นมควาย
ชื่อท้องถิ่น: นมควาย
ชื่อสามัญ: นมควาย
ชื่อวิทยาศาสตร์: Uvaria hahinii sincl.
ชื่อวงศ์: ANNONACEAE
ลักษณะวิสัย/ประเภท: ไม้พุ่ม
ลักษณะพืช: เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นสูงได้ถึง 5 เมตร กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดง ใบ เดี่ยว เยงสลับรูปวงรีหรือรูปไข่ ผิวใบมีขนสีน้ำตาลแดงทั้งสองด้าน กว้าง 2.5-3.5 เซนติเมตร ยาว 4.5-10 เซนติเมตร ดอก ออกเป็นกระจุก 2-3 ดอกที่กิ่งก้าน กลีบดอกสีแดงเข้ม กลิ่นหอม ผล เป็นผลกลุ่ม รูปไข่หรือไข่กลับเมื่อสุกสีแดงสด การขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดง ลูกนมควาย มีผลเท่าลูกตำลึง รสเปรี้ยวๆ
ปริมาณที่พบ: น้อย
การขยายพันธุ์: ใช้เมล็ด
อธิบายวิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์: การขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์:
แก่นและราก ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ สลับไข้ซ้ำ เนื่องจากกินของแสลง ราก แก้ผอมแห้ง สำหรับสตรีที่อยู่ไฟไม่ได้ หลังการคลอดบุตรและช่วยบำรุงน้ำนม ใช้รับประทาน ใช้เป็นยารักษาโรค
ผล ตำผสมน้ำทา แก้เม็ดผดผื่นคัน ผลสุกรับประทานได้
แหล่งที่พบ: ป่าเทือกเขาเเก้ว
ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม: ชื่ออื่นๆ บุหงาใหญ่ (เหนือ) นมควาย (ใต้) นมแมวป่า (เชียงใหม่) หำลิง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ติงตัง (นครราชสีมา) ตีนตั่งเครือ (ศรีสะเกษ อุบล) พีพวน (อุดรธานี) สีม่วน (ชัยภูมิ)
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ได้: ตามฤดูกาล
แหล่งที่มาของข้อมูลและภาพ:
http://www.biogang.net/content_detail.php?menu=biodiversity&uid=7963&id=78865 น้ำนมควาย
ส่วนผสม
นมควาย 1 ถ้วย
น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย
เกลือป่น 2 ช้อนชา
น้ำสะอาด 4 ถ้วย
วิธีทำ
ใส่น้ำลงในหม้อเคลือบ ตั้งไฟให้เดือด ใส่ลูก นมควาย ยีจนนมควายหลุดออกจากเมล็ด ต้ม ต่อประมาณ 30 นาที กรองด้วยกระซอนเอา แต่น้ำ เทน้ำนมควายที่กรองใส่หม้อเคลือบ ใส่เกลือตั้งไฟให้เดือด ชิมรสถ้าไม่หวานเติม น้ำตาลเคี่ยวจนน้ำตาลละลาย ดื่มกับน้ำแข็ง