กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: วิญญาณ (ศาสนาพุทธ)  (อ่าน 9185 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มหาสุ

  • **แก้ไข**
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 749
  • กระทู้: 135
  • Thank You
  • -Given: 323
  • -Receive: 749
วิญญาณ (ศาสนาพุทธ)
« เมื่อ: มิถุนายน 03, 2013, 10:22:34 PM »
 ในศาสนาพุทธ คำว่าวิญญาณ (บาลี: viññāṇa; สันสกฤต: विज्ञान) ใช้หมายถึงพิชาน (consciousness) คือความรู้แจ้งอารมณพระไตรปิฎกระบุว่าพระพุทธเจ้าทรงจำแนกวิญญาณออกเป็น 6 ประเภทได้แก่
จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา คือรู้รูปด้วยตา หรือการเห็น
โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู คือรู้เสียงด้วยหู หรือการได้ยิน
ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก คือรู้กลิ่นด้วยจมูก หรือการได้กลิ่น
ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น คือรู้รสด้วยลิ้น หรือการรู้รส
กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย คือรู้โผฏฐัพพะด้วยกาย หรือการรู้สึกกายสัมผัส
มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ คือรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ หรือการนึกคิด
นอกจากนี้วิญญาณยังปรากฏในหลักธรรมอื่น ๆ ด้วย เช่น วิญญาณขันธ์ในขันธ์ 5 วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท
คำว่าวิญญาณยังถือเป็นคำไวพจน์ของคำว่าจิต มีความหมายเหมือนกัน ใช้แทนกันได้



วิญญาณ (ศาสนาพุทธ)
หน้าที่ของวิญญาณ (วิญญาณกิจ)

คัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆสะและคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธาจารย์ กล่าวว่าวิญญาณมีหน้าที่ 14 อย่างคือ
ปฏิสนธิ สืบต่อภพใหม่
ภวังคะ เป็นองค์ประกอบของภพ
อาวัชชนะ คำนึงถึงอารมณ์ใหม่
ทัสสนะ เห็นรูป (ตรงกับจักขุวิญญาณ)
สวนะ ได้ยินเสียง (ตรงกับโสตวิญญาณ)
ฆายนะ ได้กลิ่น (ตรงกับฆานวิญญาณ)
สายนะ รู้รส (ตรงกับชิวหาวิญญาณ)
ผุสนะ ถูกต้องโผฏฐัพพะ (ตรงกับกายวิญญาณ)
สัมปฏิจฉนะ รับอารมณ์
สันตีรณะ พิจารณาอารมณ์
โวฏฐัพพนะ ตัดสินอารมณ์
ชวนะ เสพอารมณ์
ตทาลัมพณะ รับอารมณ์ต่อจากชวนะก่อนจะกลับสู่ภวังค์
จุติ เคลื่อนจากภพปัจจุบันเพื่อจะไปสู่ภพหน้า



มหาสุ

  • **แก้ไข**
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 749
  • กระทู้: 135
  • Thank You
  • -Given: 323
  • -Receive: 749
Re: วิญญาณ (ศาสนาพุทธ)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2013, 09:59:46 PM »
วิญญาณ

 อ่านว่า วิน-ยาน
 บาลีเป็น “วิญฺญาณ” อ่านว่า วิน-ยา-นะ

 “วิญฺญาณ” รากศัพท์คือ วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + ญา (ธาตุ = รู้) + ยุ (ปัจจัย แปลงเป็น อน [อะ-นะ] แปลง น เป็น ณ) : วิ + (ซ้อน ญ) + ญา + (ยุ = อน =) อณ = วิญฺญาณ แปลว่า ความรู้แจ้ง

 คำนี้ไม่มีปัญหาในการเขียนหรืออ่าน แต่มีปัญหาในทางความเข้าใจ
 พจน.42 บอกไว้ว่า “วิญญาณ” คือ สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่

 ตามหลักพุทธศาสนาเถรวาท วิญญาณที่อยู่ในกายเมื่อมีชีวิต ก็คือความรับรู้อารมณ์ คือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สิ่งที่กระทบกาย (เช่น เย็นร้อนอ่อนแข็งเป็นต้น) และรู้เรื่องที่ใจนึกคิด
 และพระพุทธศาสนาเถรวาทไม่ได้สอนว่า เมื่อตาย วิญญาณจะออกจากร่างล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่ แต่บอกว่า เมื่อจุติจิตเกิดแล้วดับไป (คือตาย) ถ้ายังมีกิเลสอยู่ จุติจิตจะเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิดติดต่อกันไปทันที (คือเกิดใหม่)

 เมื่อพูดว่า “วิญญาณ” เราจะแปลเป็นอังกฤษว่า soul และพอเห็นคำว่า soul ก็จะแปลกันว่า “วิญญาณ”
 แต่ฝรั่งที่ทำพจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ไม่ได้แปล “วิญญาณ” ว่า soul และไม่ได้แปล soul เป็นบาลีว่า “วิญฺญาณ”

 หลัก :
 วิญญาณไม่ใช่เรื่องของความเชื่อ แต่เป็นเรื่องของความจริง
 เมื่อใดทำความเห็นให้ตรงกับความจริง (ยถาภูตํ ปชานาติ) เมื่อนั้นก็จะรู้ว่าวิญญาณคืออย่างไร

 ชี้ทาง : ตายแล้ววิญญาณออกจากร่าง จริงหรือ – อ่านที่นี่ --
 (อดทนอ่าน แล้วจะเข้าใจว่าตายแล้ววิญญาณไปไหน)

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=6765


บันทึกการเข้า

อาคม ดอนเมือง

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2051
  • กระทู้: 398
  • Thank You
  • -Given: 3296
  • -Receive: 2051
Re: วิญญาณ (ศาสนาพุทธ)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 05, 2013, 08:31:54 AM »
  อดทนอ่านแล้วครับ ตาสว่างขึ้นเยอะเลย ขอบคุณท่านมหาสุุ มากๆเลยนะ
ขอรับสำหรับเรื่อง วิญญาณ (ศาสนาพุทธ) เรื่องดีๆที่น่าอ่านของวิญูญูชนทั่วๆไป

                              :72


บันทึกการเข้า

ชบาบาน

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 382
  • กระทู้: 95
  • Thank You
  • -Given: 412
  • -Receive: 382
Re: วิญญาณ (ศาสนาพุทธ)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 05, 2013, 03:17:40 PM »
คำไทยความหมายของคำว่าวิญญาณ  เราเข้าใจกันว่าวิญญาณคือความรู้สึกเป็นผู้ครองร่างกาย
ให้ทำโน่นคิดนี่   แต่เอาเข้าจริงแล้ว วิญญาณนี่มันลึกซึ้งมากมาย  พนมมือรับความรู้อันลึกซึ้ง
นี้จากท่านอาจารย์มหา ผู้รู้จริง ขอบคุณขอรับกระผม


บันทึกการเข้า