กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: อูรักลาโว้ย..ชาวเลผู้เร่ร่อน...  (อ่าน 4554 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
อูรักลาโว้ย..ชาวเลผู้เร่ร่อน...
« เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2013, 06:49:39 PM »
   
                             
ชาวอูรักลาโว้ย..ในอดีต
         ชาวเลมี 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มมอเก็น ,มอเกล็น กับ กลุ่มอูรักลาโว้ย กลุ่มมอเก็นยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ 2 กลุ่มตามถิ่นที่อยู่ คือ มอเก็นปูลาที่ลอยเรืออยู่ตาม เกาะมะริด (Mergui Archipelago) และชายฝั่งในประเทศพม่า ลงมาถึงบริเวณเกาะในจังหวัดระนอง หมู่เกาะสุรินทร์และหมู่เกาะสิมิลัน ในจังหวัดพังงา และมอเก็นตามับซึ่งอาศัยอยู่ตาม เกาะพระ ทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ตลอดจนแถบชายฝั่งของอำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา และ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต พวกมอเกล็นอาศัยอยู่บริเวณแหลมหลา จังหวัดภูเก็ต ท้ายเหมือง และตะกั่วป่า จ.พังงา ส่วนกลุ่มอูรักลาโว้ย เร่ร่อนอยู่บริเวณเกาะสิเหร่ หาดราไวย์ แหลมหลา บ้านเหนือ บ้านสะปำ จังหวัดภูเก็ต เกาะ อาดีง ราวี เกาะหลีเแะ จังหวัดสตูลนักวิชาการบางคน เชื่อว่า ชาวเลเป็นชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมของมลายู ก่อนที่ชาวมลายูจะเข้ามาอาศัย เสียอีก ชาวมลายูเรียกชาวเลว่า โอรัง ละอุต (Orang Luat) แปลว่า คนทะเล(ภาษามลายูถิ่น ออกเสียงเรียกว่า อูรังลาโว๊ะ) ชาวเลจะรวมกลุ่มและเดินทางไปในเรือพร้อมด้วยสมาชิก 10-40 คน ภายในกลุ่มจะมีผู้ชำนาญในการเดินเรือ และทำหน้าที่คล้ายหัวหน้ากลุ่มชาวเลจะย้ายถิ่นแบบชั่วคราว เพื่อไป หาอาหารตามที่ต่าง ๆ แถบชายฝั่งหรือปากแม่น้ำ โดยจะย้ายไปตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล โดยเฉพาะฤดูมรสุม นอกจากนี้ชาวเลอาจจะต้องมีการย้ายถิ่น เพราะภัยจาก ธรรมชาติ การถูกรุกรานจากกลุ่มอื่นเมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งตายหรือหนีโรคระบาดอย่างใด อย่างหนึ่ง บ้านของ ชาวเลคือเรือ มีความยาวประมาณ 20-25 ฟุต แต่บางพวกอาจ สร้างบ้านชั่วคราวบนฝั่ง ทำจากใบปาล์ม หรือมะพร้าว ยกพื้นสูง ไม่มีระเบียงมีนอกชาน ชาวเลไม่ ปลูกเรือนขวางดวงอาทิตย์ (ประเทือง 2539, น.23-24) ปัจจุบัน ชาวเลเริ่มรู้จัก สร้างบ้านเรือนเลียนแบบคนพื้นเมือง ถาวร และเคลื่อนย้ายได้ยากขึ้น

ท้องเรือ..เป็นบ้าน.ท้องธาร..เรือนตาย


ระบบครอบครัวของชาวเล เป็นครอบครัวขนาดเล็กจนถึงปานกลาง เพราะต้องร่อนเร่ย้ายถิ่นเพื่อหาอาหารตามที่ต่าง ๆ ชาวเลถือฝ่ายมารดาเป็นใหญ่พวกเขาถือว่ามีลูกสาวจะมีค่า เหมือนได้ทอง เพราะเมื่อแต่งงานแล้วลูกเขยจะมาอยู่กับภรรยา บิดามารดาของผู้หญิงจะได้แรงงานมาช่วย หน้าที่ของผู้ชาย ได้แก่ ออกทะเลไปหาปลา ตักน้ำ หาฟืนหุงอาหาร ซักผ้า ขณะที่ผู้หญิงสบายกว่า ผู้หญิงชาวเลจะรวมตัวกันริมชายหาด นั่งบ้าง นอนบ้าง (ประเทือง 2539, น.28) ปัจจุบัน ครอบครัวชาวเลเริ่มใช้นามสกุลตามกำหนดของราชการ นามสกุลที่สำคัญ ได้แก่ ทะเลลึก ช้างน้ำ ประมงกิจ นาวารักษ์ หาญทะเล เป็นต้น (ประเทือง 2539 น.30-32) ระบบเศรษฐกิจของชาวเล ยังชีพด้วยการหาอาหารตามทะเลน้ำตื้น เช่น จับปลา ดักปลา และหาเก็บพืชผลที่ขึ้นเองตามชายฝั่ง อาหารหลักคือข้าว โดยได้มาจาก การแลกเปลี่ยน ชาวเลจะใช้ปลา เปลือกหอย ปะการัง ไปแลกข้าวกับชาวบ้าน (ประเทือง 2539, น.33 และ Lebar and others 1964, p.264) อาหารอื่นๆ ได้แก่ หัวกลอย มะพร้าว เผือก มันเทศ กล้วย นำมาต้ม ย่าง เผากินยามขัดสน ปัจจุบันชาวเลรับจ้างนายทุนงมสิ่งของในทะเล เช่น เปลือกหอยแปลก ๆ แทงกุ้ง ปลา หอย เป็นต้น ศาสนาและความเชื่อของชาวเล ชาวเลไม่มีศาสนา แต่มีความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณ ชาวเลนับถือบรรพบุรุษเรียกว่า “ดะโต๊ะ” โดยจะสร้างเป็นศาลไว้ มีรูปปั้นผีที่ชาวเล เชื่ออยู่ใน ธรรมชาติ เช่น ผีปู ผีหอย ผีไม้ ผีน้ำ ผีพุ่งใต้ (ผีชิน) ชาวเลเชื่อว่า ผีชินช่วยหาปลาบอกแหล่งอาศัยของปลาชาวเลยังเชื่อเรื่องโชคลาง มาก และเชื่อว่าผีควบคุมโชคชะตา การเจ็บป่วย (Lebar and others 1964, p.265 และประเทือง 2539, น.65-67) ชาวเล มีหมอผีประจำกลุ่ม ทำหน้าที่ทำนายโชคชะตา ดูฤกษ์ ยามในการสร้างบ้าน และเป็นผู้ประกอบ พิธีกรรม
                                          ประเพณีที่สำคัญของชาวเล:

ทำเรือ"ปลาจั๊ก"
พิธีลอยเรือ ชาวเลเชื่อกันว่าพิธีลอยเรือนี้จะเป็นพิธีที่ช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกจาก หมู่เกาะ ให้เรือนำเอาความชั่วร้ายอัปมงคลออกไป พิธีนี้จะปล่อยให้เรือ หาย ไปในทะเลลึก ถ้าเรือกลับขึ้นฝั่งแสดงว่าเป็นลางร้ายจะต้องทำพิธีกันใหม่ ประเพณีนี้จะกระทำในวันขึ้น 13-15 ค่ำและวันแรม 1 ค่ำของเดือน 6 และเดือน 11แต่ละครั้งใช้เวลา 4 วัน วันแรกจะเริ่มจากการอาบน้ำมนต์ ซึ่งชาวบ้านจะนำเอาโอ่งไหที่บรรจุน้ำและหัวไพลมาวางตรงลานบ้าน ชาวเลเชื่อว่า หัวไพลนั้นจะช่วยขับไล่สิ่งอัปมงคลออกจากร่างกาย แต่ละบ้านจัดเอาหมากพลู มะกรูดมะนาว ด้าย และเศษสตางค์มาประกอบในพิธีด้วย เมื่อเวลาพลบค่ำ โต๊ะหมอ ผู้นำในการประกอบพิธีจะสวดมนต์ทำพิธีและมีการร้องเพลง อันเชิญ เทพเจ้าให้มาคุ้มครองพวกเขา และหญิงสูงอายุของกลุ่มจะรำถวายเทพเจ้า จนถึงเช้าก็จะมีการ อาบน้ำมนต์เพื่อขับไล่สิ่งอัปมงคลออกไป วันรุ่งขึ้นก็จะทำพิธีลอยเรือ จะมีชาวเลกลุ่ม หนึ่งไปหาไม้เพื่อมาใช้ต่อเรือซึ่งจะใช้ไม้เนื้ออ่อนและไม้ระกำ ตอนบ่ายจะมีขบวนแห่ไม้ที่จะใช้นี้ไปรอยๆ หมู่บ้าน และทำพิธีในตอนกลาง คืนเมื่อช่วยกันต่อเรือเสร็จทุกคนจะมา พร้อมกันที่เรือ และจะนำข้าวตอกมาโปรดไปทั่วร่างกายเพื่อ เป็นการขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากตัวแล้วจึงทิ้งข้าวตอกนั้นลงในเรือ วึ่งจะมีการรำไปรอบๆ เรือจนถึงเช้ามืดจึงช่วยกันยกเรือ พิธีไปใส่ในเรือจริงเพือ่นำไปปล่อยกลางทะเลลึก ซึ่งผู้ที่นำเรือไปปล่อยจะต้องเฝ้าดูว่าเรือนั้นจะไม่ย้อนกลับเข้าหาฝั่ง ก็เป็นอันเสร็จพิธี
             อูรังลาโว้ย (Orang Laut) หากเป็นภาษายาวีท้องถิ่น ก็จะเรียกออกเสียงว่า อูรังลาโวะ  เป็นชาวเลกลุ่มใหญ่ที่มีถิ่นฐานบนเกาะสิเหร่ และที่หาดราไวย์ บ้านสะปำ จังหวัดภูเก็ต จนถึงทางใต้ของเกาะพีพีดอน เกาะจำ เกาะลันตาใหญ่ จังหวัดกระบี่, เกาะอาดัง เกาะหลีเป๊ะ เกาะราวี จังหวัดสตูล และ บางส่วนอยู่ที่เกาะลิบง จังหวัดตรัง นอกจากนี้ยังอาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันตกของประเทศมาเลเซีย   ชาวเลกลุ่มอูรังลาโว้ยมีภาษาที่แตกต่างกับกลุ่มมอแกนและมอแกลน แม้จัดอยู่ในตระกูลออสโตรนีเชียน เช่นเดียวกัน พิธีกรรมสำคัญของอูรังลาโว้ยคือ การลอยเรือ "ปลาจั๊ก" เพื่อกำจัดเคราะห์ร้ายออกไปจากชุมชน

การลอยเรือ "ปลาจั๊ก"

                                                     
ความสำคัญ
     ประเพณี ลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษดั้งเดิมของชาวอูรักลาโวย ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกระบี่และจังหวัดสตูล ตรัง พังงา เมื่อถึงเวลาที่กำหนดสมาชิกในชุมชนและญาติพี่น้องที่แยกย้ายถิ่นไปทำมาหากิน ในแถบทะเล และหมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลอันดามันจะพากันเดินทางกลับมายังถิ่นฐาน เพื่อประกอบพิธีนี้
                                                     
พิธีกรรม
            ใน วันขึ้น ๑๓ ค่ำ ช่วงเช้า ชาวเลจะเดินทางไปบริเวณที่จะทำพิธี ผู้หญิงจะทำขนม ผู้ชายจะสร้างและซ่อมแซมที่พักชั่วคราว ช่วงเย็น ทั้งหญิงและชายจะไปรวมกันที่ศาลบรรพบุรุษเพื่อนำอาหารเครื่องเซ่นไปเซ่นไหว้ บรรพบุรุษเป็นการบอกกล่าวให้มาร่วมพิธีลอยเรือเช้าของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ผู้ชายส่วนหนึ่งเดินทางไปตัดไม้ เพื่อนำไม้มาทำเรือผู้หญิงจะร้องรำทำเพลง ในขณะที่รอรับไม้บริเวณชายฝั่ง แล้วขบวนแห่จะแห่ไม้ไปวนรอบศาลบรรพบุรุษเพื่อนำกลับมาทำเรือ "ปลาจั๊ก" คืนวันขึ้น ๑๔ ค่ำ มีพิธีฉลองเรือโดยมีการรำรอบเรือ เพื่อถวายวิญญาณบรรพบุรุษโดยใช้ดนตรีและเพลงรำมะนาประกอบวงหนึ่งและอีกวงจะ เป็นการรำวงแบบสมัยใหม่มีดนตรีชาโดว์ประกอบการร้องรำ โต๊ะหมอจะทำพิธีในช่วงเริ่มฉลองเรือและมีพิธีสาดน้ำตอนเที่ยงคืน (เลฮฺบาเลฮฺ) และทำพิธีอีกครั้งในช่วงเช้าตรู่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ ก่อนนำเรือไปลอยในทิศทางลมซึ่งแน่ใจว่าเรือจะไม่ลอยกลับเข้าฝั่ง หลังจากนั้นแยกย้ายกันนอนพักผ่อน

                                             
นำของไปร่วมงาน
บ่ายวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ผู้ชายส่วนหนึ่งแยกย้ายไปตัดไม้และหาใบกะพร้อเพื่อทำไม้กันผีสำหรับทำพิธี ฉลองในเวลากลางคืน โดยมีพิธีกรรมเหมือนกับพิธีฉลองเรือทุกประการ จนกระทั่งใกล้จะสว่างโต๊ะหมอจะทำพิธีเสกน้ำมนต์ทำนายโชคชะตา และสะเดาะเคราะห์ให้สมาชิกที่เข้าร่วมพิธีก่อนจะอาบน้ำมนต์ และแยกย้ายกันกลับบ้านโดยนำไม้กันผีไปปักบริเวณรอบหมู่บ้านด้วย
           ประเพณี ลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษอันเกี่ยวเนื่องกับ ตำนานความเชื่อความเป็นมาและวิถีชีวิตทุกอย่างของชาวเลอูรักลาโวย การจัดพิธีฉลองเรือก็เพื่อการสะเดาะเคราะห์ ส่งวิญญาณกลับสู่บ้านเมืองเดิม และการส่งสัตว์ไปไถ่บาป
          เรือปลาจั๊กที่ทำขึ้นในพิธีลอยเรือ ทำจากไม้ตีนเป็ดและไม้ระกำเป็นสัญลักษณ์ของ "ยาน" ที่จะนำวิญญาณของคนและสัตว์ไปสู่อีกภพหนึ่ง มีชิ้นไม้ระกำที่สลักเสลาอย่างสวยงามเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ประดับประดาอยู่ในเรือ รูปนกเกาะหัวเรือ หมายถึง "โต๊ะบุหรง" บรรพบุรุษผู้ซึ่งสามารถห้ามลมห้ามฝน ลายฟันปลา หมายถึง "โต๊ะบิกง" บรรพบุรุษที่เป็นฉลาม ลายงูหมายถึง "โต๊ะอาโฆะเบอราไตย" บรรพบุรุษที่เป็นงู ฯลฯ ในเรือยังมีตุ๊กตาไม้ระกำทำหน้าที่นำเคราะห์โศกโรคภัยของสมาชิกในแต่ละครอบ ครัวเดินทางไปกับเรือและเครื่องเซ่นต่าง ๆ ที่จะให้วิญญาณบรรพบุรุษนำติดตัวไปยังถิ่นฐานเดิมที่เรียกว่า "ฆูนุงฌึไร"  การร่ายรำแบบดั้งเดิมผสมผสานกับบทเพลงเก่าแก่และดนตรีรำมะนา เป็นส่วนประกอบที่เร้าใจและเป็นการรำถวายต่อบรรพบุรุษ ทุกคนที่รำเชื่อว่าจะได้บุญโต๊ะหมอผู้นำทั้งทางโลกและทางธรรม เชื่อว่าเป็นผู้ที่สามารถสื่อสารกับพระผู้เป็นเจ้าและวิญญาณบรรพบุรุษได้ ผู้ที่ผ่านพิธีลอยเรือถือว่าจะเป็นผู้ที่ผ่านทุกข์โศกโรคภัยไปหมดแล้ว ชีวิตต่อไปข้างหน้าจะประสบแต่ความสุขและโชคดีในการทำมาหากิน

บ้านชาวอุรักลาโว้ย...ปัจจุบัน
                                           
 
                     ในปัจจุบัน ชาวเลกลุ่มอูรังลาโว้ยตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร หันมาประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง รับจ้างทำสวน  ขับเรือนำนักท่องเที่ยวไปเที่ยวตามเกาะแก่งต่างๆ และอาชีพอื่น ๆ ซึมซับวัฒนธรรมไทยมากขึ้น และเรียกขานตัวเองว่า ไทยใหม่

                       
อาชีพใหม่ ของ ชาวอุรักลาโว้ย

                   อูรักลาโว้ย มีความหมายว่า "คนทะเล" มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า ในอดีตชาวอุรังลาโว้ยอาศัยอยู่บริเวณเทือกเขาฆูนุงฌึไร ในแถบชายฝั่งทะเลในรัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) จากนั้นก็เร่ร่อนเข้ามาสู่ในน่านน้ำไทย แถบทะเลอันดามัน ในช่วงแรกยังมีวิถีชีวิตแบบเร่ร่อน โดยอาศัยเรือไม้ระกำเป็นที่อยู่และพาหนะ พวกเขาใช้กายัก หรือแฝกสำหรับมุงหลังคาเป็นเพิงอาศัยบนเรือ หรือเพิงพักชั่วคราวตามชายหาดในฤดูมรสุมชาวอุรักลาโว้ยยังชีพด้วย การท่องเรือตามหมู่เกาะ กลุ่มละ 5-6 ลำ บางครั้งพวกเขาก็จะขึ้นเกาะมาเพื่อหาของป่า แต่ส่วนใหญ่จะล่าสัตว์ทะเลด้วยเครื่องมือง่ายๆอย่าง ฉมวก สามง่าม เบ็ดพวกเขามีความสามารถในการดำน้ำทะเลลึกเพื่อแทงปลาหรือจับกุ้งมังกรด้วย มือเปล่าและดำน้ำเก็บหอยจากก้นทะเล

ลอบดักปลา

ตามตำนานเล่าว่าชาวอุรังลาโว้ย เคยมีบรรพบุรุษเดียวกับชาวมอแกนและเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เร่ร่อนในทะเลมา นาน พวกเขาใช้ภาษาอูรังลาโว้ยเป็นภาษาพูด พวกเขาเชื่อกันว่าเกาะลันตาเป็นสถาที่แรกที่ชาวอุรังลาโว้ยตั้งถิ่นฐาน เปรียบเสมือนเมืองหลวงของพวกเขาเลยทีเดียว แต่พวกเขาก็ยังอพยพเร่ร่อนอยู่เรื่อยๆ โดยโยกย้ายไปตามหมู่เกาะต่างๆ และตั้งถิ่นฐานที่เกาะนั้นๆ และกลับมาที่เดิม แต่ทุกกลุ่มยังคงมีความสัมพันธ์ไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ ถือว่าเป็นสังคมเครือญาติใหญ่

ปัจจุบันพวกเขาตั้งบริเวณเกาะสิเหร่ หาดราไวย์ แหลมหลาเหนือ และบ้านสะปำ ในจังหวัดภูเก็ต เกาะพีพี เกาะจำ เกาะปู เกาะไหว และเกาะลันตาใหญ่ ในจังหวัดกระบี่ ไปจนถึงเกาะอาดัง เกาะหลีเป๊ะ เกาะบุโหลน และเกาะราวี จังหวัดสตูล
วิถีชีวิต

ชาวอุ รังลาโว้ยใช้ชีวิตครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียว โดยฝ่ายชายจะเข้าอยู่กับครัวเรือนฝ่ายหญิงชั่วคราว ก่อนแยกเป็นครอบครัวเดี่ยวเมื่อถึงเวลาสมควร ชาวอุรักลาโว้ยนั้นนับถือผีบรรพบุรุษ และสิ่งเหนือธรรมชาติว่ามีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต "โต๊ะหมอ"จะเป็นผู้นำในการทำพิธีกรรมต่างๆ เช่นพิธีลอยเรือ พิธีแก้บน เป็นต้น

ทุครึ่งปีในเดือนหกและเดือนสิบเอ็ด ไม่ว่าชาวอุรังลาโว้ย จะกระจัดกระจายอยู่ที่ใด พวกเขาก็จะกลับมายังถิ่นฐานเดิมเพือ่เข้าร่วมในพิธีลอยเรือ หรือ "เปอลาจั๊ก" ในวันนั้นที่ชายหาดจะมีการบรรเลงรำมะนา เสียงเพลง การร้องรำ การเล่นรองเง็ง ตลอดจนการดื่มฉลองพิธีการในวาระอันสำคัญของชาวอุรังลาโว้ย    มี ตำนานเรื่องหนึ่งซึ่ง David Hogan (1972 : 129,128) บันทึกจากคำบอกเล่าของชาวเลวัย 60-70 ปี ที่อาศัยอยู่บนเกาะอาดังว่า พระเจ้าได้ส่ง นะบีโน๊ะ มาชักชวนให้บรรพบุรุษของเขานับถือพระเจ้า แต่ถูกปฏิเสธจึงสาปแช่งไว้ จนพวกเขาต้องเคลื่อนย้ายลงมายังชายฝั่งเชิงเขา “ฆูนุงฌึรัย” บ้างก็เข้าป่าเป็นคนป่า บ้างก็กลายเป็นลิง บ้างก็เป็นกระรอก บ้างก็เป็นอูรักลาโว้ย คนของทะเล หรือชาวเลไป ผู้ให้ข้อมูลคนเดียวกันเล่าว่า ชาวเลกลุ่มแรกที่อาศัยเรือ “jukok” หรือ “เรือเป็ด” ไหลลอยขึ้นมา บ้างก็ตั้งถิ่นฐานในป่าเคดาห์ บ้างก็ตั้งถิ่นฐานที่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ทั้งนี้ Hogan ได้เน้นย้ำว่าอูรังลาโว้ยผู้สูงอายุส่วนใหญ่กล่าวกันว่า เกาะลันตาเป็นดินแดนแห่งแรกในประเทศไทยที่ชาวเลอูรังลาโว้ยเปลี่ยนวิถีชีวิต ขึ้นไปตั้งถิ่นฐาน  ทว่า David Hogan และผู้วิจัยคนอื่น ๆ ไม่ได้เข้าใจว่า อันที่จริงเรื่องเล่าของชาวเลคนนั้นเป็นเรื่องเล่าจากคัมภีร์อัลกุรอาน และคัมภีร์ไบเบิล คำว่า นะบี เป็นคำในภาษาอาหรับแปลว่า ศาสดาพยากรณ์ ส่วน โน๊ะ ก็คือ นูฮฺ หรือ โนอาห์ ซึ่งถือว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์ เมื่อพระเจ้าบันดาลให้เกิดอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ นะบีนูฮฺ ก็พาบรรดาศรัทธาชนลงเรือหนีน้ำที่ท่วมโลก ในที่สุดเรือนั้นก็จอดบนเขา อัลญูดี ส่วนผู้เฒ่าที่เล่าเรื่อง หรือชาวเลอูรังลาโว้ย คิดว่าเป็น ฆูนุงฌึรัย (แปลว่า ภูผาต้นไทร) อย่างไรก็ตาม จากความเชื่ออันนี้ย่อมสะท้อนให้เห็นว่า ชาวเลอูรังลาโว้ย ในอดีตเคยได้รับอิทธิพลของศาสนาอิสลามเช่นเดียวกับชนชาติในตระกูลมาลายิก ทั้งหลาย นอกจากนี้ภาษาอูรังลาโว้ยยังใกล้เคียงกับภาษามาเลย์อีกด้วย


จับปลาด้วยฉมวก

                 หลาย ปีมานี้ชาวอูรักลาโว้ย หาดราไวย์ ต้องเผชิญปัญหาเนื่องมาจากการพัฒนาการท่องเที่ยวส่งผลต่อที่ทำกินและอาศัย จนเกรงกันว่าภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาจะสูญไปเพราะยังชีพในแบบวิถี ประมงพื้นบ้านทำให้งานถักสานเครื่องมือหาปลาอย่างบูบู หรือ ไซขนาดใหญ่ ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชาวอูลักราโวยจ บ้านไทยใหม่ราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต นอกจากหาอยู่หากิน ยังมีหน้าที่รักษาทรัพยากรจากท้องทะเล เช่นขนาดตาข่ายของเครื่องมือหาปลาชนิดนี้ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 3 นิ้ว เพื่อสงวนพันธุ์ปลา มรดกร่วมที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ

[/center

ชาวเลประมง

             "ชาวอูรักลาโว้ย " อยู่แบบรู้ทะเลและเรียนธรรมชาติเพื่อเลี้ยงชีพ ซึ่งเดิมชาวบ้านไทยใหม่ราไวย์ร้อยทิ้งร้อยทำประมงพื้นบ้าน ระยะหลังพื้นที่เกาะรอบ ๆ มีนายทุนถือเอกสารสิทธิ์ ทะเลกว้าง ๆ หน้าบ้านจึงไม่ได้หากินง่ายเหมือนก่อน บางคนท้อขายเรือ เปลี่ยนอาชีพกันไปบ้าง แต่สำหรับคนที่ยังต้องหากินอยู่กับทะเลยังต้องใช้องค์ความรู้ในการอ่านน้ำจำ ลม อ่านฟ้าจำดาวอยู่ต่อไป

การสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติของน้ำ ลม และ ท้องฟ้า ช่วยให้ชาวอูรักลาโว้ย กำหนดเวลาทำมาหากิน ตลอดจนคาดการณ์ภัยธรรมชาติได้แม่นยำ อะเยปาซัก-อะเยซูโรจ หรือ น้ำขึ้นน้ำลงแต่ละวันมีผลต่อวิถีประมงพื้นบ้านที่ต้องแข่งกับเวลา ขณะที่อะเยเบอชัย เกิดช่วงข้างขึ้นและแรม 11 ค่ำเป็นต้นไป เรียกว่าน้ำใหญ่ จะมีน้ำไหลเชี่ยวปลาชุม ส่วนอะเยมาดี หรือ น้ำตายในระยะข้างแรม จะทำให้น้ำทะเลทรงตัวเหมาะกับการวางไซ ลากปลาหางแข็ง ตกหมึก คือ องค์ความรู้ที่ถ่ายทอดเป็นแบบแผนชีวิต นิยามสั้น ๆ ว่า อ่านน้ำจำลมอ่านฟ้าจำดาว ซึ่งจำเป็นต่อการอยู่รอดของชาวอูรักลาโวยจ ที่ออกทะเลแทบทุกวัน



10 ปีหลังการพัฒนาเกาะใหญ่น้อยเป็นแหล่งท่องเที่ยวทำให้แหล่งหาอยู่หากินลดน้อย ลงหลายครอบครัวถูกให้ออกจากพื้นที่ซึ่งอาศัยมาเนิ่นนานจากผู้ถือครองเอกสาร สิทธิ์ แม้มติ ครม.ปี 2553 จะรับรองหลักการฟื้นฟูชุมชนชาวเลในฐานะเขตพื้นที่วัฒนธรรมพิเศษ แต่จนถึงวันนี้ชาวอูรักลาโว้ยยังต้องต่อสู้เพื่อรักษาที่ทำกินและอาศัยที่ ล้วนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม


นัยตาใสซื่อ..บริสุทธิ์..ของสาวน้อยชาวเล
          "อูรักลาโว้ย" หมายถึงคนแห่งทะเล เรียกตามวิถีชีวิตที่ผูกพันอยู่กับท้องทะเลในอดีตบรรพบุรุษล่องเรือในแถบ อันดามันขึ้นพักตามเกาะต่าง ๆ ในหน้ามรสุม มีวัฒนธรรมภาษาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนเมื่อจับจองพื้นที่บนฝั่งยังรักษา ภูมิปัญญาบรรพบุรุษจนกลายเป็นวิถีชาวเล โดยเกือบ 10 ปีที่ชาวเลเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงจนไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ ได้เหมือนก่อน เป็นปัญหาที่รอการแก้ไข เพื่อรักษาถิ่นฐานเดิมและฟื้นฟูวัฒนธรรมอูรักลาโวยจที่อาจกลืนหายไปในไม่ช้า ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่ได้รวบรวม มาเป็นเวลา เกือบ 1 สัปดาห์ หลังจากกลับจากเกาะ หลีเปะ เพื่อให้ได้ข้อมูล และภาพมาฝากเพื่อนร่วมบ้านเพลงไทย ได้รับรู้เรื่องเรื่องราว ของเพื่อนร่วมโลก อีกเผ่าหนึ่ง ที่ร่วมชะตากรรมกับเรา บนโลกใบนี้ หากมีสิ่งดีที่เกิดขึ้นจากบทความนี้ ขออุทิศให้กับดวงวิญญาณ ของบรรพบุรุษชาวเลผู้เร่ร่อน....
...... หากมีความไม่เหมาะสม มีสิ่งที่ไม่ประเทืองปัญญา เกิดขึ้น ผม ลุงชัยขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว และยินดีรับคำ ติ และท้วงติงจากทุกๆท่าน...ขอให้สันติ..จงมีแด่ทุกท่าน...

ขอบคุณทุกข้อความ จากบางเวป
ขอขอบคุณทุกภาพ จากทุกเวป
ขอขอบคุณ อ. ชาติ...ผู้ฝึกสอนการวางภาพ
ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านและคอมเม้นท์


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 11, 2013, 12:18:05 AM โดย ลุงชัยนรา »
บันทึกการเข้า

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **

ชญาดา

  • กรรมการบ้านเพลงไทย
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3031
  • กระทู้: 959
  • Thank You
  • -Given: 2112
  • -Receive: 3031
Re: อูรักลาโว้ย..ชาวเลผู้เร่ร่อน...
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2013, 07:24:22 PM »
เป็นวิถีชีวิต แบบดั้งเดิมที่หาชมยากค่ะ   ยุคนี้ ก็เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ความเป็นอยู่ของผู้คน ก็อาจเปลี่ยนไปค่ะ


บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4066
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4066
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: อูรักลาโว้ย..ชาวเลผู้เร่ร่อน...
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2013, 10:38:44 PM »
น่าอ่านมากครับ ...
   อ่านแล้วสนุก ได้สาระความรู้เยอะครับ    :52


บันทึกการเข้า

เผ่าพงษ์ ปัตตานี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2008
  • กระทู้: 507
  • Thank You
  • -Given: 3223
  • -Receive: 2008
Re: อูรักลาโว้ย..ชาวเลผู้เร่ร่อน...
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2013, 02:41:51 PM »
      "ชาวเล" ย่อมรู้ซึ้งถึงจิตวิญญานของทะเลอย่างแท้จริง แม้เมื่อยามภัยมาครั้งเหตุการณ์ซึนามิถล่มที่หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต และที่เกาะหลัก จ.พังงา เมื่อหลายปีก่อน  ชาวเลที่เกาะหลัก จ.พังงา ไม่ได้รับอันตรายแม้แต่คนเดียว  เพราะเขารู้ดีถึงสิ่งบอกเหตุที่ผิดปกติก่อนที่คลื่นยักษ์จะถล่มชายฝั่งเลยหนีได้ทันก่อนใคร ทั้งหลายเหล่านี้ย่อมเกิดจากการเล่าขานถ่ายทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษสู่ลูกหลานในปัจจุบัน


บันทึกการเข้า

ชบาบาน

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 382
  • กระทู้: 95
  • Thank You
  • -Given: 412
  • -Receive: 382
Re: อูรักลาโว้ย..ชาวเลผู้เร่ร่อน...
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2013, 08:37:27 PM »
กระผมแม้จะเป็นคนใต้ด้วยกัน  แต่เรื่องของชาวเลไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ เคยดูเป็นสารคดี
ของอาจารย์สมเกียรตื อ่อนวิมล เมื่อหลายปีมาแล้ว ติดอกติดใจเอามากๆ ขอบคุณท่าน
ลุงชัย เป็นอย่างมากที่ให้ความรู้เรื่องนี้ค่อนข้างดี


บันทึกการเข้า