ย้อนหลังไปเมื่อปีพ.ศ.๒๔๖๔ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๖
ในเขตอำเภอทะเลน้อย(ปัจจุบันคืออำเภอควนขนุน ทะเลน้อยเป็น
ตำบล)เมืองพัทลุงและอำเภออื่นๆรอบๆ เกิดมีโจรผู้ร้ายที่คอยปล้นจี้
ฆ่าประชาชน ความเหี้ยมโหดมากขนาดตำรวจยังไม่กล้าปราบปราม
สร้างความเดือดร้อนไปทั่ว ทั้งหมดแบ่งได้ ๓ ก๊กใหญ่
๑.ก๊ก ดำหัวแพร ซ่องสุมกำลังอยู่ที่ตำบลดอนทราย อำเภอทะเล
น้อย ชาวบ้านเรียก ไอ้ดำหัวแพร แต่เรียกตัวเองขุนอัศดงดำแพรศรี
๒.ก๊ก นายดำปากคลอง อยู่ที่ตำบลมะกอก เหนือทะเลน้อย นี่ก็มี
บรรดาศักดิ์เหมือนกัน เรียกกันว่า ขุนอรัญไพรี
๓.ก๊ก นายวัน พาชี อยู่ที่ตำบลคลองท่อม อำเภอเมืองพัทลุง มี
บรรดาศักดิ์กะเค้าเหมือนกัน ขุนประจบไพรวัน
ทั้ง ๓ ก๊ก ถือว่าดำหัวแพรใหญ่สุด โหดสุด มีลูกน้องบริวารมาก
มาย ทางการไม่กล้าปราบ ชาวบ้านไม่กล้ายุ่ง จะพูดจาอะไรก็ต้อง
ระวังเพราะมีสายโจรเต็มไปหมด หากพูดไม่ดีตายอย่างเดียวไม่แค่
ตัวเองลูกเมียคนในครอบครัวก็ไม่เว้น ต้องการลูกสาวใคร เมียใคร
ไปฉุดเอามาได้ตามอำเภอใจ จนกระทั้ง..
เหตุเกิดที่บ้าน นายกลับ เรืองมา..
วันหนึ่งในปี พ.ศ.๒๔๖๔ พนักงานปกครองและเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ออกตรวจตราดูแลประชาชนได้ไปถึงบ้านนายกลับ แต่นายกลับไม่
อยู่บ้าน แม่และเมียก็ทำหน้าที่ต้อนรับตามปกติ แต่ลูกน้องไอ้ดำ
สืบทราบก็เลยส่งคนมาฆ่าแม่และเมีย ซ้ำยังเผาบ้านด้วย ส่วนนาย
กลับช่วงจังหวะไม่อยู่บ้าน
เมื่อนายกลับ กลับมาบ้านพบว่าแม่และเมียถูกฆ่า บ้านถูกเผาก็
แค้นใจมากจนหมดความกลัวไอ้ดำหัวแพรอีกต่อไป
นายกลับ เดินทางไปแจ้งความกับนายอำเภอควนขนุนและเจ้า
เมืองพัทลุง และยังเเอบเดินทางไปสงขลา เพื่อร้องเรียนต่อนาย
ตำรวจใหญ่ขณะนั้นคือ พ.ต.อ. พระยาวิชัยประชาบาล(บุญโกย เอ
โกบล)ผู้บังคับการมณฑลนครศรีธรรมราช
พระยาวิชัยประชาบาลก็พานายกลับเข้าเฝ้าสมเด็จชาย พระเจ้า
น้องยาเธอ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อุปราชมณฑลปักษ์ใต้ เพื่อ
กราบทูลถึงความเดือดร้อนของชาวบ้าน
เมื่อทรงทราบเรื่องราว ก็มีรับสั่งให้พระยาวิชัยประชาบาลเป็นผู้
รับผิดชอบในการปราบกลุ่มโจรทั้งหมดโดยมอบอาญาสิทธิ์ให้ ๖
ประการให้แก่พระยาวิชัยประชาบาล ดังนี้
๑.ดาบประจำเมืองสงขลา(น่าจะหมายถึงมีอำนาจสูงสุด)
๒.ประทานกำลังตำรวจ ๓ มณฑล
๓.อนุมัติเงินค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น
๔.มีอำนาจในการตั้งกองตำรวจพิเศษได้เต็มที่
๕.ให้ข้าราชการท้องถิ่น ต้องให้ความร่วมมือเต็มที่ทุกประการ
๖.ให้อำนาจสั่งถอดถอนกำนัน ผู้ใหญ่บ้านได้
เริ่มแผนปราบโจร สืบข่าว
เมื่อทุกอย่างพร้อมพระยาวิชัยประชาบาล นายกลับ ก็เดินทาง
มาพัทลุงพร้อมกำลังตำรวจ ออกสืบข่าว หาเบาะแสต่างๆ โดยที่
แบ่งทั้งหมดเป็น ๓ กองกำลังคือ กองอำนวยการกลาง กองใหญ่
และกองย่อย
กองย่อยออกสืบข่าวต่าง รายชื่อโจร ที่พัก พวกรับชื้อของโจร
พวกส่งเสบียง จากนั้นส่งไปยังกองใหญ่กลั่นกรอง แล้วจึงส่งต่อ
ไปยังกองอำนวยการกลางเพื่อสรุปวางแผนต่อไป
แผน แยกย้ายกระจายกำลัง
หลังจากแบ่งงาน สืบเสาะข่าวคราวต่างๆเรียบร้อย ก็ได้มีการชี้
แจงเรื่องให้ชาวบ้านรับรู้ แน่นอนพวกโจรก็ต้องรับรู้เช่นกัน พระ
ยาวิชัยก็เริ่มแสดงแสนยานุภาพกองกำลังตามแผน คือให้ตำรวจ
จากมณฑลต่างๆที่ต้องมาช่วยเดินทางมาได้ โดยสั่งให้ปล่อยตำ
รวจ ไว้ตามสถานี ตามที่ต่างๆ รอบเมืองในเมืองพัทลุง จากนั้น
ให้เดินทางไปที่กองอำนวยการกลาง โดยไม่ให้มีเจ้าหน้าที่ท้อง
ถิ่นหรือใครนำทาง ให้สืบเสาะกันเอาเอง ด้วยเเผนนี้ ตำรวจจาก
ต่างถิ่น ไม่ชำนาญทางก็ต้องเดินทาง โดยการถามชาวบ้านไป
เรื่อยๆ ตลอดจนกว่าจะถึงกองอำนวยการ
ไม่เท่านั้น พอตำรวจต่างถิ่นมาถึงกองอำนวยการแล้ว พระยา
วิชัยยังสั่งให้เดินทางต่อไปขึ้นรกไฟที่สถานีนั้น สถานีนี้ แล้วให้
ปล่อยตัวเดินทางกลับมาใหม่อีก
ทำแบบนี้อยู่ ๒-๓ สัปดาห์ ชาวบ้านชาวเมืองก็รู้สึกว่ามีตำรวจ
อยู่เต็มบ้านเต็มเมือง ยังทำให้เหมือนมีการส่งตำรวจมาไม่ขาด
สาย ไปทางไหนก็เจอแต่ตำรวจ ทำให้ทุกคนเห็นว่าครั้งนี้ตำรวจ
เอาจริง ปราบจริง
แผนนี้ ทำให้คดีปล้นจี้ต่างๆ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โจรผู้ร้าย
เริ่มหวาดกลัวบ้างแล้ว
ใช้โจรปราบโจร
นอกจากใช้ตำรวจท้องที่ ที่เก่งชำนาญพื้นที่ พระยาวิชัยยังได้
คัดเลือกผู้ต้องหาที่ดูแล้วว่าไว้ใจได้ ชำนาญพื้นที่ เอามาฝึกฝน
อบรมจิตใจ ฝึกงานตำรวจ แล้วส่งไปทำงาน สอดแนม หาตัวคน
ร้าย หาที่หลบซ่อนตัว ชี้ช่องทางให้ตำรวจไปจับ
ปรากฎว่าได้ผลดีสามารถจับคนร้ายได้มากมาย คนเหล่านี้เรา
เรียกว่า พรานดง หรือ เสือดง
สุดท้าย ขั้นเด็ดขาด
เมื่อกำลังพลพร้อม แผนพร้อม ก็สั่งทุกหน่วยลงมือจับตัวคน
ร้ายอย่างเด็ดขาด ใครต่อสู้ขัดขวางฆ่าได้ทันที โดยลงมือจากระ
ดับหัวหน้าใหญ่ก่อน
ทุกอย่างเป็นไปตามแผน ไอ้ดำหัวแพร ถูกยิงตายที่ใต้ต้นตาล
ดำปากคลอง ถูกจับ ภายหลังวิกลจริต ผูกคอตายในคุก
วัน พาชี ยอมจำนน ภายหลังสู้คดีชนะ ศาลสั่งปล่อยตัว ภาย
หลังกลับตัวเป็นพลเมืองดี
รวมระยะเวลาในการปราบปรามครั้งนี้ ปีกว่าๆ เหล่าโจรผู้ร้าย
แทบจะหมดไปจากเมืองพัทลุงเลยที่เดียว ต้องยกย่องในความ
สามารถของพระยาวิชัยประชาบาล เสียดายที่ท่านถึงแก่กรรม
เร็วไปหน่อยด้วยวัยเพียง ๔๘ ปีเท่านั้น
รูปของท่านครับ
จากหนังสือ แกะรอยเรื่องเก่า ของ เอนก นาวิกมูล