กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: กระ - ประ  (อ่าน 3904 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
กระ - ประ
« เมื่อ: เมษายน 14, 2013, 10:53:42 AM »
 ชื่อไม้ต้นชนิด Elateriospermum tapos Blume ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมมี ๓ พู เปลือกแข็ง เมื่อแก่สีคล้ำ เกือบดํา เมล็ดรูปยาวรี เปลือกแข็งเป็นมันสีน้ำตาลเข้ม ภายในมี เนื้อขาว ๒ กลีบประกบกัน เมื่อดิบมีพิษร้ายแรง ดองหรือคั่วแล้ว กินได้ รสมัน เรียกว่า ลูกกระ, ปักษ์ใต้และมลายูเรียก ประ.
                                       
                                 
                                         

  ลูกประ - ลูกกระ มีลักษณะคล้ายลูกยางพารา  เวลาสุกก็จะแตกตกลงพื้นเช่นเดียวกันกับลูกยางพารา ผมไม่แน่ใจว่าภาคอื่นมีหรือเปล่า แต่ภาคใต้มีแน่นอน ลูกประสามารถนำมากินได้โดยการ ต้ม ดอง คั่ว ผมชอบลูกประต้มครับ ผมมีรูปลูกประมาฝาก แต่ไม่สามารถนำรูปต้นมันมาฝากได้ เพราะต้นมันอยู่บนภูเขา การที่เอาลูกประมาขายก็ต้องไปหามาจากบนภูเขา
ลูกประเป็นอาหารสุดโปรดของหมูป่า เมื่อก่อน เวลาจะไปล่าหมูป่า บริเวณเทือกเขา บูโด แถวบ้าน กูยิ บ้านเชิงเขา เราก็จะค้นหาต้นประ ให้เจอ แล้วก็จะไป ซุ่ม ซ่อน วางบังไพร เอาไว้ที่นั่น แล้วก็จะเข้า ไปในพื้นที่"คิลลิ่งโซน"
     ประเป็นพืชที่เป็นอาหารของคนในท้องถิ่น ส่วนที่นำมาบริโภคได้แก่ เมล็ด เมื่อเมล็ดแก่จัด ชาวบ้านจะถางใต้โคนจนโล่งเตียนเพื่อเก็บลูกประที่แตกหล่นลงมาจากต้นลูกนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด โดย การต้มทำให้สุกแล้วนำไปดองในน้ำเกลือ เป็นลูกประดองเก็บไว้บริโภคได้นาน ลูกประดองแกะเปลือกออกนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง ได้แก่ นำลูกประไปใส่แกงส้ม แกงพุงปลา ต้มกะทิ หรือเหนาะข้าวหรือขนมจีน ให้รสชาดเปรี้ยวมันอร่อยมาก ลูกประสดนำไปปิ้ง ทำน้ำพริกลูกประเก็บไว้ได้นาน เหมาะสำหรับเป็นของฝากญาติมิตร และยังนำไปคั่วกับทรายรับประทานเป็นอาหารว่าง หรือนำไปหั่นเป็นชิ้นบางๆ นำไปทอดหรืออบ ทำเป็นลูกประรสเค็มและรสหวานเป็นของแกล้มเครื่องดื่ม
                                               
                                               

 น้ำพริกลูกกระ - ประ                                             
....วันนี้ลากันเพียงแค่นี้ก่อนนะครับ วันต่อไป จะนำเรื่องราวของ พืช ผัก ผลไม้ พื้นถิ่น มาเล่าสู่กันฟังอีก

ขอขอบคุณ บางข้อมูล จาก pantip.com
ขอบคุณภาพจาก อินเตอร์เน็ต
ขอบคุณบางความทรงจำ ของตัวเอง
ขอบคุณครูผู้สอนการวางภาพ อ.ชาติ....


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 14, 2013, 10:55:40 AM โดย ลุงชัยนรา »
บันทึกการเข้า

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4066
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4066
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: กระ - ประ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 14, 2013, 11:54:56 AM »
  1.ทางเหนือ เจอเขาคั่วขายอยู่นะครับ หน้าตาคล้ายๆกัน
      ผมเคยซื้อกิน แต่จำไม่ได้ครับ ว่าเรียกว่าลูกอะไร....คงต้องเอื้องเหนือ อย่างน้องน้อยมาบอก

   2.ทางเหนือ จะฮ้อง(เรียก)ผลไม้ ขึ้นต้นด้วยคำว่า "บะ-"ครับ
       เช่น   บะม่วง (มะม่วง)...  บะโอ(ส้มโอ) ...บะเต้า (แตงโม)  ...บะแต๋ง (แตงกวา)
        บะขะนัด (สับปะรด)...บะตื๋น (กระท้อน)... บะห่อย(มะระ)... บะเกี๋ยง(ลูกหว้า)...บะหนอยแน่ (น้อยหน่า)
        บะนอย(บวบ)  ....บะตัน (พุทรา)  ฯลฯ  (ถ้ามีผิดเพี้ยน ....วานคนเหนือแต๊ ๆ ช่วยแก้ไข)

            โดยเฉพาะ คำว่า "บะตัน"-พุทรา .....จะไปพ้องเสียงกับคำว่า "บะตัน" ที่แปลว่า "ไม่ทัน"
       จึงกลายเป็นลูกเล่น ที่คนเหนือมักจะนำพูดกัน ...เช่น  มีคนถามว่า
              "รถจะออกแล้ว..... ไอ้แดงมายังเนี่ย"
                 อาจมีคนตอบว่า แต่พูดเอาขำ ว่า
                  "สีท่า...มันจะมาบะพุทราเหีย" (สงสัย มันจะมาไม่ทัน ซะละมั้ง)

3. ปัตตานี ก็เรียก"ลูกประ"ครับ...
        กินคั่ว ใส่แกง...อร่อยแบบมันๆ

               :61 :61 :61 :61


บันทึกการเข้า

ชบาบาน

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 382
  • กระทู้: 95
  • Thank You
  • -Given: 412
  • -Receive: 382
Re: กระ - ประ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 14, 2013, 01:36:31 PM »
สุราษฎร์เรียกลูกประเช่นกัน ต้มเค็มกับขาหมูอร่อยมากๆ ขอรับ


บันทึกการเข้า