กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: ผ่า "หมาก"  (อ่าน 7196 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ภิรมย์

  • รักเมืองไทย
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2321
  • กระทู้: 480
  • Thank You
  • -Given: 2121
  • -Receive: 2321
  • คุณลูกกับคุณแม่
ผ่า "หมาก"
« เมื่อ: เมษายน 27, 2013, 03:35:38 PM »
           หัวข้ออาจน่ากลัว แต่เป็นเรื่องน่ารู้ครับ
     เป็น "หมาก" ที่คนเฒ่าคนแก่กินกันครับ มีอะไร
ที่น่าสนใจแยะมากคร้บ
                             
                               :42


          “ไอ้เราก็ติด   ถ้าไม่ได้กินแล้วหาวหวอดๆ  ไม่มีเรี่ยวมีแรงทำการทำ
งานอะไรกันแล้ว พอหลวงท่านห้ามเท่านั้นแหละ มันจะตายกันเชียว”
          “ต้องแอบๆ ซ่อนๆ กันเชียวละ”
          “ทีนี้ ไม่ใช่ห้ามกินอย่างเดียวนะ เขาห้ามซื้อห้ามขายด้วย ต้นหมาก
ต้นพลูตามสวนเขาสั่งตัดเรียบวุธ  ทำยังไงล่ะ  ก็ต้องหาของอื่นแทนเอาใบ
ฝรั่งนั่นละ เอามาป้ายๆ  ปูนเข้าไป  พอแก้อยากได้เหมือนกัน   คิดดูเอาว่า
มันติดแค่ไหน  แล้วไม่ใช่จะมาเดินเหินกินได้เหมือนเดิมนะ  โน่นแน่ะ  เข้า
บ้านเข้าห้องให้เรียบร้อย ใส่ประแจแล้วมุดกินกันในมุ้งนั่นทีเดียว”
          คุณยายพูดคุยถึงเรื่องราวหนหลังให้ฟังอย่างสนุกสนาน     มือที่ถือ
ผ้าเล็กๆ ที่เลอะไปด้วยคราบน้ำหมากแดงๆ  ก็คอยเช็ดที่มุมปากเวลาที่น้ำ
หมากมันไหลออกมา
          ถ้าถามว่าทำไมคนยุคหนึ่งถึงได้พึงใจและติดใจในรสฝาด  เผ็ด  ขม
ของส่วนผสมที่มีพืช ๒-๓ ชนิด ถึงขนาดต้องลักลอบกินกันเช่นนี้    ยายคง
ตอบไม่ได้ รู้แต่ว่า “มันติดน่ะ เข้าใจไหม”
          การกินหมากในบ้านเรา   กลายเป็นวัฒนธรรมที่มีความหมายต่อวิ
ถีชีวิตของผู้คน  ทั้งที่เป็นความงาม ความพึงพอใจในระดับของปัจเจกบุค
คล   ไมตรีและความรักระหว่างบุคคล  และยังเป็นสัญลักษณ์ของความดี
ความชอบในยุคหนึ่งด้วย
               สุนทรียะของคนฟันดำ...
          เป็นสิ่งที่ผู้คนสมัยนั้นนิยมมาก   เรื่องของการที่มีฟันดำจากการกิน
ถึงกับมีคำพูดที่ว่า “ขอให้ฟันดำเหมือนลูกหว้า   ขอให้ปัญญาเหมือนพระ
มโหสถ” หรืออีกคำหนึ่งที่ว่า “หมาน่ะซิ ที่มีฟันสีขาว”
          การที่จะมีฟันที่สีดำสดใสเงางามนั้น  ต้องใช้ระยะเวลานานพอควร
ในการกินหมาก  วัยรุ่นใจร้อนสมัยนั้นบางคนรอไม่ไหว  หาทางลัด โดยใช้
เหล็กเผาไฟให้คุแดง แล้วเอากะลามะพร้าวเผาไฟที่ป่นละเอียด โรยลงบน
เหล็กที่คุแดง  แล้วบีบน้ำมะนาวลงไป  ก็จะกลายเป็นยางดำๆ  ไอ้เจ้ายาง
ดำ นี่แหละที่เค้าใช้สีฟัน เพื่อให้ฟันเป็นสีดำสดใส เป็นเงางาม
                    ความนัยแห่งการกินหมาก...
          ในสังคมบ้านเราและในบางประเทศหมากคือเครื่องหมายแสดงถึง
ไมตรี   ทั้งการต้อนรับผู้มาสู่เรือนชาน   การฝากรักและการตอบรับรักของ
หนุ่มสาว การทำบุญ การแต่งงาน ไปจนกระทั่งการทำเสน่ห์ !
          ในบันทึกชาวฝรั่งเศส   ที่เคยมาพำนักในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
กล่าวถึงพิธีรีตองในการไปมาหาสู่กันของชาวสยามว่า  “พอลงมาสนทนา
กันเจ้าของบ้านก็จะต้องให้เอาหมากพลูมาตั้งทีเดียว เจ้าของบ้านป็นผู้ยื่น
หมาก  พลู  ใส่ตลับทองคำหรือเงินให้แก่ผู้ที่มีฐานะสูงกว่าตนเอง  และคน
รับใช้ทำหน้าทียื่นหมากพลู ให้แก่คนที่มีฐานะต่ำกว่าเจ้าของบ้าน ในตลับ
ธรรมดา
          ในบทละครอิเหนา  ตอนที่อิเหนาให้มาหยารัศมีและสการะวาตี ไป
ไหว้จินตรา เพื่อฝากเนื้อฝากตัว  จินตราก็ต้อนรับอย่างดีโดยการยกหมาก
พลูมาให้กิน
          นอกจากนี้ การเจียนหมาก   ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในการกินหมากยัง
ใช้เป็นการวัดคุณค่าของหญิงไทยสมัยนั้น  ถึอเป็นงานฝีมือ ๑ ใน ๔ อย่าง
(ปอกมะปรางริ้ว  ละเลงขนมเบื้อง  ปั้นขนมจีบ จีบพลูยาวการเจียนหมาก
อยู่ในขั้นตอนนี้) ถ้าหญิงใดทำออกมาได้สวยงาม   ถือว่าหญิงนั้นมีคุณค่า
อย่างยิ่ง
          การแต่งงาน ข้อสันนิฐานมีว่าในการยกขันหมากไปสู่ขอ   ดังที่สมัย
นี้ใช้พูดจากัน   แต่ก่อนคงหมายถึงมีการตระเตรียมหมากพลู  ใส่พาน  ใส่
ขันไปด้วย จุดประสงค์น่าจะไว้เลี้ยงแขกที่มาร่วมงานนั่นเอง
          เหล่านี้ล้วนเป็นความนัยของการกินหมากที่แฝงอยู่    การกินหมาก
จึงไม่ใช่แค่การพึงพอใจในรสชาติของมันเท่านั้น
                    มีอะไรในหมาก ๑ คำ
          โดยทั่วไปหลักๆก็จะมีใบพลู  ปูนกินหมาก  หมาก   บางท่านอาจมี
เครื่องเคียงอื่นๆ  เช่น  สีผึ้ง  ไว้ทาปากไม่ให้ปากแห้งเวลาเคี้ยวหมาก บาง
ท่านอาจเสริมเครื่องหอมอย่าง  กานพลู  การบูร   พิมเสนหรือไม่ก็จำพวก
เปลือกไม้บางอย่างเช่น เปลือกสีเสียด แก่นคูน โดยเคี้ยวตามไปด้วย และ
อาจมียาเส้นเสริม   เวลาที่รู้สึกว่าน้ำหมากเริ่มมากขึ้นแล้วมาจับอยู่ที่ปาก
โดยม้วนปั้นเป็นก้อนกลมๆ เอามาเช็ดตามฟัน ตามริมฝีปาก   แล้วก็ไปจุก
ไว้ที่มุมปากด้านใดด้านหนึ่ง
          ในหมากนอกจากรสชาติที่เผ็ด ฝาด ขม ยังพบว่ามีสาร Tannin
สูง   สารตัวนี้เองที่ช่วยเพิ่มความคงทนให้แก่ฟัน  ทำให้ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับ
ฟันง่ายๆ นอกจากนี้ยังพบสารพวก  Arecholine Arecaidine
และ Guvacine ซึ่งสารเหล่านี้เป็นสารเสพย์ติดมีฤทธ์กล่อมประสาท
อาจทำให้บางคนเกิดอาการมึนเมา คลื่นเหียน เวียนศีรษะได้ อาการเหล่า
นี้เราเรียกว่า “ยันหมาก”
          เรื่อง “ยันหมาก” มีเกล็ดน่าสนใจอยู่ไม่น้อย คือ ชาวปักษ์ใต้เชื่อว่า
ผู้ชายที่กินหมากแล้วเกิดอาการยันหมาก     เค้าว่าจะเป็นผู้ชายที่กลัวเมีย
แต่ก็มีวิธีแก้  เค้าให้เอาหมากที่จะกินมาลอดใต้ขา ๓ ครั้ง พร้อมเสกคาถา
           “หมากเหอ ยันต้นอย่ายันลูก ยันคนปลูก อย่ายันคนกิน”
          ส่วนจะได้ผลหรือไม่อันนี้ไม่ทราบ ต้องถามหนุ่มใต้รุ่นเก๋าดู
          การกินหมาก  ของคนไทยเราเท่าที่พบหลักฐาน    น่าจะมีมาตั้งแต่
สมัยสุโขทัยหรือก่อนหน้า  เพราะมีการจารึกถึง อยู่ในหลักศิลาจารึก  และ
ก็มีมาตลอด จนถึงรัตนโกสินทร์ซึ่งถือว่าเป็นยุคที่เฟื่องฟูสุด   ไม่ว่าจะเป็น
เจ้านายชั้นสูง บ่าวไพร่ คนทั่วไป ชาย หญิงไม่ว่าวัยไหนก็ตาม
          ไม่มีการกำหนดเวลา  สถานที่ ขอเพียงอยากก็เอาออกมากินได้ทัน
ทีที่ต้องการ
          แต่แล้วสิ่งที่เป็นมาแต่โบราณ   สิ่งที่ใครๆก็นิยมกัน สิ่งที่เป็นเครื่อง
หมายของการยินดี  การต้อนรับ  น้ำจิตน้ำใจที่ให้แก่กัน  วันหนึ่งมันกลาย
เป็นสิ่งต้องห้าม ผิดกฎหมาย ต้องหลบๆซ่อนๆ ไม่ต่างอะไรกับยาฝิ่น
          เมื่อรัฐบาลจอมพล ป.   เห็นว่าการกินหมากเป็นวัฒนธรรมที่นำมา
ซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติของประเทศอย่างร้ายแรง     คนกินหมากเหมือน
คนป่าเถื่อน เหมือนคนป่ากินสัตว์สดๆ เลือดแดงเต็มปาก เหมือนวัวควาย
ที่เคี้ยวเอื้องตลอดเวลา ปากเหม็น ฟันเหยิน หน้ากร้าน เป็นโรครำมะนาด
ปลายประสาทลิ้นชา ท้องร่วง ธาตุไฟหย่อน และอาจเป็นมะเร็งได้
          นอกจากนี้ยังทำให้บ้านเมืองสกปรก เพราะคนที่กินหมากชอบบ้วน
น้ำหมากเลอะเทอะไม่ระวัง
          จึงออกกฎหมาย ห้ามขายหมาก พลู ห้ามทำสวนหมาก พลู ที่มีอยู่
ให้ทำลายให้หมด ผู้ที่กินหมากห้ามเข้าไปในสถานที่สาธารณ สถานที่ราช
การเพื่อทำธุรการต่างๆ
          แต่ภายหลังก็ยกเลิกไป ประชาชนก็กลับมากินหมากได้ดังเดิม   ถึง
กระนั้นความนิยมในการกินหมากก็หมดไป    จะมีก็ผู้เฒ่าผู้แก่ในชนบทที่
ยังคงกินกันอยู่


จากนิตยสาร "สารคดี"
ฉบับที่ ๑๑๒ ปีที่ ๑๐  เดือน มิถุนายน  ๒๕๓๗
เรื่อง ขวัญใจ เอมใจ
ข้อมูล พยุง วงษ์น้อย





บันทึกการเข้า
 :42ดนตรีคือ สื่อภาษาสากล :42

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: ผ่า "หมาก"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 27, 2013, 04:37:09 PM »
" ในบทละครอิเหนา  ตอนที่อิเหนาให้มาหยารัศมีและสการะวาตี ไป
ไหว้จินตรา เพื่อฝากเนื้อฝากตัว  จินตราก็ต้อนรับอย่างดีโดยการยกหมาก
พลูมาให้กิน "


        อันนี้ ยังดีครับ...ที่จริง จะมีอีกตอน

     เป็นตอนที่ระเด่นมนตรี(อิเหนา)  เกิดติดใจนางบุษบาหนึ่งหรัดเข้า จนถอนตัวไม่ขึ้น.....
 จึงเข้าหาทางสียะตราผู้เป็นน้องชายของบุษบา...ผูกมิตร จนเจ้าชายองค์น้อยก็รักใคร่อิเหนา
    อิเหนาบอกให้สียะตราช่วยไปขอชานหมาก(ชานสลา) ที่นางบุษบาเพิ่งเคี้ยวไปได้สักหน่อยมาให้ตน
         เจ้าหญิงบุษบา ทนเจ้าชายสียะตราผู้น้องชายรบเร้าขอชานหมากไม่ไหว จึงคายออกมาให้ 
  สียะตราได้ชานหมากมา ก็เอาให้อิเหนา.....
           อิเหนาก็เอาเข้าปากตน แล้วเคี้ยวโชว์ต่อ พลางชำเลืองไปทางบุษบา...
          บุษบา ที่แอบมองอยู่ ก็อาย หน้าแดง ขวยเขิน....

          (พยายามเซิร์ชหาบทกลอนที่เกี่ยวข้อง..... เป็นบทในหนังสือ"อิเหนา" ตอน ม.ศ. 3-ไม่เจอครับ)


บันทึกการเข้า