กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: มาชักว่าวกัน  (อ่าน 11442 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
มาชักว่าวกัน
« เมื่อ: เมษายน 18, 2013, 09:53:05 AM »
 ....ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ ลุงธง ท่าแซะ  ซึ่งเป็นกรรมการบริหารบ้านเพลงไทย ที่ได้จุดประเด็นในการคุยเรื่อง"ชักว่าว" ในหน้าห้องกระดานสนทนาบ้านเพลงไทย มาเมื่อหลายวันก่อน ก็เลยได้ความคิดขึ้นมาในเรื่องที่จะนำวิถีชีวิต ของพี่น้องชาวภาคใต้ อันไกลโพ้น มานำเสนอ ให้สมาชิกบ้านเรา ที่อยู่ในภาคอื่นๆ และมีวิีถีชีวิตที่ไม่เหมือนกันได้รับทราบ...เชิญ..ติดตาม..มาครับ...

                                             
                                                         
ว่าวภาคใต้

ชาวใต้นิยมเล่นว่าวกันเพื่อความสนุกสนานในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว  กล่าวคือช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน  ว่าวที่นิยมเล่นกันในท้องถิ่นก็เป็นพวกว่าววงเดือน  ว่าวควาย  ว่าวนก  ว่าวปักเป้า  ว่าวอีลุ้ม  ว่าวปลา  ว่าวหลา (ว่าวจุฬา) ว่าวกระบอก เป็นต้น  ส่วนว่าวอื่นก็พอมีให้เห็นอยู่บ้าง เช่น ว่าวจรเข้  ว่าวคน  และว่าวงู  แต่ถ้าเป็นว่าวที่นิยมเล่นกันมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นว่าวนกกับว่าววงเดือนเป็นแน่
  อีกอย่าง  "นักเลงว่าว"  ชาวใต้นิยมเล่นว่าวแบบมีแอก  (สะนูว่าว)  ประกอบว่าวเพื่อประชันเสียงด้วยว่าว่าวตัวไหนมีเสียงแอกดังและไพเราะมากกว่ากัน  ผู้เล่นมักชักว่าวขึ้นในตอนบ่ายแล้วเก็บว่าวลงในรุ่งเช้าของวันถัดมา  ถือว่าว่าวตัวใดชักขึ้นไว้ค้างคืนได้นับว่าว่าวตัวนั้นเป็นว่าวที่ดี
กล่าวถึงการเล่นว่าวพื้นบ้านภาคใต้แล้ว  คนรุ่นก่อนจะนิยมเล่นว่าวขนาดใหญ่ที่มีความยาวของปีกประมาณ  3 – - 4 เมตร ว่าวตัวใหญ่จึงต้องใช้คนส่งว่าวถึง  2 – 3  คน  และก็ใช้คนชักประมาณ 3 – 4 คน เมื่อว่าวขึ้นสูงได้ตามต้องการแล้วก็มัดไว้กับต้นไม้ใหญ่  การเล่นว่าวพื้นบ้านภาคใต้ก็เป็นเช่นนี้
                                                                           
สะนู-แอก ว่าว
                                                             


                                         
มารู้จักว่าวพื้นบ้านภาคใต้กันเถอะ

 ว่าวบอก  (ว่าวกระบอก)  หรือว่าวรางหมูเป็นรูปแบบว่าวของเด็กๆ  ที่ทำได้ง่ายโดยใช้กระดาษ
                                                         (ไม่มีภาพ)
สี่เหลี่ยมผืนผ้าพับเข้าหากันให้เป็นรูปทรงกล่องที่เปิดด้านที่ 4 ไว้  พับว่าวให้มีสัดส่วนเป็น 4 ส่วน  คือส่วนหลังกว้าง  2  ส่วน  และส่วนข้างด้านละ 1ส่วน  ใช้เชือกผูกส่วนข้างทั้ง 2 ข้างไว้เป็น (สายพานทรง)บริเวณส่วนบน  ว่าวชนิดนี้ทำได้ง่ายเพราะไม่ต้องมีโครงว่าว  เหมาะอย่างยิ่งกับพวกเด็ก  ๆ

      ว่าวนก  ว่าวชนิดนี้ได้รับความนิยมน้อยกว่าว่าววงเดือน  นิยมเล่นกันมากในจังหวัดพัทลุง  ลักษณะคล้ายนกกางปีกร่อนอยู่บนฟ้า  ส่วนหัวอาจทำเป็นรูปหางนกแผ่บานสวยงาม

                                                       
                                                           
   
ว่าววงเดือน  ว่าวชนิดนี้บ้างเรียกว่าวเดือน  หรือว่าวควาย  บางพื้นที่เรียก วาบูแล  (ภาษายาวี) ทั้งนี้เพราะมีรูปดวงจันทร์เป็นส่วนประกอบบริเวณลำตัวและหางเหมือนเขาควาย
                                                         

                                                       
ว่าวหัวควาย  ว่าวชนิดนี้เกิดจากการผสมผสานระหว่างว่าวหลา  (จุฬา)  กับว่าววงเดือน  แต่ได้เปลี่ยนส่วนที่เป็นรูปดวงจันทร์ให้เป็นรูปหัวควายแทน และจะติดปีกไว้เหนือปีก  เพื่อให้เสียงดังเหมือนเสียงควายร้อง

                                                         

ว่าวเป้า (ปักเป้า)  ว่าวชนิดนี้แบบไม่มีหาง เรียกว่าวอีลุ้ม  มีลักษณะเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม้ไผ่ 2  ชิ้น  ผูกกันเป็นโครงว่าว  โดยปกติแล้วจะต่อหางเป็นแถบยาว  เด็กๆ  ชอบเล่น เพราะเล่นง่าย

                                                       
                                                 
การแข่งว่าวที่ภาคใต้

   ว่าวที่ชาวใต้นิยมนำมาแข่งขันกันคือ ว่าววงเดือน (แบบไม่มีแอก) ใช้แข่งเพื่อดูว่าว่าวตัวไหนขึ้นสูงกว่ากันโดยการปล่อยว่าวด้วยเชือกที่มีความยาวเท่ากัน แล้วเอาไปผูกกับไม้ฉากที่ปักไว้บนพื้นดิน จากนั้นจึงดูว่าเชือกของว่าวตัวไหนทำองศากับไม้ฉากได้มากกว่ากันก็จะเป็นฝ่ายชนะ
การเล่นว่าวในภาคใต้ยังเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง สังเกตได้จากการจัดประเพณีการแข่งว่าวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคมซึ่งมีอยู่ในเกือบทุกจังหวัดของภาคใต้อย่างไรก็ตาม การเล่นว่าวพื้นบ้านภาคใต้ยังคงเป็นการละเล่นที่ให้ความสนุกสนานและผ่อนคลายจากการทำงานหลังฤดูเก็บเกี่ยวอยู่ดังเดิม


                                     
                                                             
 ***สำหรับเด็กเล็กๆ ที่ยังทำว่าวเองไม่เป็นก็อาศัยวัตถุ สิ่งรอบๆด้าน มาทำว่าว เช่นใบเฟรินร์ ชนิดหนึ่ง ภาคใต้เรียก"ใบว่าว " เอาใบแห้งซึ่งจะมีความกว้างประมาณคืบกว่าๆ ยาวเกือบศอก  เอาเชือกกล้วยเส้นเล็กๆ  มาชักเล่น ก็ขึ้นได้สูงพอประมาณ สนุกไปตามวัย(หนึ่งในนั้นก็มีลุงชัยอยู้ด้วย)****

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.prachatai.com
ขอขอบคุณภาพจาก   www.oknation.net   
ขอขอบคุณผู้ฝึกสอนการวางภาพ อ. ชาติ.....   
 



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 18, 2013, 02:20:23 PM โดย ลุงชัยนรา »
บันทึกการเข้า

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **

ยายน้อยค่ะ

  • รองประธาน
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 1085
  • กระทู้: 194
  • Thank You
  • -Given: 1486
  • -Receive: 1085
Re: มาชักว่าวกัน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 18, 2013, 09:59:20 AM »
มองไม่เห็นรูป ค่ะ ลุงชัยเจ้าขา


บันทึกการเข้า

อธิปไตย

  • รักชาติสุดใจ อย่าลืมไทยบ้านนอก
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 1572
  • กระทู้: 1105
  • Thank You
  • -Given: 2222
  • -Receive: 1572
Re: มาชักว่าวกัน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 18, 2013, 10:07:38 AM »
เห็นชื่อหัวข้อกระทู้  :09 เล่นเอาขนลุกขนชันเลยครับลุงชัย :01


บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4066
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4066
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: มาชักว่าวกัน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 18, 2013, 10:54:51 AM »
อะไรนะครับ ?......
       อะไรที่ลุก อะไรที่ชัน ครับ น้องอธิป?   

             ...... :32          ......:49


บันทึกการเข้า

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
Re: มาชักว่าวกัน
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 18, 2013, 11:15:01 AM »
....ครับ..ยายน้อยและทุกท่านครับ กำลังโพสเรื่อง วางภาพ ยังไม่เรียบร้อย เจ้าหลานน้อยตัวเล็กวิ่งโร่มาแต่ไกล "ตาทำอะไร มาน้องจะช่วย"  รีบๆเลยไม่ทำตามขั้นตอน ภาพเลยไม่มี เสียชื่อลูกศิษย์ อ.ชาติ..แย่เลย งั้นจะมาแก้ไขให้ใหม่ครับ


บันทึกการเข้า

อาคม ดอนเมือง

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2051
  • กระทู้: 398
  • Thank You
  • -Given: 3296
  • -Receive: 2051
Re: มาชักว่าวกัน
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: เมษายน 18, 2013, 01:14:18 PM »
 
  มาชักว่าวกัน แต่ไม่มีภาพให้ดู เอ ! แล้วผมจะชักเป็นมั้ยเนี่ย ? ขอบคุณคุณลุงชัยนรา มากนะครับ..สำหรับ
เรื่องราวดีๆเกียวกับกีฬากลางแจ้ง (แต่บางคนแอบเล่นในร่ม) ที่นิยมเล่นกันมาตั้งแต่โบราณจนถึงกาลปัจจุบัน

                             ขอนำภาพว่าว จุฬา vs ปั๊กเป้า มาโชว์ตัวหน่อยนะครับ..

 


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 18, 2013, 01:26:42 PM โดย อาคม ดอนเมือง »
บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4066
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4066
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: มาชักว่าวกัน
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: เมษายน 18, 2013, 01:53:34 PM »
       ว่าวจุฬา(กุลา) และปักเป้า โฉบกันกลางฟ้า น่าดูชม.....
             ขอยก บทกลอนจากเรื่อง"พระอภัยมณี" มาพรรณาโวหารนะครับ

                 *** เกิดกุลา คว้าว่าว ปักเป้าติด    
             กระแซะชิด ขากบ กระทบเหนียง
             กุลาส่าย ย้ายหนี ตีแก้เอียง    
             ปักเป้าเหวี่ยง ยักกะแผละ กระแซะชิด
                              กุลาโคลง ไม่สู้คล่อง กระพร่องกระแพร่ง    
                           ปักเป้าแทง ตะละที ไม่มีผิด
                           จะแก้ไข ก็ไม่หลุด สุดความคิด    
                            ประกบติด ตกผาง ลงกลางดิน***


              ( http://www.vcharkarn.com/vcafe/160226/7 )


บันทึกการเข้า

สมภพ

  • เก็บคนที่ไม่หวังดีไว้ใกล้ๆ จะได้ตบกบาลมันได้สะดวก
  • ผู้ดูแลระบบ
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 22144
  • กระทู้: 5088
  • Thank You
  • -Given: 13577
  • -Receive: 22144
Re: มาชักว่าวกัน
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: เมษายน 18, 2013, 01:54:03 PM »
เห็นชื่อหัวข้อกระทู้  :09 เล่นเอาขนลุกขนชันเลยครับลุงชัย :01

หนุ่มๆ เขาลุกเขาชันกันแต่ผมเฉยๆ หรือว่าเราอายุมาก  :85 :85


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 18, 2013, 02:04:29 PM โดย สมภพ »
บันทึกการเข้า
รับไม่ได้กับเพลงไทยสไตล์ฝรั่ง จนต้องมาวิ่งหาต้นฉบับไว้ฟังอยู่นี่ไง

มหาสุ

  • กรรมการบ้านเพลงไทย
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 749
  • กระทู้: 135
  • Thank You
  • -Given: 323
  • -Receive: 749
Re: มาชักว่าวกัน
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: เมษายน 18, 2013, 02:01:14 PM »
ขอร่วมชักว่าวด้วย
   ขออนุญาตลุงชัยเสริมเติมภาพตามเนื้อหาของลุง
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
สะนู-แอก ว่าว
                                       
มารู้จักว่าวพื้นบ้านภาคใต้กันเถอะ
      ว่าวบอก  (ว่าวกระบอก)  หรือว่าวรางหมูเป็นรูปแบบว่าวของเด็กๆ  ที่ทำได้ง่ายโดยใช้กระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้าพับเข้าหากันให้เป็นรูปทรงกล่องที่เปิดด้านที่ 4 ไว้  พับว่าวให้มีสัดส่วนเป็น 4 ส่วน  คือส่วนหลังกว้าง  2  ส่วน  และส่วนข้างด้านละ 1ส่วน  ใช้เชือกผูกส่วนข้างทั้ง 2 ข้างไว้เป็น (สายพานทรง)บริเวณส่วนบน  ว่าวชนิดนี้ทำได้ง่ายเพราะไม่ต้องมีโครงว่าว  เหมาะอย่างยิ่งกับพวกเด็ก  ๆ
                   (ไม่มีภาพประกอบ)
       ว่าวนก ภาษามลายูเรียกว่า วาบูรง  ว่าวชนิดนี้ได้รับความนิยมน้อยกว่าว่าววงเดือน  นิยมเล่นกันมากในจังหวัดพัทลุง  ลักษณะคล้ายนกกางปีกร่อนอยู่บนฟ้า  ส่วนหัวอาจทำเป็นรูปหางนกแผ่บานสวยงาม
       
        ว่าวนกกา ภาษามลายูเรียกว่า วาบูรงกาเงาะ
       
       
        ว่าวนกนางแอ่น ภาษามลายูเรียกว่า วาบูรงลาแย
       
       
        ว่าววงเดือน  ว่าวชนิดนี้บ้างเรียกว่าวเดือน  หรือว่าวควาย  บางพื้นที่เรียก วาบูแล  (ภาษายาวี) ทั้งนี้เพราะมีรูปดวงจันทร์เป็นส่วนประกอบบริเวณลำตัวและหางเหมือนเขาควาย
         
         
         ว่าวหัวควาย  ว่าวชนิดนี้เกิดจากการผสมผสานระหว่างว่าวหลา  (จุฬา)  กับว่าววงเดือน  แต่ได้เปลี่ยนส่วนที่เป็นรูปดวงจันทร์ให้เป็นรูปหัวควายแทน และจะติดปีกไว้เหนือปีก  เพื่อให้เสียงดังเหมือนเสียงควายร้อง
         
          ว่าวปลาเทวดาหรือจะละเม็ด ภาษามลายูเรียกว่า วาอีแก สามารถต่อตัวว่าวปลาติดต่อกัน 3 ตัว เล่นบนท้องฟ้าได้ครับ
           
         ว่าวแลเมาะ
         
         
         ว่าวแมว ภาษามลายูเรียกว่า วากูจิง
         
       ว่าวจุฬา ภาษามลายูเรียกว่า วาจุลา                                                       
       
       
       ว่าวเป้า  (ปักเป้า)  ว่าวชนิดนี้แบบไม่มีหาง เรียกว่าวอีลุ้ม  มีลักษณะเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม้ไผ่ 2  ชิ้น  ผูกกันเป็นโครงว่าว  โดยปกติแล้วจะต่อหางเป็นแถบยาว  เด็กๆ  ชอบเล่น เพราะเล่นง่าย
       
        ว่าวมโนราห์ ภาษามลายูเรียกว่า วานอรอหรือนอฆอ
             
                                                 
       ว่าวปลาเทวดาหรือปลาจะลาเม็ด ภาษามลายูเรียกว่า วาอีแกหรืออีกัน
       
       
        ว่าวแลเมาะหรือลาเมาะ ภาษามลายูเรียกว่า วาลาเมาะหรือแลเมาะ
         
         
         
          ว่าวตูดลิง ภาษามลายูเรียกว่า วาปาตะบือโระ
         
                 

                                   
 การแข่งว่าวที่ภาคใต้

   ว่าวที่ชาวใต้นิยมนำมาแข่งขันกันคือ ว่าววงเดือน (แบบไม่มีแอก) ใช้แข่งเพื่อดูว่าว่าวตัวไหนขึ้นสูงกว่ากันโดยการปล่อยว่าวด้วยเชือกที่มีความยาวเท่ากัน แล้วเอาไปผูกกับไม้ฉากที่ปักไว้บนพื้นดิน จากนั้นจึงดูว่าเชือกของว่าวตัวไหนทำองศากับไม้ฉากได้มากกว่ากันก็จะเป็นฝ่ายชนะ
การเล่นว่าวในภาคใต้ยังเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง สังเกตได้จากการจัดประเพณีการแข่งว่าวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคมซึ่งมีอยู่ในเกือบทุกจังหวัดของภาคใต้อย่างไรก็ตาม การเล่นว่าวพื้นบ้านภาคใต้ยังคงเป็นการละเล่นที่ให้ความสนุกสนานและผ่อนคลายจากการทำงานหลังฤดูเก็บเกี่ยวอยู่ดังเดิม


                                                         

                                     
                                                             
 ***สำหรับเด็กเล็กๆ ที่ยังทำว่าวเองไม่เป็นก็อาศัยวัตถุ สิ่งรอบๆด้าน มาทำว่าว เช่นใบเฟรินร์ ชนิดหนึ่ง ภาคใต้เรียก"ใบว่าว " เอาใบแห้งซึ่งจะมีความกว้างประมาณคืบกว่าๆ ยาวเกือบศอก  เอาเชือกกล้วยเส้นเล็กๆ  มาชักเล่น ก็ขึ้นได้สูงพอประมาณ สนุกไปตามวัย(หนึ่งในนั้นก็มีลุงชัยอยู้ด้วย)****


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 18, 2013, 04:35:06 PM โดย มหาสุ »
บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4066
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4066
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: มาชักว่าวกัน
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: เมษายน 18, 2013, 02:19:32 PM »
  ท่านใด  ยังเล่นว่าวไม่เป็น....
           ผมขอสอนให้ ...ผ่านคลิปนี้ครับ
       
         ตารีวาบูแล ดีเกบุตรี การแสดง มอ.ตรัง
            <a href="http://www.youtube.com/v/_snzO5J68cg?version=3&amp;amp;hl" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/_snzO5J68cg?version=3&amp;amp;hl</a>
        (ขอบคุณคุณ mannyboy0869632127 และ youtube)


บันทึกการเข้า

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
Re: มาชักว่าวกัน
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: เมษายน 18, 2013, 02:27:37 PM »
  ขอบคุณครับท่านมหา ผมกำลังวางภาพ พอดีเลย แต่ในเมื่อท่านช่วยวางแล้ว ผมก็ไม่ต้องว่างแล้วนะครับ


บันทึกการเข้า

มหาสุ

  • กรรมการบ้านเพลงไทย
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 749
  • กระทู้: 135
  • Thank You
  • -Given: 323
  • -Receive: 749
Re: มาชักว่าวกัน
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: เมษายน 18, 2013, 02:43:40 PM »
ต้องรีบทำครับ กลัวลุงหลายๆลุงจะว่าลุง(ชัย)ชักว่าวไม่ขึ้นนะครับ


บันทึกการเข้า

พีระ

  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 559
  • กระทู้: 189
  • Thank You
  • -Given: 253
  • -Receive: 559
Re: มาชักว่าวกัน
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: เมษายน 18, 2013, 03:08:59 PM »
ผมก็เคยชักว่าวครับ ตอนชักเป็นแรกๆ อูยยย...มันมากครับ
และต้องชักทิ้งไว้ทั้งคืนด้วยนะครับ พอตอนเช้าเอาลงมา
ว่าวเปียกหมดเลยครับ


บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4066
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4066
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: มาชักว่าวกัน
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: เมษายน 18, 2013, 03:30:18 PM »
ต้องรีบทำครับ กลัวลุงหลายๆลุงจะว่าลุง(ชัย)ชักว่าวไม่ขึ้นนะครับ

                 อื้อหืม...... :52......
                         เหตุผล เด็ดจริงๆครับ


บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4066
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4066
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: มาชักว่าวกัน
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: เมษายน 18, 2013, 03:34:32 PM »
ผมก็เคยชักว่าวครับ ตอนชักเป็นแรกๆ อูยยย...มันมากครับ
และต้องชักทิ้งไว้ทั้งคืนด้วยนะครับ พอตอนเช้าเอาลงมา
ว่าวเปียกหมดเลยครับ

             อา...จ๊า !!!   :09
                    เชื่อเขาเลยครับ ว่ามันส์มาก..


บันทึกการเข้า