กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: แมงพลัด ตัวชี้วัดระบบนิเวศน์  (อ่าน 4303 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
แมงพลัด ตัวชี้วัดระบบนิเวศน์
« เมื่อ: เมษายน 08, 2013, 12:23:06 AM »
                                         


แมงพลับ หรือแมงพลัด  หรือแมงหวัง เป็นภาษาถิ่น ที่ใช้เรียกชื่อแมลงชนิดหนึ่ง เป็นแมงด้วงอยู่ในตระกูล Curculionidae,weevil  ซึ่งมีขา ๖ ขา แต่ชาวบ้านทั่วไปอาจจะเรียกสั้นๆว่า "แมง" (จริงๆแล้วแมงต้องมี ๘ ขา) ตัวขนาดเท่าแมลงกว่าง ลำตัวกลมรี ปีกชั้นนอกแข็งมีหลายสี สีเทา สีขาว ชาวบ้านเรียกแมงพลับชี ปีกสีน้ำตาลเรียก แมงพลับโหนด จนถึงสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีจุดสีขาวขึ้นที่ปลายปีกตัวใหญ่กว่าหัวแม่มือเล็กน้อย หัวเล็ก ตรงหัวมีตา ๒ ตา มีหนวด ๒ เส้น แต่ไม่ยาวมากนัก ต่อจากหัวเป็นหน้าอกและลำตัว มีก้นแหลม ปีกนอกแข็ง ปีกในค่อนข้างอ่อน ตัวคล้ายแมงดานา แต่แมงดานาตัวแบน ส่วนแมงพลัดตัวรีกลมอ้วน

 วงจรชีวิตของแมงพลับ ตัวอ่อนที่ออกจากไข่อาศัยอยู่ใต้ผิวดิน ชาวเรียกว่า "ด้วง" หรือ "หนอนทราย" จนตัวแก่มีปีกจะขึ้นจากดินมาหากินยอดใบไม้อ่อน เช่น ยอดเนียง ยอดหัวครก(มะม่วงหิมพานต์) ยอดมะขาม ยอดมันปู ยอดกำชำ(มะหวด) ซึ่งเป็นยอดไม้ที่แมงพลับชอบ จะกินยอดไม้อยู่ประมาณ ๒ สัปดาห์ จนไข่เจริญเติบโตเต็มที่ ตัวผู้จะผสมพันธุ์แล้วตัวเมียจะตายฝังตัวฝังไข่อ่อนไว้ในดิน ไข่ออกเป็นตัวประมาณ ๒ สัปดาห์ มีรูปลักษณะเป็นตัวหนอนด้วง ลำตัวนิ่มเป็นปล้อง อาศัยอยู่ใต้ดิน กินเศษอินทรีย์ทรากจนแก่ตัวสร้างปีก พอฝนตกดินชื้นก็จะขึ้นจากดิน จะตรงกับช่วงหลังฤดูฝนใบไม้ผลิใบพอดี แมงพลับกัดกินยอดไม้ เช่นยอดมะม่วงหิมพานต์ ยอดมันปู ยอดสะตอ เป็นต้น

                                           
หนอนทราย" ที่ถูกไข่ทิ้งไว้ให้เจริญเติบโตใต้ดิน รอวันติดปีกออกหากินหลังฤดูฝน

 แหล่งที่พบ

  แมงพลัด  ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ เช่น ต้นมะขาม ต้นมะม่วงหิมพานต์ ในสวนข้างบ้าน ต้นเนียง ต้นมันปู ในสวน..ในควน..ในเขา..ต้นสนแถบริมทะเล สามารถจับได้ทั้งกลางวันและกลางคืน   กลางวันใช้วิธีขึ้นไป เขย่า หรือขย่ม กิ่งไม้(ภาษาใต้เรียกว่า "หม"แมงพลับ) ถ้าเป็นกลางคืน ใช้ไฟล่อ ให้แมงพลัดมาเล่นไฟ   แล้วตกลงพื้นก็เก็บได้ง่าย   หรืออาจจะเขย่าต้นไม้ที่ใกล้แสงไฟให้ตกลงมา แล้วจึงเก็บไปทำอาหารต่อไป ปัจจุบันชาวบ้านทันสมัยขึ้น ที่ทุกปีราวๆเดือนมีนา-เมษายน ชาวบ้านจะนำหลอดไฟฟ้าอุลตร้าที่มีแสงสีม่วง หรือชาวบ้านเรียก "หลอดไฟแมงดา" พร้อมแบตเตอร์รี่รถยนต์ขึ้นไปจองพื้นที่เพื่อเปิดไฟสีม่วงล่อแมงดาประมาณ ๒๐-๓๐ จุด/คืน  แต่ละจุดแต่ละเจ้าสามารถเก็บแมงพลับได้คืนละ ๘,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ ตัว วันรุ่งขึ้นมาล่อไฟจับกันใหม่เป็นเช่นนี้อยู่ประมาณ ๑ เดือนกว่าๆจึงหมดฤดูกาลจับแมงพลับของชาวบ้าน

                                           
ชาวบ้านพร้อมอุปกรณ์ จับจองพื้นที่รอเวลาเปิดไฟดักล่อแมงพลับ

  ที่นราธิวาสแต่ละปีชาวบ้านจับแมงพลับขายแบบเป็นล่ำเป็นสันประมาณ ๖ ล้านตัวขายสดตัวเป็นๆที่แม่ค้าในถิ่นรับซื้อตัวละ ๕๐ สตางค์ เพื่อนำไปปรุงโดยการผัดน้ำมันยัดไส้ถั่วขายตัวละ ๒ บาท ลองคำนวณดูว่าที่นี่แต่ละปี แมงพลับทำรายได้ให้กับชาวชุมชนปีละเท่าใด นับเป็นแมลงเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง ที่ชาวชุมชนต้องช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์ที่เอื้อต่อการเป็นอยู่ของแมงพลับ โดยเฉพาะช่วยกันหันกลับมาใช้วิถีเกษตรอินทรีย์เพื่อพลิกฟื้นคืนชีพให้ผืนดินกันให้มากๆ
                                               
วิธีปรุงเป็นอาหารแบบบ้านบ้าน..โดยทั่วไป แมงพลับสามารถนำไปทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น แมงพลัดยัดไส้ โดยเอาแมงพลัดมาลวกน้ำร้อนให้สุก แกะ ปีก ขา หัว และก้นออก ไส้ใช้เนื้อหมูสับละเอียด หัวผักกาดสับละเอียด น้ำปลา น้ำตาล ผัดแล้วนำไปยัดในตัวแมงพลัด นำไปทอด  นอกจากนี้ อาจนำแมงพลัดไปคั่วเกลือ ผัดกะทิ แกงส้ม หากจับได้มาก ๆ ก็สามารถนำไปจำหน่ายได้แมลงพลับเป็นอาหารของคน แมงพลับมีรสชาติ มัน ชาวบ้านจะเก็บมาคั่วหรือทอด นำมารับประทานเป็นกับข้าว หรือกับแกล้มให้โปรตีนสูง
                                       

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพ จาก http://www.gotoknow.org/posts/432542


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 09, 2013, 02:48:29 PM โดย ลุงชัยนรา »
บันทึกการเข้า

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **

เผ่าพงษ์ ปัตตานี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2008
  • กระทู้: 507
  • Thank You
  • -Given: 3223
  • -Receive: 2008
Re: แมงพลัด ตัวชี้วัดระบบนิเวศน์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 09, 2013, 05:39:35 PM »
    สมัยเด็กๆ แถวบ้านผมมีแมงอีกชนิดหนึ่ง ลักษณะเหมือนแมงพลับทุกประการ ต่างกันที่ขนาดเล็กกว่า ตัวออกสีน้ำตาลแดงเข้ม ปีกเป็นมัน เราเรียกกันว่า "แมงแร่ง" ชอบมาเกาะกินใบทุเรียนเทศ หรือใบน้อยหน่า เต็มไปหมด  หน้าแล้งจัดๆ เหมือนตอนนี้แหละ โดยเฉพาะตอนหัวค่ำจะบินมาเกาะกันอยู่มากที่สุด  พวกเราชาวแสวงหาของกินทั้งหลายก็ใช้ไฟฉายส่อง แล้วเขย่าลำต้นแรงๆ "แมงแร่ง"เหล่านี้ก็จะร่วงหล่นลงมาเต็มไปหมด ได้ทีเป็นร้อยๆตัว  จากนั้นนำไปคั่วเกลือ อร่อยมากครับ


บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4066
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4066
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: แมงพลัด ตัวชี้วัดระบบนิเวศน์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 09, 2013, 11:29:14 PM »
   1. "แมงแร่ง" ผมเคยเห็น... แต่ไม่เคยกินครับ
   2.  แมงพลับ หรือแมงยาบผัดยัดไส้ถั่วลิสง หรือไส้อื่นๆ...ต้องกินระวังนิด
           เพราะจะเคี้ยวทั้งตัว....เปลือกลำตัว ต้องเคี้ยวให้แหลกจริงๆ
      ไม่งั้นอาจบาด ครูดลำไส้ของเราได้
            ...เวลาจะ "สุขา อยู่หนใด" อะครับ

                      :61 :61 :61


บันทึกการเข้า