กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: “บานอ” ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านทรงคุณค่าชายแดนใต้  (อ่าน 3490 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
***สวัสดีครับ เพื่อนร่วมบ้านเพลงไทย ที่รักทุกท่าน วันนี้ขอนำเสนอ เครื่องดนตรีพื้นบ้าน ของนราธิวาส อีกชิ้นหนึ่งซึ่งนับวันจะหาฟัง หาชมยาก แต่ก็ต้องขอขอบคุณ สนง. วัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส ที่ช่วยรื้อฟื้น ส่งเสริม จนกลายมาเป็นการแสดงอีกอย่างหนึ่ง ของจังหวัด นั่นคือ...
                                                      บานอ
                                               
   
                                                   
    ภาคใต้ เป็นดินแดนที่ติดทะเลทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับมลายู ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง ขนบประเพณีวัฒนธรรมและบุคลิกบางอย่างคล้ายคลึงกัน คือ พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจ รวดเร็ว เด็ดขาด การแต่งกาย การแสดง เพลง และดนตรีคล้ายคลึงกันมาก นาฏศิลป์ของชาวไทยภาคใต้ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1.การแสดงพื้นบ้าน 2.ระบำพื้นบ้าน การแสดงพื้นบ้าน สามารถแบ่งออกออกตามลักษณะของพื้นที่ ดังนี้ 1.พื้นที่ ภาคใต้ตอนบน ได้แก่ โนรา เพลงบอก เพลงเรือ คำตัก เพลงชาน้อง 2.พื้นที่ ภาคใต้บริเวณลุ่มนำทะเลสาบสงขลา ได้แก่ โนรา หนังตะลุง กาหลอ โต๊ะครึม(นายลิมนต์) เพลงเรือ 3.พื้นที่ ชายฝั่งทะเลอันดามัน ลิเกป่า รองเง็งชาวเล รองเง็งตันหยง กาบง กาหยง ดาระ 4.พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง รองเง็งปัตตานี ดิเกร์ฮูลู ซีละ มะโย่ง(บือดีกา) บานอ กรือโต๊ะ ตือตรี
ส่วนระบำพื้นบ้าน ได้แก่ ตารีกีปัส ระบำร่อนแร่ ระบำกรีดยาง เป็นต้น 
        บานอ " บานอ " มาจากภาษามาเลเซีย "รือบานอ" ได้รับอิทธิพลมาจากรัฐกลันตันในการนำวัวกลับบ้าน หรือมาพบกันที่หนึ่งที่ใด ปัจจุบันได้วิวัฒนาการมาเรื่อย ๆประเทศมาเลเซีย เดิมทีนั้นมา จากเด็กเลี้ยงวัว ทำขึ้นมาเพื่อตีนัดหมาย หรือมีสัญญาณ จนเล่นเป็นรูปแบบและมีกติกาใช้ในการละเล่นประชันเสียงเพื่อการแข่งขัน    เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งที่นิยมกันมากแถบอำเภอสุไหงโกลก อำเภอแว้ง อำเภอสุไหงปาดี จัหวัดนราธิวาส บานอเป็นกลองขนาดใหญ่ที่พัฒนามาจาก กลองเดาะดุ๊ ซึ่งเป็นของชาวนครเมกาในสมัยโบราณ

วิธีการแสดง
    ถ้าไม่ใช่เป็นการเล่นเพื่อแข่งขัน แต่เป็นการประโดมงานให้คึกคักตามที่เจ้าภาพต้องการ คณะกลองบานอจะไม่มีการเรียกค่าจ้างรางวัลแต่อย่างใด แต่เจ้าภาพต้องเลี้ยงดูคณะซึ่งมีประมาณ 60 - 70 คน ถ้าเป็นการละเล่นเพื่อแข่งขัน ก็จะมีกรรมการตัดสิน มีกติกาซึ่งมีเกณฑ์การตัดสินดังนี้ คือ คณะใดเสียงดังกว่า คณะเสียงดังกระหึ่มกลมกลืนดีกว่า การประสานเสียงและจังหวะของเสียงดีกว่า ความสามารถในการประดิษฐ์ลีลาจังหวะเพลงใหม่กว่า

                                                   
 
    ความเชื่อ

    เชื่อว่าไม้ที่เอามาทำบานอมีผีเจ้าไม้สถิตอยู่ ไม้ที่นำมาทำกลองบานอต้องเป็นไม้หลุมพอ ที่ถูฟ้าผ่ายืนตาย เพราะเชื่อว่าทำให้ดีเสียงดัง ก่อนเดินทางไปแข่งขัน หมอต้องทำพิธีบวงสรวงเชิญผีเจ้าไม้ให้มาประจำอยูในกลอง นอกจากนี้หมอยังใช้ข้าวสารมาตำกับขมิ้น เสกคาถาเสร็จแล้วเอาเก็บไว้กับตัว พอถึงเวลาลงสนามแข่งขัน หมอจะซัดไปยังกลอง เชื่อว่าเป็นการไล่และป้องกันเสนียดจัญไรที่ฝ่ายตรงข้ามอาจจะกระทำต่อฝ่ายตน

    อุปกรณ์/การเล่น
   กลองบานอ 7 ใบ

                                                 
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก   www.culture.nstru.ac.th/
ขอขอบคุุณ อ.ชาติ......ผู้ฝึกสอนการวางภาพ
ขอขอบคุุณ บ้านเพลงไทย ที่มีเนื้อที่ให้วาง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 23, 2013, 09:34:27 AM โดย ลุงชัยนรา »
บันทึกการเข้า

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **

ชญาดา

  • กรรมการบ้านเพลงไทย
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3031
  • กระทู้: 959
  • Thank You
  • -Given: 2112
  • -Receive: 3031
ขอบคุณค่ะ ถ้าไม่บอก คิดว่า เขาเรียกว่า กลอง เสียอีกค่ะ วัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น ล้วนเป็นสิ่งที่น่าอนุรักษ์ไว้ค่ะ คนรุ่นต่อไปจะได้ทราบข้อมูล ต่าง  ๆ ค่ะ


บันทึกการเข้า