กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: พันธ์ไม้ร้อยชื่อ  (อ่าน 3815 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
พันธ์ไม้ร้อยชื่อ
« เมื่อ: เมษายน 06, 2013, 03:11:55 PM »
มะม่วงหิมพานต์ พันธุ์ไม้ร้อยชื่อ
                                                   
 
ยอดผักจากแดนใต้ ผลสุกรสหวานหอม เมล็ดในกรอบมัน

         "มะม่วงหิมพานต์" เป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่ม ใบหนา ขนาดโตเต็มที่ เฉลี่ยสูง 6 เมตร  เป็นพืชพื้นเมืองของบราซิล นำเข้ามาปลูกครั้งแรกที่ภาคใต้ของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2444  โดย พระยารัษฏานุประดิษฐ์  มหิศรภักดี หรือ คอซิมบี้ ณ ระนอง มะม่วงหิมพานต์นี้ นักวิชาการบางท่านจัดให้อยู่ในหมู่พวกพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นอาหารในกลุ่มของถั่วและไม้ผลเมล็ดเดี่ยวเปลือกแข็ง (Legumes and Nuts) ในขณะที่มะม่วงถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของผลไม้ ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วหิมพานต์ก็เป็นเครือญาติในวงศ์เดียวกับมะม่วงนั่นแหละ แต่ว่าอยู่คนละสกุลกัน โดยมะม่วงมีชื่อสกุลคือ Mangifera ส่วนหิมพานต์มีนามสกุลว่า Anacardium โดยมีชื่อว่า ciden tale linn. เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลางที่อยู่ในวงศ์ Aancardiaceae

          หากสงสัยว่าทำไมคนทั่วไปเขาจึงตั้งฉายาว่า พันธุ์ไม้ร้อยชื่อ ก็ต้องลองอ่านดูแล้วจะรู้ว่า สมญานามนั้นถูกต้องจริงๆ แค่คนเหนือก็เรียกต่างกันถึง 4 ชื่อแล้ว ทั้ง มะม่วงสิงหล มะม่วงหยอด มะม่วงกุลา และมะม่วงลังกา ในขณะที่คนอุตรดิตถ์เรียกว่า มะม่วงกาสอกับมะม่วงไม่รู้หาว คนกรุงเรียกหิมพานต์ คนตรังเรียก กาหยี ภาษายาวีเรียก แตแฆ ส่วนชาวระนองบอกว่า ม่วงเล็ดล่อ  ท้ายล่อ ถ้าเป็นคนนราธิวาสเรียก โลกกือแหร ชื่ออื่นที่คนใต้ใช้เรียกกันทั่วไปคือ ยาร่วง ยาโงย กาหยู  ยะโห้ย และสุดท้ายที่ฟังแปลกกว่าใครเพื่อนก็คือ หัวครก

          ส่วนที่กินได้อย่างเอร็ดอร่อยของมะม่วงหิมพานต์ คือ ใบอ่อน หรือยอดอ่อน รสออกเปรี้ยวอมฝาดนิด ๆ กินแกล้มกับน้ำพริกหรือขนมจีนก็ได้ ขณะที่ผลคล้ายกับลูกชมพู่ เนื้อนิ่ม มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวไม่เหมือนใคร ผลที่สุกแล้วจะเป็นสีแดง เนื้อนุ่ม มีรสหวาน รับประทานอร่อย นำไปปรุงแกงกินได้ทั้งแกงเหลือง ไตปลา แกงเลียง หรือลูกสุกๆ นำมาหั่น ชิ้นพอคำ ผสม สับปะรด สุก เคล้า พริกกับเกลือ กินหน้านี้ แก้ร้อนแทนผลไม้ดองได้ดีมาก
 แต่ที่ "หรอย" หรืออร่อยสุดๆ ตามภาษาของคนใต้ก็คือเมล็ดที่มีลักษณะคล้ายไตซึ่งอยู่ที่ส่วนปลายของผล หากนำมาคั่วให้สุกจะกินสดๆ ก็กรอบมันเคี้ยวได้เคี้ยวดีมีทั้งโปรตีน และแคลเซียมด้วย หรือจะนำไปแกงเลียงปนกับผักต่างๆก็หรอย บอกแล้วไงว่า กินแบบไหน ยังไงก็หรอย ๆ ๆ ด้ายแรงลิ้น
        และที่สำคัญในอดีต เมล็ดมะม่วง จะเป็นส่วนหนึ่งของการละเล่นของเด็กผู้ชาย กันหลายอย่าง ตรงนี้ อยากรบกวน ครูลือ อ.โชค ท่านเผ่าฯปัตตานี สมพร เกาะยอ ภูวดี และคนใต้ มาร่วมย้อนอดีความทรงจำกัน ร่วมถึงท่านอื่นที่อยู่ภาคอื่น มารื้อฟื้น ความทรงจำการละเล่น กับ"โม่งหัวครก"กันนะครับ
อีกอย่าง ในช่วงหน้าแล้ง เวลาออกดอก จะมีแมลงชนิดหนึ่งเรียก"แมลงพลับ หรือ "แมลงพลัด" มาเกาะอยู่เต็ม ก็ยังมาทำเป็นอาหารได้อีก เมนู(สงสัยต่อยอดได้อีกสักเรื่องมั๊ง)


 ในวันที่อากาศร้อนๆอย่างนี้ เรามาหาเครื่องดื่ม ดื่มกันเถอะครับ เครื่องดื่มที่จะมานำเสนอวันนี้ก็คือ น้ำมะม่วงหิมพานต์ หลายคนอาจแปลกใจใช่ไหม คงคิดว่าลุงชัยพิมพ์ผิด เพราะทุกท่านคงคุ้นเคยกัยการรับประทานเม็ดมะม่วงหิมพานต์กันมากกว่า แต่นอกจากเม็ดที่อร่อยแล้ว น้ำของมะม่วงหิมพานต์นี่ก็มีประโยชน์กับร่างกายเรามากทีเดียวครับ
 

คุณสมบัติพิเศษของน้ำมะม่วงหิมพานต์ ที่อยากจะให้เพื่อนร่วมบ้านเพลงไทยได้อ่านกัน ก็คือ

    1. ดื่มแล้วจะรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ไม่อ่อนเพลีย

    2. ช่วยลดการอักเสบ การติดเชื้อของหลอดลม ทำให้ปอดแข็งแรง

    3. ดื่มเป็นประจำจะช่วยลดหวัด และภูมิแพ้ ทำให้หายใจโล่ง

    4. ช่วยลดอาการเจ็บคอ อาการไอ ระคายเคือง ลดเสมหะ ลดการตีบของหลอดลม ระบบเสียงดี

    5. ช่วยในการปรับสมดุลหยินและหยางในระบบร่างกาย

    6. หยุดอาการท้องเสีย โรคบิด แผลในกระเพาะ โรคกระเพาะเรื้อรังได้เป็นอย่างดี

    7. แก้อาเจียน ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ขับเหงื่อ ต้านทานกามโรค

    8. ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

    9. ทำให้สายตาดี

    10. ทำให้ระบบประสาทดี ความทรงจำดี

 

นอกจากนี้ลุงชัยก็ได้อ่านแผ่นพับ เกี่ยวกับงานวิจัย ของกลุ่มวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำมะม่วงหิมพานต์ ก็ได้ยืนยันว่า น้ำมะม่วงหิมพานต์มีศักยภาพในการเพิ่มสมรรถนะการทำงานของกล้ามเนื้อได้ดี และยังออกฤทธิ์โดยลดอนุมูลอิสระในฮิปโปแคมปัส ซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ทำให้เรียนรู้ได้ดี

การดื่ม : ก็นำน้ำมะม่วงหิมพานต์สกัด ไปผสมกันมิกเซอร์ต่างๆตามใจชอบได้เลยค่ะ จะผสมกับโซดา ก็สดชื่นดีทีเดียวค่ะ

เป็นไงบ้างครับ นอกจากการรับประทานเม็ดมะม่วงหิมพานต์เป็นของขบเคี้ยวแล้ว น้ำมะม่วงหิมพานต์ คงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่รักสุขภาพได้บ้างใช่ไหมครับ ตอนนี้ก็มีผลิตภัณฑ์น้ำมะม่วงหิมพานต์สกัดออกวางจำหน่ายกันแล้วนะครับ  แทนที่เราจะไปดื่มน้ำอัดลมที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แล้วยังมีแต่น้ำตาลทำให้อ้วนและฟันผุ จึงหันมาดื่มน้ำมะม่วงหิมพานต์แทนกันนะครับ
ต่อมามีข้อมูลวิจัยจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของผลมะม่วงหิมพานต์ พบว่า
1. ผลมะม่วงหิมพานต์ให้สารสกัดที่ต่อต้านการเจริญของเนื้องอก โดยในผลมะม่วงหิมพานต์จะมีสารอะนาคาร์ดิค แอสิค (Anacaedic Acid) ซึ่งพบว่าสามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านม
2. ผลของมะม่วงหิมพานต์สามารถให้สารคาร์ดอล (Cadol) ซี่งออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งในปากช่องคลอด (Hela epitheloidid cervix carcinoma cell ) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้สารคาร์ดอลในผลมะม่วงหิมพานต์ยังออกฤทธิ์ต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์และสามารถต่อต้านพยาธิได้ทุกชนิด
3. ผลมะม่วงหิมพานต์ให้สารประกอบจำพวกฟีนอลที่สามารถยับยั้ง "เอนไซม์ ไทโรซิเนส" ที่เป็นสาเหตุของการเกิดเม็ดสีคล้ำใต้ผิวหนัง รวมทั้งเป็นสาเหตุของการฝ้า กระ จุดด่างดำ และรอยหมองคล้ำใต้ผิวหนังอีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : กลุ่มวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น   และ http://th.88db.com/th/Services/Post_Detail.page/
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ประสบมาด้วยตนเอง
 
 



สมภพ

  • เก็บคนที่ไม่หวังดีไว้ใกล้ๆ จะได้ตบกบาลมันได้สะดวก
  • ผู้ดูแลระบบ
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 22144
  • กระทู้: 5088
  • Thank You
  • -Given: 13577
  • -Receive: 22144
Re: พันธ์ไม้ร้อยชื่อ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 07, 2013, 04:36:31 PM »
ตอนที่อยู่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เคยเป็นลูกทีมทำวิจัยเครื่องคั่วเม็ดมะม่วงหิมพานต์ พอคั่วเข้าจริงๆ ต้องเผ่นเลยครับ เหม็นทนไม่ไหว


บันทึกการเข้า
รับไม่ได้กับเพลงไทยสไตล์ฝรั่ง จนต้องมาวิ่งหาต้นฉบับไว้ฟังอยู่นี่ไง