยุ คู่ กับ พี่ ดาวฤกษ์ เรวดี  นับเป็นนักจัดรายการคู่แรก ของ จุฬาทิพย์  ชื่อ  ศักด์ สุดา ... 
       
                                   ชื่อจริง " ศักดิ์สุดา ศรีเฟื่องฟุ้ง " เกิดที่ อ.  เสนา จ. พระนครศรีอยุธยา ... 
     
           ปล. พี่ศักดิ์ สุดา หลังร้างลาเลิกวงการ ก็ไปทำงานเป็นข้าราชการ ควบคุมรับผิดชอบ อยู่ที่ สถานีวิทยุ มก. หาดใหญ่
จ. สงขลา ถูกคุกคามเสรีภาพ ขอย้ายตัวเองพร้อมทั้งครอบครัว ไปอยู่ ทางภาคเหนือ จ. เพชรบูรณ์ มีโรคประจำตัว สุดท้ายย้ายกลับมาอยู่ที่ อ. ภาชี จ. อยุธยา ( หน้าบ้านป้าย "บ้านอินทิรา" ) ปัจจุบัน เสียชีวิตแล้ว ด้วยวัยเพียง 52 ปี ...

แก้ว สาริกา:
    :teentob: : กลางๆ ปี 2511 งานวัด งานสวนสนุก งานเดินสาย เหนือ, ใต้, อีสาน, ตะวันออกแถวภาคกลาง จุฬาทิพย์ แสดงไปทั่ว ก็ได้ โฆษกประกาศเพลง โฆษกตลก เพิ่มเข้ามาอีก  มิสเตอร์ โปสเตอร์, เอื้อ อารีย์, ที่จริง เอื้อ อารีย์ เข้ามาตั้งนานแล้ว แต่ตัวเองติดราชการ มามั่งไม่มามั่ง และ ศักดิ์ สุดา ก็ยังอยู่  พอ ศักดิ์ สุดา กับ ดาวฤกษ์ ลาออก  เอื้อ อารีย์, ก็เข้าเป็นโฆษกผู้ประกาศเพลง ต่อ   สำหรับการจัดรายการวิทยุ พี่ชาย ก็มอบให้ จอม จำปาศักดิ์, เป็นผู้ดำเนินรายการ
        ต่อมา จอม จำปาศักดิ์ ออกไป (เพราะต้องไปแสดงลิเก) เอื้อ อารีย์, ก็มาดำเนิน รายการวิทยุคู่กันกับ จ่าจำเนียร เจือสุวรรณ ซึ่งตอนนั้น จ่าจำเนียร เป็นเจ้าหน้าที่ วิทยุกองพล ปตอ. จึงไม่ยากที่จะสานต่อเรื่องนี้
                          ( จึงเป็นนักจัดรายการ เป็นคู่ที่สอง ของ จุฬาทิพย์ )
      ชื่อเสียง ของ วง "จุฬาทิพย์" เริ่มซาลง ไปแสดงที่ใหน ก็ไม่ค่อย จะมีคนดู  อย่างว่าครับ มีวันโด่ง ก็ย่อมจะมีวันดับ
ตกอับลงมา ความดังไม่คงที่ความดีซิคงทน ชาย เมืองสิงห์ ตัดสินใจ นำวงเดินสายอีสาน อีกครั้ง คราวนี้ ได้
เฮียหมง กับ เจ๊ พิศมัย เจ้าของห้องภาพ ธนูศิลป์ อยู่เชิงสะพานพุทธ ฝั่งพระนครเป็นผู้เหมาวงออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด
จัดบุ๊ค การแสดง เดือนกว่าๆ ยังไม่ทันจะจบสาย เฮียหมง เจ๊พิศมัย ขอยกเลิก ทุกสถานที่ ถูกตะเข้งับ
                              ( ศัพท์ลุกทุ่งไม่รู้ใครบัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมา ) คือเล่นที่ใหน ก็ไม่มีคนดู
             
    เมื่อถูกยกเลิกเดินสายกระทันหัน ทุกอย่างก็จบ แต่..มันไม่จบ สำหรับเลือดนักสู้อย่างลูกผู้ชายที่ชื่อ  "ชาย เมืองสิงห์"
 
  :teentob: : ไหน ๆ ก็มาถึงขั้นนี้  พักทำใจอยู่ 2-3 วัน โดยไม่ยอมกลับกรุงเทพฯ นักร้องก็เริ่มท้องแห้ง เงินค่าตัวที่ได้มั่งไม่ได้มั่ง
ก็เริ่มหมด ข้าวเหนียว 1 บาท ลาบ 2 บาท คืออาหารหลัก ช่วงที่หยุดพัก
     พี่ชายให้ "บุตร บุญธรรม" ติดต่อ โรงหนัง เสี่ยงปิดวิกต่อ ...
     ได้โรงหนังหลายที่ จอดป้ายนครพนม ลอยลมไปท่ีอุบล ย้อนวนมาศรีเกษ ระเห็ดมามุกดาหาร วิ่งพล่านมาสกลนคร ยโสธร สว่างแดนดิน โบยบินแถวร้อยเอ็ด อีสาณใต้จรดอีสาณเหนือ ท่าบ่อ หนองคาย ศรีเชียงใหม่ อุดร ขอนแก่น กุมภวาปี วาปีปทุม
โรงหนังวิกเล็ก วิกใหญ่ เหมือนพี่ชายจะระบายความอัดอั้นอะไร ที่มันตันอยู่ในหัวใจ และอีกหลายๆที่
     เหมือนฟ้าบันดาลจริงๆ เช้าที่นครพนม ชาย เมืองสิงห์ สั่งนักร้อง นักดนตรี แต่งตัวเหมือนกับการแสดง ขึ้นรถ เป็นรถกระบะใหญ่ๆ 3-4 คัน รวมรถบัสส์ ของวงตอนนั้นยังเช่ารถเขาอยู่ เจ้าของรถ ชื่อ ถวิล ขับประจำอยู่ ( จำได้ไหมครับ ขนาดตาหวินยังใช้หนี้เขาไม่หมด คิดจะขายรถตั้งวงอีกราย ) วิ่งแห่ตระเวน โฆษณา ไปทั่วทั้งตลาด นครพนม นักร้องหญิง แต่งตัว สวยๆ นั่งรถโชว์ ให้คนเขาเห็น 
      ยอด ธงชัย, น้ำมนต์ ศักดิ์สิทธ์,
      รับหน้าที่เข้าเวรผู้ประกาศโฆษณาบนรถขยายเสียง ไม่น่าเชื่อ ก็ต้องเชื่อ รอบบ่ายโมง ของวันนั้น หน้าโรงหนัง นครพนม
คนแน่นขนัดล้นหลาม เต็มลานอันกว้างใหญ่ ขนาดรอบบ่าย ยังไม่มีที่จะยืน แล้วรอบค่ำละครับ วาดภาพก็คงนึกออก
นักร้อง นักดนตรี ตื่นเต้น ขนาด พี่ชาย ยกมือไหว้ พูดออกมาว่า หลวงพ่อ "ดวงชาย เมืองสิงห์ กลับมาแล้ว"


                    ขอบคุณแฟนๆ ที่ยังหนาแน่นเป็นแฟนพี่ชาย โดยมิมีแหนงหน่าย มีจดหมายถึงพี่
                               กับเพลง เพลงนี้ครับ "แฟนประจำ"  ชาย เมืองสิงห์  ขับร้อง

                                  http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/4ff68d0e6b81c441b965b0ec2af40aa5.swf
                                           
                                       แล้วทุกสถานที่ต่อจากนั้น คนก็ยังแน่นตลอด ...

        :13 : กลับจากเดินการสายอีสานครั้งนั้น ก็รับงานแสดง แถบแถวชานเมือง กรุงเทพฯ  และบริเวณใกล้เคียง
  มีงานบ้าง ไม่มีงานบ้าง อยู่รอบขอบเขตุภาคกลาง จะด้วยเหตุอะไรก็ไม่รู้ ใครๆ ก็ไม่รู้ นักร้อง ชาย-หญิง ออกกันเป็นทิวแถว ...

 :04 :04 : วัน และ แห่งกาลเวลา ได้หมุนเวียน ผลัดเปลี่ยนกันไป วงดนตรี จุฬาทิพย์ ที่เป็นเสมือน ต้นไม้ใหญ่ มีหมู่เหล่านกกา ถลาบินมาเกาะกิ่งจิกกินผลที่กำลังสุกงอม ไม่เว้นแต่ละฤดูกาล บ้างก็มาอาศัยร่มใบบุญ บ้างก็มากอบโกยผล หรือบ้างก็มา
พักพิงเพียงชั่วครั้งชั่วคราว ...
  "ระพิน ภูไท" กะ "เพทาย ไพทูลย์" โผผินโบยบินมาอาศัยอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ระพิน ก็เริ่มจะโด่งดัง ด้วยเพลง "ชายคลอง"
 แล้วก็สัญจรจากไป ...
            เพียงไม่นาน "ระพิน ภูไท"   ดังเปรี้ยงทะลุฟ้า สะเทือนบาดาล ...
         แต่..หัวหน้า วง "จุฬาทิพย์" ดวงกลับตกอับทับโชคชะตา เคราะห์ซ้ำ กรรมซัด เซจนแทบจะตั้งตัวไม่อยู่ ชีวิตเริ่มอับเฉาโรยรา ท้อแท้ ถดถอย คับแค้น ...
น้ำตาของลูกผู้ชาย มันน่าจะไหลออกมาบนใบหน้า แต่.. มันกลับ ไหลย้อนลงไปในอก " นี่คือคำพูด ทุกครั้ง
ที่ ชาย เมืองสิงห์ แสดงละครเพลงอยู่หน้าเวทีการแสดงทุกครั้ง "และเป็นที่มา ของ เพลง "มือที่สาม" บรรจุอยู่ในอัลบั้ม
           ชุด "อนุทินชีวิตรักสลายของ ชาย เมืองสิงห์" ลองหาฟังดูนะครับ ...                                                       
                                             

                           
               


:51 : ขออนุญาต พูดถึงตัวเองสักนิด ปลาย ปี 2511 ผมหนีออกมาจาก วง "จุฬาทิพย์" มาอยู่ กับ วงแมน เนรมิตร
   ได้สัก สี่เดือน ก็เข้ากองประจำการรับราชการทหาร ในปี 2512  ผมถูกเกณฑ์ทหาร ถูกผลัดที่สอง ก็เลยบวชอยู่ หนึ่งพรรษา ...
   เมื่อลาสิกขา สึกจากพระไปเป็นทหาร อยู่ที่จังหวัดทหารบกลพบุรี ไม่รู้ความเคลื่อนไหวใดๆ ในวงการเพลงลูกทุ่ง อีกเลย ...
         
                        ########################################
 
 : จวบจนกระทั่ง .. / ถึง เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ที่จังหวัด ลพบรี
     
 : เข้าสู่ยุค วงดนตรี "พ่อหม้ายพัฒนา" ของ ชาย เมืองสิงห์
      : ปลายปี พ.ศ. 2513 เดือน พฤศจิกายน  ที่หน้าโรงเรียนพิบูลย์วิทยาลัย จังหวัดลพบุรี จัดงานฤดูหนาวประจำปีทุกๆปี
ของจังหวัดลพบุรี มีงานหลายคืน ...
     คืนหนึ่ง ผมร่วมกับเพื่อนทหารจำนวนหลายคน ไปเที่ยวงาน ด้วยเหตุไฉนก็ไม่ทราบได้ หรืออาจเป็นเพราะดวง
ขณะเดินเที่ยวชมงาน ไปเห็น วงดนตรีลูกทุ่ง จัดเวทีไว้ เด่น กว่าเวทีอื่น ก็เกร่เข้าไปหน้าเวที ตอนนั้นผมยังไม่รู้ว่าคณะอะไร
สมัยก่อนการประชาสัมพันธ์งาน ก็ไม่ได้ประกาศมากมายอะไร เหมือนเดี๋ยวนี้ มีงานก็ไปเที่ยวกัน ทหารเสียครึ่งราคาอยู่แล้ว
เมื่อเข้าไปยืนใกล้ๆ หน้าเวที เห็นสแตนด์ ของคณะดนตรี ตั้งอยู่หน้าเวที ออกแบบสวยงามสดุดตามาก เป็น สี่เหลี่ยม สีชมภูอ่อนๆ
มีสัญญาลักษณ์ (โลโก้) เป็นฉลุลายเศียรหณุมาน ทาสีเงิน สลับทอง ด้านล่างของเศียร เขียนว่า " พ่อหม้ายพัฒนา " ผมกับพวกก็เดินไปที่หลังเวที ก็ถึงบางอ้อ.. พบ บุตร บุญธรรม, มรกต เมืองกาญจน์, โชติ ชัชวาลย์, ชื่นใจ เตือนจิตร, สายรุ้ง มุ่งดี, คนที่คุ้นเคยอีก สอง สามคน รวมทั้ง เพชร โพธิ์ทอง, คุยกันอยู่นาน ตามประสาเพื่อนที่เคยอยู่ด้วยกันมาก่อน ..
    จึงรู้ว่าเป็นดนตรีลูกทุ่ง"พ่อหม้ายพัฒนา" ของ ชาย เมืองสิงห์ ขณะที่ผมยืนคุยอยู่กับเพื่อนๆ  มรกต เมืองกาญจน์,
บุตร บุญธรรม, โชติ ชวาลย์, ไอ้ต้อย (ชื่นใจ เตือนจิตร), ไอ้หลาบ (สายรุ้ง มุ่งดี) สายตาทุกคู่ มองเลยด้านหลังผมไปแล้วยิ้ม ๆ ผมก็มองตาม ..   พี่ชายครับ "ชาย เมืองสิงห์" เดินมาจับที่ไหล่ผม แล้วบอกว่า ...   
                   
                  "แก้ว วันนี้ มาช่วยพี่ชายร้องเพลงหน่อยน่ะ แล้วช่วย พี่ชายตีกลองด้วย ไอ้ป้อม มือกลองไม่มา" ...
                                         

เผ่าพงษ์ ปัตตานี:
สวัสดีครับ ลุงสมภพและอาแก้ว สาริกา
              ขอบคุณท่านทั้งสองมากครับ ที่มาให้ความรู้ความสนุกที่มาเบื้องหลังความบันเทิงยุคแรกๆของวงการลูกทุ่งไทย ซึ่งสมัยนั้นผมเองก็ยังเด็กๆอยู่มากจำได้บ้างไม่ได้บ้างแต่ก็ชื่นชอบเพลงลูกทุ่งชนิดเข้าใส้ตามประสาคนบ้านนอก ชอบให้ผู้ใหญ่จูงมือเข้าวิกกั้นผ้าไปดู(ฟรี)วงลูกทุ่งดังๆบ่อยครั้ง  พอมาอ่านบทความของอาแก้วทำให้กระจ่างและคิดถึงความหลังยุคนั้นมากๆเลยครับ โดยเฉพาะอาชาย เมืองสิงห์ ผมก็ชื่นชอบทุกเพลงครับ ท่านมีความสามารถรอบด้านจึงได้เป็นศิลปินแห่งชาติอย่างสมภาคภูมิ ผมจะคอยติดตามทุกๆเรื่องที่เป็นเกร็ดเบื้องหลังที่ไม่มีใครเคยมาเปิดเผยกันครับ ขอให้เป็นทุกๆครูเพลงด้วยครับ โดยเฉพาะครูสุรพล สมบัติเจริญ ก็เป็นที่ชื่นชอบผมไม่แพ้กันครับ ขอขอบคุณและเป็นกำลังใจให้กับกูรูเพลงทั้งสองท่านครับ

แก้ว สาริกา:
 :teentob:: คืนนั้น ผมดีใจ และมีเรื่องตื่นเต้นมากมาย ได้รู้ในสิ่งที่เราห่างหายออกไปจากวง ผมดีใจที่ได้กลับคืนสู่รังเก่า เสมือนอันเป็นต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง และต้นไม้ต้นนี้ ที่เคยให้ร่มพักพิง และได้หนีออกไปโดยไม่ได้ร่ำลาหัวหน้าวงเลย ดีใจเห็นเพื่อนเก่าๆ ที่ออกไปแล้วกลับมา.. อย่าง มรกต เมืองกาญจน์ และได้รู้ว่า พี่ชาย เพิ่งจะเริ่มฟอร์มทีมงานขึ้นใหม่ หลังจากถูกมรสุมชีวิตเล่นงานเสียจนย่ำแย่ ที่ขาดหายไปก็ ทศพร หิมพานต์ ไม่กลับ รู้ว่าเขาไปอยู่วง "พิณศรีวิชัย" ...
   ดีใจคืนนี้เราต้องได้ ค่าตัวมากสักหน่อย ตีกลองร้องเพลง ..
( แหม..ก็เป็นทหาร ตอนนั้น เงินเดือน 45 บาท เบี้ยเลี้ยงวันละบาท คืนนี้ถ้าได้ สัก 120 โห..ดีใจตาย )   
      ชื่นใจ เตือนจิตร (อดีตคู่ชีวิต ณรงค์ นามชัย), สายรุ้ง มุ่งดี (ศรีภรรยา ชนะ ชิตชนก ปัจจุบัน), มาจาก วงจุฬารัตน์ ก็มาร่วมงานอยู่ด้วย  รู้ว่า เรไร ณ.โคราช ยังอยู่  รู้ว่า ยอด ธงชัย ได้เป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ได้นักร้องใหม่ๆ เข้ามาเสริมวง
นักดนตรี ก็ ยังเป็นชุด ณรงค์ มะกล่ำ, มาช่วย "ณรงค์ มะกล่ำ" ซึ่งก็ ไปๆ มาๆ  เพราะเพิ่งเข้าสังกัด ดุริยางค์ทหารเรือ และรับงานดนตรี ประจำห้องอาหารด้วย ก็จะมาได้เป็นระยะๆ  พี่ชายก็ให้สิทธิพิเศษ ฝีมือเป่าแซ๊กอัลโต้แล้ว ใครได้ชมได้ฟังในชั่วโมงเวลานั้น
     ต้องยอมรับ และทึ่งในฝีมือ นอกจาก "วิชิต โห้ไทย" แล้ว ไม่มีใครเกิน "ณรงค์ มะกล่ำ" ...

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version