กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: ซีละ - ศิลปะป้องกันตัว - การแสดงของชาวใต้  (อ่าน 7838 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
                                           


สิละ , ซีละ หรือไทยมุสลิมทางภาคใต้ เรื่ยกว่า ดีกา , บือดีกา  เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่า  เน้น ให้เห็น ลีลาการเคลื่อนไหวอย่างสวยงามซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวอย่าง หนึ่งของชาวไทยมุสลิม    การต่อสู้แบบสิละนี้มีมาตั้งแต่  400 ปีมาแล้ว โดย กำเนิดขึ้นที่เกาะสุมาตรา
          คำว่า   สิละ   บางครั้งเขียนหรือพูดเป็น  ซีละ  หรือ  ซิละ เข้าใจว่ารากศัพท์มาจาก   ศิละ  ภาษาสันสกฤตเพราะดินแดนชวามลายูในอดีตเป็น ดินแดนของอาณาจักศรีวิชัยซึ่งมีวัฒนธรรมอินเดียเป็นแม่บทสำคัญ  ดังปรากฎคำ สันสกฤตอยู่   ชึ่ง สิละนั้นหมายถึง  การต่อสู้ด้วยน้ำใจ  นักกีฬา  ผู้ เรียนวิชานี้ต้องมีศิลปะมีวินัยที่จะนำกลยุทธ์ไปใช้ป้องกันตัว   มิใช่ไปทำ ร้ายผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน   ก่อนการฝึกสิละผู้เรียน จะต้องเตรี ยมข้าวของเพื่อไหว้ครูก่อนประกอบด้วย  ผ้าขาว  ข้าวสมางัด  ด้ายขาว  และ แหวน  1  วงมามอบให้กับครูฝึก  ผู้เรียนจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า  15   ปี ระยะเวลาในการเรียน  3 เดือน 10 วัน (หรือ  100 วัน)จึงถือว่า จบหลักสูตร  โดยมีครูผู้สอน  1  คนต่อศิษย์ผู้เรียน  14  คนในรุ่นหนึ่งๆคนที่เก่งที่สุดจะได้รับแหวนจากครูและได้รับเกียรติเป็นหัวหน้าทีมและสอนแทนครูได้
 สิละ ปัจจุบันอันวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและของชาติกำลังจะ ถูกกลืนและเลือนหายไปจากสังคมคนไทยมุสลิมภาคใต้ของไทย  เนื่องมาจากสภาวะการณ์ทางสังคม  การเอาใจใส่ช่วยเหลือจากสังคมหลักและการขาดการเข้าใจ   เข้าถึงวัฒนธรรมของท้องถิ่นของหน่วยงานที่จะเข้ามาดูแลและให้การช่วยเหลือในการสนับสนุน
อนุรักษ์วัฒนธรรมของท้องถิ่นอันเป็นรากเหง้าที่เป็นต้นแบบนำไปสู่ศิลปะการแสดงต่างๆนานาของสังคมประเทศชาติรากเหง้าที่เป็นต้นแบบ
นำไปสู่ศิลปะการแสดงต่างๆนานาของสังคมประเทศชาติหลักอันสิ่งที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของชาติ     สิละกำลังตกอยู่ในสภาวการณ์ที่น่าเป็น
ห่วง อย่างยิ่ง สิละนับตั้งแต่สมัยอดีตเป็นทั้งศิลปะที่ใช้ในการต่อสู้จวบจน กระทั่งมีวิวัฒนาการมีการปรับเปลี่ยนใช้เป็นการร่ายรำต่อสู้อวดลีลาท่า ทางกระบวนการต่อสู้อย่างสวยงามสมจริง  สิละนี้เป็นศิลปะการต่อสู้ที่คล้าย กับมวยจีนหรือกังฟู  ทำให้ชวนนึกไปถึงการสืบเนื่องมาจากพ่อค้าชาวจีน เข้ามาทำการค้าขายในเมืองปัตตานีดังในตำนานเมืองปัตตานี  หลายตำนานที่มีชาว จีนเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเมื่อเข้ามาทำการค้าขายก็อาจได้เอาศิลปะการ ต่อสู้ของตนเองเข้ามาผสมผสานเข้ากับการต่อสู้แบบพื้นเมือง     อย่างไรก็ตาม ยังมีที่มาของสิละหลายสำนวนที่ยังหาข้อสรุปที่แน่นอน
ไม่ได้
                                             
ที่มาเอกสารประกอบการเขียน  : ประพันธ์    เรืองณรงค์.สิละ".สารานุกรมวัฒนธรรมไทย  ภาคใต้  เล่มที่  16 (2542): 8029 -
    สิละเป็นคำที่มาจากภาษามลายูเป็นการต่อสู้ป้องกันตัวที่พัฒนามาเป็นศิลปการรำ ผู้แสดงจะต้องรำไหว้ครูกันคนละทีก่อนจะต่อสู้กันประมาณ10นาที โดยใช้เครื่องดนตรีจำพวกฆ้อง กลองแขกและปี่ชวา ประกอบการแสดง ผู้เล่นแต่งตัวแบบมลายูนุ่งกางเกงขายาว สวมเสื้อแขน สั้นหรือแขนยาว นุ่งผ้าทับบนเสื้อปิดลงไปเหนือเข่าเล็กน้อย ใช้ผ้าโพกศรี ษะ ส่วนสถานที่เล่นนิยมใช้พื้นดิน โดยให้ผู้นั่งล้อมวงดูโดยรอบ
 การละเล่นนี้สันนิษฐานกันว่า เป็นศิลปดั้งเดิมของชาวเมนังกาเบาในสุมาตรา และได้แผ่ขยายมายังมลายูจนถึงภาคใต้ของไทย
สิ ละ คือ การแสดงการต่อสู้ คำว่า สิละ เข้าใจว่าจะมาจากภาษาสันสกฤตที่หมาย ถึง การส่งเสริมความซื่อสัตย์ เพราะผู้ที่เรียนวิชาสิละต้องปฏิญาณ
ว่าจะ ใช้วิธีนี้ป้องกันตนเองเท่านั้น ไม่ข่มเหงรังแกใคร กล่าวกันว่ามีอายุ กว่า 400 ปี มาแล้ว โดยมีกำเนิดที่เกาะสุมาตรา แต่เดิมนั้นไม่ค่อยมีแบบ
แผนอะไรมากนัก เพราะเป็นการเล่นอย่างหนึ่ง โดยมิได้มุ่งหมายจะต่อสู้กันอย่างจริงจัง ปรากฏว่าในพิธีแต่งงานจะมีการแสดงสิละอยู่ด้วย
 เรียกว่า สิละมีดาน คือ สิละข้าวเหนียว ซึ่งในบางท้องถิ่นก็ใช้ในการหมั้นก่อนแต่งงาน
            ผู้ แสดงสิละจะใช้มือเปล่าแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าหลวม ๆ โพกผ้าบนศีรษะ และจะเริ่ม ด้วยการร่ายรำซึ่งมีตำนานกล่าวว่ามาจากดอกอินทนิล(ดอกบองอร์) ที่ไหลไป ตามน้ำ จึงมีทั้งหมุนตัวและเดินคดเคี้ยวไปมา การต่อสู้จะเริ่มด้วยการใช้ปี่ และกลอง ฆ้องคล้ายมวยไทย ปัจจุบันกลายเป็นกีฬาอย่างหนึ่งของประเทศอาเซี่ยน
องค์ประกอบในการแสดง
๑. ผู้แสดง ซีละคณะหนึ่ง ๆ มีอย่างน้อย ๕ คน ผู้เล่นดนตรี ๓ คน ผู้เล่นซีละ ๒ คน การเล่นซีละจะเป็นการแสดงศิลปะการต่อสู้เป็นคู่ ต่อสู้ตัวต่อตัว ผู้เล่นจึงมี ๒ คนเป็นอย่างน้อย
๒. เครื่องดนตรีซีละเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่มีดนตรีประกอบเช่นเดียวกับ มวยไทยมี ๓ ชนิด คือ ฆือแน(กลองแขก) จำนวน ๑ - ๒ ใบ ฆง(ฆ้อง) จำนวน ๑ ใบ ซูนา(ปี่) จำนวน ๑ เลา
๓. เวทีการแสดง ปกติแสดงกันบนพื้นดิน สนามหญ้า หรือลานบ้าน ถ้ามีการรับเชิญไปแสดงบนเวทีก็แสดงได้ แต่ไม่ค่อยนิยมกัน
                                             

วิธีการแสดง
ผู้แสดงนิยมแต่งกายรัดกุม นุ่งกางเกงขายาว (แบบกางเกงจีน) ใส่เสื้อยืดคอกลมมีแขน มีผ้าลวดลายสวยงามพันทับจากเอวถึงเหนือเข่าและใช้ผ้าคาดสะเอว ไม่สวมรองเท้า ถ้าเป็นซีละมือเปล่าก็จะไม่พันมือ ถ้าเป็นซีละกริชจะเหน็บกริชด้วย เมื่อดนตรีประโคมนักซีละก็จะก้าวออกมาสู่เวทีทั้งคู่ แล้วผลัดกันไหว้ครูทีละคน และทำความเคารพผู้ชมโดยการโค้งคำนับ นั่งหรือยืนไหว้ หลังจากนั้นคู่ต่อสู้จะออกมาสลามัตต่อกัน (การทำความเคารพแบบพื้นเมือง) คือยื่นมือทั้งสองออกไปขอสัมผัสกัน แล้วเอาฝ่ามือทั้งสองข้างของตนมาแตะที่หน้าผากกับหน้าอก ต่อจากนั้นนักซีละทั้งคู่ก็เริ่มแสดงลวดลายท่าร่ายรำ ดูชั้นดูเชิงกันก่อน ต่างก็ให้คู่ต่อสู้เห็นกล้ามเนื้ออันทรงพลังของตน เพื่อเป็นการข่มขวัญ บางครั้งจะกระทืบเท้า ตบมือฉาด ๆ หรือใช้ฝ่ามือตบต้นขาของตนให้เกิดเสียงดังเพื่อข่มคู่ต่อสู้
พอแสดงลวดลายร่ายรำ กระทืบเท้า ตบมือ ตบขา ขู่สำทับดูชั้นเชิงกันพอสมควรแล้ว ดนตรีจะประโคมเร่งเร้าให้นักซีละคึกคะนอง นักซีละก็จะขยับเข้าใกล้กันและหาจังหวะเข้าห้ำหั่นซึ่งกันและกัน เพื่อให้คู่ต่อสู้เพลี่ยงพล้ำ พ่ายแพ้ เช่น หาจังหวะใช้มือหรือเท้าฟาดลำตัวหรือกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของคู่ต่อสู้ ถ้าคู่ต่อสู้เตะ อีกฝ่ายหนึ่งก็มักแก้โดยการใช้มือผลักหรือปัดขาคู่ต่อสู้แล้วชกสวนตรงหน้า หรือลำตัวอย่างฉับไว หรือหาจังหวะที่จะใช้น้ำหนักตัวทุ่มทับลงบนบ่า คู่ต่อสู้ก็พยายามต่อสู้แล้วขัดขาให้คู่ต่อสู้ล้ม เมื่อฝ่ายหนึ่งเข้าต่อสู้แบบนี้คู่ต่อสู้ที่ฉลาดจะแก้ไขโดย พยายามสปริงตัวออกห่าง หรือถ้าล้มไปแล้วก็จะพยายามที่จะจับจุดอ่อนของคู่ต่อสู้เพื่อทำลายพลัง มือจึงไขว่คว้าป้องปัดเป็นพัลวัน ขณะนั้นดนตรีจะเร่งรุดโหมประโคมในจังหวะกระชั้นเป็นการเร่งความระทึกใจแก่ ผู้ชม และเพิ่มความคึกคะนองให้แก่นักซีละ
เมื่อนักซีละแสดงไปจนหมดลีลา ซึ่งใช้เวลาประมาณคู่ละ ๑๕ - ๒๐ นาที หรือเมื่อมีการแพ้ชนะกันแล้วทั้งคู่จะถอยห่างออกจากกัน แล้วทำความเคารพผู้ชม ทำความเคารพต่อกันเป็นการจบสิ้นสำหรับการแสดงซีละคู่นั้น ถ้ามีการแสดงคู่อื่นอีกก็ก้าวออกไปสู่เวทีแล้วเริ่มต้นตลอดจนจบลงด้วยลักษณะ เดียวกัน
การเล่นซีละไม่มีการพักเป็นยก ไม่มีการให้น้ำ ไม่มีพี่เลี้ยง ไม่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนและไม่มีกรรมการ ทั้งนี้เพราะนักซีละแต่ละคนจะมีระเบียบวินัยในตนเอง มีความซื่อสัตย์เคารพกติกา ไม่เอารัดเอาเปรียบคู่ต่อสู้โดยใช้เล่ห์เหลี่ยมนอกลู่นอกทางศิลปะของซีละ
กติกาในการต่อสู้มีข้อห้ามดังนี้
๑. ห้ามใช้นิ้วแทงตา
๒. ห้ามบีบคอ
๓. ห้ามชกต่อยแบบมวย
๔. ห้ามใช้เข่าแบบมวยไทย
๕. ห้ามเตะหรือตัดล่าง
๖. ห้ามใช้ศอก ทั้งศอกสั้นและศอกยาว
                                                 
สำหรับเกณฑ์การตัดสินนั้น ถ้าฝ่ายใดสามารถทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงได้เพียงฝ่ายเดียวโดยที่ตนไม่ล้มเลยถือว่าฝ่ายนั้นชนะขาด แต่ถ้าต่างฝ่ายต่างไม่ล้มหรือล้มพอ ๆ กัน ผู้ชมก็จะเป็นผู้ตัดสินโดยใช้เสียงปรบมือซีละนิยมเล่นกันในหมู่ชายเท่านั้น ในหมู่หญิงไม่นิยม และสามารถพูดได้ว่าไม่เคยเห็นผู้หญิงเล่นซีละเลย ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากการเล่นซีละเป็นการแสดงหรือกีฬาที่ใช้กำลังมาก มีลีลาท่าทางที่ไม่ต้องกับธรรมเนียมของผู้หญิงไทยมุสลิม ซึ่งเรียบร้อย นิ่มนวล อ่อนหวาน ไม่นิยมการเล่นที่โลดโผนโจนทะยาน ซีละจึงเป็นการเล่นที่ผิดเพศสำหรับหญิงไทยมุสลิม ความเชื่อและวัฒนธรรมอื่นที่เกี่ยวข้องการเล่นซีละมีความเชื่อและวัฒนธรรมอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องไม่น้อยทีเดียว นับตั้งแต่การเริ่มฝึกหัด ศิษย์ใหม่จะต้องไหว้ครูมอบตัวยอมรับว่าเป็นศิษย์ของครูเสียก่อนที่จะมีการ เรียนการสอน แต่การไหว้ครูของซีละไม่จำเป็นที่จะต้องทำพิธีในวันพฤหัสบดี เพราะไม่ได้นับถือเทพเจ้าพฤหัสบดีว่าเป็นครูของเทพทั้งหลายเหมือนคติที่ชาว ไทยนับถือกัน และไม่ได้กระทำอาการกราบเพราะผิดหลักการทางศาสนาที่ได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น ตลอดทั้งไม่ต้องทำกันทุก ๆ ปี ศิษย์คนหนึ่งจะประกอบพิธีไหว้ครูเพียงครั้งเดียวเมื่อเข้ามาเป็นศิษย์ใหม่ ของสำนักเท่านั้น

โอกาสที่แสดง
ใช้แสดงในงานเทศกาลสำคัญ งานแก้บน งานเข้าสุหนัต หรืองานเฉลิมฉลองในโอกาสต่าง ๆ
                                               

คุณค่า
ผู้แสดงได้แสดงไหวพริบด้านศิลปะการต่อสู้ เป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอนามัยและสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ   
   
                                             
   

ขอขอบคุณข้อมูล    จากวิกิพีเดีย
ขอขอบคุณภาพจาก อินเตอร์เน็ต
ขอขอบคุณผู้ฝึกสอนการวางภาพ อ.ชาติ.....


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 21, 2013, 11:10:41 PM โดย ลุงชัยนรา »
บันทึกการเข้า

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: ซีละ - ศิลปะป้องกันตัว - การแสดงของชาวใต้
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 22, 2013, 12:14:28 PM »
แจมคลิป ซีละ จากยูทูปครับ

      Muzik Gendang Silat Kelantan (ของรัฐกลันตัน มาเลเซีย)
       <a href="http://www.youtube.com/v/oVIEtYj0FsY?version=3&amp;amp;hl" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/oVIEtYj0FsY?version=3&amp;amp;hl</a>
       (ขอบคุณคุณ DeeD D และ youtube)

 


บันทึกการเข้า

น้องนางบ้านนา

  • การศึกษาของไทยคือ-อะไรก็ได้ที่ง่ายๆ แล้วได้ปริญญา
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2617
  • กระทู้: 546
  • Thank You
  • -Given: 2027
  • -Receive: 2617
Re: ซีละ - ศิลปะป้องกันตัว - การแสดงของชาวใต้
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 23, 2013, 07:19:36 PM »
ใช่ที่เขาว่า-ปัจจสีลัต-ม่ะ..
...เพราะอันที่ผมว่าทางประเทศเพื่อนบ้านก็ว่ามาจากของเขา...
....แต่ก็รักษากันให้ดีน่ะ....อย่าให้เป็นอย่างมวยไทยเด้อ...


บันทึกการเข้า
โชคอยู่ที่การแสวงหา วาสนาอยู่ที่การกระทำ
จงโง่บางโอกาส จงฉลาดบางเวลา
-

เผ่าพงษ์ ปัตตานี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2009
  • กระทู้: 507
  • Thank You
  • -Given: 3223
  • -Receive: 2009
Re: ซีละ - ศิลปะป้องกันตัว - การแสดงของชาวใต้
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 24, 2013, 12:15:08 AM »
                                          ประวัติกีฬาปันจักสีลัต
       
             ปันจักสีลัต (Pencak Silat) เป็นคำที่มาจากภาษาอินโดนีเซียมาจากคำว่า ปันจัก (Pencak) หมายถึงการป้องกันตนเอง และคำว่า สีลัต (Silat) หมายถึงศิลปะ รวมความแล้วหมายถึงศิลปะการป้องกันตนเอง กีฬาประเภทนี้เดิมเป็นศิลปะการต่อสู้ของคนเชื้อสายมาลายู ในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน และพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา สตูล นราธิวาส และสงขลา เรียกว่า “สิละ” “ดีกา” หรือ “บือดีกา” เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าเท้าเปล่า เน้นให้เห็นลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงาม มีบางท่านกล่าวว่า สิละมีรากคำว่า ศิละ ภาษาสันสกฤต
 
          ทั้งนี้เพราะดินแดนของมลายูในอดีตเคยเป็นดินแดนอาณาจักรศรีวิชัย ที่มีวัฒนธรรมอินเดียเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ จึงมีคำสันสกฤตปรากฏอยู่มาก ประวัติความเป็นมาของปันจักสีลัตนั้น มีตำนานเล่าต่อกันมาหลายตำนาน ซึ่งมีส่วนตรงกันและแตกต่างกันบ้างโดยเฉพาะต้นกำเนิดของกีฬาประเภทนี้ซึ่ง เขียนขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศที่ได้เขียนมา อินโดนีเซียเล่าไปอย่างหนึ่ง มาเลเซียก็เล่าไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป แต่สำหรับครั้งนี้จะขอนำบทความส่วนหนึ่งที่เขียนโดย อาจารย์ประพนธ์ เรืองณรงค์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องสิละมวยไทยมุสลิม เพื่อเป็นการศึกษาในเรื่องสิละที่ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดทางภาคใต้รู้จักกันดี

ท่ารำกำเนิดจากช่อดอกบอมอร์ในกระแสน้ำวน
          Mubin Sheppard ได้กล่าวถึงตำนานสิละไว้ว่า การต่อสู้แบบสิละมีมาตั้งแต่ 400 ปีมาแล้วโดยกำเนิดที่เกาะสุมาตรา ต่อมาผู้สอนได้ดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับยุคสมัย ตำนานว่า สมัยหนึ่งสามสหายเชื้อสายสุมาตรา ชื่อ บูฮันนุดดิน ซัมซุดดิน และฮามินนุดดิน เดินทางจากมินังกาบัง ฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตราไปศึกษาวิทยายุทธ ณ เมืองอะแจ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสุมาตรา สำนักวิทยายุทธนั้นอยู่ใกล้สระน้ำใหญ่ น้ำในสระไหลมาจากหน้าผาสูงชัน ริมสระมีต้นบอมอร์ ออกดอกสีม่วงสดกลมกลืนกับสีนกกินปลา ซึ่งถลาร่อนเล่นน้ำเนืองนิตย์ วันหนึ่ง ฮามินนุดดินไปตักน้ำที่สระแห่งนั้น เขาสังเกตเห็นว่าแรงน้ำตกทำให้น้ำในสระเป็นระลอกคลื่นหมุนเวียน และที่น่าทึ่งคือ ดอก บอมอร์ช่อหนึ่ง ซึ่งหล่นจากต้น ถูกน้ำพัดตกลงกลางสระแล้วจึงถอยย้อนกลับไปใกล้ตลิ่งลอยไปลอยมา เช่นนี้ประหนึ่งว่ามีชีวิต จิตใจ ฮามินนุดดิน เพิ่มความพิศวงถึงกับวางกระบอกไม้ไผ่ซึ่งบรรจุน้ำ แล้วจ้องมองดอกไม้ในสระเป็นเวลานาน จากนั้นชายหนุ่มรีบคว้าดอกไม้ช่อนั้นกลับมา เขาได้นำลีลาการลอยของดอกบอมอร์มาประยุกต์สอนการร่ายรำให้แก่เพื่อนทั้งสอง และช่วยกันคิดวิธีเคลื่อนไหวโดยอาศัยแขนขา เพื่อป้องกันฝ่ายปรปักษ์ วิชาสิละจึงเกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้

          เมื่อสามสหายเดินทางกลับถิ่นเดิมแล้ว ต่างตั้งตัวเป็นครูสอนวิทยายุทธและศาสนาอิสลาม ปรากฏว่ามีผู้สนใจสมัครฝึกฝนการต่อสู้แบบสิละจนเป็นที่แพร่หลายออกไปตาม ลำดับ เมื่อจะฝึกสิละ ผู้สมัครใจต้องนำไหว้ครู โดยนำผ้าขาว ข้าวสมางัด ด้ายขาว และแหวน 1 วง มามอบให้กับครูฝึก ผู้เป็นศิษย์ใหม่จะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี ระยะเวลาที่เรียน 3 เดือน 10 วัน จึงจะจบ หลักสูตรการสอนนั้นจะมีครูสิละคนหนึ่งต่อศิษย์ 14 คน ในรุ่นหนึ่ง ๆ ผู้ที่เก่งที่สุดจะได้รับแหวนจากครู และได้รับเกียรติเป็นหัวหน้าทีมและสอนแทนครูได้ การแต่งกายของนักสิละเท่าที่สังเกตมุ่งที่ความสวยงามเป็นประการสำคัญ เช่น มีผ้าโพกศีรษะ สวมเสื้อคอกลมหรือคอตั้ง นุ่งกางเกงขายาว แล้วมีผ้าโสร่งเรียกผ้าชอเกตลาย สดสวยสวมทับพร้อมกับมีผ้าลือปักคาดสะเอวหรือมิฉะนั้นก็คาดเข็มขัดทับโสร่ง ให้กระชับ นอกจากนั้นเหน็บกริชตามฉบับนักสู้ไทยมุสลิม

          เครื่องดนตรีสิละประกอบด้วยกลองยาว 1 ใบ กลองเล็ก 1 ใบ ฆ้อง 1 คู่ และปี่ยาว 1 เลา เมื่อนักสิละขึ้นบนสังเวียนแล้ว ดนตรีจะประโคมเรียกความสนใจคนดู โดยเฉพาะเสียงปี่เร้าอารมณ์ไม่ยิ่งหย่อนกว่ามวยไทย การไหว้ครูแบบสิละนั้น เขาไหว้ทีละคน วิธีการไหว้ครูแต่ละสำนักแตกต่างกันไป สังเกตว่าขณะรำไหว้ครูนั้น นักสิละจะทำปากขมุบขมิบว่าคาถาเป็นภาษาอาหรับ และที่สำคัญคือขอพรสี่ประการ สรุปเป็นภาษาไทยดังนี้
          o ขออโหสิกรรมแก่คู่ชิงชัย
          o ขอให้ปลอดภัยจากปรปักษ์
          o ขอให้เป็นที่รักแก่เพื่อนบ้าน
          o ขอให้ท่านผู้ชมนิยมศรัทธา

เริ่มต้นด้วยการสาลามัต
     
          ก่อนนักสิละลงมือต่อสู้ ทั้งคู่จะทำความเคารพกันและกัน เรียกว่า “ สาลามัต” คือต่างสัมผัสมือแล้วแตะที่หน้าผาก หลังจากนั้นจึงเริ่มวาดลวดลายร่ายรำตามศิลปะสิละ บางครั้งนักสู้ต่างกระทืบเท้าให้เกิดเสียงหรือมิฉะนั้นเอาฝ่ามือตีที่ต้นขา ของตนเอง เพื่อให้เกิดเสียงข่มขวัญปรปักษ์ เมื่อรำไปรำมา หรือก้าวไปถอยมา ประหนึ่งว่าเป็นการลองเชิงพอสมควรแล้วต่างหาทางพิชิตคู่ต่อสู้ คือหาจังหวะให้มือฟาดหรือใช้เท้าดันร่างกายฝ่ายตรงกันข้าม จังหวะการประชิดตัวนั้นดูเหมือนว่าจะห้ำหั่นกันชั่วฟ้าแลบ ขณะนั้นดนตรีก็โหมจังหวะกระชั้น พลอยให้คนดูระทึกใจ ฝ่ายใดทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงหรืออาศัยการตัดสินจากผู้ดูรอบสนามว่าเป็นเสียง ปรบมือให้ฝ่ายใดดัง ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะ

          กติกาข้อห้ามที่นักสิละต้องเว้น ได้แก่ ห้ามเอานิ้วมือแทงตาคู่ต่อสู้เพราะต่างไม่สวมนวมและไม่กำมือแน่นอย่างชกมวย ไทยหรือมวยสากล ถัดมาคือห้ามบีบคอ ห้ามต่อยแบบมวยไทย เช่น ใช้ศอก และเข่า

          กระบวนชั้นเชิงสิละ ตามที่ Mobin Shoppard เขียนไว้ในหนังสือ Teran Mndera มีมากมายหลายท่าเช่น
          o ซังคะ ตั้งท่าป้องกัน
          o ลังคะดาน ท่ายืนตรงพร้อมต่อสู้
          o ลังคะทีฆา ท่ายกมือป้องกัน คือมือขวาปิดท้องน้อยแขนซ้ายยกเสมอบ่า
          o ลังคะเลิมปัด ท่าก้าวไปตั้งหลักเบื้องหน้าปรปักษ์ โดยก้าวเท้าทั้งสองอย่างรวดเร็ว

สิละของมุสลิมภาคใต้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

          • สิละยาโต๊ะ คือ สิละอาศัยศิลปะการต่อสู้ เมื่อฝ่ายหนึ่งรุกอีกฝ่ายหนึ่งต้องรับ ถ้ารับไม่ได้ก็จะตกไป เลยเรียกว่า สิละยาโต๊ะ (ตก) ส่วนมากใช้ในการแข่งขันประชันฝีมือ
          • สิละตารี (รำ) คือ สิละที่ต่อกรด้วยความชำนาญในจังหวะลีลาการร่ายรำ ส่วนมากแสดงเฉพาะ หน้าเจ้าเมืองหรือเจ้านายชั้นสูง
          • สิละกายอ (กริช) คือ สิละใช้กริชประกอบการร่ายรำไม่ใช้การต่อสู้จริง ๆ แต่อวดลีลากระบวนท่าทางต่อสู้ ส่วนมากแสดงในเวลากลางคืน

          รวมความแล้ว จุดประสงค์ส่วนใหญ่ของสิละมุ่งศิลปะการร่ายรำมากกว่าศิลปะการต่อสู้แบบสม จริง ท่าทางยกไม้ยกมือมีส่วนคล้ายคลึงกับมวยจีนหรือกังฟู ชวนให้คิดไปว่าต้นกำเนิดสิละนั้น อาจมิใช่อย่าง Mubin Sheppard เสนอไว้ข้างต้นคงสืบเนื่องมาจากพ่อค้าจีน นำศิลปะของตนมาเผยแพร่ ณ เมืองปัตตานีครั้งโบราณ ตำนานปัตตานีมักปรากฏชาวจีนเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอไม่ว่าเป็นตำนานของลิ่มโต๊ะ เคี่ยมนายช่างปืนใหญ่ นางพญาตานี และตำนานลิ่มกอเหนี่ยวผู้เป็นน้อง เมื่อชาวจีนเข้ามาค้าขายที่เมืองปัตตานีแล้วก็นำศิลปะการต่อสู้ของตนมาเผย แพร่ ผสมผสานกับมวยพื้นเมือง จึงเป็นศิลปะการต่อสู้แบบใหม่เรียกว่า สิละ อย่างไรก็ตาม ยังมีที่มาของสิละอีกหลายสำนวนซึ่งยังสรุปแน่นอนมิได้

กีฬาปันจักสีลัตในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ
     
          กีฬาปันจักสีลัตที่มีการแข่งขันในระดับนานาชาติ ในปัจจุบันนี้อยู่ภายใต้กติกาและระเบียบการแข่งขันของสหพันธ์ปันจักสีลัต นานาชาติ ตั้งอยู่ ณ นครจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ได้จัดให้มีการแข่งขันปันจักสีลัตชิงแชมป์โลกมาแล้ว 7 ครั้ง ครั้งสุดท้ายจัดขึ้นที่อำเภอหาดใหญ่ ประเทศไทย ปีพ.ศ. 2537 มีนักกีฬาจาก 18 ประเทศเข้าร่วมในการแข่งขันครั้งนี้ และกีฬาปันจักสีลัตก็ได้รับบรรจุให้มีการแข่งขันเป็นครั้งแรก ในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 14 ณ นครจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2530 และได้มีการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ในครั้งต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน ครั้งล่าสุดในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 20

กีฬาปันจักสีลัตในปัจจุบัน
     
          กีฬาปันจักสีลัตได้เปลี่ยนโครงสร้าง โดยจัดประเภทของการแข่งขันซึ่งเดิมจัดให้มีการแข่งขัน 2 ประเภท ในการแข่งขันชิงแชมป์นานาชาติ และการแข่งขันชิงแชมป์โลก คือ ประเภทการต่อสู้จริง และการแสดงศิลปะการต่อสู้ (เป็นการแสดง) แต่การแข่งขันปันจักสีลัตในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 13-18 มีการแข่งขันเพียงประเภทเดียว คือ ประเภทการต่อสู้ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยแยกการแข่งขันออกเป็น 4 ประเภท เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในการแข่งขันปันจักสีลัตชิงแชมป์โลก ปี 1997 ณ ประเทศมาเลเซีย และการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 19 ประเทศอินโดนีเซีย จนถึงปัจจุบัน

ข้อมูลจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)
http://www.sat.or.th

 

 


บันทึกการเข้า