เป็นรูปถ่ายเปรียบเทียบของสถานที่ต่างๆในอดีตกับปัจจุบัน
เราจะเห็นความต่างอย่างชัดเจน ความต่างเหล่านี้ถ้าใช้เวลา
นานมากๆ เป็นแสนๆ ล้านๆ ปีก็คงไม่มีอะไรน่าห่วง แต่นี่ใช้
เวลาไม่กี่สิบปี ก็เปลี่ยนไปถึงขนาดนี้ น่าหวั่นวิตกครับ
เป็นภาพภูเขาคิริมานจาโร รูปแรกถายเมื่อปี1970 ถัดมาปี 2000
เพียง 30 ปีหิมะที่อยู่บนยอดเขาก็ละลายหายไปกว่าครึ่ง คาดกันว่า
อีกไม่นานคงหมดไป หิมะและน้ำแข็งบนยอดเขาเป็นจุดกำเนิดของ
แม่น้ำ ลำน้ำต่างๆ ของทวีป แอฟริกา เมื่อไม่มีหิมะ ไม่มีน้ำแข็งคง
พอเดาได้ว่าความเดือดร้อนคืออะไรเป็นภาพธารน้ำแข็งโบลเดอร์ ในอุทยานแห่งชาติกลาเซียร์ มอนทา
นา สหรัฐอเมริกา รูปแรกถ่ายปี 1932 ถัดมาปี 1998เป็นภาพธารน้ำแข็งอุปซาลา ปาตาโกเนีย อาร์เจนตินา รูปแรกถ่าย
ปี 1928 รูปถัดมาปี 2004 เป็นภาพธารน้ำแข็ง โรนด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รูปแรกถ่ายปี 1906
รูปถัดมาปี 2003เป็นภาพธารน้ำแข็งทเชียร์วา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รูปแรกถ่ายปี
1910 รูปถัดมาปี 2001 จากรูปจะเห็นว่าธารน้ำแข็งที่เคยมีอยู่มากมาย พอผ่านไปไม่
กี่สิบปี ก็ลดลงอย่าเห็นได้ชัด ซึ่งน่าวิตกมาก เพราะธารน้ำแข็ง
ก็คือจุดกำเนิดหรือต้นแม่น้ำสำคัญๆทั้งสิ้น เมื่อเป็นดังนี้อนาคต
ปัญหาเรื่องน้ำ คงเป็นปัญหาใหญ่แน่นอน
สามภาพนี้เป็นภาพถ่ายดาวเทียม
ของเกาะ กรีนแลนด์ ถ่ายเมื่อปี 1992 2002 และ 2005 ตามลำดับ
สีขาวคือน้ำแข็งบนเกาะ สีแดงคือส่วนของพื้นดิน เมื่อดูจากรูปจะพบว่า
การละลายของน้ำแข็งเป็นไปอย่างรวคเร็ว และแน่นอนว่าในอนาคตข้าง
หน้า ต้องเป็นปัญหาใหญ่แน่ ในประเทศไทยเรา ปัญหาโลกร้อนก็ส่งผลกระทบเช่นกัน อากาศที่ร้อน
ขึ้น ฤดูหนาวที่สั้นลง บางที่ก็หายไป ฝนที่ตกไม่แน่นอน เหล่านี้ล้วนเป็น
ผลจากสภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น
จากหนังสือ โลกร้อน ความจริงที่ไม่มีใครอยากฟัง สำนักพิมพ์ มติชน
ต้นฉบับจาก An Inconvenient Truth ของ Al Gore
แปลเป็นไทยโดย คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์