สโมสรบ้านเพลงไทย > ห้องสันทนาการ

เปิดตำรับเพลงสัปดน ตอนที่ 2

<< < (2/4) > >>

น้องนางบ้านนา:
ขอบคุณท่านผู้รู้ทั้งสามท่าน ที่สละเวลานำข้อมูลที่ลํ้าค่ามาร่วมสนุกกับกระทู้นี้...
....ส่วนตัวผมตั้งแต่กลับมาอยู่เมืองไทยท่องเวปเพลงเก่าจะชอบหาข้อมูลทุกอย่างของนักร้องรุ่นเก่า...
....กระทู้ที่ผมเอาเพลงจีนมาลงประกอบ ก็จะพยายามหาเพลงต้นฉบับ หรือเพลงยุคเก่ามาลงทั้งนั้น...
...ส่วนข้อมูลที่เอามาก็เอามาจาก หน้าเวปหนังสือพิมพ์ครับ........
....ท้ายนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้รู้ทั้งสามและเพื่อนสมาชิกจะมาร่วมสนุกกันในเวปนี้ต่อไปจะกั่วโลกจะแตก ครับ....

เผ่าพงษ์ ปัตตานี:
       นอกจากแนวเพลงสัปดนแล้ว  ผมว่าเรื่องราวแปลกๆ เบื้องหลังการแต่งเพลง บางเพลง ของครูเพลงเก่งๆ ทั้งหลายก็น่าสนใจนะครับ  ผมเคยอ่านเจอในประวัตินักแต่งเพลงดังๆ เช่น ครูชาลี อินทรวิจิตร ที่แต่งเพลง "จำเลยรัก" อันโด่งดัง ก็ได้ความคิดจากการนั่งเล่นไพ่รัมมี่ในหมู่พวกกันเอง แล้วครูโดนกันไม่ให้เกิดสักที ไพ่ก็จะหมดแล้ว ภาษารัมมี่เขาเรียกโดนกัก มีโอกาสลบมืด (ลบเค) สูงมาก ถือว่าอันตรายมากแล้วช่วงนี้ จั่วไป ร้องไห้ไป  จึงเกิดคำร้องที่ว่า "กักขังฉันเถิดกักขังไป  ขังตัวอย่าขังหัวใจดีกว่า  อย่าขังหัวใจให้ทรมา  ให้ฉันเศร้าโศกา  หรือว่าฉันเป็นเช่นดังจำเลย"  ถ้าใครเคยเล่นรัมมี่จะเห็นภาพชัดเป๊ะเลยครับ  แล้วยิ่งได้ สวลี ผกาพันธ์ ขับร้องด้วยแล้ว ช่างได้อารมณ์เศร้าปนแค้นลึกๆ จริงๆ (พวกชอบกักเพื่อน)
       อ.แดน บุรีรัมย์  เล่าเรื่องเบื้องหลังวงการเพลงลูกทุ่งเกี่ยวกับ ครูชลที ธารทอง แต่งเพลงแรกของแกเลยคือ "พอหรือยัง" ที่ภายหลัง ศรคีรี ศรีประจวบ  นำมาขับร้องจนโด่งดัง  แรงบันดาลใจมาจากเรื่องจริงเหมือนในเนื้อเพลงนั่นแหละ โดยสมัยนั้นครูชลที  ธารทอง ยังเป็นนักร้องเดินสายวงดนตรีลูกทุ่ง  แล้วเกิดหลงรักนักร้องสาวสวยในวงท่านหนึ่ง  พยายามซื้อข้าวปลาอาหารบริการให้กินอยู่เสมอ คือตามจีบนั่นเอง ทุกวิถีทาง  แต่คนสวยย่อมมีคู่แข่งรุมตอมหลายคนเป็นของแน่ ใครดีใครได้ว่างั้นเถอะ  สุดท้ายผู้หญิงเขาไม่เลือกแก ไปได้กับคนอื่น ก็คือคู่แข่งนักร้องในวงนั่นแหละ  ครูอกหักมากร้องห่มร้องไห้ไม่ยอมทำงานหลายวัน  ก็เลยเขียนจดหมายต่อว่าผู้หญิงคนนั้นเป็นกลอน "พอทีนะคุณการุณผู้ชายเถิดหนา  อย่าคิดเอาความโสภาพล่าหัวใจผู้ชาย  คุณสวยคุณเด่นใครเห็นเป็นต้องงมงาย  อดรักคุณนั้นไม่ได้ยอมตายแทบเบื้องบาทคุณ.....ฯลฯ" เขียนเสร็จให้นักร้องในวงร้องออกหน้าเวทีเลยแต่ยังไม่ได้อ้ดแผ่น แล้วตอนหลังแกก็ออกจากวงนั้นไป  จนสุดท้ายศรคีรี นำมาร้องจนโด่งดังมาก ผมชอบมากเพลงนี้ แต่ต้องเป็นต้นฉบับ ศรคีรี ศรีประจวบ เท่านั้น  คนอื่นนำมาร้อง ผมว่าไม่ค่อยเพราะนะครับ  ต่างจิตต่างใจ

ลือ:
ชอบข้อมูลของคุณเผ่าพงษ์ ปัตตานี ทั้ง 2 ประเด็นมากๆครับ
    1.เบื้องหลังเพลง"จำเลยรัก" เป็นงี้เองหรือ...
         เกิดจากการจั่ว แล้วเกิดไม่ได้ซักที.... ไำพ่คงเต็มมือ บานเป็นพัดบ่อสร้าง
    แล้วเพื่อนก็กำลังจะน็อคใส่....ฮิ ฮิ  คงอึดอัด เหมือนถูกขังเป็นเชลยจริงๆ

               ทีนี้ ก็ประสาครูเก่าน่ะนะครับ...ที่ขี้สงสัย
          คุณเผ่าพงษ์จะเหมือนผมไหม ? ที่สงสัยมานาน ว่าไพ่นี้ เรียกว่าอะไรกันแน่?
     เพราะเจอคนเรียกไพ่ชนิดนี้ 2 ชื่อ คือ "รัมมี่" หรือบางที ก็เรียกว่า "ดัมมี่"...

             พอมีคอม มีอินเตอร์เน็ต  ผมก็ค้นจากกูเกิ้ลเลยครับ....สรุปความได้ดังนี้

       -1. "รัมมี่"(Rummy) คือเกมไพ่จับคู่ มีหลายแบบด้วยกัน...
       -2. และ ไพ่รัมมี่ แบบที่นิยมเล่นในเมืองไทยนั้น เป็นไพ่รัมมี่ แบบที่เรียกว่า "ดัมมี่" (Dummy Rummy)
               ตามลิ้งค์นี้ ครับ....

          http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%88
            (ข้อความจากลิ้งค์ : รัมมี่ (Rummy) เป็นเกมไพ่จับคู่ ในการเล่นอาศัยการอ่านใจและอ่านไพ่บนมือคู่ต่อสู้ มากกว่าดวง นักคณิตศาสตร์หรือนักสถิติจะได้เปรียบในการแข่งรัมมี่....สิ่งที่สนุกในเกมไพ่รัมมี่ นอกจากการแข่งขันในเกมปกติคือ การกินมืด หรือ น๊อคมืด ซึ่งสิ่งนี้มีผลทางจิตวิทยาในแข่งอีกด้วย
         เกมรัมมี่มีหลายแบบ แบบที่นิยมในประเทศไทยคือ ดัมมี่ รัมมี่ (en:Dummy rummy) หรือคนไทยเรียกว่า "ดัมมี่"]

              ดังนั้น ที่เรียกว่า "รัมมี่" ก็ถูกอยู่นะครับ...แต่กว้างไป ไม่เจาะจงรูปแบบการเล่น
                    แต่ให้ถูกเป๊ะ ตรงเป๊ะ...คือ "ดัมมี่"-ตามแบบวิธีการเล่น
           (คงทำนองเดียวกับอาหาร... เช่น ชวนกันไปกิน"ก่วยเตี๋ยว"-ซึ่งมีหลายชนิด....
                    แต่พอสั่ง ก็เลือกสั่ง" เส้นเล็ก"-ซึ่งเป็นชนิดนึงของก่วยเตี๋ยว เส้นอื่น ไม่เอา)

2. ชอบเพลง"พอหรือยัง"มาก เหมือนกันครับ...
         และแน่นอน ต้องเสียงขับร้องของคุณ"ศรคีรี ศรีประจวบ" เท่านั้นครับ

                  :61 :61 :61 :61

น้องนางบ้านนา:

--- อ้างจาก: เผ่าพงษ์ ปัตตานี ที่ เมษายน 07, 2013, 12:53:51 PM ---       นอกจากแนวเพลงสัปดนแล้ว  ผมว่าเรื่องราวแปลกๆ เบื้องหลังการแต่งเพลง บางเพลง ของครูเพลงเก่งๆ ทั้งหลายก็น่าสนใจนะครับ  ผมเคยอ่านเจอในประวัตินักแต่งเพลงดังๆ เช่น ครูชาลี อินทรวิจิตร ที่แต่งเพลง "จำเลยรัก" อันโด่งดัง ก็ได้ความคิดจากการนั่งเล่นไพ่รัมมี่ในหมู่พวกกันเอง แล้วครูโดนกันไม่ให้เกิดสักที ไพ่ก็จะหมดแล้ว ภาษารัมมี่เขาเรียกโดนกัก มีโอกาสลบมืด (ลบเค) สูงมาก ถือว่าอันตรายมากแล้วช่วงนี้ จั่วไป ร้องไห้ไป  จึงเกิดคำร้องที่ว่า "กักขังฉันเถิดกักขังไป  ขังตัวอย่าขังหัวใจดีกว่า  อย่าขังหัวใจให้ทรมา  ให้ฉันเศร้าโศกา  หรือว่าฉันเป็นเช่นดังจำเลย"  ถ้าใครเคยเล่นรัมมี่จะเห็นภาพชัดเป๊ะเลยครับ  แล้วยิ่งได้ สวลี ผกาพันธ์ ขับร้องด้วยแล้ว ช่างได้อารมณ์เศร้าปนแค้นลึกๆ จริงๆ (พวกชอบกักเพื่อน)
       อ.แดน บุรีรัมย์  เล่าเรื่องเบื้องหลังวงการเพลงลูกทุ่งเกี่ยวกับ ครูชลที ธารทอง แต่งเพลงแรกของแกเลยคือ "พอหรือยัง" ที่ภายหลัง ศรคีรี ศรีประจวบ  นำมาขับร้องจนโด่งดัง  แรงบันดาลใจมาจากเรื่องจริงเหมือนในเนื้อเพลงนั่นแหละ โดยสมัยนั้นครูชลที  ธารทอง ยังเป็นนักร้องเดินสายวงดนตรีลูกทุ่ง  แล้วเกิดหลงรักนักร้องสาวสวยในวงท่านหนึ่ง  พยายามซื้อข้าวปลาอาหารบริการให้กินอยู่เสมอ คือตามจีบนั่นเอง ทุกวิถีทาง  แต่คนสวยย่อมมีคู่แข่งรุมตอมหลายคนเป็นของแน่ ใครดีใครได้ว่างั้นเถอะ  สุดท้ายผู้หญิงเขาไม่เลือกแก ไปได้กับคนอื่น ก็คือคู่แข่งนักร้องในวงนั่นแหละ  ครูอกหักมากร้องห่มร้องไห้ไม่ยอมทำงานหลายวัน  ก็เลยเขียนจดหมายต่อว่าผู้หญิงคนนั้นเป็นกลอน "พอทีนะคุณการุณผู้ชายเถิดหนา  อย่าคิดเอาความโสภาพล่าหัวใจผู้ชาย  คุณสวยคุณเด่นใครเห็นเป็นต้องงมงาย  อดรักคุณนั้นไม่ได้ยอมตายแทบเบื้องบาทคุณ.....ฯลฯ" เขียนเสร็จให้นักร้องในวงร้องออกหน้าเวทีเลยแต่ยังไม่ได้อ้ดแผ่น แล้วตอนหลังแกก็ออกจากวงนั้นไป  จนสุดท้ายศรคีรี นำมาร้องจนโด่งดังมาก ผมชอบมากเพลงนี้ แต่ต้องเป็นต้นฉบับ ศรคีรี ศรีประจวบ เท่านั้น  คนอื่นนำมาร้อง ผมว่าไม่ค่อยเพราะนะครับ  ต่างจิตต่างใจ

--- End quote ---

อ้าวแฟนเพลงลูกทุ่งเนตเวอร์ค เหมือนกันเหรอ 5555 ดีใจมากครับที่เจอกันที่นี่

ชญาดา:
เพลงที่ฟังแล้วมีเนื้อเพลงทำให้คิดเป็็นแนวสัปดน เช่นเพลง ขอให้เหมือนเดิม  ที่ร้องว่า  " ก่อนจากกัน คืนนั้นสองเรา  แนบซบเนาว์  เคล้าคลอพ้อพรอดภิรมย์ " 

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version